สัทธรรมลำดับที่ : 606
ชื่อบทธรรม : -ระดับต่าง ๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุรุษนั้นกำลังปรุงแต่งเหตุแห่งความทุกข์อยู่ วิราคะก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเขาเพ่งดูเหตุแห่งความทุกข์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิราคะก็ยิ่งเกิดขึ้น จนกระทั่งว่าเขาสามารถละราคะ ในหญิงคือทุกข์นั้นเสียได้. ผู้ที่ยังไม่มีความทุกข์ ก็อย่าไปปรุงแต่งเหตุแห่งความทุกข์ขึ้นมาเลย มีความสุขโดยชอบธรรมอยู่แล้วเพียงใด ก็ไม่มัวเมาในความสุขนั้น ก็จะชื่อว่า ไม่เอาความทุกข์มาทับถมตนซึ่งไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว และมีวิราคะในความทุกข์ได้ นี้ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้).--ระดับต่าง ๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์--ภิกษุ ท. ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ :--(๑) บุคคลบางคน จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย ;--(๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย ;--(๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ยืนอยู่ ;--(๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่ ;--(๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง ;--(๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว ;--(๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.--ภิกษุ ท. ! (๑) บุคคล จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายเดียว โดยส่วนเดียว. อย่างนี้แล เรียกว่า จมคราวเดียว แล้วจมเลย.--ภิกษุ ท. ! (๒) บุคคล ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. แต่ว่าสัทธาเป็นต้นของเขา ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญ เสื่อมสิ้นไป. อย่างนี้แลเรียกว่า ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย.--ภิกษุ ท. ! (๓) บุคคล ผุดขึ้นแล้วยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรม ทั้งหลาย. และ สัทธาเป็นต้นของเขา ไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยยืนอยู่.--ภิกษุ ท. ! (๔) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ ๆ อยู่.--ภิกษุ ท. ! (๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้าหาฝั่ง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่งราคะโทสะโมหะ เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้าหาฝั่ง.--ภิกษุ ท. ! (๖) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า เป็น โอปปาติกะ มีการปรินิพ- พานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว.--ภิกษุ ท. ! (๗) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น ได้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก ซึ่งมีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/10/15.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 607
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๑ ว่าด้วย ผู้ดับตัณหา--จบ--นิทเทศ ๑๒ ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๑--ว่าด้วย ผู้ดับตัณหา--จบ--นิทเทศ ๑๒ ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา--มี ๖๑ เรื่อง)--อาการดับแห่งโลก--ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ; การประจวบพร้อม (แห่งตา + รูป + จักขุวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะความดับด้วยความจางคลายไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะความดับแห่งชาติ, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงดับไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้คือความดับแห่งโลก.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ อย่าง ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของตาอย่างข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/108/157.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๘/๑๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 608
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งความทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งความทุกข์--ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ; การประจวบพร้อม ( แห่งตา + รูป + จักขุวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา ; เพราะความดับด้วยความจางคลายไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะความดับแห่งชาติ, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงดับไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้คือความดับแห่งทุกข์.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายในที่เหลือ อีก ๕ อย่าง ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับกรณีของตาอย่างข้างบนนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/107/155.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๗/๑๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 609
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งทุกข์โดยสังเขปที่สุด
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งทุกข์โดยสังเขปที่สุด--ภิกษุ ท. ! ในกาลใด อวิชชาเป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว วิชชาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ; ในกาลนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งกามุปาทาน, ย่อมไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐุปาทาน, ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน, ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งอัตตวาทุปาทาน ; (ทั้งนี้) เพราะการสำรอกเสียได้หมดซึ่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา. เมื่อไม่ยึดมั่นอยู่, ย่อมไม่สะดุ้ง ; เมื่อไม่สะดุ้ง, ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว. เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นผู้หลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม.12/135/158.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม.๑๒/๑๓๕/๑๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 610
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งทุกข์ โดยสังเขป
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งทุกข์ โดยสังเขป--มิคชาละ ! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่. ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้. เมื่อเธอนั้น ไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่, นันทิย่อมดับ. มิคชาละ ! เรากล่าวว่า “ความดับแห่งทุกข์ย่อมมี เพราะความดับแห่งนันทิ” ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ก็ดี ในกรณีแห่ง กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ก็ดี ในกรณีแห่ง รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ก็ดี ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย ก็ดี และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/45/69.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๔๕/๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 611
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์--ภิกษุ ท. ! เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน--จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล. ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/5/18.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๕/๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 612
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งความทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งความทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป, นันทินั้นย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/19/29.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙/๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 613
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งความทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งความทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ อยู่, การหยั่งลงแห่ง--วิญญาณย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/110/222.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๐/๒๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 614
ชื่อบทธรรม : -[ในสูตรอื่น (๑๖/๑๐๙/๒๑๘) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ต่างแต่แทนที่จะตรัสว่า “การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;” ดังในสูตรข้างบนนี้แต่ได้ตรัสสั้นลงมาว่า “การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;” ส่วนข้อความ นอกนั้นเหมือนกันทุกตัวอักษร].
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรอื่น (๑๖/๑๐๙/๒๑๘) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ต่างแต่แทนที่จะตรัสว่า “การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;” ดังในสูตรข้างบนนี้แต่ได้ตรัสสั้นลงมาว่า “การหยั่งลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;” ส่วนข้อความ นอกนั้นเหมือนกันทุกตัวอักษร].--อาการดับแห่งความทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน อยู่, ตัณหาย่อมดับ. เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่ง--ชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/102/198.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒/๑๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 615
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรอื่น (๑๖/๑๐๔/๒๐๒) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงว่า ในสูตรข้างบนนี้ ใช้คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” ส่วนในสูตรหลังนี้ใช้คำว่า “ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์”, เท่านั้น).
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น (๑๖/๑๐๔/๒๐๒) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงว่า ในสูตรข้างบนนี้ ใช้คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” ส่วนในสูตรหลังนี้ใช้คำว่า “ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์”, เท่านั้น).--อาการดับแห่งความทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/128/252.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๘/๒๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 616
ชื่อบทธรรม : -อาการดับแห่งความทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการดับแห่งความทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--(พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่ง ได้ทรงกล่าวธรรมปริยายนี้ตามลำพังพระองค์ ว่า :-)--เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่ง รูป ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา. เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นนั่นแล จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--โดยสมัยนั้นแล ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ทรงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า :---ภิกษุ ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้วมิใช่หรือ ? .... ภิกษุ ! เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป ; เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้ ; เธอจงทรงไว้ซึ่งธรรมปริยายนี้. ภิกษุ ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/113/164.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๓/๑๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 617
ชื่อบทธรรม : -เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อุปธิ ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี ....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อวิชชา นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี ....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง สังขาร ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง วิญญาณ นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ผัสสะ นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง เวทนา ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ตัณหา นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี ....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อุปาทาน นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี ....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว) ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี ....--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อาหาร ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี.--....เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี....--นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/474-479/392-402.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๔-๔๗๙/๓๙๒-๔๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 618
ชื่อบทธรรม : -(อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายสมุทัย ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขสมุทยอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย” ที่หน้า ๓๖๘; ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไปกระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้).
เนื้อความทั้งหมด :-(อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายสมุทัย ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขสมุทยอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย” ที่หน้า ๓๖๘; ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไปกระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้).--ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจ--และการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์--มหาราช ! ....ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสาวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ” ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า”ห้วงน้ำ นี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้างว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”, “ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, ดังนี้. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/110/138.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๑๐/๑๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 619
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของความดับแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของความดับแห่งทุกข์--ผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งผัสสายตนะทั้งหลายหกประการนั้นนั่นแหละ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ---โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/17/37.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๗/๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 620
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของความดับแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของความดับแห่งทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย, ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย, และทั้งย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย, ในกาลใด ; ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย เมื่ออารมณ์ ไม่มี. ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี ; เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว. การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/79/148.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 621
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของความดับแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของความดับแห่งทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย, ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย, และทั้งย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย, ในกาลใด ; ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย. เมื่ออารมณ์ ไม่มี, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี ; เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว. เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ=ตัณหา) ย่อมไม่มี ; เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ ไม่มี, การมาการไป(อาคติคติ)ย่อมไม่มี; เมื่อการมาการไป ไม่มี, การเคลื่อนและการบังเกิด (จุติ+อุปปาตะ) ย่อมไม่มี ; เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิด ไม่มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/80/150.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๘๐/๑๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 622
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของความดับแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของความดับแห่งทุกข์--(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย, ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย, และทั้งย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย, ในกาลใด ; ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย. เมื่ออารมณ์ไม่มี, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี ; เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป--ย่อมไม่มี ; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี. ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/78/146.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 623
ชื่อบทธรรม : -อาการแห่งบุคคลผู้หลุดพ้น
เนื้อความทั้งหมด :-อาการแห่งบุคคลผู้หลุดพ้น--อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม, ขันธ์ทั้งหมดนั้น บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้.--อานนท์ ! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดเบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เบื่อหน่ายแม้ในสัญญา เบื่อหน่ายแม้ในสังขาร เบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมจางคลาย ความกำหนัดรัดรึง, เพราะจางคลายไปแห่งความกำหนัด ย่อมหลุดพ้นไปได้, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ขึ้นว่าหลุดพ้นแล้ว ดังนี้. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดแจ้งว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/228-229/364-365.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๘-๒๒๙/๓๖๔-๓๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 42
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site