สัทธรรมลำดับที่ : 595
ชื่อบทธรรม : -สมณะสี่ประเภท
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะสี่ประเภท--ภิกษุ ท. ! ในธรรมวินัยนี้แหละ มีสมณะ (ที่หนึ่ง) มีสมณะที่สอง มีสมณะที่สาม มีสมณะที่สี่. ลัทธิอื่นว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น. ภิกษุ ท. ! เธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.--ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะ (ที่หนึ่ง).--ภิกษุ ท. ! สมณะที่สอง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สอง.--ภิกษุ ท. ! สมณะที่สาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ(อนาคามี) ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สาม.--ภิกษุ ท. ! สมณะที่สี่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สี่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/323/241.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๓/๒๔๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 596
ชื่อบทธรรม : -สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณอจละ (ผู้ไม่หวั่นไหว) ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณอจละ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลผู้ สมณปุณฑรีกะ (ผู้เสมือนบัวบุณฑริก) ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้นก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่าบุคคลผู้ สมณปุณฑรีกะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณปทุมะ (ผู้เสมือนบัวปทุม) ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำ ห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ มีการปรินิพพานในภพนั้นไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณปทุมะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลผู้ สมณสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อน) ในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เจ้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า สมณผู้สุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทเหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/116/88.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๖/๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 597
ชื่อบทธรรม : -สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณอจละ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณอจละ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ ; แต่เธอนั้นไม่ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณปุณฑรีกะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ ; และเธอนั้นถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณปทุมะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขาร ส่วนมาก เพราะเขาอ้อนวอน ที่ไม่มีใครอ้อนวอนนั้นมีเป็น--ส่วนน้อย. เพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ร่วมกันทั้งหลาย พากันประพฤติกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ต่อภิกษุนั้น เป็นที่น่าพอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนั้นมีเป็นส่วนน้อย ; นำอะไร ๆ มาเป็นส่วนมากล้วนแต่น่าพอใจที่ไม่น่าพอใจมีเป็นส่วนน้อย. ทุกขเวทนาที่เกิดแต่โรคทางน้ำ ดี ทางเสมหะทางลม ทางสันนิบาต ทางฤดูแปรปรวน การบริหารไม่สม่ำเสมอ ออกกำลังมากเกินไป หรือเกิดจากวิบากแห่งกรรมก็ตาม มีไม่มากแก่ภิกษุนั้น, เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย. อนึ่ง ภิกษุ นั้นเป็นผู้ได้ฌานทั้งสี่ อันเป็นสุขวิหารในทิฏฐธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง โดยง่าย โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย, และเธอทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าจะกล่าวกันโดยชอบ ว่าผู้ใดเป็นสมณสุขุมาลในหมู่สมณะทั้งหลายแล้ว ก็พึงกล่าวเรานี้แหละ ว่าเป็นสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ทั้งหลาย ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลสี่ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก,ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/117/89.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๗/๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 598
ชื่อบทธรรม : -สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณอจละ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้คือ เป็นเสขะ กำลังปฏิบัติอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่. เปรียบเหมือนโอรสองค์ใหญ่ของราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นผู้ควรแก่การอภิเษก แต่ยังมิได้รับการอภิเษก ดำรงอยู่ในตำแหน่งยุพราช ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นเสขะ กำลังปฏิบัติอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลสมณอจละ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ; แต่เธอหาได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่ไม่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ; และเธอถูกต้องวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขาร ส่วนมากเพราะเขาอ้อนวอน....(ข้อความต่อไป อย่างเดียวกันกับข้อความ--ในกรณีแห่งบุคคสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ แห่งหัวข้อที่แล้วมา) .... ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ .... ก็พึงกล่าวเรานี้แหละว่า เป็นสมณสุขุมาลในหมู่สมณะทั้งหลาย ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลสี่ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/113/87.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๓/๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 599
ชื่อบทธรรม : -สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภท คือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณอจละ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นเสขะ มีความประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณอจละ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ; เวทนา เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้, ความดับแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้, สัญญา เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา--เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ; สังขารเป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้, ความดับแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ; วิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้” ดังนี้ ; แต่เธอไม่ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปดด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ; เวทนา เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้, ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ; สัญญา เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ; สังขาร เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ; วิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้” ดังนี้ ; และเธอถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปดด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ.--ภิกษ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขาร ส่วนมากเพราะเขาอ้อนวอน.... (ข้อความต่อไป อย่างเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งบุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ แห่งหัวข้อที่แล้วมา). .... ภิกษุ ท. ! อย่างนี้ แล เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ .... ก็พึงกล่าวเรานี้แหละว่า เป็นสมณสุขุมาลในหมู่สมณะทั้งหลาย ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลสี่ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/118/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๑๘/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 600
ชื่อบทธรรม : -สมณะแห่งลัทธิหนึ่ง ๆ ต่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น
เนื้อความทั้งหมด :-สมณะแห่งลัทธิหนึ่ง ๆ ต่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น--(ระบบลัทธิพรหมจรรย์จึงไม่เหมือนกัน)--ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้แหละ ; สมณะที่สอง มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สาม มีในธรรมวินัยนี้ ; สมณะที่สี่ มีในธรรมวินัยนี้. ลัทธิอื่น ว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น : ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบ อย่างนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/128/154.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๒๘/๑๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 601
ชื่อบทธรรม : -ไม่อาจจะกล่าวว่าใครดีกว่าใคร--เพราะอาศัยเหตุสักว่าชื่อ
เนื้อความทั้งหมด :-(บาลีนี้แสดงว่า ไม่อาจจะถือเอาคำพูดเป็นหลัก เพราะคำๆเดียวกันมีความหมายต่างกันได้ และเป็นเหตุให้เถียงกันหรือดูหมิ่นกัน; เป็นสิ่งที่ต้องระวัง).--ไม่อาจจะกล่าวว่าใครดีกว่าใคร--เพราะอาศัยเหตุสักว่าชื่อ (หมวดของพระอริยบุคคล)--(พระเถระชื่อสวิฏฐะนิยมชมชอบการปฏิบัติแบบสัทธาวิมุตต์ พระมหาโกฏฐิตะนิยมชมชอบการปฏิบัติแบบกายสักขี พระสารีบุตรนิยมชมชอบการปฏิบัติแบบทิฏฐิปัตต์ ซึ่งล้วนแต่ตนได้อาศัยปฏิบัติจนบรรลุของตน ๆ มาแล้ว จึงชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อขอทราบว่าในสามอย่างนั้น อย่างไหนจะสมควรกว่า งดงามกว่า ประณีตกว่า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า :-)--สารีบุตร ! มันไม่เป็นการง่ายที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ พวกนั้น พวกไหนจะงดงามกว่า ประณีตกว่า.--สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้ก็มีอยู่ คือ พวก สัทธาวิมุตต์ ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผล แต่พวกกายสักขียังเป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี แม้พวกทิฏฐิปัตต์ก็ยังเป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี จึงไม่เป็นการง่ายที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น พวกไหนงดงามกว่า ประณีตกว่า.--สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้นี้ก็มีอยู่อีกว่า พวก กายสักขี ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผล ส่วนพวกสัทธาวิมุตต์และพวกทิฏฐิปัตต์ ยังเป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี จึงไม่เป็นการง่ายที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ จำพวก นั้น พวกไหนงดงามกว่า ประณีตกว่า.--สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้นี้ก็ยังมีอยู่อีกว่า พวก ทิฏฐิปัตต์ ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผล ส่วนพวกสัทธาวิมุตต์และพวกกายสักขี เป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี ก็ยังมีอยู่ ; สารีบุตร ! จึงไม่เป็นการง่ายที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น พวกไหนงดงามกว่า ประณีตกว่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/151/460.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๕๑/๔๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 602
ชื่อบทธรรม : -ผู้บอกทางและผู้เดินทางมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกัน--ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญากับสัมมาสัมพุทธเจ้า
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้แสดงว่า จะอาศัยความหมายหรือคำแปลของคำว่า สัทธาวิมุตต์ กายสักขี ทิฏฐิปัตต์ มาเป็นเครื่องตัดสินว่าพวกไหนเหนือกว่าหรือดีกว่า นั้นไม่อาจจะทำได้ เพราะแต่ละพวกยังอยู่ในระยะแห่งการปฏิบัติที่สูงต่ำอย่างไรก็ได้ เว้นไว้แต่จะถือเอาความหมายแห่งชื่อที่บัญญัติไว้เพื่อแสดงผลอันชัดเจนแล้ว เช่น ชื่อว่า โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์เป็นต้น). ผู้บอกทางและผู้เดินทางมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกัน--ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญากับสัมมาสัมพุทธเจ้า--ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้ นามว่า “สัมมาสัมพุทธะ”. ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “ปัญญาวิมุตต์”.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).--ภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูปเป็นต้นด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์?--ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุ ท. ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/81/125.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 603
ชื่อบทธรรม : -ฝีเท้าไววัดด้วยการรู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ฝีเท้าไววัดด้วยการรู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. !ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์สี่ ย่อมเป็นม้าที่คู่ควรแก่พระราชา เป็นราชูปโภค ถึงซึ่งการนับว่าเป็นอังคาพยพของพระราชา. องค์ ๔ อะไรกันเล่า ? องค์สี่คือ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ด้วยพละ ด้วยชวะ ด้วยอาโรหปริณาหะ (ทรวดทรง). ภิกษุ ท. ! ฉันเดียวกันกับที่ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นบุคคลอาหุเนยย ปาหุเนยย ทักขิเณยย อัญชลิกรณีย และเป็นนาบุญแห่งโลกอันไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ด้วยพละ ด้วยชวะ ด้วยอาโรหปริณาหะ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุใน กรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้ที่ถือกันว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยพละ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละธรรมอันเป็นอกุศล เพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรมอันเป็นกุศล มีกำลัง (จิต) ทำความเพียรก้าวไปหน้าอย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยชวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ--แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอาโรหปริณาหะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีการได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชช บริขารเป็นปกติ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นบุคคลอาหุเนย ปาหุเนย ทักขิเณย อัญชลิกรณีย และเป็นนาบุญแห่งโลก อันไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/337/259.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๗/๒๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 604
ชื่อบทธรรม : -[ในสูตรถัดไป (จตุกฺก.อํ. ๒๑/๓๓๘/๒๖๐) ทรงแสดงลักษณะแห่ง ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยชวะ ว่า ได้แก่ภิกษุผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. คำว่า “ชวะ” ในที่นี้ หมายถึงความเร็วของการบรรลุธรรม ก้าวล่วงความทุกข์ เหมือนความเร็วแห่งม้ามีฝีเท้าดีฉะนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรถัดไป (จตุกฺก.อํ. ๒๑/๓๓๘/๒๖๐) ทรงแสดงลักษณะแห่ง ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยชวะ ว่า ได้แก่ภิกษุผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. คำว่า “ชวะ” ในที่นี้ หมายถึงความเร็วของการบรรลุธรรม ก้าวล่วงความทุกข์ เหมือนความเร็วแห่งม้ามีฝีเท้าดีฉะนั้น.--และในสูตรอื่น (๒๐/๓๑๖/๕๓๗) ทรงแสดงลักษณะภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ (ชวะ) ว่า ได้แก่ภิกษุผู้เป็นโอปปาติกอนาคามี มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่มีการเวียนกลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า].--ผู้รู้จักเลือกเอาฝ่ายดับไม่เหลือแห่งภพ--คหบดี ท. ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ ว่า “ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี” ; แต่มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีถ้อยคำเป็นข้าศึกอย่างตรงกันข้ามจากสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยกล่าวว่า--“ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงมีอยู่” ดังนี้. คหบดี ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร : สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกอย่างตรงกันข้ามต่อกันและกันมิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--คหบดี ท. ! บุรุษวิญญูชน (คนกลาง) มาใคร่ครวญอยู่ในข้อนี้ ว่า “สมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี’ ดังนี้ นี้เราก็ไม่ได้เห็น ; แม้สมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่’ ดังนี้ นี้เราก็ไม่รู้จัก. ก็เมื่อเราไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ จะกล่าวโดยโวหารข้างเดียว ว่าฝ่ายนี้เท่านั้นจริง ฝ่ายอื่นเปล่า ดังนี้ : นั้นก็ไม่เป็นการสมควรแก่เรา. สำหรับสมณพราหมณ์ พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี’ ดังนี้ ถ้าคำของเขาเป็นความจริง, เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักมีการอุบัติในหมู่เทพ ที่ไม่มีรูป มีอัตภาพสำเร็จด้วยสัญญา เป็นแน่นอน ; แต่ถ้าถ้อยคำของสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่’ ดังนี้ เป็นความจริง, เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้เอง. สำหรับสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง ไม่มี’ ดังนี้, ทิฏฐิของเขาก็กระเดียดไปในทางกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบอยู่ในภพ กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน ในทางสยบมัวเมา ในทางยึดมั่นด้วยอุปาทาน ; ฝ่ายสมณพราหมณ์ พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่’ ดังนี้ นั้นเล่า, ทิฏฐิของเขาก็กระเดียดไปในทางไม่กำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางไม่ประกอบอยู่ในภพ กระเดียดไปในทางไม่เพลิดเพลิน ในทางไม่สยบมัวเมา ในทางไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน” ดังนี้.--บุรุษวิญญูชนนั้น ครั้นใคร่ครวญเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ เลือกเอาการปฏิบัติ ฝ่ายที่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งภพทั้งหลาย นั่นเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/118/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๑๘/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 605
ชื่อบทธรรม : -ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้--ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้น ด้วย. ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์ วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ ซึ่งความปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ; และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้” ดังนี้. ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ; และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์ นั้น (ยิ่งขึ้นไป). เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่ วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ; เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ; เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป. (นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง, เขาเห็นหญิงนั้นยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่าบุรุษ นั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า “โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เรา เพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงนั้น ; ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย” ดังนี้ ; แล้วเขาก็ละเสีย, ต่อมาเขาก็เห็นหญิงคนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะในหญิงนั้นเสียแล้ว”. ....--ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/13/12-13.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๓/๑๒-๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site