สัทธรรมลำดับที่ : 692
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
เนื้อความทั้งหมด :-(มัชฌิมาปฏิปทาตามที่ทรงแสดงไว้ในสูตรนี้ เห็นได้ว่า ทรงแสดงส่วนสุดสองข้างไว้ด้วยอาฬ๎หปฏิปทา คือความตกไปในกาม และนิชฌามปฏิปทา คือ วัตรปฏิบัติของ อเจลกะซึ่งเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า อัตตกิลมถานุโยค หรือตปัสสีวัตร ซึ่งมีรายละเอียดหาดูได้ในหนังสือ พุ. โอ. ที่หน้า ๕๖-๕๗. ในที่นี้จะเห็นได้ว่า โพธิปักขิยธรรมทั้งสามสิบเจ็ดข้อ นั่นแหละคือมัชฌิมาปฏิปทา ; หรือถึงกับจะกล่าวได้ว่า ข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ซึ่งรวมกันแล้วเรียกได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือพรหมจรรย์ทั้งสิ้น, นั่นแหละคือ มัชฌิมาปฏิปทา).--ค. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นลึก)--(หลักเกณฑ์นี้ อาศัยพระบาลีที่ตรัสโต้ตอบแก่บุคคลผู้มาทูลถาม ซึ่งส่วนมากเป็นพรหมณ์ ได้ถามเรื่องสิ่งตรงข้ามที่แยกกันเป็นคู่ๆ ; เช่นว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือไม่มี; สิ่งทั้งปวงเหมือนกัน หรือต่างกัน ; ตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้กระทำหรือเสวยผล ; การกล่าวลงไปว่า สิ่งนั้นๆเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว หรือว่าเป็นอย่างอื่นจากความเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว ; ดังนี้เป็นต้น. พระองค์ ตรัสตอบโดยสายกลาง (มชฺเฌน) ไม่ยอมรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, โดยพระบาลีว่า “เอเต เต พฺราหฺมณ อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺเฌน ตถาคโต ธมฺมํ เทเสติ ฯลฯ” :-)--พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง (มชฺเฌน) ไม่เข้า ไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :---“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;--เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;--เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;--เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;--เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;--เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;--เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;--เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;--เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;--เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;--เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ;--เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;--เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ;--เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;--เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ;--เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ;--เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ;--เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;--เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;--เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ;--เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นเอง, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.--- นิทาน. สํ. ๑๖/๙๑,๙๒,๙๐,๒๗,๒๔,๗๒-๗๔/๑๗๓,๑๗๖,๑๗๐,๕๕,๕๐,๑๒๙-๑๓๒.--(คำว่า มชฺเฌน โดยพระบาลีข้างบนนี้ ก็คือคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง, มัชฌิมาปฏิปทาจึงได้แก่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่กล่าวแล้วในสูตรนี้ ซึ่งทำให้ไม่อาจกล่าวสิ่งใดๆโดยความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว ที่เรียกว่าส่วนสุดข้างหนึ่ง ๆ. รายละเอียดเกี่ยวกับสุดโต่งเป็นคู่ๆนี้ หาดูได้จากหนังสือ พุ. โอ. ตั้งแต่หน้า ๒๔๗ ถึงหน้า ๒๕๒.--อยากจะแนะว่า ในการศึกษาเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานั้น ควรจะศึกษามัชฌิมาปฏิปทาชั้นพื้นฐานทั่วไปคืออัฏฐังคิกมรรค เป็นลำดับแรก, แล้วศึกษามัชฌิมาปฏิปทาในความหมายชั้นกว้างคือโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เป็นลำดับที่สอง, แล้วจึงศึกษามัชฺมาปฏิปทาในความหมายชั้นลึกคือปฏิจจสมุปบาท เป็นลำดับสุดท้าย ; มิฉะนั้นจะลำบาก).--ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด--ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย. บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย. วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย. ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย. นี่แหละทางเพื่อความหมดจด แห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.--เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ; เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ; ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก (วิธีแห่งการกระทำ). ผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ : นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/51/30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 693
ชื่อบทธรรม : -ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
เนื้อความทั้งหมด :-ลำดับการปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล--ภิกษุ ท. ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความพอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียงอันดับเดียว. ภิกษุ ท. ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.--ภิกษุ ท. ! ก็การประสพความพอใจในอรหัตตผล ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพระการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :--เป็นผู้มีสัทธา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา (สัปบุรุษ) ;--เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ;--เมื่อเข้าๆไปนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ ;--ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ;--ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้, ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้ ;--เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่, ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์ ;--เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่ ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด ;--ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อมมีอุตสาหะ ;--ครั้นมีอุตสาหะแล้ว ย่อมใช้ดุลยพินิจ (เพื่อหาความจริง);--ครั้นใช้ดุลยพินิจ (พบ) แล้ว ย่อมตั้งตนไว้ในธรรม นั้น;--ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย, ย่อมเห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/233/238
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 694
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย เหตุปัจจัยของมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ง. ว่าด้วย เหตุปัจจัยของมรรค--ธรรมเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรค--ภิกษุ ท. ! เมื่อดวงอาทิตย์กำลังขึ้น สิ่งที่มาก่อน เป็น นิมิตให้เห็นก่อน คือการขึ้นมาแห่งอรุณ ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เมื่อมีการเกิดขึ้นแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคของภิกษุ สิ่งที่มาก่อน เป็นนิมิตให้เห็นก่อน คือ กัล๎ยาณมิตตตา (ความเป็นผู้กัลยาณมิตร) ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือความหวังของภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร คือเธอจักเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค ได้จักกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้ ชนิดไหนกันเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ. ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคได้ อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/36-39/129-146.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖-๓๙/๑๒๙-๑๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 695
ชื่อบทธรรม : -[ในตำแหน่งแห่ง กัล๎ยาณมิตตตา ในฐานะเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น ในสูตรอื่น ทรงแสดงไว้ด้วยธรรมะชื่ออื่นอีกหลายชื่อคือ:
เนื้อความทั้งหมด :-[ในตำแหน่งแห่ง กัล๎ยาณมิตตตา ในฐานะเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น ในสูตรอื่น ทรงแสดงไว้ด้วยธรรมะชื่ออื่นอีกหลายชื่อคือ:---ศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) เป็นรุ่งอรุณ--ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ ความพอใจ) เป็นรุ่งอรุณ--อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความเหมาะสมแห่งตน) เป็นรุ่งอรุณ--ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ) เป็นรุ่งอรุณ--อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท) เป็นรุ่งอรุณ--โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย) เป็นรุ่งอรุณ (รวมเป็นเจ็ดอย่างทั้งกัลยาณมิตตา) และต่อท้ายด้วยคำว่าผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น ย่อมเจริญกระทำให้มากซึ่งองค์แห่งมรรคชนิดอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะเป็นต้น ด้วยกันทั้งนั้น.--ในสูตรอื่น ผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น นอกจากจะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งองค์แห่งมรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง ได้แล้ว, ยังสามารถเจริญองค์มรรค ชนิดที่มีการนำออกซึ่งราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ได้, ดังนี้ก็มี. สำหรับคำว่า ธรรมที่เป็นรุ่งอรุณแห่งการเกิดขึ้นของอัฏฐังคิกมรรค เจ็ดประการข้างบนนั้น ในสูตรอื่นๆ ไม่เรียกว่า รุ่งอรุณ แต่เรียกว่า เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก (พหุปการธมฺม) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอัฏฐังคิกมรรค (๑๙/๔๐-๔๒/๑๔๗ - ๑๖๔) ก็มี ; และในสูตรอื่นๆ เรียกว่า เป็นธรรมะที่ทำอัฏฐังคิกมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำอัฏฐังคิกมรรคที่เกิดอยู่แล้วให้ถึงความเจริญบริบูรณ์ (๑๙/๔๔-๔๗/๑๖๕-๑๘๒) ก็มี; และตอนท้ายสูตร ก็มีต่อท้ายด้วยคำว่า ผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น ย่อมเจริญกระทำให้มากซึ่งองค์แห่งมรรค ชนิดอาศัยวิเวกเป็นต้น และชนิดที่มีการนำออกซึ่ง ราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ด้วยกันทั้งนั้น].--อัฏฐังคิกมรรคสำเร็จได้ด้วยอัปปมาทยอดแห่งกุศลธรรม--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า มีมากเท้าก็ดี มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ก็ดี, มีประมาณเท่าใด ; ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี--กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง. ความไม่ประมาท ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าบรรดากุศลธรรมเหล่านั้น ; ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุ ผู้ไม่ประมาทพึงหวังได้ คือ เธอจัก เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค๑.--[ การที่ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง ในสูตรนี้ทรงอุปมาด้วยพระตถาคตเป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง. ส่วนในสูตรอื่นอีกมากแห่ง :---ทรงอุปมาด้วย รอยเท้าช้าง เลิศคือใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ยอดเรือน เลิศคืออยู่เหนือไม้โครงเรือนทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย รากไม้โกฏฐานุสาริยะ (กลัมพัก ?) เลิศกว่ารากไม้หอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แก่นจันทร์แดง เลิศกว่าไม้แก่นหอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ดอกวัสสิกะ (มะลิ ?) เลิศกว่าดอกไม้หอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ราชาจักรพรรดิ เลิศกว่าพระราชาเมืองขึ้นเมืองออกทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แสงจันทร์ เลิศคือรุ่งเรืองกว่าแสงดาวทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แสงอาทิตย์ ภายหลังฝนตกไม่มีเมฆในฤดูสารท แจ่มใสกว่าความแจ่มใสทั้งปวงในอากาศ ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ผ้ากาสี เลิศกว่าบรรดาผ้าทอด้วยเส้นด้ายทั้งหลาย ดังนี้ก็มี].-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/62-67/254-263.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒-๖๗/๒๕๔-๒๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 696
ชื่อบทธรรม : -๑. อริยอัฏฐังคิกมรรคมี ๔ รูปแบบ คือ ชนิดที่อาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ และเป็นโวสสัคคปริณามี ๑ ; ชนิดที่มีการนำออกซึ่งราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ๑ ; ชนิดที่มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ๑ ; และชนิดที่ลาดเอียงเงื้อมไปสู่นิพพาน ๑.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. อริยอัฏฐังคิกมรรคมี ๔ รูปแบบ คือ ชนิดที่อาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ และเป็นโวสสัคคปริณามี ๑ ; ชนิดที่มีการนำออกซึ่งราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ๑ ; ชนิดที่มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ๑ ; และชนิดที่ลาดเอียงเงื้อมไปสู่นิพพาน ๑.--หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ของมรรค--อัฏฐังคิกมรรค เป็นปฏิปทาเพื่อความเป็นอริยบุคคลสี่--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุทั้งหลาย ย่อมประพฤติ พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุเพื่อจะทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนา (อันเป็นอิทธิวิธีประการต่าง ๆ) เหล่านั้นเสียละกระมัง ?”--มหาลิ ! ภิกษุทั้งหลาย ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุเพื่อจะทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น ก็หามิได้ ; แต่ธรรมะเหล่าอื่นที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า กว่าสมาธิภาวนาเหล่านั้น ก็มีอยู่ ; และ ภิกษุทั้งหลายพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันยิ่งกว่าประณีตกว่าเหล่านั้น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมทั้งหลาย อันยิ่งกว่าประณีตกว่า เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า ?”--มหาลิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. มหาลิ ! นี้แล ธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะก็เบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งห้า เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงแล้วแลอยู่. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่า.--มหาลิ ! ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล เป็นธรรมยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกระทำให้แจ้ง.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มรรคมีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น ?”--มหาลิ ! มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเป็นอย่างไร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น ?”--อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. มหาลิ ! นี้แล มรรค นี้แล ปฏิปทา เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/199-200/250-254.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๙๙-๒๐๐/๒๕๐-๒๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 697
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะธรรมเครื่องข้ามฝั่ง
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะธรรมเครื่องข้ามฝั่ง--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการไปจากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏสงสาร) สู่ที่อันเป็นฝั่ง (นิพพาน). แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อการไปจากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏสงสาร) สู่ที่อันเป็นฝั่ง (นิพพาน).--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก หมู่มนุษย์นอกนั้น ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง.--ก็ชนเหล่าใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก.--จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย แล้วเจริญธรรมขาว จงมาถึงที่ไม่มีน้ำจากที่มีน้ำ จงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีความกังวล จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก.--บัณทิตพึงชำระตนให้หมดจด จากกิเลสแห่งจิต เหมือนจิตของพวกที่อบรมดีแล้วโดยชอบ ในองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้พร้อมทั้งหลาย.--ชนเหล่าใด ไม่ยึดมั่นแล้ว ยินดีในความสลัดคืนซึ่งความยึดมั่น ไม่มีอาสวะ มีความรุ่งเรืองด้วยปัญญา. ชนเหล่านั้นเป็นผู้ดับเย็น (ปรินิพฺพุตา) ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/29/97-98.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙/๙๗-๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 698
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะพรหมจรรย์
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะพรหมจรรย์--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง พรหมจรรย์ และ ผลแห่งพรหมจรรย์. เธอทั้งหลายจงฟัง.--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า พรหมจรรย์.--ภิกษุ ท. ! ผลแห่งพรหมจรรย์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ โสตาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ . 19/31-32/111-113.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ . ๑๙/๓๑-๓๒/๑๑๑-๑๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 699
ชื่อบทธรรม : -อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นกรรมที่สิ้นกรรม
เนื้อความทั้งหมด :-อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นกรรมที่สิ้นกรรม--ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน.--กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่. ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่. ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่. ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนา ที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกสัตว์นรก. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมดำ มีวิบากดำ.--ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขารอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; ผัสสะทั้งหลาย ที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อัน--เป็นสุขโดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.--ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขารอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ; ผัสสะทั้งหลาย ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนา ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.--ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺกฺ. อํ. 21/320-321/237.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺกฺ. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 700
ชื่อบทธรรม : -อานิสงส์พิเศษแห่งอัฏฐังคิกมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรนี้ ทรงแสดงกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นที่สิ้นกรรมไว้ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด; ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วย โพชฌงค์เจ็ด ก็มี -๒๑/๓๒๒/๒๓๘, แสดงไว้ด้วยเจตนาเป็นเครื่องละกรรมดำกรรมขาวและกรรมทั้งดำทั้งขาว ก็มี -๒๑/๓๑๘/๒๓๔).--อานิสงส์พิเศษแห่งอัฏฐังคิกมรรค--(ทำให้รู้จักพระศาสดาอย่างถูกต้อง)--กัสสป ! ข้ออื่น ที่เราจะต้องพูดกันอีก มีอยู่ ; คือวิญญูชนทั้งหลายจงลองหยิบขึ้นมาแยกแยะ จงลองสอบสวน จงลองซักซ้อม เปรียบเทียบกันระหว่างศาสดากับศาสดา ระหว่างสาวกกับสาวก ว่า ในบรรดาธรรมทั้งหลายที่ท่านผู้เจริญทั้งสองฝ่ายเหล่านี้ยอมรับตรงกัน ว่า เป็นกุศล นับเนื่องในกุศล, เป็นธรรมไม่มีโทษ นับเนื่องในธรรมไม่มีโทษ, เป็นธรรมควรเสพ นับเนื่องในธรรมควรเสพ, เป็นธรรมควรแก่อริยะ นับเนื่องในธรรมควรแก่อริยะ, เป็นธรรมฝ่ายขาว นับเนื่องในธรรมฝ่ายขาว ดังนี้ ; ธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั้น คนพวกไหนสมาทานประพฤติธรรมเหล่านั้นได้ครบถ้วนไม่มีเหลือ คือจะเป็นพวกสาวกของพระสมณโคดม หรือจะเป็นพวกสาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่นเล่า ?--กัสสป ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้, คือเมื่อวิญญูชนทั้งหลาย ลองหยิบขึ้นมาแยกแยะ ลองสอบสวน ลองซักซ้อมดู ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ว่าจะเป็นพวกไหนที่ประพฤติได้หมดจดไม่มีส่วนเหลือ ดังนี้แล้ว วิญญูชนเหล่านั้น--ก็พากันสรรเสริญพวกเราเป็นส่วนมาก ในข้อนั้น ; เพราะว่า หนทางมีอยู่ปฏิปทามีอยู่ ซึ่งผู้ปฏิบัติแล้ว จักรู้ได้เองเห็นได้เอง ว่า “พระสมณโคดมเป็นผู้มีปรกติกล่าวตามกาล (กาลวาที) กล่าวถูกต้องตามที่เป็นจริง (ภูตวาที) กล่าวโดยอรรถ (อตฺถวาที) กล่าวโดยธรรม (ธมฺมวาที) กล่าวโดยวินัย (วินยวาที)” ดังนี้.--กัสสป ! หนทางนั้นเป็นอย่างไร ? ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไรเล่า ? หนทางนั้นคือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--กัสสป ! นี้แลเป็นหนทาง เป็นปฏิปทา ซึ่งผู้ปฏิบัติตามนั้นแล้ว จักรู้ได้เอง จักเห็นได้เองทีเดียว ว่าพระสมณโคดมเป็นผู้มีปกติกล่าวตามกาล กล่าวถูกต้องตามที่เป็นจริง กล่าวโดยอรรถ กล่าวโดยธรรม กล่าวโดยวินัยดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/209/265.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๐๙/๒๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 701
ชื่อบทธรรม : -หมวด ฉ. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ฉ. ว่าด้วย ปกิณณกะ--อัฏฐังคิกมรรคกับนิพพาน--“พระโคดมผู้เจริญ ! ธรรมเท่าไรหนอ ที่บุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วมีนิพพานเป็นที่ไป มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุดจบ ?”--นันทิยะ ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรม มีนิพพานเป็นที่ไป (นิพฺพานคม) มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า (นิพฺพานปรายน) มีนิพพานเป็นที่สุดจบ (นิพฺพานปริโยสาน). แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. นันทิยะ ! ธรรมแปดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว มีนิพพานเป็นที่ไป มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุดจบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.ส.19/14/45.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.ส.๑๙/๑๔/๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 702
ชื่อบทธรรม : -โพชฌงค์ในฐานะเป็นมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-โพชฌงค์ในฐานะเป็นมรรค--ภิกษุ ท. ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งตัณหา พวกเธอจงเจริญซึ่งมรรคนั้นปฏิปทานั้น.--ภิกษุ ท. ! มรรคนั้น ปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ โพชฌงค์เจ็ด ; กล่าวคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.--(ประโยชน์แห่งมรรคและปฏิปทาในสูตรนี้ ทรงแสดงเป็น ความสิ้นแห่งตัณหา ; ในสูตรอื่นทรงแสดงเป็น ความดับแห่งตัณหา ก็มี).--เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอุทายิทูลถามว่า เจริญโพชฌงค์เจ็ดนั้น ด้วยวิธีอย่างไร ? ตรัสว่า :---อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ ....ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ....วิริยะสัมโพชฌงค์ ....ปิติสัมโพชฌงค์ ....ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์--....สมาธิสัมโพชฌงค์ ....อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ เป็นโพชฌงค์อันไพบูลย์ ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีความลำบาก. เมื่อเจริญสติสัมโพชฌงค์ (เป็นต้น) อย่างนี้อยู่, ตัณหาย่อมละไป. เพราะตัณหาละไป กรรมก็ละไป ; เพราะกรรมละไป ทุกข์ก็ละไป. อุทายิ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ความสิ้นกรรมย่อมมีเพราะความสิ้นตัณหา ความสิ้นทุกข์ย่อมมีเพราะความสิ้นกรรม แล.--(นอกจากจะทรงแสดงโพชฌงค์เจ็ดในฐานะเป็นมรรคปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อความดับตัณหา ดังนี้แล้ว ยังทรงแสดงไว้โดยนัยอื่นอีก คือ :-)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงมรรคอันเป็นส่วนเจาะแทงกิเลส (นิพฺเพธภาคิย) ; เธอทั้งหลายจงฟังให้ดี. มรรคอันมีส่วนเจาะแทงกิเลส นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือสัมโพชฌงค์เจ็ด. เจ็ดคืออะไรเล่า ? เจ็ดคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.--ตรัสดังนี้แล้ว ท่านอุทายิได้ทูลถามว่า “การเจริญทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์เจ็ด อันมีส่วนแห่งการเจาะแทงกิเลส นั้นเจริญอย่างชนิดไหนกันเล่า พระเจ้าข้า ?” ตรัสว่า :---อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ....ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ....วิริยะสัมโพชฌงค์ ....ปิติสัมโพชฌงค์ ....ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ .... สมาธิสัมโพชฌงค์ .... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ เป็นโพชฌงค์อันไพบูลย์ ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีความลำบาก. ภิกษุนั้น ด้วยจิตมีสติสัมโพชฌงค์ .....ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ....วิริยะสัมโพชฌงค์ ....ปิติสัมโพชฌงค์ .....ปัสสัทธิ--สัมโพชฌงค์ ....สมาธิสัมโพชฌงค์ ....อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเจริญแล้ว ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย ซึ่งกองแห่งโลภะ อันยังไม่เคยเจาะแทง อันยังไม่เคยทำลาย; ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย ซึ่งกองแห่งโทสะ อันยังไม่เคยเจาะแทง อันยังไม่เคยทำลาย; ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย ซึ่งกองแห่งโมหะ อันยังไม่เคยเจาะแทง อันยังไม่เคยทำลาย.--อุทายิ ! โพชฌงค์เจ็ด เจริญอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการเจาะแทงกิเลส แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/123-124/449-454.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๓-๑๒๔/๔๔๙-๔๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 703
ชื่อบทธรรม : -ปรารภโพชฌงค์แล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย
เนื้อความทั้งหมด :-ปรารภโพชฌงค์แล้ว มรรคก็เป็นอันปรารภด้วย--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดด้วย. ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยมรรคอันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย.--โพชฌงค์เจ็ดประการ อย่างไรเล่า ? เจ็ดประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการ เหล่านี้ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารภผิดแล้ว, อริยมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภผิดแล้วด้วย. ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการ--เหล่านี้ อันบุคคลใด ใครก็ตาม ปรารภถูกต้องแล้ว, อริยมรรค อันเป็นทางให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของบุคคลเหล่านั้น ก็เป็นอันปรารภถูกต้องแล้วด้วย.--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออกอันประเสริฐ ย่อมนำบุคคลผู้ประพฤติโพชฌงค์นั้นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ.--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปโดยส่วนเดียว เพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความเข้าไประงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/117-118/431-434.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๑๗-๑๑๘/๔๓๑-๔๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site