สัทธรรมลำดับที่ : 51
ชื่อบทธรรม : -สาวกมาอยู่อาศัยพระองค์ เพราะทรงตอบปัญหาอริยสัจได้
เนื้อความทั้งหมด :-สาวกมาอยู่อาศัยพระองค์ เพราะทรงตอบปัญหาอริยสัจได้--อุทายิ ! ...บางคราวเราบริโภคเสมอขอบปากบาตร บางคราวยิ่งขึ้นไป, ถ้าสาวกทั้งหลาย สักการะเคารพนับถือบูชา และมาอยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเข้าใจว่าเราเป็นผู้มีอาหารน้อย และกล่าวสรรเสริญความมีอาหารน้อยแล้วสาวกพวกที่ฉันอาหารเพียงจอกน้อย ครึ่งจอกน้อย เท่าผลมะตูม กึ่งผลมะตูม ก็จะหาสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วและอยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเหตุนั้นได้ไม่.--อุทายิ ! ...บางคราวเราครองคหบดีจีวร เนื้อแน่นละเอียดด้วยเส้นด้ายดุจขนน้ำเต้า, ถ้าสาวกทั้งหลาย สักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเข้าใจว่า เราเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้แล้ว สาวกพวกที่ถือผ้าบังสุกุลทรงจีวรเศร้าหมอง เสาะหาผ้าขาด ๆ จากป่าช้าบ้าง จากกองขยะมูลฝอยบ้าง จากใต้ร้านตลาดบ้าง มาทำเป็นสังฆาฏิครอง ก็จะหาสักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเหตุนั้นได้ไม่.--อุทายิ ! ...บางคราวเราอยู่เกลื่อนกล่นด้วยภิกษุทั้งหลาย ด้วยภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยอุบาสกทั้งหลาย ด้วยอุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชาและอมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย, ถ้าว่าสาวก--ทั้งหลายสักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเข้าใจว่า เราเป็นผู้เสพเสนาสนะอันสงัดแล้ว สาวกพวกที่อยู่ป่า ถือเสนาสนะสงัดในป่า มาสู่ที่ประชุมสงฆ์เฉพาะคราวมีปาติโมกข์ทุก ๆ กึ่งเดือน เท่านั้น ก็จะหาสักการะ ฯลฯ อยู่อาศัยด้วยเรา เพราะเหตุนั้นได้ไม่. ฯลฯ--อุทายิ ! ...สาวกทั้งหลายของเรา ถูกความทุกข์หยั่งลงแล้ว มีทุกข์อยู่ตรงหน้าแล้ว ด้วยทุกข์ใด, เธอเหล่านั้นเข้าไปหาเราแล้ว ถาม ทุกขอริยสัจกะเรา เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้ เรายังจิตของเธอเหล่านั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหา. ....เธอถาม ทุกขสมุทยอริยสัจ, ทุกขนิโรธอริยสัจ, และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ กะเรา, เราถูกถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้ เรายังจิตของเธอเหล่านั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ปัญหา. อุทายิ ! นี่แลเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วและอยู่อาศัยด้วยเรา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/318-323/324-332.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๑๘-๓๒๓/๓๒๔-๓๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 52
ชื่อบทธรรม : -พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต
เนื้อความทั้งหมด :-พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต--- อนาคต - ปัจจุบัน ล้วนแต่ตรัสรู้อริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงไปแล้ว ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต, ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใด ๆ จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ต่อกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต,--ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ก็จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตามเป็นจริงอยู่ ในกาลเป็นปัจจุบันนี้ ก็ได้ตรัสรู้อยู่ ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับ ไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/543/1704.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 53
ชื่อบทธรรม : -เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุที่ต้องมีพระพุทธองค์และธรรมวินัยอยู่ในโลก--ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ; ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ, และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คือ อะไรเล่า ? คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ). ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/154/76.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 54
ชื่อบทธรรม : -ผู้ช่วยให้รู้อริยสัจ นับเนื่องอยู่ในบุคคลผู้มีอุปการะมาก
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ช่วยให้รู้อริยสัจ นับเนื่องอยู่ในบุคคลผู้มีอุปการะมาก--ภิกษุ ท. ! บุคคลมีอุปการะมากต่อบุคคล สามจำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สามจำพวกเหล่าไหนเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ. ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นอีก, บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ ชื่อว่ามีอุปการะมากต่อบุคคลนี้.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้แล ชื่อว่าบุคคลผู้มีอุปการะมากต่อบุคคล.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ไม่มีบุคคลอื่นที่มีอุปการะมากต่อบุคคล ยิ่งไปกว่าบุคคล ๓ จำพวกนี้.--ภิกษุ ท. ! สำหรับบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลจะกระทำปฏิการะได้โดยง่ายหามิได้ แม้ด้วยการอภิวาท การลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม และการตามถวายซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร, แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/155/463.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๕๕/๔๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 56
ชื่อบทธรรม : -การรู้อริยสัจ ไม่เป็นสิ่งสุดวิสัย
เนื้อความทั้งหมด :-การรู้อริยสัจ ไม่เป็นสิ่งสุดวิสัย--ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน--ล้วนมีการประกาศอริยสัจ ตามเป็นจริง--ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ประกาศธรรมที่ตนรู้ดียิ่งแล้วตามเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ประกาศแล้ว ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง, ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด จักประกาศธรรมที่ตนรู้ดียิ่งแล้วตามเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน จักประกาศซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ในกาลเป็นปัจจุบันนี้, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดประกาศอยู่ซึ่งธรรมที่ตนรู้ดียิ่งแล้วตามเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ย่อมประกาศอยู่ ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้นเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ ,เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/523/1659.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๓/๑๖๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 57
ชื่อบทธรรม : -มีบุคคลบวชแล้วรู้อริยสัจ ทั้งในอดีต - อนาคต - ปัจจุบัน
เนื้อความทั้งหมด :-มีบุคคลบวชแล้วรู้อริยสัจ ทั้งในอดีต - อนาคต - ปัจจุบัน--ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต, กุลบุตรเหล่าใด ออกจากเรือนบวชแล้ว เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ได้รู้พร้อมยิ่งแล้วตามเป็นจริง, กุลบุตรทั้งหมดนั้น ได้รู้พร้อมยิ่งแล้ว ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต, กุลบุตรเหล่าใด จักออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน จักรู้พร้อมยิ่งตามเป็นจริง, กุลบุตรทั้งหมดนั้น ก็จักรู้พร้อมยิ่งแล้ว ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. และในกาลเป็นปัจจุบันนี้, กุลบุตรเหล่าใด ออกจากเรือนบวชอยู่ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน รู้พร้อมยิ่งอยู่ตามเป็นจริง, กุลบุตรทั้งหมดนั้น ก็รู้พร้อมยิ่งอยู่ ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/521/1657.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๑/๑๖๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 58
ชื่อบทธรรม : -ทั้งอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ล้วนแต่มีการรู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ทั้งอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ล้วนแต่มีการรู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามใน กาลยืดยาวฝ่ายอดีต ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วตามความเป็นจริง, บุคคลเหล่านั้น--ทั้งหมด ก็ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วตามความเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามใน กาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักรู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริง, บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ก็จักรู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! บุคคลทั้งหลายเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตามใน กาลนี้ รู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริงอยู่, บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ก็รู้พร้อมเฉพาะตามความเป็นจริงอยู่ ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์, ความจริงอันประเสริฐเรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และความจริงอันประเสริฐเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม๑ อันเป็นเครื่องทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. 19/522/1658.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๒/๑๖๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 59
ชื่อบทธรรม : -๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่วไปว่า “โยคะ” ; เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่วไปว่า “โยคะ” ; เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.--ตรัสว่าจงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด. ภิกษุ ผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง, รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียร ในการหลีกเร้นเถิด. ภิกษุผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/520/1655.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 60
ชื่อบทธรรม : -ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง
เนื้อความทั้งหมด :-ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/520/1654.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 61
ชื่อบทธรรม : -จิตเป็นสมาธิแล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-จิตเป็นสมาธิแล้ว--รู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในน้ำอันใส--...ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความ ดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ; เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย, นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ, นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ;” ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จาก อาสวะคือกาม อาสวะคือ ภพ อาสวะคืออวิชชา. ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว” เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส ที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุ (ไม่บอด) ยืนอยู่บนฝั่ง ณ ที่นั้น : เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง--ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น. เขาจำจะสำนึกใจอย่างนี้ ว่า “ห้วงน้ำนี้ใสไม่ขุ่นมัวเลย : หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” : อุปมานี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ; เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย, นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ, นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ;” ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จากอาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคืออวิชชา. ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว” เธอนั้นรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/509/477.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๕๐๙/๔๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 62
ชื่อบทธรรม : -เมื่อประพฤติถูกทาง
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อประพฤติถูกทาง--กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามน้ำ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก, ไม่จมเสียในกลางน้ำ, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่ผุเสียเองในภายใน ไซร้, ท่อนไม้ที่--กล่าวถึงนี้ จักลอยไหลพุ่งออกไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคาโน้มน้อมลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ทะเล, อุปมานี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, แม้พวกเธอทั้งหลาย : ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งใน, ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้, พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดา ที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน ฯลฯ.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘ฝั่งใน’ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง คำว่า ‘ฝั่งนอก’ เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ อย่าง. คำว่า ‘จมเสียในท่ามกลาง’ เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำว่า ‘ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก’ เป็นชื่อของอัส๎มิมานะ (ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น). คำว่า ‘ถูกมนุษย์จับไว้’ ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกัน, มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ประกอบการงานในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้. คำว่า ‘ถูกอมนุษย์จับไว้’ ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ : ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้ คำว่า ‘ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้’ เป็นชื่อของกามคุณ ๕. ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติ--พรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะมีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย ; ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/223-224/322-323.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓-๒๒๔/๓๒๒-๓๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 63
ชื่อบทธรรม : -การรู้จักอันตคาหิกทิฏฐิไม่เกี่ยวกับ
เนื้อความทั้งหมด :-การรู้จักอันตคาหิกทิฏฐิไม่เกี่ยวกับ--การรู้อริยสัจและการประพฤติพรหมจรรย์--มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “โลกมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก” ดังนี้เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก” ดังนี้เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี” ดังนี้ เป็นสิ่งเราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! ทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ? เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่งความรู้พร้อม และนิพพาน, เหตุนั้น นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?--มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า “นี้ ความทุกข์” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า “นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า “นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! สัจจะว่า “นี้ ทางเดินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.--มาลุงก๎ยบุตร ! เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ? เพราะเหตุว่า นั่น ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ นั่นเป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ ความระงับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน, เหตุนั้น นั่นเราจึงพยากรณ์.--มาลุงกย๎บุตร ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอจงถือเอาสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ และสิ่งที่เราพยากรณ์โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ดังนี้เถิด.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ ; เมื่อทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ก็ตาม มีอยู่ ; ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมีมรณะก็ยังมี, โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี, อันเป็น สิ่งที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “โลกมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ ; เมื่อทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า โลกมีที่สิ้นสุด หรือว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด ก็ตาม มีอยู่ ; ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี, โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายก็ยังมี, อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ ; เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่าชีวะก็--อันอื่น สรีระก็อันอื่น ก็ตาม มีอยู่, ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี, โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี, อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการ กำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ ; เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก หรือว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมไม่มีอีก ก็ตามมีอยู่ ; ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี, โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี, อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ก็มีไม่มีอีกก็มี” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ ;nเมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้ มีอยู่, มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อยู่นั่นเอง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี หรือว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ก็ตาม มีอยู่ ; ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี, โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี, อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/151, 150/152, 151.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๕๑, ๑๕๐/๑๕๒, ๑๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 5
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site