สัทธรรมลำดับที่ : 673
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒--ภาค ๔ ว่าด้วยมัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค--ภาค ๔--มีเรื่อง :---นิทเทศ ๑๓ ว่าด้วย ข้อความนำมรรค ๒๙ เรื่อง--นิทเทศ ๑๔ ว่าด้วย สัมมาทิฏฐิ ๗๗ เรื่อง--นิทเทศ ๑๕ ว่าด้วย สัมมาสังกัปปะ ๑๙ เรื่อง--นิทเทศ ๑๖ ว่าด้วย สัมมาวาจา ๑๓ เรื่อง--นิทเทศ ๑๗ ว่าด้วย สัมมากัมมันตะ ๘ เรื่อง--นิทเทศ ๑๘ ว่าด้วย สัมมาอาชีวะ ๑๖ เรื่อง--นิทเทศ ๑๙ ว่าด้วย สัมมาวายามะ ๒๖ เรื่อง--นิทเทศ ๒๐ ว่าด้วย สัมมาสติ ๔๑ เรื่อง--นิทเทศ ๒๑ ว่าด้วย สัมมาสมาธิ ๕๑ เรื่อง--นิทเทศ ๒๒ ว่าด้วย ข้อความสรุปมรรค ๗๕ เรื่อง--อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๔ ว่าด้วยมัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค (มี ๑๐ นิเทศ) อุทเทศแห่งมัคคอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หนทางอันประเสริฐประกอบ ด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง, ได้แก่ ความเห็นถูกต้อง ความดำริถูกต้อง การพูดจาถูกต้อง การทำการงานถูกต้อง การดำรงชีพถูกต้อง ความพากเพียรถูกต้อง ความระลึกถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงถูกต้อง ; นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ .-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/228/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๒๒๘/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 674
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งมัคคอริยสัจ นิทเทศ ๑๓ ว่าด้วย ข้อความนำเรื่องมรรค (มี ๒๙ เรื่อง) หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ นิทเทศ ของมรรคอุทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งมัคคอริยสัจ นิทเทศ ๑๓ ว่าด้วย ข้อความนำเรื่องมรรค (มี ๒๙ เรื่อง) หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ นิทเทศ ของมรรคอุทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! หนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดประการนั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การดำรงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ; อันนี้เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/228/501
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๒๒๘/๕๐๑
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 675
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ ไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.--ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ พูดเท็จ การเว้นจากการ พูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.--ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑ , นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.--ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาชีพ เสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม ท. อันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม--๑. คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวที่เป็นกลางๆทั่วไป. แต่ในบางกรณีซึ่งมีน้อยมากกล่าวว่า เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ก็มี ; เข้าใจว่าเป็นการกล่าวมุ่งหมายบรรพชิต. (มหาวาร. ส. ๑๙/๑๑/๓๗).--ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ท. ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น--ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ.--ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท., ย่อมเข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะ--วิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึง ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. เพราะปิติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหา. ที . 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหา. ที . ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 676
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค--ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)--ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก--(อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง) สัมมาวาจา (การพูดจาที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง).--ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/528/1664.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 677
ชื่อบทธรรม : -อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย)
เนื้อความทั้งหมด :-อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย)--[ตอนอุทเทส]--บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่ง กามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง อัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.--ต่อไปนี้เป็น ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.--ควรรู้จักการกระทำที่เป็นการเชิดชู (อุสฺสาทน) และการกระทำที่เป็นการขับไล่ไสส่ง (อปสาทน), ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงกระทำการแกล้งเชิดชู ไม่พึงกระทำการขับไล่ไสส่ง พึงแสดงแต่ที่เป็นธรรมเท่านั้น. ควรรู้จักวินิจฉัยในกรณีแห่งความสุข, ครั้นรู้แล้ว พึงตามประกอบซึ่งความสุขในภายใน. ไม่ควรกล่าว รโหวาทะ (การกล่าวในที่ลับหลัง) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอติขีณวาท (การกล่าวใส่หน้า) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอย่างรีบร้อนจนปากสั่นเสียงสั่น ; ไม่พึงยึดถือภาษาพูดของชาวเมือง ไม่เพิกถอนโลกสมัญญา (ภาษาพูดของชาวโลก) ; ดังนี้. นี้คือหัวข้อ (อุทฺเทส) แห่งอรณวิภังคะ (การแยกธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ออกเสียจากธรรมที่เป็นข้าศึก).--[ตอนนิทเทส]--ธรรมใดซึ่งเป็นการตามประกอบซึ่งโสมนัส ของผู้มีสุขอันเนื่อง เฉพาะอยู่ด้วยกาม เป็นการกระทำต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วย ความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).--ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบด้วยโสมมัส ของผู้มีสุขอันเนื่องเฉพาะอยู่ด้วยกาม อันเป็นการประกอบด้วยโสมนัสซึ่งต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็น ข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).--ธรรมใด เป็นการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก (อตฺตกิลม ถานุโยค) อันเป็นการกระทำที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วยความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อ มัชฌิมาปฏิปทา).--ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก อันเป็นการตามประกอบที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).--คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า “บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่งกามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง--อัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ดังนี้, คำนั้นเราอาศัยเหตุผล (ดังกล่าวข้างบน) นี้ กล่าวแล้ว.--ก็คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน” ดังนี้นั้น(คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาในที่นี้) เรากล่าวแล้วหมายถึงอะไร ? หมายถึง อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้ นั่นเทียว กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ....--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานี้ ใด. อันเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ; ธรรม (มัชฌิมาปฏิปทา) นั้น เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ธรรมไม่เป็นข้าศึก (อรณ) .--- อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๒-๔๒๔,๔๓๑/๖๕๔-๖๕๖,๖๖๕.--อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลี ติก.อํ.)--ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อาคาฬ๎หปฏิปทา (ปฏิปทาเปียกแฉะ), นิชฌามปฏิปทา (ปฏิปทาไหม้เกรียม), มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! อาคาฬ๎หปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบาง คนในกรณีนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “โทษในกามทั้งหลายไม่มี”--ดังนี้ เขาย่อมถึงความจมอยู่ในกามทั้งหลาย : นี้เรียกว่า อาคาฬ๎หปฏิปทา (มิใช่ มัชฌิมาปฏิปทา).--ภิกษุ ท. ! นิชฌามปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์......ฯลฯ.... (รายละเอียดต่อไปจากนี้ มีอีกมาก ดูจากข้อความในหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่หัวข้อว่า “ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค” ที่หน้า ๕๖-๕๘ จนถึงคำว่า ....... เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่แม่น้ำเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ (กิเลสในกายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ ด้วยอาการนี้อยู่). ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา (มิใช่มัชฌิมาปฏิปทา).--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญสัมมาวาจา ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญสัมมาวายามะ ย่อมเจริญสัมมาสติ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ : นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลปฏิปทา ๓ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/381 - 382/597.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๓๘๑ - ๓๘๒/๕๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 678
ชื่อบทธรรม : - ลักษณะอีกปริยายหนึ่งแห่งกามสุขัลลิกานุโยค
เนื้อความทั้งหมด :-(อาคาฬ๎หปฏิปทาและ นิชฌามปฏิปทา สองอย่างนี้ แม้มีชื่อต่างจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค ก็ต่างกันสักว่าชื่อ ส่วนใจความเป็นอย่างเดียวกัน. ทั้งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อมัชฌิมาปฏิปทา จึงนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ในฐานะเป็นข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา).--ลักษณะอีกปริยายหนึ่งแห่งกามสุขัลลิกานุโยค--พราหมณ์ ! ในกรณีนี้ ผู้ที่เรียกตนเองว่าสมณะหรือพราหมณ์บางคน ปฏิญญาตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ เขาไม่เสพเมถุนกับมาตุคามก็จริงแล แต่ว่าเขายินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น การอาบ การถูตัว ที่ได้รับจากมาตุคาม. เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม. .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม และไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม แต่เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม. เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม. .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติ พรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม. แต่เขายังสบตาต่อตากับมาตุคาม แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้น .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม แต่เขายังชอบเสียงของมาตุคาม ที่หัวเราะอยู่ก็ดี พูดจาอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝา--ก็ตาม นอกกำแพงก็ตาม แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการฟังเสียงนั้น .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคาม แต่เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัวกันกับมาตุคาม แล้วก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการเฝ้าระลึกเช่นนั้น. .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติ พรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคามและทั้งไม่ชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่า ที่เคยหัวเราะ เล้าโลม เล่นหัวกันกับมาตุคาม แต่เขาเห็นพวกคหบดีหรือบุตรคหบดีอิ่มเอิบด้วยกามคุณ ได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้เห็นการกระทำเช่นนั้น .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...--... บางคน ... ไม่เสพเมถุนกับมาตุคาม ไม่ยินดีการลูบคลำ การนวดฟั้น เป็นต้น จากมาตุคาม ไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม ไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคาม ไม่ยินดีในการฟังเสียงของมาตุคามไม่ชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับมาตุคาม และทั้งไม่ยินดีที่จะเห็นพวกคหบดีหรือบุตรคหบดีอิ่มเอิบด้วยกามคุณ แล้วตนพลอยนึก--ปลื้มใจด้วยก็ตาม แต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาเพื่อไปเป็นเทพยดาพวกใดพวกหนึ่ง ด้วยอธิฐานว่า “ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง” ดังนี้. .... เรากล่าวว่า ผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังประกอบเกี่ยวพันด้วยเมถุน. ...-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/56-57/47.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๖-๕๗/๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 679
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่เรียกว่ากามคุณและกามสุข
เนื้อความทั้งหมด :-(การปฏิบัติ ๗ ประการนี้ เรียกโดยทั่วไปว่า เมถุนสังโยค แต่เพราะมีลักษณะเป็น กามสุขัลลิกานุโยค จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้).--สิ่งที่เรียกว่ากามคุณและกามสุข--อานนท์ ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นอันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล ชื่อว่า กามคุณ ๕.--อานนท์ ! สุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น ; สุขโสมนัสอันนั้น เรียกว่า กามสุข.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/96/100.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๙๖/๑๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 680
ชื่อบทธรรม : - สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
เนื้อความทั้งหมด :-(ความชุ่มอยู่ในกามสุข เรียกว่ากามสุขัลลิกะ, การประกอบตนอยู่ในกามสุขัลลิกะ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ; จัดเป็นอันตะฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึกแก่มัชฌิมาปฏิปทา) .--สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ--ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้.--จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔.--ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้.--จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.--สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์--เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.--จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้.--ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ--จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ--(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/143-145/114-116
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖
ลำดับสาธยายธรรม : 48
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site