สัทธรรมลำดับที่ : 681
ชื่อบทธรรม : - ตโปชิคุจฉิวัตร
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า “กามสุขัลลิกานุโยค“ กับคำว่า “สุขัลลิกานุโยค“ มิใช่คำคำเดียวกัน และมีความหมายแคบกว่ากัน คือกามสุขัลลิกานุโยคนั้น มุ่งความสุขเกิดแต่กามอย่างเดียว ส่วนสุขัลลิกานุโยคนั้น รวมเอาความสุขของคนบาปก็ได้ ของคนบริโภคกามก็ได้ ของคนมีความสุขเกิดจากฌานหรือสมาธิก็ได้, กล่าวได้ว่า มีความหมายกว้างกว่ากามสุขัลลิกานุโยคสามเท่าตัวเป็นอย่างน้อย).--ตโปชิคุจฉิวัตร--เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการรื้อถอนซึ่งโอฆะ โดยข้อปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ ด้วยสีลวิสุทธิ์ และด้วยตโปชิคุจฉะ (การเกียจกันบาปด้วยตบะ). ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร?”.--สาฬ๎หะเอ๋ย ! เรากล่าวสีลวิสุทธิ์ว่าเป็นองค์แห่งสามัญญปฏิบัติองค์ใดองค์หนึ่ง ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท (การสอนเกียจกันบาป--ด้วยตบะ) มีตโปชิคุจฉะเป็นสาระ เกลือกกลั้วพัวพันอยู่ในตโปชิคุจฉะ เป็นพวกที่ไม่สมควรที่จะรื้อถอนซึ่งโอฆะ ; ถึงแม้สมณพราหมณ์พวกที่มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีมโนสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ พวกนั้นไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่ความรู้พร้อมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า (อนุตฺตรสมฺโพธ).--สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะข้ามแม่น้ำ ถือขวานกุฏฐารี เข้าไปสู่ป่า เห็นต้นสาละใหญ่ ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีส่วนน่ารังเกียจ เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน แล้วตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบออกหมดจด แล้วถากด้วยขวานกุฏฐารี แล้วถากด้วยมีด ขูดด้วยเครื่องขูด ขัดให้เกลี้ยงด้วยก้อนหินกลม แล้วปล่อยลงน้ำ. สาฬ๎หะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นอาจจะข้ามแม่น้ำไปได้หรือหนอ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะท่อนไม้สาละนั้น ทำบริกรรมถูกต้องแต่ภายนอก ภายในไม่ถูกต้อง (สำหรับความเป็นเรือ) เลย สิ่งที่บุรุษนั้นจะหวังได้คือ ท่อนไม้สาละนั้นจักจมลง บุรุษนั้น จักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า ! ”--สาฬ๎หะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : สมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท ก็ไม่อาจที่จะถอนซึ่งโอฆะ; แม้พวกที่มีสมาจารไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่อนุตตรสัมโพธะ ฉันนั้นเหมือนกัน.--(ต่อไปได้ตรัสข้อความอันเป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งผู้อ่านอาจจะเปรียบเทียบได้เองจนตลอดเรื่อง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/271-274/196.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๑-๒๗๔/๑๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 682
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค--อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า . ‘อมตะ อมตะ (ความไม่ตาย ๆ)’ ดังนี้ อมตะ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ? และหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ (อมตคามิมคฺค) คืออะไร พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นแห่งราคะ ความสิ้นแห่งโทสะ ความสิ้นแห่งโมหะ : นี้เรียกว่า อมตะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ คือหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ ; ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/10/32.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐/๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 683
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค มีกระแสไหลไปสู่นิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค มีกระแสไหลไปสู่นิพพาน--ภิกษุ ท. ! มหานทีไร ๆ เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำ อจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ; แม่น้ำทั้งหมดนั้น ลาดไปทางปราจีนทิศ (ทิศตะวันออก) เอียงไปทางปราจีนทิศ เงื้อมไปทางปราจีนทิศ ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ ย่อมเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่าง ไรเล่า จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมา---สังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละลง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/49/189-190.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙/๑๘๙-๑๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 684
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นดังที่กล่าวข้างบนนั้น ในบางสูตรตรัสว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ - โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๒/๒๐๕ ; ในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๕/๒๒๐ ; และในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ ลาดไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน เงื้อมไปสู่นิพพาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๘/๒๓๖. คำที่ว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปทางทิศปราจีนนั้น ในบางสูตรทรงใช้คำว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปสู่สมุทร ก็มี - ๑๙/๕๐,๕๔,๕๗,๖๐/๑๙๗,๒๑๒,๒๒๗,๒๔๓).--อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า “อาวุโส ท.! ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไรกัน?” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า “อาวุโส ท.! เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์แก่การ สำรอกซึ่งราคะ (ราควิราคตฺถํ)”. [และยังมีในสูตรอื่นที่ตรัสว่า :- เพื่อประโยชน์แก่การ ละสังโยชน์ (สญฺโญชนปหานตฺถํ) ดังนี้ก็มี ;--เพื่อประโยชน์แก่การ ถอนอนุสัย (อนุสยสมุคฺฆาตนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดรู้ความที่สัตว์ ต้องเดินทางไกลด้วยอวิชชา (อทฺธานปริญฺญตถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวานํ ขยตฺถํ) ดังนี้ ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ (วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การรู้การเห็น (ญาณทสฺสนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การดับเย็นในทิฏธรรมเพราะไม่ยึดมั่น (อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถํ) ดังนี้ก็มี].--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “อาวุโส ท. ! มรรคมีหรือ ปฏิปทามีหรือ เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ?” ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่เพื่อการ สำรอกซึ่งราคะ.--ภิกษุ ท. ! มรรคนั้นเป็นอย่างไร ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไร เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้แลมรรค นี้แลปฏิปทา เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ.--(ข้อความสองย่อหน้าข้างบนนี้ มีต่อท้ายหลักธรรมที่เป็นจุดหมายของ พรหมจรรย์ตามรายนามที่กล่าวไว้ข้างบนทุกๆข้อ เช่นข้อว่า “เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์“ เป็นต้นผู้ศึกษาพึงกำหนดเอาเอง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/33-35/117-128.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓-๓๕/๑๑๗-๑๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 685
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ--ภิกษุ ท. ! หม้อ ที่ไม่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ง่าย, หม้อที่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ยาก, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! จิตที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย, จิตที่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นเชิงรองรับของจิต ? อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้คือ เชิงรองรับของจิต.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/25/78-79.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕/๗๘-๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 686
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง--ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด, อริยอัฏฐังคิกมรรค เรากล่าวว่า เป็นธรรมเลิศกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น.--ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด เลื่อมใสแล้ว ในอริยอัฏฐังคิกมรรค, ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ. วิบากที่เลิศ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/44/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๔/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 687
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตาม--ทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชาหรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า “ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. ข้าพเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวนสมบูรณ์ ด้วยป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !“ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร. สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่าที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.--ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;--(ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึง ชาติ - ภพ - อุปาทาน - ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ - สุดลงเพียง - สังขาร (แต่ละอย่าง) โดยอาการทั้งสี่ ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันธรรมนั้นๆ เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! เรานั้น, ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น, ได้บอกแล้วแก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็น พรหมจรรย์ตั้งมั่น และรุ่งเรืองแล้ว เป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมากเป็นปึกแผ่นแน่นหนา จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสามารถประกาศได้ ด้วยดีแล้ว, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .16/128/253.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .๑๖/๑๒๘/๒๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 688
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค--ในฐานะเป็นหนทางแห่งการกำหนดรู้ทุกข์--ภิกษุ ท. ! ถ้าปริพพาชกเดียรถีย์อื่นถามเธออย่างนี้ ว่า “มรรคมีไหม ปฎิปทามีไหม เพื่อกำหนดรู้ซึ่งทุกข์ ?” ; เมื่อถูกถามอย่างนี้ พวกเธอพึงตอบแก่ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น ว่า มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ เพื่อกำหนดรู้ซึ่งทุกข์นั้น.--ภิกษุ ท. ! มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดรู้ ซึ่งทุกข์นั้น ? มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐนี้, กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แลมรรค นี้แลปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้ ซึ่งทุกข์นั้น.--ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น อย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/8-9/27-28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘-๙/๒๗-๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 689
ชื่อบทธรรม : -มัชฌิมาปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-มัชฌิมาปฏิปทา--ในฐานะเหตุให้เกิดจักษุและญาณเพื่อนิพพาน--ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) อันเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อมเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง; ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคต--ได้ทรงตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ 19/528/1664.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 690
ชื่อบทธรรม : -มัชฌิมาปฏิปทา ๓ ลำดับ
เนื้อความทั้งหมด :-มัชฌิมาปฏิปทา ๓ ลำดับ--ก. มัชฌิมาปฏิปทา (พื้นฐานทั่วไป)--ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้น คืออะไร ? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ; และ การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี้แล ; กล่าวคือ ความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริถูกต้อง (สัมมาสังกัปโป) การพูดจาที่ถูกต้อง (สัมมาวาจา) การทำงาน--ที่ถูกต้อง (สัมมากัมมันโต) การอาชีพที่ถูกต้อง (สัมมาอาชีโว) ความพากเพียรที่ถูกต้อง (สัมมาวายาโม) ความรำลึกที่ถูกต้อง (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง (สัมมาสมาธิ).--ภิกษุ ท. ! นี้แล มัชฌิมาปฏิปทานั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/528/1664.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 691
ชื่อบทธรรม : -ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นกว้าง)
เนื้อความทั้งหมด :-ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นกว้าง)--. . . . ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ....เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ; ....เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ; ....เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอันอาศัยฉันทะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิริยะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิมังสา เป็นปธานกิจ ; (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับการระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการรักษา).--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ ย่อมเจริญ สตินทรีย์ ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัทธาพละ ย่อมเจริญ วิริยพละ ย่อมเจริญ สติพละ ย่อมเจริญ สมาธิพละ ย่อมเจริญ ปัญญาพละ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญ สัมมาวาจา ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ ย่อมเจริญ สัมมาสติ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/380-382/596-597.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๘๐-๓๘๒/๕๙๖-๕๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1069
ชื่อบทธรรม : - สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
เนื้อความทั้งหมด :-(ความชุ่มอยู่ในกามสุข เรียกว่ากามสุขัลลิกะ, การประกอบตนอยู่ในกามสุขัลลิกะ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ; จัดเป็นอันตะฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึกแก่มัชฌิมาปฏิปทา) .--สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ--ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้.--จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔.--ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้.--จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.--สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์--เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.--จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้.--ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ--(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/143-145/114-116
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖
ลำดับสาธยายธรรม : 49
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site