สัทธรรมลำดับที่ : 652
ชื่อบทธรรม : -เมื่อสังโยชน์เหมือนเครื่องหวายสิ้นอายุ
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อสังโยชน์เหมือนเครื่องหวายสิ้นอายุ--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่มีเครื่องผูกทำด้วยหวายอยู่ในน้ำตลอดหกเดือนแล้ว เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกเหล่านั้นผึ่งอยู่กับลมและแดด ชุ่มแฉะอยู่ด้วยหมอกอันชื้น ย่อมยุบตัว เปื่อยพังไปโดยไม่ยากเลย, นี้ ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์--ทั้งหลาย (ซึ่งเสมือนเครื่องหวายที่อบอยู่กับแดดลมและความชื้น) ย่อมระงับลง ๆ กระทั่งสูญเสียไป ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/128/68.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 653
ชื่อบทธรรม : -(เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธองค์ทรงมีถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งดูตามแผนที่แล้ว จะไม่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับทะเล แต่ก็ยังทรงทราบเรื่องเรือเดินทะเล, เป็นบุคคลในระดับกษัตริย์ ก็ยังทรงรู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของชาวบ้าน เช่นหวายที่ผูกเรือแพเดินทะเลสิ้นอายุผุพังไปตามฤดูกาลได้ ; แสดงว่าทรงมีพื้นเพแห่งสติปัญญาสมกับที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียจริงๆ).
เนื้อความทั้งหมด :-(เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธองค์ทรงมีถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งดูตามแผนที่แล้ว จะไม่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับทะเล แต่ก็ยังทรงทราบเรื่องเรือเดินทะเล, เป็นบุคคลในระดับกษัตริย์ ก็ยังทรงรู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของชาวบ้าน เช่นหวายที่ผูกเรือแพเดินทะเลสิ้นอายุผุพังไปตามฤดูกาลได้ ; แสดงว่าทรงมีพื้นเพแห่งสติปัญญาสมกับที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียจริงๆ).--ฟองไข่ออกเป็นตัว มิใช่โดยเจตนาของแม่ไก่--(เหมือนอาสวะสิ้นเอง เมื่อปฏิบัติชอบ)--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่, โดยแน่นอน เธอไม่ต้องปรารถนา ว่า “ โอหนอ ! จิตของเราถึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด” ดังนี้. จิตของเธอนั้นก็ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานได้เป็นแน่. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เธอมีการเจริญสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว พลิกให้ทั่วดีแล้ว คือฟักดีแล้ว, โดยแน่นอน แม่ไก่ ไม่ต้องปรารถนา ว่า “โอหนอ ! ลูกไก่ของเรา จงทำลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีเถิด” ดังนี้, ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะด้วยปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ โดยแท้, ฉันใดก็ฉันนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตตก.อํ. 23/127/68.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตตก.อํ. ๒๓/๑๒๗/๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 654
ชื่อบทธรรม : -ผลสูงต่ำแห่งการปฏิบัติ ตามที่อาจทำให้เกิดขึ้น
เนื้อความทั้งหมด :-ผลสูงต่ำแห่งการปฏิบัติ ตามที่อาจทำให้เกิดขึ้น--ภิกษุ ท. ! ปีติ ที่ประกอบด้วยอามิส (สามิส) ก็มี ปีติที่ไม่ประกอบด้วยอามิส (นิรามิส) ก็มี ปีติไม่ประกอบด้วยอามิสที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส (นิรามิสตร) ก็มี.--ความสุข ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี ความสุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิสก็มี ความสุขไม่ประกอบด้วยอามิสที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี.--อุเบกขา ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิสที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี.--วิโมกข์ ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิสที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี.--ภิกษุ ท. ! ปีติที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่, ห้าอย่างคือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง. ภิกษุ ท. ! ปีติใดอาศัยกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้น, ปีตินี้เรียกว่า ปีติประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! ปีติไม่ได้ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ปีตินี้เรียกว่า ปีติไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! ปีติไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิต ที่หลุดพ้นจากราคะ จิตที่หลุดพ้นจากโทสะ จิตที่หลุดพ้นจากโมหะอยู่ ; ปีติใดเกิดขึ้น, ปีตินั้นเรียกว่า ปีติไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! สุขที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ยกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ..... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง. ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้น, สุขนี้เรียกว่า สุขประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! สุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย--เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้ อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้, เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! สุขนี้เรียกว่า สุขไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท.! สุขไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิสเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิต ที่พ้นแล้วจากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้วจากโมหะ อยู่ ; สุขโสมนัสใดเกิดขึ้น, สุขโสมนัสนั้นเรียกว่า สุขไม่กอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! อุเบกขาที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง. ภิกษุ ท. ! อุเบกขาใด อาศัยกามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้น, อุเบกขานี้เรียกว่า อุเบกขาประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน, เข้าถึง จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อุเบกขานี้เรียกว่า อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิตที่พ้นแล้วจากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้วจากโมหะ อยู่ ; อุเบกขาใดเกิดขึ้น, อุเบกขานั้นเรียกว่า อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? วิโมกข์ที่ประกอบเนื่องอยู่ในรูป เรียกว่า วิโมกข์ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? วิโมกข์ที่ประกอบเนื่องอยู่ในอรูป เรียกว่า วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส.--ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ทิ่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิตที่พ้นแล้วจากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้วจากโมหะ อยู่ ; วิโมกข์ใดเกิดขึ้น, วิโมกข์นั้น เรียกว่า วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/292-295/446-457.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๒๙๒-๒๙๕/๔๔๖-๔๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 655
ชื่อบทธรรม : -อานิสงส์ตามลำดับการเกิดแห่งธรรมโดยไม่ต้องเจตนา
เนื้อความทั้งหมด :-อานิสงส์ตามลำดับการเกิดแห่งธรรมโดยไม่ต้องเจตนา--(จากสีลถึงวิมุตติ)--อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล : ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; อวิปปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; ความปราโมทย์ มีปีติเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ; นิพพิทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย; วิราคะ มี วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย.--อานนท์ ! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/336/208.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 656
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว อวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง).
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว อวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปราโมทย์จงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสารปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อปราโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปีติจงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “กายของเราจงรำงับ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงเสวยสุขเถิด”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อมีสุขก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิ (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็นจริง”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงเบื่อหน่าย”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงคลายกำหนัด”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ (เอง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/336/209.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 657
ชื่อบทธรรม : -สัญญาในอุปาทานระงับไป
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญาในอุปาทานระงับไป--เมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้นเป็นวิภูตะ--(ขอให้ผู้ศึกษาอดทนอ่านข้อความอันเป็นอุปมาในตอนต้น ซึ่งค่อนข้างจะยืดยาวให้เห็นชัดเสียก่อน ว่า ม้ากระจอกกับม้าอาชาไนยต่างกันอย่างไร จึงจะเข้าใจความต่างระหว่างผู้ที่เพ่งด้วยความยึดถือและเพ่งด้วยความไม่ยึดถือ จึงจะเข้าใจความหมายของคำว่า วิภูตะ-ความเห็นแจ้งของผู้ที่เพ่งด้วยความไม่ยึดถือ).--สันธะ ! เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย ; อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์กระจอก.--สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก ? สันธะ ! ม้ากระจอก ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันก็จะเพ่งอยู่แต่ว่า “ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่ามันไม่มีแก่ใจที่จะคิดว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ; มันมัวเพ่งอยู่ในใจว่า “ ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้.--สันธะ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุกระจอกบางรูปในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม มีจิตถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุมห่อหุ้มอยู่. เขาไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ; เขากระทำกามราคะนั้น ๆ ให้เนื่องกันไม่ขาดสาย เพ่งอยู่ เพ่งทั่วอยู่ เพ่งโดยไม่เหลืออยู่ เพ่งลงอยู่. (ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉานิวรณ์ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์). ภิกษุนั้นย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าดินบ้าง ย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าน้ำบ้าง อาศัยความสำคัญว่าไฟบ้าง--อาศัยความสำคัญว่าลมบ้าง ว่าอากาสานัญจายตนะบ้าง ว่าวิญญาณัญจายตนะบ้าง ว่าอากิญจัญญายตนะบ้าง ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ว่าโลกนี้บ้าง ว่าโลกอื่นบ้าง อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆเป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่. สันธะ ! อย่างนี้แล เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก.--สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์อาชาไนย ? สันธะ ! ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันจะไม่เพ่งอยู่แต่ว่า “ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ? สันธะ ! เพราะเหตุว่า แม้ถูกผูกอยู่ที่รางเลี้ยงอาหาร แต่ใจของมันมัวไปคิดอยู่ว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ดังนี้ ; มันไม่มัวแต่เพ่งอยู่ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้. สันธะ ! ก็ม้าอาชาไนยนั้น รู้สึกอยู่ว่า การถูกลงปะฏักนั้นเป็นเหมือนการใช้หนี้ การถูกจองจำ ความเสื่อมเสีย เป็นเหมือนเสนียดจัญไร.--(ขอให้สังเกตว่า แม้อยู่ในที่เดียวกัน ต่อหน้าสถานการณ์อย่างเดียวกัน ม้าสองตัวนี้ก็มีความรู้สึกอยู่ในใจคนละอย่างตามความต่างของมัน คือตัวหนึ่งเพ่งแต่จะกิน ตัวหนึ่งเพ่งแต่ในหน้าที่ ที่จะไม่ทำให้บกพร่องจนถูกลงโทษ ; ดังนี้เรียกว่า มีความเพ่งต่างกันเป็นคนละอย่าง).--สันธะ ! ภิกษุอาชาไนยผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม, มีจิตไม่ถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุม ห่อหุ้ม อยู่, เขาเห็นตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว.--(ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉา - นิวรณ์ ก็ได้เป็นไปในลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์). ภิกษุนั้น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าดิน--ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำ ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟ ไม่อาศัยความสำคัญว่าลม ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกนี้ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกอื่น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว”, “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว”, “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว”, “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว”, “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆ เป็นต้น ดังนี้บ้าง, เพ่งอยู่ ๆ. สันธะ ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการบุรุษอาชาไนยผู้เจริญผู้เพ่งอยู่อย่างนี้ มาแต่ที่ไกลทีเดียว กล่าวว่า :---“ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษสูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน”--(เมื่อตรัสดังนี้แล้ว สันธภิกษุได้ทูลถามว่า :-)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอย่างไรกัน ชนิดที่ไม่อาศัยดินหรือน้ำเป็นต้นแล้วเพ่ง จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น พระเจ้าข้า ?”--(ต่อไปนี้ เป็นคำตรัสที่แสดงให้เห็นว่า สัญญาต่างๆ จะถูกเพิกถอนไป เมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้นเป็นที่แจ่มแจ้งแก่ผู้เพ่ง ว่าสิ่งนั้นๆ มิได้เป็นตามที่คนธรรมดาสามัญที่สำคัญว่าเป็นอย่างไร ; ขอให้ผู้ศึกษาตั้งใจทำความเข้าใจให้ดีที่สุด ดังต่อไปนี้ :-)--สัทธะ ! ในกรณีนี้ ปฐวีสัญญา (ความสำคัญในดินว่าดิน) ย่อมเป็นแจ้ง (วิภูติเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง) แก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ (ว่าดินที่สำคัญกันว่าเป็นดินนั้น หาใช่ดินไม่ หากแต่เป็นเพียงสังขตธรรมตามธรรมชาติ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา - ตามนัยแห่งอรรถกถา : มโนรถปูรณี ภ. ๓ น. ๔๓๒) ความสำคัญในน้ำว่าน้ำ, ความสำคัญในไฟว่าไฟ, ความสำคัญในลมว่าลม, ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ, ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าวิญญาณัญจายตนะ, ความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าอากิญจัญญายตนะ, ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ความสำคัญในโลกนี้ว่าโลกนี้, ความสำคัญในโลกอื่นว่าโลกอื่น, ความสำคัญในสิ่งที่เห็นแล้ว ฟังแล้ว ฯลฯ ว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว” “สิ่งที่เราฟังแล้ว” ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ (ว่าสิ่งเหล่านั้น หาได้เป็นที่สำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นอะไร ๆ กันนั้นไม่ หากแต่เป็นสังขตธรรมตามธรรมชาติ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา - ตามนัยแห่งอรรถกถา : นโนรถปูรณี ภ. ๓ น. ๔๓๒).--สันธะ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ไม่อาศัยความสำคัญว่าดินแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟแล้วเพ่ง เป็นต้น จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/348/216.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๘/๒๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 658
ชื่อบทธรรม : -อนุสัยทั้งสามไม่เกิดแก่อริยสาวก แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-อนุสัยทั้งสามไม่เกิดแก่อริยสาวก แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา--ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่กระวนกระวาย ย่อมไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความมีสติฟั่นเฟือน ; ย่อมเสวยเวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกาย, หามีเวทนาทางจิตไม่.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศรแล้ว ไม่พึงยิงซ้ำ บุรุษนั้นด้วยลูกศรที่สอง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาจากลูกศร เพียงลูกเดียว, แม้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่, ก็ไม่เศร้าโศก ไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความมีสติฟั่นเฟือน ;--อริยสาวกนั้น ชื่อว่าย่อมเสวยเวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกาย หามีเวทนาทางจิตไม่. อริยสาวกนั้น หาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นไม่. ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา, ปฏิฆานุสัยอันนั้น ย่อมไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกคนนั้นผู้ไม่มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนา.--อริยสาวกนั้น อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่ (น้อมนึก) พอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ย่อม รู้ชัดอุบายเครื่องปลดเปลื้องซึ่งทุกขเวทนา ซึ่งเป็นอุบายอื่นนอกจากกามสุข. เมื่ออริยสาวกนั้นมิได้พอใจซึ่งกามสุขอยู่, ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา, ราคานุสัยอันนั้น ก็ ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น.--อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง. เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงอยู่, อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา, อวิชชานุสัยอันนั้น ก็ย่อม ไม่นอนตามซึ่งอริยสาวกนั้น.--อริยสาวกนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมไม่เป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ; ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ; ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ; เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/258/371.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๒๕๘/๓๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 659
ชื่อบทธรรม : -การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสาม แล้วดับเย็น
เนื้อความทั้งหมด :-การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสาม แล้วดับเย็น--(พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปในโรงเป็นที่รักษาภิกษุเจ็บไข้ ได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า : -)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ : นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ....; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ....; เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง, อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ : นี้แล เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ มีสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรม อยู่ อย่างนี้, สุขเวทนา เกิดขึ้น ไซร้ ; เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัยแล้วหาเกิดขึ้นได้ไม่. อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยเหตุปัจจัยคือกายนี้ นั่นเอง ก็กายนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายซึ่งไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้แล้ว จักเป็นสุขเวทนาที่เที่ยงมาแต่ไหน” ดังนี้. ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ ตามเห็นความเสื่อม ความจางคลายอยู่ ตามเห็นความดับไป ความสลัดคืนอยู่ ในกายและในสุขเวทนา. เมื่อเธอเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง (เป็นต้น) อยู่ในกายและในสุขเวทนาอยู่ดังนี้, เธอย่อมละเสียได้ ซึ่ง ราคานุสัย ในกายและในสุขเวทนานั้น.--(ในกรณีถัดไปซึ่งเป็นการเสวย ทุกขเวทนา อันจะเป็นเหตุให้เกิด ปฏิฆานุสัย นั้น ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกัน ที่ภิกษุพิจารณาเห็นกายและทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็ละปฏิฆานุสัยในกายและในทุกขเวทนานั้นเสียได้.--ในกรณีถัดไปอีก แห่งการเสวย อทุกขมสุขเวทนา อันจะเป็นทางให้เกิด อวิชชานุสัย ก็ได้ตรัสวิธีปฏิบัติในการพิจารณาเห็นกายและอทุกขมสุขเวทนานั้น โดยทำนองเดียวกัน จนละอวิชชานุสัยเสียได้).--ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ สุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้. ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ทุกขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้. ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้.--ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.--ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ; เมื่อเสวย เวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ. เธอย่อม รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน ได้อาศัยน้ำมันและไส้แล้ว ก็ลุกโพลงอยู่ได้, เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดน้ำมันและไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุ เมื่อเสวย--เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ, ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้. เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ดังนี้. (เป็นอันว่า) ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/260/374-381.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๐/๓๗๔-๓๘๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 45
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site