สัทธรรมลำดับที่ : 641
ชื่อบทธรรม : -รู้จักอุปาทาน ต่อเมื่อหมดอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-รู้จักอุปาทาน ต่อเมื่อหมดอุปาทาน--ภิกษุ ท. ! ธรรมเพื่อการรอบรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ?--(ความจริงมีอยู่ว่า :-) เพราะอาศัย จักษุ และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั้นคือผัสสะ ;--เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา. ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เห็นอยู่ (ซึ่งกระแสการปรุงแต่ง) อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ เบื่อหน่ายทั้งในรูป เบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ เบื่อหน่ายทั้งในจักขุสัมผัส เบื่อหน่ายทั้งในเวทนา. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า “อุปาทานของเรา เรารอบรู้แล้ว เพราะความหลุดพ้นนั้น (วิโมกฺขปริญฺญาตํ)” ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/39/63.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๓๙/๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 642
ชื่อบทธรรม : -(ข้อความนี้ เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งที่คนธรรมดาจะไม่นึกฝัน ว่าเราจะรู้จักสิ่งใดถึงที่สุดนั้น ก็ต่อเมื่อเราจัดการกับสิ่งนั้นตามที่ควรจะทำ ถึงที่สุดแล้ว, มิใช่ว่าพอสักว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ก็รู้จักสิ่งนั้นโดยสมบูรณ์แล้ว. ในกรณีนี้ มีใจความสำคัญว่า จะรู้จักกิเลสข้อไหนได้ ก็ต่อเมื่อ เราทำลายกิเลสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว). อาสวะสิ้นไปเพราะการกำจัดสมารัมภะและอวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้ เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งที่คนธรรมดาจะไม่นึกฝัน ว่าเราจะรู้จักสิ่งใดถึงที่สุดนั้น ก็ต่อเมื่อเราจัดการกับสิ่งนั้นตามที่ควรจะทำ ถึงที่สุดแล้ว, มิใช่ว่าพอสักว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ก็รู้จักสิ่งนั้นโดยสมบูรณ์แล้ว. ในกรณีนี้ มีใจความสำคัญว่า จะรู้จักกิเลสข้อไหนได้ ก็ต่อเมื่อ เราทำลายกิเลสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว). อาสวะสิ้นไปเพราะการกำจัดสมารัมภะและอวิชชา--วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะกายสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางกาย) เป็นปัจจัยเป็นเครื่อง ทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจาก กายสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้อง ๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่า (นิชฺชรา) นี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน--เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะวจีสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางวาจา) เป็นปัจจัยเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจาก วจีสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้อง ๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะมโนสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางใจ) เป็นปัจจัยเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อน ; เมื่อบุคคลเว้นขาดแล้วจาก มโนสมารัมภะ, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้อง ๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนาจะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะ--ใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--วัปปะ ! ท่านจะเข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อน; เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เพราะความสำรอกออกเสียได้หมดซึ่ง อวิชชา, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี. บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้อง ๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้ว กระทำให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. วัปปะ ! อาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/268/195.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๖๘/๑๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 643
ชื่อบทธรรม : -พอรู้เรื่องการร้อยรัด ก็สามารถทำที่สุดทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-พอรู้เรื่องการร้อยรัด ก็สามารถทำที่สุดทุกข์--ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ผัสสสมุทัย เป็นส่วนสุดข้างที่สอง ผัสสนิโรธ มีในท่ามกลาง ตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัดให้ติดกัน ; ตัณหานั่นแหละ ย่อมถักร้อยเพื่อให้เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ นั่นเทียว.--ภิกษุ ท. !ด้วยความรู้เพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมที่ควรรอบรู้ ; เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง รอบรู้ซึ่งธรรมที่ควรรอบรู้ อยู่, ย่อมเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในทิฏฐธรรมเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. 22/448/332.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. ๒๒/๔๔๘/๓๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 644
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งการถึงที่สุดทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งการถึงที่สุดทุกข์--ภิกษุ ท. ! อวิชชาภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลใด, ในกาลนั้น ภิกษุนั้น, เพราะความสำรอกออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา, เธอย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันเป็นบุญ ; ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันมิใช่บุญ ; ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่ง อภิสังขารอันเป็นอเนญชา ; เมื่อ ไม่ปรุงแต่ง อยู่, เมื่อ ไม่มุ่งมาด อยู่, เธอย่อม ไม่ถือมั่นสิ่งไรๆ ในโลก ; เมื่อไม่ถือมั่นอยู่, เธอย่อม ไม่สะดุ้งหวาดเสียว; เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่, เธอย่อม ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว. เธอย่อมรู้ประจักษ์ว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า “เวทนานั้น ไม่เที่ยงอันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว” ดังนี้. ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็รู้ประจักษ์ว่า “เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว” ดังนี้. ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า “เวทนานั้นไม่เที่ยง อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว” ดังนี้. ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ; ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ; ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.--ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า “เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ” ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวย เวทนาอันมี--ชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า “เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ” ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพนี้เอง ; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ ; จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางไว้พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงระงับหายไป ในที่นั้นเอง กระเบื้องทั้งหลายก็เหลืออยู่ นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษว่า “เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ” ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า “เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ” ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้เอง; สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ ; จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ; คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ พึงปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร, หรือว่าพึงปรุงแต่ง อปุญญาภิสังขาร, หรือว่า พึงปรุงแต่ง อเนญชาภิสังขาร, บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อสังขารทั้งหลาย ไม่มี, เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง, วิญญาณ พึงปรากฎ บ้างหรือหนอ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อวิญญาณ ไม่มี, เพราะความดับแห่งวิญญาณ โดยประการทั้งปวง, นามรูป พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อนามรูป ไม่มี, เพราะความดับแห่งนามรูป โดยประการทั้งปวง, สฬายตนะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อสฬายตนะ ไม่มี, เพราะความดับแห่งสฬายตนะ โดยประการทั้งปวง, ผัสสะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อผัสสะ ไม่มี, เพราะความดับแห่งผัสสะ โดยประการทั้งปวง, เวทนา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อเวทนา ไม่มี, เพราะความดับแห่งเวทนา โดยประการทั้งปวง, ตัณหา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อตัณหา ไม่มี, เพราะความดับแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง, อุปาทาน พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่ออุปาทาน ไม่มี, เพราะความดับแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวง, ภพ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อภพ ไม่มี, เพราะความดับแห่งภพ โดยประการทั้งปวง, ชาติ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--เมื่อชาติ ไม่มี, เพราะความดับแห่งชาติ โดยประการทั้งปวง. ชรามรณะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงทำความสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงปลงซึ่งความเชื่อ ในข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ; จงเป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด ; นั่นแหละที่สุดแห่งทุกข์ละ, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/99-101/192-195.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๙๙-๑๐๑/๑๙๒-๑๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 645
ชื่อบทธรรม : -ลำดับแห่งการดับของสังขาร
เนื้อความทั้งหมด :-ลำดับแห่งการดับของสังขาร--(อนุปุพพสังขารนิโรธ)--ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลำดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้คือ :---เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะแล้วอากาสานัญจายตนสัญญาย่อดับ ;--เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ ;--เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ ;--เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/268/392.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 646
ชื่อบทธรรม : -[ข้อความในสูตรอื่น (๑๘/๒๗๒-๒๗๓/๔๐๑-๔๐๒.) แทนที่จะทรงเรียกอาการเช่นนี้แห่ง สังขารว่า “ความดับ” (นิโรโธ) แต่ไปทรงเรียกเสียว่า “ความเข้าไปสงบ” (วูปสโม) ก็มีและทรงเรียกว่า “ความสงบรำงับเฉพาะ” (ปฏิปฺปสฺสทฺธิ) ก็มี].
เนื้อความทั้งหมด :-[ข้อความในสูตรอื่น (๑๘/๒๗๒-๒๗๓/๔๐๑-๔๐๒.) แทนที่จะทรงเรียกอาการเช่นนี้แห่ง สังขารว่า “ความดับ” (นิโรโธ) แต่ไปทรงเรียกเสียว่า “ความเข้าไปสงบ” (วูปสโม) ก็มีและทรงเรียกว่า “ความสงบรำงับเฉพาะ” (ปฏิปฺปสฺสทฺธิ) ก็มี].--จิตหยั่งลงสู่อมตะเมื่อประกอบด้วยสัญญาอันเหมาะสม--ภิกษุ ท. ! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.--เจ็ดประการ อย่างไรเล่า ? คือ อสุภสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อสุภสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นเข้าไปในการดื่มด่ำ อยู่ในเมถุนธรรม แต่ความวางเฉยหรือว่าความรู้สึกว่าปฏิกูล ดำรงอยู่ในจิต ; เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหด ย่อมงอ ไม่เหยียดออก ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่จิตยังไหลเข้าไปในความดื่มด่ำอยู่ในเมถุนธรรม หรือความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลยังดำรง อยู่ในจิตแล้วไซร้ ; ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า “อสุภสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้วคุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. .... ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า “อสุภสัญญาอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน” ดังนี้.--[ในกรณีแห่ง มรณสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความยินดีในชีวิต (ชีวิตนิกนฺติ) ก็ดี ; ในกรณีแห่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากตัณหาในรส(รสตณฺหา) ก็ดี ; ในกรณีแห่ง สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความเป็นจิตติดอยู่ในโลก (โลกจิตฺต) ก็ดี ; ในกรณีแห่ง อนิจจสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ (ลาภสกฺการสิโลก) ก็ดี ; ทั้งสี่สัญญานี้ ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ อสุภสัญญา ซึ่งผู้ศึกษาสามารถทำการเปรียบเทียบดูเองได้ ต่อไปนี้ได้ตรัสถึง อนิจเจทุกขสัญญา อันมีระเบียบแห่งถ้อยคำแปลกออกไปดังต่อไปนี้ :-]--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อนิจเจทุกขสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้า (ติพฺพาภยสญฺญา) ย่อมปรากฏขึ้นในความไม่ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่ประกอบความเพียร และในความสะเพร่า อย่างน่ากลัวเปรียบเสมือนมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ตรงหน้า ฉะนั้น. ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้า ในความไม่ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่ประกอบ ความเพียร และในความสะเพร่า ก็ไม่ปรากฏขึ้นอย่างน่ากลัวเสมือนหนึ่งมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ตรงหน้า แล้วไซร ้; ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า “อนิจเจทุกขสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้ อยู่ดังนี้. ....ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า “อนิจเจทุกขสัญญา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย ทุกเขอนัตตสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก ใจย่อมปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา (อหงฺการมมงฺการมาน) ทั้งในกาย อันประกอบด้วยวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหลายในภายนอกด้วย เป็นใจที่ก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิธา (มานะ ๓ ชั้น) เป็นใจสงบระงับ พ้นพิเศษแล้วด้วยดี. ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่ใจยังไม่ปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหลายในภายนอก ไม่เป็นใจก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิธา ไม่สงบระงับพ้นพิเศษแล้วด้วยดีแล้วไซร้ ; ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า “ทุกเขอนัตตสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรม--เสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา” ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. .... ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้ อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า “ทุกเขอนัตตสัญญาอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน”--ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน, แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/48/46.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๘/๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 647
ชื่อบทธรรม : -(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สัญญา เหล่านี้ แม้จะนำไปสู่อมตะด้วยกันทั้งนั้นแต่ก็มีลักษณะต่างๆ กัน พึงเลือกเฟ้นเจริญให้ถูกต้องเหมาะสมแก่กรณีของตนๆ เถิด). บรรลุอรหันต์โดยละมัญญนะหกชนิด
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สัญญา เหล่านี้ แม้จะนำไปสู่อมตะด้วยกันทั้งนั้นแต่ก็มีลักษณะต่างๆ กัน พึงเลือกเฟ้นเจริญให้ถูกต้องเหมาะสมแก่กรณีของตนๆ เถิด). บรรลุอรหันต์โดยละมัญญนะหกชนิด--ภิกษุ ท. ! บุคคล ไม่ละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล. ธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่างคือ มานะ (ถือตัว), โอมานะ (แกล้งลดตัว), อติมานะ (ยกตัว), อธิมานะ (ถือตัวจัด), ถัมภะ (หัวดื้อ), อตินิปาตะ (สำคัญตัวเองว่าเลว). ภิกษุ ท. ! บุคคลไม่ละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่าง เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล. ธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่างคือ มานะ โอมานะ อติมานะ อธิมานะ ถัมภะ อตินิปาตะ. ภิกษุ ท. ! บุคคลละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่าง เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/479/347.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๙/๓๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 648
ชื่อบทธรรม : -ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของการละ
เนื้อความทั้งหมด :-ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของการละ--กาม - รูป – อรูปราคะ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว, เมื่อ เสพ คบ คลุกคลีอยู่กับพวกชั่ว และถือเอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่ แล้วจักกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;๑ เมื่อไม่กระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรม (ธรรมที่ควรศึกษาสูงขึ้นไป) ให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ; เมื่อไม่กระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ; เมื่อไม่กระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ หรือรูปราคะ หรืออรูปราคะได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี, เมื่อ เสพ คบ คลุกคลีอยู่กับพวกมิตรดี และถือเอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่ แล้วจักกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ; เมื่อกระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ; เมื่อกระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ; เมื่อกระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ แล้วจักละกามราคะ หรือรูปราคะ หรืออรูปราคะได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/472/338.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๒/๓๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 649
ชื่อบทธรรม : -๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตรหรือมรรยาทที่สาธุชนทั่วไป จะพึงปฏิบัติในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง ; กล่าวสรุปสั้นๆ ก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะเป็นนักศึกษา. ขอให้ทุกคนทำการชำระสะสางอภิสมาจาริกธรรมของตน ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเรื่องแรกเสียก่อน.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตรหรือมรรยาทที่สาธุชนทั่วไป จะพึงปฏิบัติในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง ; กล่าวสรุปสั้นๆ ก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะเป็นนักศึกษา. ขอให้ทุกคนทำการชำระสะสางอภิสมาจาริกธรรมของตน ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเรื่องแรกเสียก่อน.--ละราคะโทสะโมหะได้ เพราะไม่หลงในสัญโญชนิยธรรม--ภิกษุ ท. ! ธรรมสองประการเหล่านี้ มีอยู่. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการ คือ การตามเห็นความเป็นของน่ายินดี ในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลาย และการตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่าย ในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ผู้ตามเห็นความเป็นของน่ายินดีในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมไม่ละได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ ; เพราะละไม่ได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ จึงไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย, เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ผู้ตามเห็นความเป็นของน่าเบื่อหน่าย ในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ; เพราะละได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ จึงหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย, เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรมสองประการนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/65/252.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๖๕/๒๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 650
ชื่อบทธรรม : -ภาวะแห่งความสิ้นตัวตนและสิ้นโลก
เนื้อความทั้งหมด :-ภาวะแห่งความสิ้นตัวตนและสิ้นโลก--“ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคนแก่คนเฒ่ามานาน ผ่านวัยมาตามลำดับ. ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึง--เป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เถิดพระเจ้าข้า !”--มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ รูปทั้งหลายอันรู้สึกกันได้ทางตา เป็นรูปที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”--(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถาม และการทูลตอบ ในทำนองเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว คือในกรณีแห่ง เสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึกกันได้ทางจมูก ในกรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึกกันได้ทางผิวกาย และ ในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์อันรู้สึกกันได้ทางมโน).--มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้ง เหล่านั้น :--ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น ;--ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน ;--ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย) จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ;--ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น : เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้วสักว่าได้ยิน, สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้วสักว่ารู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ; มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ;--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น, เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ ;--มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ, เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง : นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้ :---เห็นรูปแล้วสติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่ ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น. เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น. อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา. เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกลจากนิพพาน.--(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).--บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูป ท. เห็นรูปแล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น. เมื่อเขาเห็นอยู่ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ก็สิ้นไป ๆ ไม่เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้. เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.--(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกัน).--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”--พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่าเป็นการถูกต้อง. ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออกสู่ที่สงัดกระทำความเพียร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/90-95/132-139.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๙๐-๙๕/๑๓๒-๑๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 651
ชื่อบทธรรม : -สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร
เนื้อความทั้งหมด :-สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้ แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/128/68.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 44
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site