สัทธรรมลำดับที่ : 704
ชื่อบทธรรม : -ปรารภสติปัฏฐานแล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย
เนื้อความทั้งหมด :-ปรารภสติปัฏฐานแล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย--ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดด้วย. ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลใดใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย.--สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี นี้ย่อมเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ.... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ.... มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ.... มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.--ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐาน ๔ อย่าง เหล่านี้ อันบุคคลใดใครก็ตามปรารภผิดแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดแล้วด้วย. ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐาน ๔ อย่างเหล่านี้ อันบุคคลใดใครก็ตามปรารภถูกต้องแล้ว, อริยอัฏฐังคิกมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอัน ปรารภถูกต้องแล้วด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/240/801.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๐/๘๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 705
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๓
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๓--ว่าด้วย ข้อความนำเรื่องมรรค--จบ--อุทเทสและนิทเทสแห่งอัฏฐังคิกมรรคแต่ละองค์--ภิกษุ ท. ! เราจัก แสดง จัก จำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.--ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์.๑ ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ในกรณีนี้ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผา--๑. ในที่บางแห่ง (มากแห่ง) ท่านใช้คำว่า “เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย”.--กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่าสัมมาสมาธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/10-12/33-41.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๐-๑๒/๓๓-๔๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 706
ชื่อบทธรรม : -นิเทศ ๑๔ ว่าด้วย สัมมาทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-นิเทศ ๑๔ ว่าด้วย สัมมาทิฏฐิ--(มี ๗๗ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ - วิภาค ของสัมมาทิฏฐิ--อุทเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 707
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิโดยปริยายสองอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิโดยปริยายสองอย่าง--(โลกิยะ - โลกุตตระ)--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้ สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่โดยส่วนสอง คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว)๑ เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวกฺก) ก็มีอยู่, สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--๑. คำแปลของคำบัญญัติอันลึกซึ้ง เช่นคำว่า สาสว เป็นต้น เหล่านี้ ในที่นี้แปลไว้อย่างย่อ ๆ ตามที่เคยแปลกัน บางทีก็แปลอย่างขยายความให้แจ่มแจ้งชัดเจนก็มี ผู้สนใจหาดูได้จากคำแปลของคำเหล่านี้ อันมีอยู่ในหัวข้อว่า “การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด“ แห่งหมวดสัมมาสมาธิ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๒๘๗ บรรทัดที่แปด ไป.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล). ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี (ผล). ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี. โลกนี้ มี. โลกอื่น มี. มารดา มี. บิดา มี. โอปปาติกะสัตว์ มี. สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/181/256-257.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑/๒๕๖-๒๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 708
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา - ไวพจน์ ของสัมมาทิฏฐิ--ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า สัมมาทิฏฐิ ๆ คำเดียวกันนี้ แยกออกไปได้ อย่างตรงกันข้าม คือพวกหนึ่งมีอาสวะ เป็นไปเพื่ออาสวะ มีส่วนแห่งบุญอันเป็นอุปธิ มีลักษณะเป็นตัวตน หรือเนื่องด้วยตัวตน ส่วนสัมมาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่งนั้นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะแห่งตัวตน ไม่เกี่ยวข้องกับบุญ แถมยังนำไปสู่โลกุตตระด้วย จึงแบ่งแยกเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิและโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ไม่พึงนำไปปนกัน หรือใช้แทนกันอย่างที่พูดกันอย่างสะเพร่าหรือหละหลวมจนเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนาไม่ได้ ขอให้ช่วยกันระวังให้มากที่สุด).--หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา - ไวพจน์ ของสัมมาทิฏฐิ--ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น จักษุ อันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง ความเห็น เช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ (การเห็นอยู่โดยถูกต้อง) ของภิกษุนั้น.--เมื่อเห็นอยู่โดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย;--เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ;--เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ;--เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้น แล้วด้วยดี” ดังนี้.--(ในกรณีแห่งอายตนะภายนอกในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ทุกประการ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/179/245-246.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๒๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 709
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ระดับสูงสุด)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำที่กล่าวกันว่า “สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ” ดังนี้ ; สัมมาทิฏฐิ ย่อมมี ด้วยเหตุเพียงไร พระเจ้าข้า ?”--กัจจานะ ! สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสอง โดยมาก คือ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงมี (อตฺถิตา) และ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี (นตฺถิตา).--กัจจานะ ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งโลก (โลกสมุทย) อยู่, ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีในโลก ย่อมไม่มี.--กัจจานะ ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งโลก (โลกนิโรธ) อยู่, ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีในโลก ย่อมไม่มี.--กัจจานะ ! สัตว์โลกนี้โดยมาก มีอุปายะ อุปาทานะ และอภินิเวสเป็นเครื่องผูกพัน๑ ; ส่วนสัมมาทิฏฐินี้ ย่อมไม่เข้าไปหา ย่อมไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ตั้งทับ ซึ่งอุปายะและอุปาทานทั้งสองนั้น ในฐานะเป็นที่ตั้งทับเป็นที่ตามนอนแห่งอภินิเวส ของจิต ว่า “อัตตาของเรา” ดังนี้. “ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิดย่อมเกิด ทุกข์นั่นแหละ เมื่อดับย่อมดับ” ดังนี้ เป็นสัจจะที่ผู้มีสัมมาทิฏฐิไม่สงสัย ไม่ลังเล. ญาณดังนี้นั้น ย่อมมีแก่เขา ในกรณีนี้ โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัยเพื่อความเชื่อ.--กัจจานะ ! สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.--(สัมมาทิฏฐิ ชนิดนี้ เป็น สัมมาทิฏฐิระดับโลกุตตระ คือเป็นไปเพื่อ โลกุตตระ ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ ไม่มีส่วนแห่งบุญ ไม่ค่อยผ่านสายตา ไม่ค่อยผ่านหูผู้ศึกษาทั่ว ๆ ไป).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/20-21/42-43.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐-๒๑/๔๒-๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 710
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ
เนื้อความทั้งหมด :-๑. คำนี้เป็นบาลีว่า อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ : อุปาย คือตัณหาเครื่องนำเข้าไป, อุปาทาน คืออุปาทาน เครื่องยึดมั่น, อภินิเวส คืออนุสัยเป็นเครื่องนอนตาม.--สัมมาทิฏฐิโลกุตตระ นานาแบบ--(ตามคำพระสารีบุตร)--(แม้จะเป็นสารีปุตตเถรภาษิต แต่ก็นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งการศึกษาเรื่องสัมมาทิฏฐิ)--ก. หมวดเนื่องด้วยกุศล - อกุศลธรรม--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวก มารู้ชัดซึ่งอกุศลและอกุศลมูลด้วย มารู้ชัดซึ่งกุศลและกุศลมูลด้วย ; แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ท่านผู้มีอายุ ท. ! การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เป็นอกุศล ; การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นอกุศล; การประพฤติผิดในกาม เป็นอกุศล ; การกล่าวเท็จ เป็นอกุศล ; วาจาส่อเสียด เป็นอกุศล ; วาจาหยาบ เป็นอกุศล ; การกล่าวคำเพ้อเจ้อ เป็นอกุศล ; อภิชฌา เป็นอกุศล ; พยาบาท เป็นอกุศล ; มิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นอกุศล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า อกุศลมูล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? โลภะ เป็นอกุศลมูล ; โทสะ เป็นอกุศลมูล ; โมหะ เป็นอกุศลมูล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นอกุศลมูล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า กุศล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ท่านผู้มีอายุ ท. ! เจตนาเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากอทินนาทาน เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากมุสาวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากปิสุณาวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากผรุสวาท เป็นกุศล ; เจตนาเว้นจากสัมผัปปลาปวาท เป็นกุศล ; อนภิชฌา เป็นกุศล ; อัพยาบาท เป็นกุศล ; สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า กุศลมูล นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อโลภะ เป็นกุศลมูล ; อโทสะ เป็นกุศลมูล ; อโมหะ เป็นกุศลมูล. ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นกุศลมูล”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอกุศลอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งอกุศลมูลอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งกุศลอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งกุศลมูลอย่างนี้ อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะว่า เรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏธรรมนี้นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! แม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อริยสาวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ข. หมวดเนื่องด้วยอาหารสี่--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง อาหารซึ่งเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาหาร เป็นอย่างไรเล่า ?--ท่านผู้มีอายุ ท. ! อาหาร ๔ อย่าง เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ดำรงอยู่ของภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีทั้งหลาย. อาหารสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง (เป็นที่หนึ่ง), ผัสสาหาร เป็นที่สอง, มโนสัญเจตนาหาร เป็นที่สาม, วิญญาณาหาร เป็นที่สี่.--ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา.--ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา.--มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะ ว่าเรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ค. หมวดเนื่องด้วยอริยสัจสี่--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวก เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์. แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์. แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, การประสบ--กับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า ทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องทำให้มีภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ, ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ความจางคลายดับไม่เหลือแห่งตัณหานี้นั่นเอง เป็นความสละทิ้ง เป็นความสลัดคืน เป็นความปล่อย เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น อันใด ; ท่านผู้มีอายุ ท. ! อันนี้ เรียกว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสิรฐ นี้นั่นเองได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งทุกข์ อย่างนี้, รู้ ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยแห่งทิฏฐิและมานะว่า--เรามีเราเป็น ได้โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาแล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น เธอกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในทิฏฐธรรมนี้ นั่นเทียว. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้เพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. หมวดเนื่องด้วยปฏิจจสมุปปันนธรรมตามหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท--ง. ๑ เกี่ยวกับชรามรณะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรา มรณะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?” ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชรามรณะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ.--ที่หน้า ๕๓๓ ตั้งแต่คำว่า ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้”.--ง. ๒ เกี่ยวกับชาติ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีหรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ชาติเป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ” ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชาติ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--พึงดูได้จากหนังสือปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๓ ตั้งแต่คำว่า การเกิด การกำเนิด การก้าวลง .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชาติ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๓ เกี่ยวกับภพ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้, อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับภพ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดู--ได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ. ที่หน้า ๕๓๓ – ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งภพ อย่างนี้, รู้ชัด ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย …. (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๔ เกี่ยวกับอุปาทาน--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท .! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร--เล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับอุปาทาน โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทานอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๕ เกี่ยวกับตัณหา--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง ตัณหา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา เป็นอย่าง--ไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหาเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับตัณหาโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๔ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตันหา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๖ เกี่ยวกับเวทนา--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งเวทนา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่าน--ผู้มีอายุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเวทนา โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า).... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๗ เกี่ยวกับผัสสะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบ--แล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?” ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับผัสสะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๘ เกี่ยวกับ สฬายตนะ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของ--เขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสฬายตนะ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๕ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งสฬายตนะ ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ..... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๙ เกี่ยวกับนามรูป--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มี--ประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูปเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับนามรูปโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๖ ตั้งแต่คำว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๐ เกี่ยวกับวิญญาณ--“ท่านผู้มีอายุ ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งวิญญาณ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ซึ่งข้อ--ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิญญาณโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๖ ตั้งแต่คำว่า หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง วิญญาณอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า ) .... ไม่หวั่นไหวในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๑ เกี่ยวกับสังขาร--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขาร ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท.! สังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารเป็นอย่างไรเล่า ?” (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสังขารโดยนัยแห่งอริยสัจสี่ พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า ๕๓๗ ตั้งแต่คำว่า สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้คือ .... ถึงคำว่า .... ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งสังขารอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขารอย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย .... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”--ง. ๑๒ เกี่ยวกับ อวิชชา--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”--“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งอวิชชา ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ?”--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! อวิชชาคือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความไม่รู้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ท่านผู้มีอายุ ท. ! นี้เรียกว่า อวิชชา”.--ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอาสวะ.--ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ.--มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่ง อวิชชาอย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอวิชชา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ..... (ข้อความต่อไปนี้ เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) ..... ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระ??
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/87-101/113-130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๘๗/ -๑๐๑/๑๑๓-๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 51
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site