สัทธรรมลำดับที่ : 581
ชื่อบทธรรม : -วิชชาของผู้ถึงซึ่งวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-วิชชาของผู้ถึงซึ่งวิชชา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘วิชชา-วิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร, และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งวิชชา ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้ มารู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน มีความก่อขึ้น เป็นธรรมดา--ว่า ‘เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา’ ดังนี้ ; รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา ว่า ‘เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ดังนี้; รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี ทั้งความก่อขึ้นและเสื่อมไป เป็นธรรมดา ว่า ‘เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ดังนี้ ;--ภิกษุ ! อย่างนี้แลเราเรียกว่า วิชชา และบุคคลชื่อว่า เป็นผู้ถึงวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/210/321.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๐/๓๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 582
ชื่อบทธรรม : -ผู้รับผลของการปฏิบัติเกี่ยวกับธาตุสี่
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้รับผลของการปฏิบัติเกี่ยวกับธาตุสี่--ราหุล ! ปฐวีธาตุ ทั้งที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอก ทั้งสองอย่างนั้นล้วนแต่เป็นเพียงปฐวีธาตุ เธอพึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา (น เมโส อตฺตา)”ดังนี้. บุคคล เห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว เขาย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ยังจิตให้คลายกำหนัดจากปฐวีธาตุได้.--(ในกรณีแห่ง อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐวีธาตุ).--ราหุล ! เมื่อใด ภิกษุ ไม่ตามเห็นว่าเป็นอัตตา (ตัวตน) ไม่ตามเห็นว่าเป็นอัตตนิยา (ของตน) ในธาตุทั้งสี่เหล่านี้. ราหุล ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าได้ ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์--เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบแล้ว ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. 21/222/177.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๒๒๒/๑๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 583
ชื่อบทธรรม : -ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร--ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็น ด้วยตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าภิกษุใดไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติดอกติดใจอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นไซร้ ;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่กลืนเบ็ดของมารได้ทำลายเบ็ดหักเบ็ดแหลกละเอียดแล้ว ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศฉิบหาย ไม่เป็นผู้ที่มารใจบาป จะทำอะไรให้ได้ตามใจเลย ; ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/198/290.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๘/๒๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 584
ชื่อบทธรรม : -ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น--ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณ--ที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัยมีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้ ; ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้ง อยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.--ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.--ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ; เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/66/105.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 585
ชื่อบทธรรม : -ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง--ภิกษุ ท. ! ปุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ย่อมพูดว่า ‘สมุทร-สมุทร’ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น ไม่ใช่สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า. ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น เป็นเพียงแอ่งน้ำใหญ่ เป็นเพียงห้วงน้ำใหญ่.--ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็นด้วยตา อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ‘สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสานกันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.--ภิกษุ ท. ! เสียง ที่ฟังด้วยหู .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ ที่รู้ด้วยใจ อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เราเรียกว่า ‘สมุทรใน วินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่--ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย เกิดประสาน กันสับสนดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ, สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--ราคะ โทสะ และอวิชชา ของท่านผู้ใด จางคลายไปแล้ว ท่านผู้นั้นชื่อว่า ข้ามสมุทรนี้ได้แล้ว ซึ่งเป็นแหล่งที่มีสัตว์ร้าย มีทั้งรากษส มีทั้งคลื่นวังวน ภัยน่ากลัว แสนจะข้ามได้ยากนัก. เราตถาคตกล่าวว่าท่านนั้น เป็นผู้ล่วงเสียได้จากเครื่องข้อง ละขาดจากการต้องตาย ไม่มีอุปธิกิเลส ; ท่านนั้น หย่าขาดจากความทุกข์ที่ต้องมาเกิดอีกต่อไป ; ท่านนั้นมอดดับไป ไม่กลับอีก ลวงเอาพญามัจจุราชให้หลงได้ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/196/287-288.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๙๖/๒๘๗-๒๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 586
ชื่อบทธรรม : -วิมุตติต่างกันแต่เป็นผลของการปฏิบัติอย่างเดียวกัน
เนื้อความทั้งหมด :-วิมุตติต่างกันแต่เป็นผลของการปฏิบัติอย่างเดียวกัน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้ามรรคก็สายนี้ ปฏิปทาก็ทางนี้ ที่เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า ดังนี้แล้ว, ทำไม ภิกษุผู้ปฏิบัติบางพวก จึงบรรลุเจโตวิมุตติ บางพวกบรรลุปัญญาวิมุตติ เล่า พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! นั่นเป็นเพราะ ความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น, (อินทรีย์ห้า คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/162/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๖๒/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 587
ชื่อบทธรรม : -พระอริยบุคคลมีหลายระดับ
เนื้อความทั้งหมด :-พระอริยบุคคลมีหลายระดับ--เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน--ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.--ภิกษุ ท. ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ห้าประการ เหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.--เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.--.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๕) : ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ; เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่าง แห่งบุคคล แล.--.... (๑๙/๒๖๗/๘๘๗) : ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่าผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ผู้กระทำได้เพียงบางส่วนก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/271/899-900.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 588
ชื่อบทธรรม : -การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย
เนื้อความทั้งหมด :-การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดความรู้แจ้งทางตาขึ้น,การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+วิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น ย่อมเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง.--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกสุขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติดอกติดใจ, อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกทุกขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า ไม่ระทมใจ ไม่คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ไม่ถึงความลืมหลง, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขกระทบแล้วย่อมรู้ชัดแจ้งตรงตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นของเวทนานั้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ของเวทนานั้น ซึ่งรสอร่อยของเวทนานั้น ซึ่งโทษของเวทนานั้น ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากเวทนานั้น, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับ อายตนะภายใน และภายนอกคู่อื่น อันได้ประจวบกัน เกิดวิญญาณ ผัสสะ และเวทนา เป็น อีกห้าหมวด นั้น ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับหมวดแรกนี้ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ละอนุสัยคือราคะ ในสุขเวทนาได้แล้ว, บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ในทุกขเวทนาเสียแล้ว, ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา ในเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขเสียได้แล้ว, ท่านละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว, จักเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันนี้โดยแท้ ; ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/518/823.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๘/๘๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 589
ชื่อบทธรรม : -กายนครที่ปลอดภัย
เนื้อความทั้งหมด :-กายนครที่ปลอดภัย--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม, ในกาลใด ; ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มารอันมีบาปกระทำอะไรไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.... ฯลฯ .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม” ดังนี้, ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีคูรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย, ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรม อันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและประหารไกลตัว สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสุตะ อันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกองพลประจำอยู่เป็นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประจำกอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจู่โจมกองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกมีความเพียรอันปรารภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย, ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล--เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีนายทวาร ที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก เพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้, ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ, ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.--อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่--ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า ไม้ และน้ำ สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลีและข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณชาติ คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดีไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่พระอริยเจ้า--กล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือเพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.--อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ; ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทำอะไรไม่ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/107-113/64.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๗-๑๑๓/๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 590
ชื่อบทธรรม : -(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร. กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ; เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และมีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นกายนครที่ปลอดภัยด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).
เนื้อความทั้งหมด :-(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร. กายนครนี้มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา ; เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และมีฌานทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นกายนครที่ปลอดภัยด้วยข้อความเป็นอุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).--ผู้ไม่มีหนามยอกตำ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นอยู่ อย่างผู้ไม่มีหนาม (ยอกตำใจ) เถิด.--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นอยู่ อย่างผู้ไม่มีหนาม หมดเสี้ยนหนามยอกตำ เถิด.--ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีหนามยอกใจ.--ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีหนาม หมดเสี้ยนหนามยอกตำเสียแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/145/72.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๕/๗๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 591
ชื่อบทธรรม : -ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง--(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่ภิกษุชื่อเถระ ผู้มีปกติชอบอยู่คนเดียวจนเป็นที่เล่าลือกัน ในหมู่ภิกษุ, ว่า :-)--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวอย่างของเธอ ก็มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี ; แต่ว่ายังมีการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดาร กว่าชนิดของเธอ, เธอจงตั้งใจฟังให้ดี, เราจักกล่าว.--ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวชนิดที่บริบูรณ์พิสดารกว่าชนิดของเธอนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวในกรณีนี้คือ สิ่งเป็นอดีตก็ละได้แล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้น ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน ก็นำออกแล้วหมดสิ้น. ดูก่อนเถระ ! อย่างนี้แล เป็นการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดารกว่าการอยู่คนเดียวชนิดของเธอ.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--นรชนผู้มีปัญญาดี ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ รู้ธรรมทั้งปวง ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น ละอุปธิทั้งปวง หลุดพ้นพิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา นั้นเราเรียกเขาว่า ผู้มีปกติอยู่คนเดียว.---นิทาน. สํ. ๑๖/๓๒๙-๓๓๐/๗๑๙-๗๒๑.--(ข้อความที่มีปัญหายากแก่การแปลในสูตรนี้ มีอยู่ คือข้อความที่ว่า “ปจฺจุปฺปนฺเนสุจอตฺตภาวปฏิลาเภสุ ฉนฺทราโค” ; หลังจากใคร่ครวญ ทบทวนดูแล้ว เห็นว่าต้องแปลว่า “ส่วนฉันทราคะในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน” หมายความว่า ฉันทราคะ มีในอัตตภาพ ซึ่งได้แล้วมากครั้งในปัจจุบัน ไม่ใช่ฉันทราคะมีในการได้.--อัตภาพในกรณีเช่นนี้ หมายถึงภพหรือความมีความเป็นในรูปแบบหนึ่ง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น--เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในวิถีแห่งการปรุงแต่งทางจิต ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอันเกิดขึ้นทุกขณะที่มีตัณหาอันเกิดจากเวทนา ซึ่งวันหนึ่งก็มีได้หลายครั้ง ท่านจึงใช้รูปศัพท์เป็นพหุพจน์ คือ....ปฏิลาเภสุ และจัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของปัจจุบัน; ดังนั้น การไม่ข้องติดจึงมีครบชุด คืออดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ; ผู้หลุดพ้นเสียได้ครบถ้วน เรียกว่า ผู้อยู่คนเดียวในระดับที่สมบูรณ์ ลึกซึ้งที่สุด).--กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ--(นิโรธมิใช่ความตาย)--ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพถูกตถาคตถอนขึ้น เสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ยังดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคตนั้นเลย.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใด ที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน. นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น : กายของตถาคต มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพอันตถาคตถอนขึ้นเสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงเห็นตถาคตอยู่ชั่วเวลาเพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย, หลังจากการควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/59/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๕๙/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 39
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site