สัทธรรมลำดับที่ : 715
ชื่อบทธรรม : -ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์
เนื้อความทั้งหมด :-(การรู้อริยสัจทั้งสี่ ท่านจัดเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิที่รวดเร็วกว่าสัมมาทิฏฐิอื่นๆ ในการทำลายกิเลส บรรลุนิพพาน ดังนั้นจึงเรียกในที่นี้ว่า ญาณประเภทยิงเร็ว).--ทิ้งเสียนั่นแหละกลับจะเป็นประโยชน์--ภิกษุ ท. ! สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย ; สิ่งนั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?--ภิกษุ ท. ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย ; จักษุนั้นอันเธอ ละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน อะไรๆ ในแคว้นนี้ ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขนไปทิ้ง หรือเผาเสีย หรือทำตามปัจจัย ; พวกเธอรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ? “ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุไรเล่า ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่าตัวตน (อตตา) ของตน (อตตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : จักษุ .... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา .... กายะ .... มโน ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/161/219.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 716
ชื่อบทธรรม : -[สำหรับสิ่งที่เรียกว่า “ไม่ใช่ของเธอ” นั้น ในสูตรอื่น (๑๘/๑๖๒ /๒๒๐) ทรงแสดงด้วย อาตนะภายนอกหก คือ รูปะ .... สัททะ .... คันธะ .... รสะ .... โผฏฐัพพะ .... ธัมมารัมมณะ ดังนี้ก็มี ; ในสูตรอื่นอีก (๑๒/๒๗๙/๒๘๗; ๑๗/๔๒/๗๑-๗๒) ทรงแสดงด้วย เบญจขันธ์ คือ รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ดังนี้ก็มี ; ในสูตรอื่นอีก (๑๘/๑๐๐/๑๔๙) ทรงแสดงด้วย อายตนิกธรรมห้าหมวด คืออายตนะภายในหก .... อายตนะภายนอกหก .... วิญญาณหก .... สัมผัสหก .... เวทนาหก.... รวมเป็นสามสิบ ดังนี้ก็มี].
เนื้อความทั้งหมด :-[สำหรับสิ่งที่เรียกว่า “ไม่ใช่ของเธอ” นั้น ในสูตรอื่น (๑๘/๑๖๒ /๒๒๐) ทรงแสดงด้วย อาตนะภายนอกหก คือ รูปะ .... สัททะ .... คันธะ .... รสะ .... โผฏฐัพพะ .... ธัมมารัมมณะ ดังนี้ก็มี ; ในสูตรอื่นอีก (๑๒/๒๗๙/๒๘๗; ๑๗/๔๒/๗๑-๗๒) ทรงแสดงด้วย เบญจขันธ์ คือ รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ดังนี้ก็มี ; ในสูตรอื่นอีก (๑๘/๑๐๐/๑๔๙) ทรงแสดงด้วย อายตนิกธรรมห้าหมวด คืออายตนะภายในหก .... อายตนะภายนอกหก .... วิญญาณหก .... สัมผัสหก .... เวทนาหก.... รวมเป็นสามสิบ ดังนี้ก็มี].--ฆ่ากิเลสอย่าฆ่าคน--ท่านทั้งหลาย จงตัดป่าเถิด อย่าตัดต้นไม้ ; เพราะว่าภัยย่อมเกิด จากป่าต่างหาก. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงตัดป่าและความรกแห่งป่าเสีย แล้วเป็นคนไม่มีป่าเถิด.--เพราะว่า ตลอดเวลาที่กิเลสเพียงดังความรกของป่า ยังไม่ถูกตัดขาด เหลืออยู่แก่นระแม้สักว่าอณูเดียว ในนารีทั้งหลาย ; นระนั้น จักมีจิตปฏิพัทธ์ในนารีนั้น ตลอดกาลเพียงนั้น เหมือนลูกวัวที่ยังกินนมแม่ ติดพันแม่วัวอยู่ ฉันใด ก็ฉันนั้น. ท่านจงถอนเยื่อใยแห่งจิตใจของตนเสีย เหมือนเขาถอนบัวสายในฤดูสารทด้วยมือ จงพอกพูนทางแห่งสันติเถิด เพราะว่านิพพานเป็นสิ่งที่พระสุคตแสดงไว้แล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/52/30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๕๒/๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 717
ชื่อบทธรรม : -วิชชาเป็นตัวชักนำมาซึ่งองค์แปดแห่งสัมมามรรค
เนื้อความทั้งหมด :-วิชชาเป็นตัวชักนำมาซึ่งองค์แปดแห่งสัมมามรรค--ภิกษุ ท. ! วิชชา เป็นสิ่งที่มาล่วงหน้า เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันติดตามมาด้วยหิริโอตตัปปะ ภิกษุ ท. !--สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้ถึงซึ่งวิชชา มีความเห็นแจ้ง;--สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิ;--สัมมาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ;--สัมมากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวาจา;--สัมมาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ;--สัมมาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ;--สัมมาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้สัมมาวายามะ;--สัมมาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสติ.--(เป็นอันว่า องค์แปดแห่งสัมมามรรคหรือสัมมัตตะ ย่อมมีครบบริบูรณ์. ในสูตรอื่น (๒๔/๒๒๘/๑๐๕) ได้ตรัสขยายออกไปอีก ๒ ข้อคือ :-)--สัมมาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ;--สัมมาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาญาณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/1/3.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑/๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 718
ชื่อบทธรรม : -ธรรมเป็นส่วนแห่งวิชา
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมเป็นส่วนแห่งวิชา--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา มีอยู่สองอย่าง อะไรเล่า ? สองอย่างคือ สมถะและวิปัสสนา.--ภิกษุ ท. ! สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? อบรมแล้ว จิตจะเจริญ. จิต เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว จะละราคะได้.--ภิกษุ ท. ! วิปัสสนา เล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ. ปัญญา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก.อํ 20/77/257.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก.อํ ๒๐/๗๗/๒๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 719
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์-เหตุปัจจัย ของสัมมาทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์-เหตุปัจจัย ของสัมมาทิฏฐิ--ความกลัวเป็นเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ (ชนิดโลกิยะ)--ภิกษุ ท. ! ความกลัว ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ ความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน ความกลัวต่อการการติเตียนจาก ผู้อื่น ความกลัวต่ออาชญา ความกลัวต่อทุคติ.--ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า “ถ้าเราประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต, มโนทุจริต, เราจะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้อย่างไรกันเล่า?” ดังนี้. เขากลัวต่อภัยจากการติเตียนตนด้วยตนแล้วจึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต, ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต, ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต, บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน.--ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า “ถ้าเราประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต, ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงติเตียนเรา โดยศีลได้อย่างไรกันเล่า.” ดังนี้ เขากลัวต่อภัยจากการติเตียนจากผู้อื่นแล้วจึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต, ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต, ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่, ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น.--ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่ออาชญา เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เห็นพระราชาจับโจรผู้ประพฤติชั่วร้ายมากระทำการลงโทษโดยวิธีต่างๆ คือ โบยด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง หวดด้วยเชือกหนังบ้าง ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “หม้อเคี่ยวน้ำส้ม” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ขอดสังข์” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ปากราหู” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “มาลัยไฟ” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “มือคบเพลิง” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ริ้วส่าย” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “นุ่งเปลือกไม้” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ยืนกวาง” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เกี่ยวเหยื่อเบ็ดบ้าง” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เหรียญกษาปณ์” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ทาเกลือ” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “แปรงแสบ” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “เวียนหลัก” บ้าง ย่อมกระทำกรรมกรณ์ชื่อ “ตั่งฟาง” บ้าง ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้าง ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้งบ้าง ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง--ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง๑ เขามานึกขึ้นได้ว่า “เพราะเหตุแห่งการทำกรรมอันลามกเช่นนี้ พระราชาจึงจับโจรอันชั่วร้ายมากระทำการลงโทษโดยวิธีต่างๆ เช่น โบยด้วยแส้บ้าง ....ฯลฯ.... ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง. ถ้าเราจะพึงกระทำกรรมอันลามกเช่นนั้น พระราชาก็จะจับแม้เราไปกระทำการลงโทษโดยวิธีต่างๆ เช่นนั้นเหมือนกัน คือ โบยด้วยแส้บ้าง ....ฯลฯ....ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง” ดังนี้ เขากลัวต่อภัยจากอาชญาแล้ว จึงไม่ประพฤติการฉกชิงทรัพย์ของผู้อื่นอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่ออาชญา.--ภิกษุ ท. ! ความกลัวต่อทุคติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า “วิบากของกายทุจริตอันชั่วร้าย จักมีข้างหน้า, วิบากของวจีทุจริตอันชั่วร้าย จักมีข้างหน้า วิบากของมโนทุจริตอันชั่วร้าย จักมีข้างหน้า. ถ้าเราประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ แล้วจะต้องสงสัยอะไรกันอีกเล่าในข้อที่เราจะพึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย” เขากลัวต่อภัยแห่งทุคติดังนี้แล้ว จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต, ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต, ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต, บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ความกลัวต่อทุคติ.--ภิกษุท. ! เหล่านี้แลคือความกลัว ๔ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/162-164/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖๒-๑๖๔/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 720
ชื่อบทธรรม : -อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะ ของกาม
เนื้อความทั้งหมด :-(ความรู้ที่ทำให้รู้จักกลัวต่อสิ่งที่ควรกลัว จัดเป็นสัมมาทิฏฐิในชั้นต้นๆ ได้ จึงนำมาใส่ไว้ในที่นี้).--๑ .ดูรายละเอียดของการกระทำกรรมกรณ์เหล่านี้ ที่เชิงอรรถแห่งหน้า ๙๓๗ - ๙๓๘ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า “อัสสาทะ-อาทีนวะ-นิสสรณะ ของกาม.”--อริยสัจสี่ เป็นอารมณ์แห่งนิพเพธิกปัญญา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำที่กล่าวกันอยู่ว่า ‘เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม’ ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า ?”--ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณงดงาม คำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า เป็นพหูสูต ทรงธรรม กันได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! เราแสดงธรรมแล้ว มากมายครบถ้วนขบวนความ เป็น สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมม์ เวทัลละ ภิกษุ ! ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม. “สาธุ พระเจ้าข้า !”--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “ผู้มีการศึกษามีปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลส ผู้มีการศึกษามีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส” ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอพระเจ้าข้า ?”--ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณ งดงามคำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า ผู้มีการศึกษามีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) เป็นกันได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็น ความทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี; มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่ง--เนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี; มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้นเห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี; มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้นเห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า “ผู้มีการศึกษา มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส.” “สาธุ พระเจ้าข้า !”--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก“ ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า !”--ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณงดงามคำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก เป็นกัน ได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป ในทางทำตนเองให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไปในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก; เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ .21/241/186.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 721
ชื่อบทธรรม : -ธรรมเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญา
เนื้อความทั้งหมด :-(นิพเพธิกปัญญา ในที่นี้ เป็นคำแทนชื่อของ สัมมาทิฏฐิ จึงนำมาใส่ไว้ใน ที่นี้).--ธรรมเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ--ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลาย ๔ ประการ เหล่านี้ เป็นไปพร้อมเพื่อ ความเจริญแห่งปัญญา (ปญญาวุฑฺฒิ) ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการ คือ :---การคบหากับสัปบุรุษ (สปฺปุริสสํเสว); การฟังพระสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺสวน); การทำใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ); การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ).--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/332/248.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๒/๒๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 722
ชื่อบทธรรม : -[ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นหลักธรรมที่สำคัญเพราะว่า นอกจากจะเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญาแล้ว ได้ตรัสไว้ในบาลีแห่งอื่นอีกถึง ๒๑ พระสูตร ดังนี้ ว่า :
เนื้อความทั้งหมด :-[ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นหลักธรรมที่สำคัญเพราะว่า นอกจากจะเป็นเครื่องเจริญแห่งปัญญาแล้ว ได้ตรัสไว้ในบาลีแห่งอื่นอีกถึง ๒๑ พระสูตร ดังนี้ ว่า :---เป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่มนุษย์ (มนุสฺสภูตพหุการ) (๒๑/๓๓๒/๒๔๙);--เป็นองค์คุณเครื่องให้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน (โสตาปตฺติยงฺค) (๑๙/๓๓๒/๒๔๙);--เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล (โสตาปตฺติผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๖/๑๖๓๔);--เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล (สกทาคามิผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๕);--เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล (อนาคามิผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๖);--เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล (อรหตฺตผลสจฺฉิกิริยา) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๗);--เป็นเครื่องให้ได้เฉพาะซึ่งปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภ) (๑๙/๕๑๗/๑๖๓๘);--เป็นเครื่องให้มีความไพบูลย์แห่งปัญญา (ปญฺญาเวปุลฺล) (๑๙/๕๑๗/๑๖๔๐);--เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันใหญ่หลวง (มหาปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๑);--เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันหนาแน่น (ปุถุปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๒);--เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๓);--เป็นเครื่องให้มีปัญญาอันลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๔);--เป็นเครื่องให้ปัญญาอันหาประมาณค่ามิได้ (อปฺปมตฺตปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๕);--เป็นเครื่องให้มีปัญญาเสมือนแผ่นดิน (ภูริปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๖);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน (สีฆปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๘);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาไว (ลหุปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๔๙);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาอันร่าเริง (หาสปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๐);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๑);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาคมกล้า (ติกฺขปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๒);--เป็นเครื่องให้เป็นผู้มีปัญญาเครื่องเจาะแทง (นิพฺเพธิกปญฺญตา) (๑๙/๕๑๘/๑๖๕๓).]--เหตุที่ทำให้แสวงหานิพพาน--ภิกษุ ท. ! การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่างอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ :---ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความแก่เป็น ธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความแก่เป็นธรรมดานั้น แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่มีความแก่ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า ;--บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความเจ็บไข้เป็นธรรมดานั้น แล้วแสวงหานิพพาน อันเป็นธรรมไม่มีความเจ็บไข้ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า ;--บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความตายเป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความตายเป็นธรรมดานั้น แล้วแสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่มีความตาย อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า ;--บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้ มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา อยู่ ก็รู้ชัดซึ่งโทษในความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั้น แล้วแสวงหานิพพาน อันเป็นธรรมไม่มีความเศร้าหมอง อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/334/255.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๔/๒๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 723
ชื่อบทธรรม : -ฌาน (ที่มีสัญญา) ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัวเอง
เนื้อความทั้งหมด :-ฌาน (ที่มีสัญญา) ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัวเอง--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง; เพราะอาศัยทุติยฌาณบ้าง; เพราะอาศัยตติยฌาณบ้าง; เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง; เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง; เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง; เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง; เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง๑;--ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ เพราะอาศัย ปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน--๑. บาลีฉบับมอญ กล่าวลงเลยไปถึงว่า “เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” ฉบับไทยเราหยุดเสียเพียงแค่เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้เท่านั้น.--อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่); เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม(คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพาน ในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆ นั่นเอง.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ (เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.--(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมณานข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าวแล้วข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับ ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน; ต่อไปจะข้ามไปกล่าวถึงอรูปสัญญาในลำดับต่อไป :- ).--ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้น อาสวะ เพราะอาศัย อากาสานัญจายตนะบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลัง ทำหน้าที่อยู่)๑ เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับ--๑ ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวก รูปฌาน มีขันธ์ครบห้า; ส่วนใน อรูปฺฌาน มีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.--แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะ อนาคามีผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากความพอใจและความเพลินที่ยังละไม่ได้) นั้นๆ นั่นเอง.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง กะรูปหุ่นดินบ้าง; สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกล ยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการไม่ทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้แล้วแลอยู่. (เธอนั้นกำหนดขันธ์เพียงสี่๒ ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แล้วน้อมจิตไปสู่อมตธาตุคือนิพพาน ถึงความสิ้นอาสวะเมื่อดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ มีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นอนาคามี เพราะมีธัมมราคะ ธัมมนันทิในนิพพานนั้น) ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.--๒. เพียงสี่ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ประกอบอยู่ในอากาสานัญจายตนะ.--(ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย วิญญาณัญจายตนะ บ้าง เพราะอาศัย อากิญจัญญายตนะ บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวคำพูดทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งสมาบัติเท่านั้น ผู้ศึกษาอาจกำหนดรู้ได้เอง โดยอาศัยข้อความที่กล่าวข้างบนนี้ จะนำมาใส่ไว้เต็มข้อความนั้นก็ยืดยาวเกินไป จึงเว้นเสียสำหรับวิญญาณัญจายตนะและอากิญจัญญายตนะ จนกระทั่งถึงคำว่า .... เราอาศัยข้อความนี้กล่าวแล้ว อันเป็นคำสุดท้ายของข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะ. ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่งอากิญจัญญายตนะจบแล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ ต่อไปว่า : -).--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ มีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ (การแทงตลอดอรหัตตผล)๑ ก็มีประมาณเท่านั้น.--ภิกษุ ท. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ (๗ประการ) เหล่านั้น๒ นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้า--๑. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติเจ็ด คือ รูปฌานสี่ อรูปฌานาสามข้างต้น รวมเป็นเจ็ดเรียกว่า สัญญาสมาบัติ เพราะเป็นสมาบัติที่ยังมีสัญญา เมื่อสัญญาสมาบัติ มีเจ็ด อัญญาปฏิเวธก็มีเจ็ดเท่ากัน คือการแทงตลอดอรหัตตผลในกรณีของรูปฌานสี่ อรูปฌานสามนั่นเอง จึงตรัสว่า “สัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธก็มีประมาณเท่านั้น”.--๒. ข้อความนี้หมายความว่า สัญญาสมาบัติ ๗ ประการ เกิดก่อนแล้ว ตั้งอยู่แล้ว จึงอาจจะเกิดสมาบัติที่ไม่มีสัญญาสองประการนี้ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธ ดังนั้นจึงตรัสว่า “อายตนะสองอย่าง อาศัยสมาบัติ ๗ อย่าง”.--สมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ สมาบัติ แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ๓ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/438-444/240.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 724
ชื่อบทธรรม : -เหตุให้เกิดและเจริญ แห่งอาทิพรหมจริยิกปัญญา
เนื้อความทั้งหมด :-(สำหรับหัวข้อเรื่องที่ว่า “ฌานที่มีสัญญานั้น ใช้เป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัวเอง” ดังนี้ นั้น หมายความว่า ในฌานที่ยังมีสัญญาอยู่นั้น มีทางที่จะกำหนดขันธ์ตามที่ปรากฏอยู่ในฌาน นั้น ว่ามีลักษณะ เช่นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ซึ่งเมื่อกำหนดเข้าแล้ว ก็ย่อมเกิดวิปัสสนา. ส่วนฌานที่ไร้สัญญา คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ไม่มีทางที่จะกำหนดขันธ์โดยลักษณะใด ๆ เพราะความไม่มีสัญญานั่นเอง แต่อาจจะรู้จักผลสุดท้ายแห่งฌานนั้น ๆ ได้ ว่ามีอาสวะเหลืออยู่หรือหาไม่).--เหตุให้เกิดและเจริญ แห่งอาทิพรหมจริยิกปัญญา--ภิกษุ ท. ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่เพื่อการได้เฉพาะซึ่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีในเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้, เป็นไปพร้อม เพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบ แห่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการคือ :---๓. ฌายีภิกษุ คือภิกษุผู้บำเพ็ญฌานอยู่ ครั้นเขาเข้าหรือออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว ก็มีความรู้ประจักษ์แก่ตนเอง ว่าเมื่ออาศัยสมาบัติทั้งสองนี้แล้ว จะมีการสิ้นอาสวะหรือไม่. ถ้าเป็นสมาบัติทั้งเจ็ดข้างต้น ทรงยืนยันว่ามีความสิ้นอาสวะ ส่วนในสมาบัติสุดท้ายทั้งสองนี้ ทรงปล่อยไว้ให้ผู้ที่ได้เข้าแล้ว ออกแล้ว เป็นผู้กล่าวเอง ว่ามีการสิ้นอาสวะหรือไม่ เพื่อให้ได้ใช้ความเป็นปัจจัตตังของธรรมะให้ถึงที่สุด เป็นคำตรัสที่แยบยลเหลือประมาณ ควรแก่การสังเกตอย่างยิ่ง.--๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง อันเป็นที่ซึ่งหิริและโอตัปปะ ความรักและความเคารพ ของภิกษุนั้นจะตั้งอยู่อย่างแรงกล้า : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่หนึ่ง.--๒. ภิกษุนั้น ครั้นเข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพรูปใดรูปหนึ่ง จนกระทั่งหิริและโอตตัปปะ ความรักและความเคารพของภิกษุนั้น ตั้งอยู่อย่างแรงกล้าแล้ว เธอนั้น ก็เข้าไปซักไซ้ สอบถามปัญหา ตามกาละอันควร ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ข้อนี้ เป็นอย่างไร?” ความหมายแห่งข้อนี้เป็นอย่างไร ? ดังนี้. ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้ตื้นสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น ย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ แก่ภิกษุนั้น : ภิกษุ ท. ! นี้เ ป็น เหตุปัจจัยประการที่สอง.--๓. ภิกษุนั้น ครั้งฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำตนให้ถึงพร้อมด้วยการหลีกออก ๒ อย่าง คือหลีกออกทางกาย และหลีกออกทางจิต : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่สาม.--๔. ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่สี่.--๕. ภิกษุนั้น เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว : ธรรมเหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง, ธรรมเหล่านั้น อันเธอนั้นดั้งมามากแล้ว จำได้ ว่าได้คล่องแคล่วด้วยวาจา มองเห็นตามด้วยใจ เจาะแทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็น : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่ห้า.--๖. ภิกษุนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง (จิต) มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่หก.--๗. ภิกษุนั้น ไปสู่หมู่สงฆ์แล้ว ไม่พูดเรื่องนอกเรื่อง ไม่กล่าวดิรัจฉานกถา กล่าวธรรมเองบ้าง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าวบ้าง ไม่ดูหมิ่นความนิ่งอย่างพระอริยเจ้า๑ : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่เจ็ด.--๘. ภิกษุนั้น มีปกติตามความเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า อยู่ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป เป็นอย่างนี้; เวทนา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดเวทนา เป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา เป็นอย่างนี้, สัญญา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัญญา เป็นอย่างนี้, สังขาร เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสังขาร เป็นอย่างนี้, ความ--๑. คือพร้อมที่จะนิ่ง ยินดีที่จะนิ่ง ไม่ชิงพูดพล่ามเหมือนคนทั่วไปโดยเห็นว่าเป็นเกียรติ.--ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสังขาร เป็นอย่างนี้, วิญญาณ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดวิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้, ดังนี้” : ภิกษุ ท. ! นี้ เป็น เหตุปัจจัยประการที่แปด.--.... ภิกษุ ท. ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เหล่านี้แล มีอยู่ เพื่อการได้เฉพาะซึ่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีในเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้, เป็นไปพร้อมเพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบ แห่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/152 - 156/92.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๕๒ - ๑๕๖/๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 53
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site