สัทธรรมลำดับที่ : 624
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ--ภิกษุ ท. ! .... ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ; ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง ; เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ; ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย.--ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ.--เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ ; นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาติ, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งหมดนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง การได้ยินเสียงด้วยหู รู้สึกกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/494/458.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 625
ชื่อบทธรรม : -(เกี่ยวกับเรื่องการทำความหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาซึ่งตรัสไว้โดยสังเขปดังตรัส ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น (มู. ม. ๑๒/๔๗๐/๔๓๙ ; สตฺตก.อํ. ๒๓/๙๐/๕๘) ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ที่ได้สดับแล้วว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมทั้งปวงรอบรู้ธรรมทั้งปวง เสวยเวทนาใด ๆ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืนในเวทนานั้น ๆ ประจำ ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ปรินิพพานเฉพาะตน, ดังนี้ก็มี).
เนื้อความทั้งหมด :-(เกี่ยวกับเรื่องการทำความหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาซึ่งตรัสไว้โดยสังเขปดังตรัส ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น (มู. ม. ๑๒/๔๗๐/๔๓๙ ; สตฺตก.อํ. ๒๓/๙๐/๕๘) ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ที่ได้สดับแล้วว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมทั้งปวงรอบรู้ธรรมทั้งปวง เสวยเวทนาใด ๆ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืนในเวทนานั้น ๆ ประจำ ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ปรินิพพานเฉพาะตน, ดังนี้ก็มี).--สักกายนิโรธ--ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความจางคลายดับไปไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเอง.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/194/289.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๑๙๔/๒๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 626
ชื่อบทธรรม : -อาการแห่งการละอวิชชา โดยย่อ
เนื้อความทั้งหมด :-(ตามธรรมดาการดับแห่งตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า ทุกขนิโรธ แต่ในสูตรนี้ตรัสเรียกว่าสักกายนิโรธ. ในสูตรอื่น (๑๗/๑๙๒/๒๗๗) ตรัสเรียกว่า สักกายนิโรธันตะ ก็มี).--อาการแห่งการละอวิชชา โดยย่อ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้น มีอยู่แล ....ฯลฯ....--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้คืออะไรเล่าหนอ ....ฯลฯ.... ?”--ภิกษุ ! อวิชชา นั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง เมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า“สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา)” ดังนี้. ภิกษ ุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ; ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ; ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว เธอย่อม เห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง ; โดยประการอื่น๑ ; คือ ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ โดยประการอื่น ; เห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายโดยประการอื่น ; เห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น ; เห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น ; เห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ และ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ นั้น ๆ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุและธรรมทั้งหลาย ที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ ต่างกันแต่ชื่อ).--๑. เมื่อบุคคลรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น จากที่เขาเคยเห็น เมื่อยังไม่รู้แจ้ง ; เช่น เมื่อก่อนเห็นว่าสังขารเป็นของเที่ยง บัดนี้ย่อมเห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น: นี้เรียกว่าเห็นโดยประการอื่น. คำว่า นิมิต หมายถึงลักษณะหนึ่งๆของสิ่งต่าง ๆ ที่ เป็นเครื่องสังเกต หรือรู้สึก หรือยึดถือ หรือสำคัญมั่นหมาย.--ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/62/96.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๖๒/๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 627
ชื่อบทธรรม : -กระแสการปรุงแต่งแห่งการเกิดวิมุตติญาณทัสสนะ
เนื้อความทั้งหมด :-กระแสการปรุงแต่งแห่งการเกิดวิมุตติญาณทัสสนะ--ภิกษุ ท. ! เมื่อ สติสัมปชัญญะ มีอยู่, หิริและโอตตัปปะของผู้มีสติสัมปชัญญะอันถึงพร้อมแล้ว ก็เป็นหิริโอตตัปปะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย๑;--เมื่อ หิริและโอตตัปปะ มีอยู่, อินทรียสังวรของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะ ก็เป็นอินทรีย์สังวรถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ อินทรียสังวร มีอยู่, สีลของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรียสังวร ก็เป็นสีลถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ สีล มีอยู่, สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสีล ก็เป็นสัมมาสมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูตญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทา วิราคะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็นนิพพิทาวิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--๑. อุปนิสัย หมายถึง ที่ตั้งที่อาศัยสำหรับเข้าไปตั้งเข้าไปอาศัย แล้วสามารถทำหน้าที่ของตนได้เต็มที่.--เมื่อ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทาวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฎฺฐก. อํ. 23/348/187.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๔๘/๑๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 628
ชื่อบทธรรม : -(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อ มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว, อวิปปฏิสาร๑ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ อวิปปฏิสาร มีอยู่, ความปราโมทย์ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอวิปปฏิสาร ก็เป็นปราโมทย์ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ ความปราโมทย์ มีอยู่, ปีติของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความปราโมทย์ ก็เป็นปีติถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ ปีติ มีอยู่, ปัสสัทธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปีติ ก็เป็นปัสสัทธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ ปัสสัทธิ มีอยู่, สุขของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัสสัทธิ ก็เป็นสุขถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ สุข มีอยู่, สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสุข ก็เป็นสัมมาสมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูตญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--๑. อวิปปฏิสาร หมายถึง ความที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องร้อนใจ รังเกียจ เกลียดชัง อยู่ในใจของตน จนเสียสมาธิ.--เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทาของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็นนิพพิทาถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ นิพพิทา มีอยู่, วิราคะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทา ก็เป็นวิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อ วิราคะ มีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/338/210.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๘/๒๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 629
ชื่อบทธรรม : -(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล, สัมมาสมาธิของเธอย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ;--เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่, ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธินั้น ;--เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่, นิพพิทาวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ;--เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาวิราคะ.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว แม้สะเก็ดเปลือกของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ ; แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์; แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ ; แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ; ฉันใดก็ฉันนั้น.--(ข้อความฝ่าย ปฏิปักขนัยต่อข้อความนี้ ก็ได้ตรัสไว้ในลักษณะที่ผู้ศึกษาพึงกำหนดได้เอง จึงไม่นำมาใส่ไว้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/21/24.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๑/๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 630
ชื่อบทธรรม : -การปรินิพพานในทิฏฐธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-การปรินิพพานในทิฏฐธรรม--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้ พระเจ้าข้า !”--ท่านผู้จอมเทพ ! รูป ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยตาก็ดี, เสียง ทั้งหลายที่รู้แจ้งด้วยหูก็ดี, กลิ่น ทั้งหลาย รู้แจ้งด้วยจมูกก็ดี, รส ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยผิวกายก็ดี, และ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี ; อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจที่ยั่วยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ; และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น, เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น, วิญญาณนั้น อันตัณหาในอารมณ์มีรูปเป็นต้นอาศัยแล้ว ย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณที่จะเป็นอุปาทานย่อมไม่มี. ท่านผู้จอมเทพ ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.--ท่านผู้จอมเทพ ! นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/128/179.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๒๘/๑๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 631
ชื่อบทธรรม : -การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่ง จักษุ อยู่ไซร้ ; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้กล่าวซึ่งธรรม” (ธมฺมกถิโก) ดังนี้.--ถ้าภิกษุเป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งจักษุ อยู่ไซร้ ; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควรแก่ธรรม” (ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน)ดังนี้.--ถ้าภิกษุเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งจักษุ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม” (ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปตฺโต) ดังนี้.--[ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ ; ในสูตรอื่น (ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๙/๓๐๒) ทรงแสดงไว้ด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แทนอายตนะภายในหก อย่างในสูตรนี้ ก็มี].-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/177/244.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๗/๒๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 632
ชื่อบทธรรม : -การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่ง ชราและมรณะ อยู่ไซร้ ; ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้กล่าวซึ่งธรรม” ดังนี้.--ถ้าภิกษุเป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ อยู่ไซร้ ; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า “ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควรแก่ธรรม” ดังนี้.--ถ้าภิกษุเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม” ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร และ อวิชชา ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง ชราและมรณะที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/22/46.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒/๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 633
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น จักษุ ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง, ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ; เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/179/245.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 634
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูปทั้งหลาย ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง, ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ; เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวไว้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/179/246.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 635
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง จักษุ โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ให้เห็นตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งจักษุโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ. เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/179/247.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 636
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลายโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย. เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ.18/180/248.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ.๑๘/๑๘๐/๒๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 637
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูป ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง, ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย ; เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/63/103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 638
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูป โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูป ให้เห็นตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป. เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความมีกล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/64/104.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๔/๑๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 639
ชื่อบทธรรม : -ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด
เนื้อความทั้งหมด :-ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด--เมื่อเห็นอนัตตา--ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา: เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.--(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อยู่อย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ;--เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลายย่อมไม่มี ;--เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี ;--เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ; ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.--เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;--เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;--เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;--เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.--เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/57/93.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 640
ชื่อบทธรรม : -ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง
เนื้อความทั้งหมด :-ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง--ภิกษุ ท. ! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (วิมุตฺตายตนํ) ห้าประการ เหล่านี้ มีอยู่, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มี--๑. รายละเอียดเรื่องปุพพันตานุทิฏฐิ และอปรันตานุทิฏฐิ หาดูได้จากหนังสือปฏิจจ. โอ. หน้า ๗๓๒-๗๖๘.--ตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึง ซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ. ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติห้าประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ห้าประการ คือ:---๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ย่อม แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีแสดงแล้วอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ; ภิกษุ ท. ! นี้คือธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่หนึ่ง, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึง ซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอัน ไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา แก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น โดยพิสดารอยู่, เธอนั้นย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรม ตามที่เธอแสดงแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดารตามที่เธอฟังมาแล้วเล่าเรียนมาแล้วอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์--ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด ; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สอง, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอได้ฟังมาได้เล่าเรียนมา ; แต่เธอกระทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา อยู่. เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่เธอทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมาอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด ; เมื่อใจปีติ กายย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีผู้--ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอได้ฟังมาได้เล่าเรียนมา ; และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา ; แต่เธอตรึกตามตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่เธอฟังมาเล่าเรียนมา อยู่, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่เธอตรึกตามตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมา อย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติข้อที่สี่, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอไดัฟังมาได้เล่าเรียนมา ; และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา ; ทั้งเธอก็มิได้ตรึกตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมา ; แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอนั้นถือเอาดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อยู่, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่สมาธินิมิต--อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอถือเอาด้วยดี กระทำไว้ในใจดี เข้าไปทรงไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา อย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้วปีติย่อมเกิด ; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข(ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท. ! นี้คือธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่ห้า, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่. จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).--ภิกษุ ท. ! ธรรมเป็นเครื่องเข้าถึงวิมุตติห้าประการเหล่านี้ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงที่ซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตน ยังไม่บรรลุตามลำดับ, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/22-25/26.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒-๒๕/๒๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 43
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site