สัทธรรมลำดับที่ : 711
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งกุศลธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งกุศลธรรม--ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมา, นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า กล่าวคือ รุ่งอรุณ. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย สิ่งนั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ. ภิกษุ ท. !--สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิ;--สัมมาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ;--สัมมากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวาจา;--สัมมาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ;--สัมมาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ;--สัมมาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวายามะ;--สัมมาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสติ;--สัมมาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ;--สัมมาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาญาณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/254/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๒๕๔/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 52
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 712
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งการรู้อริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิเป็นรุ่งอรุณแห่งการรู้อริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมา, นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็น นิมิตล่วงหน้า กล่าวคือ รุ่งอรุณ. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : นั่นเป็นสิ่งที่มาก่อน นั่นเป็นนิมิตล่วงหน้า เพื่อการรู้พร้อมอย่างยิ่งตามที่เป็นจริงซึ่งอริยสัจทั้งสี่ของภิกษุ สิ่งนั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่พึงหวังได้สำหรับภิกษุผู้มีสัมมาทิฏฐินั้น คือเธอจักรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์”--รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/552/1720.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๒/๑๗๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 52
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 713
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิควรจะรวมไปถึงการสำนึกบาป
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิควรจะรวมไปถึงการสำนึกบาป--“ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำ การเปิดของที่ปิด การชี้ทางแก่คนหลงทาง หรือการตามประทีปไว้ในที่มืดเพื่อคนมีตายังดีจะได้เห็นรูป, ฉันใด ; ธรรมปริยายเป็นอันมาก ที่พระผู้มีพระภาคประกาศแล้ว ก็ฉันนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคที่เป็นที่พึ่ง รวมทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถือเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ไป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โทษได้ท่วมทับข้าพระองค์แล้ว ตามที่เป็นคนพาล ตามที่เป็นคนหลง ตามที่มีจิตเป็นอกุศล คือข้อที่ข้าพระองค์ได้ปลงพระชนม์พระบิดาผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา เสียจากชีวิต เพราะเหตุแห่งความต้องการเป็นใหญ่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับซึ่งโทษโดยความเป็นโทษของข้าพระองค์ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระเจ้าข้า !”--เอาละ มหาราช ! โทษได้ท่วมทับมหาบพิตร ตามที่เป็นคนพาล ตามที่เป็นคนหลง ตามที่มีจิตเป็นอกุศล จนถึงกับปลงพระชนม์บิดาผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา เสียจากชีวิต เพราะเหตุแห่งความต้องการเป็นใหญ่. มหาราช ! แต่ เพราะเหตุที่มหาบพิตรเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม พวกเรายอมรับโทษนั้นของมหาบพิตร. มหาราช ! ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป; ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย องผู้นั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/112/139.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๑๒/๑๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 52
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 714
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจจญาณ เป็นญาณประเภทยิงเร็ว
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจจญาณ เป็นญาณประเภทยิงเร็ว--ภิกษุ ท. ! นักรบอาชีพที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ ควรแก่พระราชา เป็นผู้ที่พระราชาควรใช้สอย ถึงการนับว่าเป็นองค์อวัยวะของพระราชา. องค์สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ นักรบอาชีพในกรณีนี้เป็นผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้เร็ว และเป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ๆได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรมสี่ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ธรรมสี่ประการ อย่างไรเล่า? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้เร็ว และเป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. นี้แล ภิกษุผู้ฉลาดในฐานที่ตั้ง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นตามที่เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ซึ่งรูปใดๆอันเป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน ที่เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีตมีในที่ใกล้หรือในที่ไกล อย่างนี้ว่า “รูปทั้งปวงนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน). นี้แล ภิกษุผู้ยิงได้ไกล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ยิงได้เร็ว เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”ดังนี้. นี้แล ภิกษุผู้ยิงได้เร็ว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นผู้ทำลายกองทัพใหญ่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้. นี้แล ภิกษุผู้ทำลายกองทัพใหญ่ได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมสี่ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/231/181.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๓๑/๑๘๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 52
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1071
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ
เนื้อความทั้งหมด :-๑. คำนี้เป็นบาลีว่า อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ : อุปาย คือตัณหาเครื่องนำเข้าไป, อุปาทาน คืออุปาทาน เครื่องยึดมั่น, อภินิเวส คืออนุสัยเป็นเครื่องนอนตาม.--สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ--(ตามคำพระสารีบุตร)--(แม้จะเป็นสารีปุตตเถรภาษิต แต่ก็นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งการศึกษาเรื่องสัมมาทิฏฐิ)--ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล - อกุศลธรรม--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวก มารู้ชัดซึ่งอกุศลและอกุศลมูลด้วย มารู้ชัดซึ่งกุศลและกุศลมูลด้วย ; แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ท่านผู้มีอายุ ท. ! การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เป็นอกุศล ; การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นอกุศล; การประพฤติผิดในกาม เป็นอกุศล ; การกล่าวเท็จ เป็นอกุศล ; วาจาส่อเสียด เป็นอกุศล ; วาจาหยาบ เป็นอกุศล ; การกล่าวคำเพ้อเจ้อ เป็นอกุศล ; อภิชฌา เป็นอกุศล ; พยาบาท เป็นอกุศล ; มิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นอกุศล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศลมูล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? โลภะ เป็นอกุศลมูล ; โทสะ เป็นอกุศลมูล ; โมหะ เป็นอกุศลมูล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นอกุศลมูล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า กุศล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ท่านผู้มีอายุ ท. ! เจตนาเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากอทินนาทาน เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากมุสาวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากปิสุณาวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากผรุสวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากสัมผัปปลาปวาท เป็นกุศล ; อนภิชฌา เป็นกุศล ; อัพยาบาท เป็นกุศล ; สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า กุศลมูล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อโลภะ เป็นกุศลมูล ; อโทสะ เป็นกุศลมูล ; อโมหะ เป็นกุศลมูล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศลมูล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอกุศลอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งอกุศลมูลอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งกุศลอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งกุศลมูลอย่างนี้ อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะว่า เรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏธรรมนี้นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อริยสาวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง อาหารซึ่งเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ?--ท่านผู้มีอายุ ท. ! อาหาร ๔ อย่าง เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย. อาหารสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง (เป็นที่หนึ่ง), ผัสสาหาร เป็นที่สอง, มโนสัญเจตนาหาร เป็นที่สาม, วิญญาณาหาร เป็นที่สี่.--ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา.--ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา.--มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะ ว่าเรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์. แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์. แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, การประสบ--กับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า ทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องทำให้มีภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ, ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ความจางคลายดับไม่เหลือแห่งตัณหานี้นั่นเอง เป็นความสละทิ้ง เป็นความสลัดคืน เป็นความปล่อย เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น อันใด ; ท่านผู้มีอายุ ท. ! อันนี้ เรียกว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสิรฐ นี้นั่นเองได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ อย่างนี้, รู้ ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะว่า--เรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรมตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท--ง. ๑ เกี่ยวกับชรามรณะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรา มรณะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?” ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชรามรณะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ.--ที่หน้า ๕๓๓ ตั้งแต่คำว่า ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ง. ๒ เกี่ยวกับชาติ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ชาติเป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ” ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชาติ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--พึงดูได้จากหนังสือปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๓ ตั้งแต่คำว่า การเกิด การกำเนิด การก้าวลง .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๓ เกี่ยวกับภพ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้, อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภพ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดู--ได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ. ที่หน้า ๕๓๓ – ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ อย่างนี้, รู้ชัด ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย …. (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๔ เกี่ยวกับอุปาทาน--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท .! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร--เล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับอุปาทาน โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๕ เกี่ยวกับตัณหา--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง ตัณหา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา เป็นอย่าง--ไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหาเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับตัณหาโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตันหา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๖ เกี่ยวกับเวทนา--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งเวทนา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่าน--ผู้มีอายุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวทนา โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า).... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๗ เกี่ยวกับผัสสะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบ--แล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?” ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับผัสสะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๘ เกี่ยวกับ สฬายตนะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ--เขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสฬายตนะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งสฬายตนะ ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ..... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๙ เกี่ยวกับนามรูป--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มี--ประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูปเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับนามรูปโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๖ ตั้งแต่คำว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งวิญญาณ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ซึ่งข้อ--ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิญญาณโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๖ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง วิญญาณอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๑ เกี่ยวกับสังขาร--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขาร ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท.! สังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสังขารโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๗ ตั้งแต่คำว่า สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขารอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอวิชชา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ?”--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! อวิชชาคือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความไม่รู้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า อวิชชา”.--ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ.--ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ.--มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง อวิชชาอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ..... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ??
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/87-101/113-130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๘๗/ -๑๐๑/๑๑๓-๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 52
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site