สัทธรรมลำดับที่ : 38
ชื่อบทธรรม : -พระพุทธองค์ทรงชี้ทุกข์และทางดับทุกข์ได้ ก็เพราะพระองค์ทรงรู้จักดี จนถึงกับทำความหลุดพ้นให้พระองค์เองได้. ทุกข์อันไม่รู้จักสิ้นสุดของโลกนั้น พระองค์หลุดพ้นได้สิ้นเชิง ทั้งอย่างต่ำ อย่างกลาง และอย่างประณีต. ในทุกข์อย่างต่ำ ๆ ซึ่งเรามักจมกันอยู่โดยสนิทใจ จะได้ยกตัวอย่างที่พระองค์ทรงนำไปตรัสให้สติพราหมณ์ผู้หนึ่ง มาเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ :
เนื้อความทั้งหมด :-พระพุทธองค์ทรงชี้ทุกข์และทางดับทุกข์ได้ ก็เพราะพระองค์ทรงรู้จักดี จนถึงกับทำความหลุดพ้นให้พระองค์เองได้. ทุกข์อันไม่รู้จักสิ้นสุดของโลกนั้น พระองค์หลุดพ้นได้สิ้นเชิง ทั้งอย่างต่ำ อย่างกลาง และอย่างประณีต. ในทุกข์อย่างต่ำ ๆ ซึ่งเรามักจมกันอยู่โดยสนิทใจ จะได้ยกตัวอย่างที่พระองค์ทรงนำไปตรัสให้สติพราหมณ์ผู้หนึ่ง มาเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ :---มุมน้อยมุมหนึ่งของความทุกข์ ที่พระองค์ไม่มี--พราหมณ์ ! วัว ๑๔ ตัว จะได้หายหาไม่พบ ๖ วันมาแล้วแก่เรา ก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ต้นงาในไร่ จะยับเยินมีใบเหลือเพียง ๒-๓ ใบ แก่เราก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. พวกหนู จะกระโดดโลดเต้นในยุ้งเปล่า แก่เรา ก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ที่นอน ซึ่งละเลยไว้ตั้ง ๗ เดือน (มิได้ชำระเพราะไม่มีเวลาว่างพอ) เกลื่อนไปด้วยตัวสัตว์เล็ก ๆ จะมีแก่เราก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. ลูกเล็กหญิงชาย ของลูกสาวที่เป็นหม้าย มีลูกติดคนหนึ่งบ้าง สองคนบ้าง จะมีแก่เรา ก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข. โรคผมเหลืองตัวสะพรั่งด้วยเมล็ดงา จะมีแก่เรา ก็หามิได้, เราจะถูกปลุกด้วยการถีบเตะทั้งนอนหลับ ก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ !--เราจึงเป็นผู้มีความสุข, พวกเจ้าหนี้ที่มาทวงหนี้ แต่เช้าตรู่ว่า ‘จงใช้, จงใช้’ จะมีแก่เราก็หามิได้, เพราะเหตุนั้นแหละ พราหมณ์ ! เราจึงเป็นผู้มีความสุข ; ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/250/669.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๒๕๐/๖๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 39
ชื่อบทธรรม : -การที่พระองค์จะทรงชี้ทุกข์และทางดับทุกข์ได้ ก็เพราะพระองค์ทรงคิดค้นอย่างจริงจัง มิใช่มีได้ด้วยการนอนรอคอยให้มาปรากฏ หรือแม้ว่าด้วยการฟังหรือการเรียนอย่างตื้น ๆ หยาบ ๆ. พระองค์ทรงหน่ายกาม จนขยะแขยงจนอึดอัด เนื่องจากมองเห็นความหลงทุกข์เป็นสุข แล้วหมักจมอยู่ ซึ่งเป็นการใช้เวลาของชีวิตให้หมดเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์.
เนื้อความทั้งหมด :-การที่พระองค์จะทรงชี้ทุกข์และทางดับทุกข์ได้ ก็เพราะพระองค์ทรงคิดค้นอย่างจริงจัง มิใช่มีได้ด้วยการนอนรอคอยให้มาปรากฏ หรือแม้ว่าด้วยการฟังหรือการเรียนอย่างตื้น ๆ หยาบ ๆ. พระองค์ทรงหน่ายกาม จนขยะแขยงจนอึดอัด เนื่องจากมองเห็นความหลงทุกข์เป็นสุข แล้วหมักจมอยู่ ซึ่งเป็นการใช้เวลาของชีวิตให้หมดเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์.--ทรงแสวง--ราชกุมาร ! เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่การตรัสรู้ ได้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในใจ ว่า “ชื่อว่าความสุขแล้ว ใคร ๆ จะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี” ดังนี้. ครั้นสมัยอื่นอีก เรานั้น ทั้งที่ยังหนุ่ม เกสายังดำจัดบริบูรณ์ด้วยเยาว์อันเจริญ ในปฐมวัย, เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังพากันร้องไห้ น้ำตานองหน้าอยู่, เราได้ปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.--เรานั้น ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาอยู่ว่า อะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐ ชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า. ได้เข้าไปหา อาฬารดาบส ผู้กาลามโคตร.... ได้เข้าไปหา อุทกดาบส ผู้รามบุตร.... เล่าเรียนธรรมนั้น ๆ ได้ฉับไวไม่นานเลย.... ได้เกิดความรู้สึกนี้ ว่า “ธรรมนี้ จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน ก็หาไม่, แต่เป็นไปพร้อมเพียงเพื่อการบังเกิดใน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เท่านั้นเอง.” เราไม่ทำการหยุดเสียเฉพาะแค่ธรรมนั้น ๆ--เหนื่อยหน่ายจากธรรมนั้น ๆ แล้วหลีกไปเสีย.--เรานั้น เมื่อหลีกจากสำนักอุทกดาบสผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่า สืบไป, เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบล ในมคธรัฐ จนลุถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ที่นั้น ได้พบพื้นที่รมณียสถาน.... ตกลงใจพักอยู่ ณ ที่นั้นเอง ด้วยคิดว่า ‘ที่นี้ ควรแล้ว เพื่อการตั้งความเพียร’ ดังนี้.--- ม. ม. ๑๓/๔๔๓-๔๔๘/๔๘๙-๔๙๑; ๑๓/๖๗๐-๖๗๔/๗๓๘-๗๔๐.--ต่อไปนี้มีการตรัสเล่าถึง การประพฤติอัตตกิลมถานุโยคจนอุปมาปรากฏ และทรงทำทุกรกิริยา แล้วทรงเลิกหมุนไปจับเอาการกระทำความเพียรทางใจ ดังแสดงไว้ในพระพุทธประวัติต่าง ๆ จนได้ “พบ” คือตรัสรู้ ความจริงอันประเสริฐ.--ทรงพบ--ภิกษุ ท. ! เรานั้น, ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว, ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เรารู้เฉพาะแล้วตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;--เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย, นี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ, นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของอาสวะ ;” ดังนี้. เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้วจากอาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคืออวิชชา. ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่า “พ้นแล้ว” เรารู้เฉพาะแล้ว ว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้แล วิชชาที่สาม ที่เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว ; ความมืดถูกกำจัดแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแล้วโดยประการที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วแลอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/237/253.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๓๗/๒๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 40
ชื่อบทธรรม : -เมื่อยังไม่ทรงรู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อยังไม่ทรงรู้อริยสัจ--ก็ยังไม่ชื่อว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ--ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงใด ที่ปัญญาเครื่องรู้เห็น (ญาณทัสสนะ) ตามเป็นจริงของเราในอริยสัจสี่เหล่านี้ ว่ามีปริวัฏสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้ ๆ ยังไม่เป็นปัญญาที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดีแล้ว ; ตลอดกาลเพียงนั้นนั่นเทียว เรายังไม่ปฏิญญา ว่าเป็นผู้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์และเทวดาพร้อมทั้งมนุษย์. ภิกษุ ท. ! ก็แต่ว่า ในกาลใดแล, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจสี่เหล่านี้ ว่ามีปริวัฏสาม มีอาการสิบสองเช่นนี้ ๆ เป็นปัญญาที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดีแล้ว ; ในกาลนั้นเทียว เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อม--ด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ และเทวดาพร้อมทั้งมนุษย์. ทั้งปัญญาเครื่องรู้ และปัญญาเครื่องเห็น ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพที่เกิดใหม่มิได้มีอีกต่อไป” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/530/1670.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๐/๑๖๗๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 41
ชื่อบทธรรม : -ถ้าไม่รู้เบญจขันธ์โดยนัยอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-ถ้าไม่รู้เบญจขันธ์โดยนัยอริยสัจสี่--ก็ยังไม่ทรงปฏิญญาเป็นพระพุทธเจ้า--ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงใด, เรายังไม่ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์สี่ ตรงตามที่เป็นจริง ; เราก็ยังไม่ปฏิญญาอยู่เพียงนั้นว่า เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล, เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์สี่ ตรงตามที่เป็นจริง ; เมื่อนั้นแหละ, เราจึงปฏิญญาได้ว่าเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.--ภิกษุ ท. ! ปริวัฏฏ์สี่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ปริวัฎฎ์สี่นั้นคือ :---(๑) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง รูป, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของรูป, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของรูป, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป.--(๒) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง เวทนา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของเวทนา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของเวทนา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา.--(๓) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง สัญญา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของสัญญา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความไม่เหลือของสัญญา, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา.--(๔) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้วซึ่งความก่อขึ้นของสังขารทั้งหลาย, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย.--(๕) เราได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่ง วิญญาณ, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นของวิญญาณ, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ได้รู้ชัดแจ้งยิ่งแล้ว ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แหละ ชื่อว่า ปริวัฏฏ์สี่อย่างนั้น.--(ข้อความที่ละเอียดยิ่งไปกว่านี้ ตลอดถึงผลของการรู้ จนทำให้เป็นเกพลี หาดูได้จากหนังสือปฏิจจ. โอ. หน้า ๓๓๘ ตั้งแต่คำว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า ?”--...เป็นต้นไป จึงถึงหน้า ๓๔๒ จบลงที่คำว่า... “วัฏฏะย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น”.).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/72-75/112-117.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒-๗๕/๑๑๒-๑๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 42
ชื่อบทธรรม : -พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธะ
เนื้อความทั้งหมด :-พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่า--สัมมาสัมพุทธะ ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ :นี้แล ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! เพราะได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้ ตถาคต จึงมีนามอันบัณฑิตกล่าวว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ”.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/543/1703.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 43
ชื่อบทธรรม : -ทรงรอบรู้โลก (อริยสัจ)
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงรอบรู้โลก (อริยสัจ)--ภิกษุ ท. ! โลก (คือทุกข์) เป็นสิ่งที่ตถาคตรอบรู้ได้ชัดเจนแล้ว--ตถาคตถอนตัวออกได้แล้วจากโลก ; เหตุให้เกิดโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรอบรู้ได้ชัดเจนแล้ว อันตถาคตละได้ขาดแล้ว ; ความดับไม่เหลือของโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรอบรู้ได้ชัดเจนแล้ว อันตถาคตได้กระทำให้แจ้งแล้ว ; และ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรอบรู้ได้ชัดเจนแล้ว อันตถาคตได้ทำให้มีขึ้นแล้ว. สิ่งใด ที่โลกพร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ และเทวดาพร้อมทั้งมุนษย์ ได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว - ดม - ลิ้ม - สัมผัสแล้ว รู้แล้ว ถึงแล้ว แสวงแล้ว เที่ยวไปตามแล้วด้วยใจ ; สิ่งนั้นตถาคตรอบรู้ได้ชัดเจนแล้วทั้งหมด เหตุนั้นจึงได้มีคำกล่าวว่า “ตถาคต” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/30/23.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๐/๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 44
ชื่อบทธรรม : -ทรงบันลือสีหนาท ประกาศจตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงบันลือสีหนาท ประกาศจตุราริยสัจ--ภิกษุ ท. ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแล้ว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใด ได้ยินสีหนาท สัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ : พวกที่อาศัยโพรง ก็เข้าโพรง, พวกที่อาศัยในน้ำ ก็ลงน้ำ, พวกที่อยู่ป่า ก็เข้าป่า, ฝูงนกก็โผบินขึ้นสู่อากาศ, เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้าน และนิคมและเมืองหลวง ที่ผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัว เหนี่ยวกระชากเชือกให้ขาดแล้ว ถ่ายมูตรและกรีส (อุจจาระ) พลางแล่นหนีไป โดยข้างโน้นข้างนี้. ภิกษุ ท. ! พระยาสัตว์ชื่อสีหะ เป็นสัตว์มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมาก กว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น, ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา ผู้ไปดี ผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ปลุกให้ตื่น เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น แสดงธรรมว่า สักกายะ (คือความทุกข์) เป็นเช่นนี้, สักกายสมุทัย เป็นเช่นนี้, สักกายนิโรธ เป็นเช่นนี้, สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นเช่นนี้. พวกเทพเหล่าใด เป็นผู้มีอายุยืนนาน มีวรรณะ มากไปด้วยความสุข ดำรงอยู่นมนามมาแล้ว ในวิมานชั้นสูง, พวกเทพนั้น ๆ ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมาก ก็สะดุ้งกลัว เหี่ยวแห้งใจ สำนึกได้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเรา เมื่อไม่เที่ยง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้เที่ยง, เมื่อไม่ยั่งยืน ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้ยั่งยืน, เมื่อไม่มั่นคง ก็มาสำคัญว่า เราเป็นผู้มั่นคง. พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง และถึงทั่วแล้ว ซึ่ง สักกายะ (คือความทุกข์)” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมากกว่าสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/42/33.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๒/๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 45
ชื่อบทธรรม : -ทรงประกาศ อนุตตรธรรมจักร--ซึ่งใครๆ ประกาศไม่ได้
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรข้างบนนี้ ทรงบันลือสีหนาทด้วยเรื่องสักกายะ. ในสูตรอื่น (๑๗/๑๐๓/๑๕๕ - ๖) ทรงบันลือด้วยการประกาศลักษณะ ๓ อย่างแห่งขันธ์ทั้ง ๕ โดยนัยว่า มีลักษณะอย่างนี้ ๆ มีอาการเกิดขึ้นอย่างนี้ ๆ มีอาการดับไปอย่างนี้ ๆ ; ซึ่งเมื่อพวกเทพได้ฟังแล้ว มีอาการสลดสังเวช หวั่นไหวไปตาม ๆ กัน เหมือนข้อความข้างต้น.]--ทรงประกาศ อนุตตรธรรมจักร--ซึ่งใครๆ ประกาศไม่ได้--ภิกษุ ท. ! ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี, เราตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศให้เป็นไปแล้ว ซึ่งอนุตตรธรรมจักรชนิดที่ไม่ประกาศให้เป็นไปได้ โดยสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก. ภิกษุ ท. ! การประกาศธรรมจักร นี้ คือการบอก การแสดงการบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้เข้าใจได้ ซึ่งอริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) สี่อย่าง. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ การบอก การแสดง ฯลฯ การทำให้เข้าใจได้ ซึ่งความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, - เหตุให้เกิดทุกข์ – ความดับไม่เหลือของทุกข์ - และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ภิกษุ ท. ! เราตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศให้เป็นไปแล้ว ซึ่งอนุตตรธรรมจักร ฯลฯ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/440/699.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๔๐/๖๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 46
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากยิ่งกว่ามากนัก
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากยิ่งกว่ามากนัก--ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ที่ สีสปาวัน ใกล้กรุงโกสัมพี. ทรงกำใบสีสปาขึ้นหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสถามหมู่ภิกษุ ว่า ใบสีสปาที่ทรงกำนี้ กับ ที่อยู่บนป่าโน้น, ไหนจะมากกว่ากัน. เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ที่อยู่บนป่าโน้นมากกว่ามากแล้ว จึงตรัสว่า :---ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น, สิ่งที่ยังอยู่มากกว่ามาก ก็คือสิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว แต่ไม่นำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย. เพราะเหตุไรเราจึงไม่สอนสิ่งนั้น--แก่พวกเธอเล่า ? เพราะว่าสิ่ง ๆ นั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน ; เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สอนสิ่งนั้น แก่พวกเธอทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/548/1712.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 47
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ทรงนำมาสอน ก็เฉพาะเรื่องความพ้นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่ทรงนำมาสอน ก็เฉพาะเรื่องความพ้นทุกข์--ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งไร ที่เราบอกสอนแก่พวกเธอเล่า ? สิ่งที่เราบอกสอนแก่พวกเธอ คือ ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไร เราจึงสอนสิ่งนี้แก่พวกเธอเล่า ?เพราะว่าสิ่ง ๆ นี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็น ไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน ; เพราะเหตุนั้น เราจึงสอนสิ่งนี้แก่พวกเธอทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. 19/548/1713.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 48
ชื่อบทธรรม : -ทรงพยากรณ์เฉพาะเรื่องอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงพยากรณ์เฉพาะเรื่องอริยสัจสี่--“....ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ พระเจ้าข้า ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกมีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?--โปฎฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกมีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “โลกไม่มีที่สิ้นสุด นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก นี้ เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีกนี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัจจะที่ว่า ตถาคตภายหลังแต่ตาย แล้วย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ ดังนั้นหรือ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ นี้เท่านั้นเป็นคำจริง คำอื่นเป็นโมฆะ” ดังนี้นั้น เป็นข้อที่ เราไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า ข้อนั้น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ทรงพยากรณ์ ?--โปฏฐปาทะ ! เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วยอรรถะ ไม่ประกอบด้วยธรรมะ ไม่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน, เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงพยากรณ์ ?”--โปฏฐปาทะ ! ข้อที่เราพยากรณ์นั้นคือ นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ดังนี้.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุอะไรเล่า จึงทรงพยากรณ์ ?”--โปฎฐปาทะ ! เพราะเหตุว่า นั่นประกอบด้วยอรรถะ ประกอบด้วยธรรมะ เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัดความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน, เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/232-233/292-293.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๓๒-๒๓๓/๒๙๒-๒๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 49
ชื่อบทธรรม : -ทรงบัญญัติสัจจะ ไม่เข้าใคร ออกใคร
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงบัญญัติสัจจะ ไม่เข้าใคร ออกใคร--ภิกษุ ท. ! ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้, เราย่อมบัญญัติแต่ ความทุกข์--และความดับไม่เหลือของทุกข์ เท่านั้น. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้นจะมีชนเหล่าอื่นมาด่าทอ ตัดพ้อ เสียดสี กระทบกระทั่ง ตถาคต แล้วไซร้ความอาฆาต ความเกรี้ยวกราด ความไม่ยินดีแห่งจิต จะมีแก่ตถาคตเพราะเหตุนั้นก็หามิได้. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้น จะมีชนเหล่าอื่นมาสักการะเคารพ นับถือ บูชา ตถาคตไซร้ ความเพลิดเพลิน ความโสมนัส ความเห่อเหิมแห่งจิต จะมีแก่ตถาคต เพราะเหตุนั้น ก็หามิได้. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า ในการบัญญัตินั้น มีชนเหล่าอื่น มาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตไซร้--ความรู้สึกในเรื่องนั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ตถาคต ว่า “สิ่งใดที่เรากำหนดรอบรู้แล้วในกาลก่อน เราย่อมกระทำให้เหมือนกับที่เรารู้ในสิ่งนั้น” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/278/286.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 50
ชื่อบทธรรม : -ตรัสถ้อยคำโดยโวหารโลก แต่มิได้ทรงยึดถือ
เนื้อความทั้งหมด :-ตรัสถ้อยคำโดยโวหารโลก แต่มิได้ทรงยึดถือ--โปฏฐปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือการได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ, การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ, การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป.--โปฏฐาปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ เป็นอย่างไรเล่า ?ชนิดหยาบคือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีกวฬีการาหารเป็นภักษา.--การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ชนิดสำเร็จด้วยใจคือ อัตตาที่มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.--การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ชนิดไม่มีรูปคือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา.--(ต่อจากนี้ได้ทรงแสดงการละและอานิสงส์แห่งการละซึ่งอัตตาทั้งสามนั้น ในลักษณะที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แล้วทรงผันไปตรัสกะจิตตหัตถิสารีบุตรผู้นั่งอยู่ด้วยกันกับโปฏฐปาทะ ว่า :-)--จิตตะ ! ... สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบ สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดสำเร็จด้วยใจ และชนิดไม่มีรูป. คงได้แต่อัตตาชนิดหยาบอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดสำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบและชนิดไม่มีรูป, คงได้แต่อัตตาชนิดสำเร็จด้วยใจอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดไม่มีรูป สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบ และชนิดสำเร็จด้วยใจ, คงได้แต่อัตตาชนิดไม่มีรูปอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! เปรียบเหมือน นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น หัวเนยใสจากเนยใส. สมัยใดเป็นนมสด สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่านมส้ม เนยข้น เนยใส หัวเนยใส, คงนับว่าเป็นนมสดอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นนมส้ม สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสดเนยข้น เนยใส หัวเนยใส, คงนับว่าเป็นนมส้มอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นเนยข้น สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยใส หัวเนยใส, คงนับว่าเป็นเนยข้นอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยข้น หัวเนยใส. คงนับว่าเป็นเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นหัวเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้มเนยข้น เนยใส, คงนับว่าเป็นหัวเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น ; ฉันใดก็ฉันนั้น.--จิตตะ ! อัตตา ๓ ชนิดเหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา โลกนิรุติ โลกโวหาร โลกบัญญัติ ที่ตถาคตก็ กล่าวอยู่อย่างชาวโลก แต่มิได้ยึดถือความหมายอย่างชาวโลก, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/241, 247/302, 312.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๔๑, ๒๔๗/๓๐๒, ๓๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 4
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site