สัทธรรมลำดับที่ : 667
ชื่อบทธรรม : -สติปัฏฐานบริบูรณ์เพราะอานาปานสติบริบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อปฏิบัติระบบนี้ ใช้ได้แม้แก่ผู้ตั้งต้นบำเพ็ญวิมุตติ ; และใช้ได้แก่ผู้บำเพ็ญวิมุตติแล้วแต่ยังไม่สุกรอบ คือเพิ่มข้อปฏิบัติชื่อเดียวกันเหล่านี้ให้ยิ่งขึ้นไป. นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญมาก ควรแก่การสนใจอย่างยิ่ง.--ธรรมะ ๕ ประการแห่งสูตรนี้เรียกในสูตรนี้ว่า “เครื่องบ่มวิมุตติ” ในสูตรอื่น (นวก. อํ. ๒๓/๓๖๔/๒๐๕) เรียกว่า “ที่ตั้งอาศัยแห่งการเจริญสัมโพธิปักขิยธรรม” ก็มี).--สติปัฏฐานบริบูรณ์เพราะอานาปานสติบริบูรณ์--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฎฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?--[หมวดกายานุปัสสนา]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ [๑] เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้, หรือว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้ก็ดี; [๒] เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้, หรือว่า เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ก็ดี ; [๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้ ; [๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--[หมวดเวทนานุปัสสนา]--ภิกษุ ท.! สมัยใด ภิกษุ [๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้ ; [๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้ ; [๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่ง ๆ ในเวทนาทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--[หมวดจิตตานุปัสสนา]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ [๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้ ; [๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็น--ผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--[หมวดธัมมานุปัสสนา]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ [๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ; [๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก--ดังนี้ ; [๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้าดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/195/289.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 668
ชื่อบทธรรม : -โพชฌงค์บริบูรณ์เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-โพชฌงค์บริบูรณ์เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์--ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้ ?--[โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสีย--ได้, สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! สมัยใดภิกษุ เป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา, สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้นใคร่ครวญในธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว. สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว. สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว, สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น--ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ, สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท. ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น, สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิต อันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--[โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนา ฯ]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส--ในโลกออกเสียได้, สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง. ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ จนจบหมวด).--[โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตา ฯ]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้, สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง. ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภมาแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ จนจบหมวด).--[โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมา ฯ]--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้, สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.--ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายา ฯ จนจบหมวด).--ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/197/290.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๗/๒๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 669
ชื่อบทธรรม : -วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง) ;--ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ;--ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/201/291.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๑/๒๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 670
ชื่อบทธรรม : -นิโรธอริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-นิโรธอริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชา--นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความ ดับแห่งวิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/227/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 671
ชื่อบทธรรม : -นิโรธอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
เนื้อความทั้งหมด :-นิโรธอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง--ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ:- ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้. อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้ มีอยู่, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละ มีอยู่, อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้แจ้ง มีอยู่.... ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจคือทุกข์ ; อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ; อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำให้แจ้งนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ ; ....--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้, พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริง ว่า ‘ทุกข์เป็นเช่นนี้ ๆ,’ ดังนี้ ; ว่า ‘เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ ๆ,’ ดังนี้ ; ว่า ‘ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ ;’ .... ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1709.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 672
ชื่อบทธรรม : --จบ--ภาค ๓--ว่าด้วยนิโรธอริยสัจ-นิทเทศ ๑๒
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๒--ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา--จบ--ภาค ๓--ว่าด้วยนิโรธอริยสัจ--ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์--จบ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก :
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :
ลำดับสาธยายธรรม : 47
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site