สัทธรรมลำดับที่ : 570
ชื่อบทธรรม : -พระอริยบุคคล มีอันดับเจ็ด
เนื้อความทั้งหมด :-พระอริยบุคคล มีอันดับเจ็ด--ภิกษุ ท. ! บุคคลเจ็ดจำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. เจ็ดจำพวกอย่างไรเล่า ? เจ็ดจำพวก คือ อุภโตภาควิมุตต์ ปัญญาวิมุตต์ กายสักขี ทิฏฐิปปัตต์ สัทธาวิมุตต์ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี.--๑. ผู้อุภโตภาควิมุตต์--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็น อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลาย อันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ, ด้วยนาม-กาย แล้วแลอยู่ (นี้อย่างหนึ่ง) ; และ อาสวะทั้งหลายของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา (นี้อีกอย่างหนึ่ง). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตต์. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุนี้ เราไม่กล่าวว่า ยังมีอะไร ๆ เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว, และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป.--ผู้อุภโตภาควิมุตต์โดยสมบูรณ์ ๑--(ผู้อุภโตภาควิมุตต์ หมายความว่าผู้มีความคล่องแคล้วในวิโมกข์แปด และหลุดพ้นแล้วด้วยเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้. สำหรับวิโมกข์แปดมีรายละเอียดดังนี้คือ :-)--อานนท์ ! วิโมกข์แปดเหล่านี้แล มีอยู่. แปดเหล่าไหนเล่า ? แปดคือ :---(๑) ผู้มีรูป (ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (อันเป็นสมาธินิมิตเหล่านั้น) : นี้คือ วิโมกข์ที่หนึ่ง.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย)--(๒) ผู้ไม่มีสัญญาในรูปซึ่งเป็นภายใน (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) : นี้คือ วิโมกข์ที่สอง.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย).--(๓) เป็นผู้น้อมใจ (ไปในรูปนิมิตแห่งสมาธิ) ด้วยความรู้สึกว่า “งาม” เท่านั้น : นี้คือ วิโมกข์ที่สาม.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรบกวนของความรู้สึกว่าเป็นปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูล)--(๔) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาทั้งหลายเป็นผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่สี่.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของรูปสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในรูปทั้งหลาย อันให้เกิดการกระทบกระทั่งกับสิ่งที่เป็นรูปนั่นเอง).--๑. มหา.ที. ๑๐/๘๓/๖๖.--(๕) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจาตนะโดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่ห้า.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากาสานัญจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพัน อยู่ในอรูปประเภทแรกคืออากาสานัญจายตนะนั่นเอง).--(๖) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่หก.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของวิญญาณัญจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพัน อยู่ในอรูปประเภทที่สองคือวิญญาณัญจายตนะนั่นเอง).--(๗) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่เจ็ด.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพัน อยู่ในอรูปประเภทที่สามคืออากิญจัญญายตนะนั่นเอง).--(๘) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่แปด.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สี่คือเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่นเอง).--อานนท์ ! เหล่านี้แล วิโมกข์แปด.--อานนท์ ! ในกาลใดแล ภิกษุ เข้าสู่วิโมกข์แปดเหล่านี้ โดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้าง ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ได้ตามที่ที่ต้องการ ตามสิ่งที่ต้องการ ตามเวลาที่ต้องการ ; กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ---ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. อานนท์ ! ภิกษุนั้นแล ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนสอง).--อานนท์ ! อุภโตภาควิมุตติอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าอุภโตภาควิมุตตินี้ย่อมไม่มี.--ผู้อุภโตภาควิมุตต์--(ตามคำของพระอานนท์)๑--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘อุภโตภาควิมุตต์ อุภโตภาควิมุตต์’ ดังนี้. อาวุโส ! อุภโตภาควิมุตต์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณี้นี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อนึ่งอายตนะคือฌานนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ๆ ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่. และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือปฐมฌานนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! อุภโตภาควิมุตต์อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นอุภโตภาควิมุตต์ โดยปริยาย.--๑. นวก. อํ. ๒๓/๔๗๔/๒๔๙.--ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นอุภโตภาควิมุตต์ โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อนึ่ง อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้นๆ ด้วยนามกายแล้วแลอยู่. และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! อุภโตภาควิมุตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.--๒. ผู้ปัญญาวิมุตต์--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน, วิโมกข์เหล่าใดอันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขาหาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตต์. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็ไม่กล่าวว่า ยังมีอะไร ๆ เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว, และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป.--(ผู้ปัญญาวิมุตต์ อีกนัยหนึ่ง๑)--อานนท์ ! วิญญาณฐิติ เจ็ด เหล่านี้ และ อายตนะสอง มีอยู่. วิญญาณฐิติเจ็ดเหล่าไหนเล่า ? วิญญาณฐิติเจ็ดคือ :---๑. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ; ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หนึ่ง.--๒. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหมที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ และสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งสี่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สอง.--๓. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกันมีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพอาภัสสระ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สาม.--๔. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ ; ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สี่.--๕. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ มีการทำในใจว่า”อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่ห้า.--๖. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หก.--๑. มหา.ที.๑๐/๘๑-๘๓/๖๕.--๗. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ มีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่เจ็ด.--ส่วน อายตนะอีกสอง นั้น คือ อสัญญีสัตตายตนะ ที่หนึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่สอง.--อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า) นั้น : วิญญาณฐิติประเภทที่หนึ่ง อันใด มีอยู่, คือ สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก. อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่หนึ่งนั้น รู้ชัดการเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติที่หนึ่ง นั้น ? “ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !”--(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่สอง วิญญาณฐิติที่สาม วิญญานฐิติที่สี่ วิญญาณฐิติที่ห้าวิญญาณฐิติที่หก วิญญาณฐิติที่เจ็ด และ อสัญญีสัตตายตนะที่หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอย่างดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่หนึ่งนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่งสภาพธรรมนั้นๆเท่านั้น. ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่สองนั้น จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)--อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า) นั้น : เนวสัญญานาสัญญายตนะ อันใด มีอยู่, อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัด--เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้นรู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ? “ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็นเครื่องออก แห่งวิญญาณฐิติเจ็ดเหล่านี้ และแห่งอายตนะสองเหล่านี้ด้วย แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่น ; อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นปัญญาวิมุตต์.--ผู้ปัญญาวิมุตต์--(ตามคำของพระอานนท์)๑--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘ปัญญาวิมุตต์ ปัญญาวิมุตต์ ดังนี้. อาวุโส ! ปัญญาวิมุตต์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือปฐมฌานนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! ปัญญาวิมุตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.--๑. นวก. อํ. ๒๓/๔๗๓/๒๔๘.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นปัญญาวิมุตต์ โดยปริยาย. ส่วน สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นปัญญาวิมุตต์ โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! ปัญญาวิมุตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.--(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เราสอนกันอยู่และถือกันอยู่เป็นหลักว่า พวกปัญญาวิมุตต์ไม่อาจจะเข้าฌานได้ แต่จากบาลีข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่า พวกปัญญาวิมุตต์สามารถเข้าฌานได้ แม้กระทั่งสัญญาเวทยิตนิโรธ หากแต่ไม่มีการเสวยรสจากธรรมารมณ์แห่งฌานนั้น ๆ ด้วยนามกาย ซึ่งเป็นการเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติ เท่านั้น. ข้อนี้จะยุติเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่นักศึกษาควรพิจารณากันดูเองเถิด).--๓. ผู้กายสักขี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นกายสักขี (ผู้มีการเสวยสุขด้วยนามกายเป็นพยาน) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลาย อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ, ด้วยนามกาย--แล้วแลอยู่. อนึ่ง อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้นก็ สิ้นไปรอบแล้วเพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นกายสักขี. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุนี้ เรากล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.--ผู้กายสักขี--(ตามคำของพระอานนท์)๑--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘กายสักขี กายสักขี ’ ดังนี้. อาวุโส ! กายสักขีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อนึ่ง อายตนะคือฌานนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ๆ ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่.--๑. นวก. อํ. ๒๓/๔๗๒/๒๔๗.--อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะเป็นกายสักขี โดย ปริยาย. ส่วน สัญญาเวทยิตนิโรธ ชนิดที่มีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นกายสักขี โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อนึ่ง อายตนะคือ สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ๆ ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่. อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.--(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า “กายสักขี-มีกายเป็นพยาน” นั้น หมายความว่า ได้เสวยรสแห่งฌานเป็นต้น ด้วยนามกาย คือด้วยใจของตน ; และคำ ว่า “โดยนิปปริยาย” นั้น หมายถึงมีการสิ้นอาสวะในกรณีนั้น, ถ้ายังไม่สิ้นอาสวะ เรียกได้แต่เพียงว่าโดยปริยาย).--๔. ผู้ทิฏฐิปปัตต์--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปปัตต์ (ผู้บรรลุแล้วด้วยความเห็นลงสู่ธรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็เป็นธรรม อันเขานั้นเห็นลงแล้ว ประพฤติลงแล้วด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็น ทิฏฐิปปัตต์. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.--๕. ผู้สัทธาวิมุตต์--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นด้วยสัทธา) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขาหาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่าของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง สัทธา ของ--เขานั้น เป็นสัทธาที่ ปลงลงแล้วหมดสิ้น มีมูลรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่แล้วอย่างมั่นคงในตถาคต. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า บุคคลผู้เป็น สัทธาวิมุตต์. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.--๖. ผู้ธัมมานุสารี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม ทนต่อการเพ่งโดยประมาณแห่งปัญญาของเขา และ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ก็มีแก่เขา คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอต้องทำ--ด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.--๗. ผู้สัทธานุสารี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามสัทธา)เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง สัทธา ตามประมาณ (ที่ควรจะมี) ความรักตามประมาณ (ที่ควรจะมี) ในตถาคตของเขาก็มี และธรรมเหล่านี้ก็มีแก่เขา คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็น สัทธานุสารี. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่ง--เป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/229-232/230-237.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๒๙-๒๓๒/๒๓๐-๒๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 571
ชื่อบทธรรม : -ผู้อนิมิตตวิหารี
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้อนิมิตตวิหารี--โมคคัลลานะ ! ก็ติสสพรหม มิได้แสดงบุคคลที่เจ็ดอันเป็น อนิมิตตวิหารี (ผู้อยู่ด้วยวิหารธรรมอันไม่มีนิมิต) แก่เธอดอกหรือ ?--“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาค จะทรงแสดงซึ่งบุคคลที่เจ็ดผู้เป็นอนิมิตตวิหารี ; ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”.--โมคคัลลานะ ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าถึงซึ่งเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง แล้วแลอยู่. เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ เข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งหลาย แล้วแลอยู่ ; เป็นที่เชื่อได้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร บ่มอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ ก็จะกระทำให้แจ้งซึ่งปริโยสานแห่งพรหมจรรย์นั้น อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ประสงค์ของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบอยู่, ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/79/53.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๙/๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 572
ชื่อบทธรรม : -ผู้มีสันทิฏฐิกธรรม ตามคำของพระอานนท์
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้มีสันทิฏฐิกธรรม ตามคำของพระอานนท์--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘สันทิฏฐิกธรรม สันทิฏฐิกธรรม’ ดังนี้ อาวุโส ! สันทิฏฐิกธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อาวุโส ! สันทิฏฐิกธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะเป็นสันทิฏฐิกธรรม โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธชนิดที่มีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นสันทิฏฐิกธรรม โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส ! สันทิฏฐิกธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก.อํ. 23/474/250.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก.อํ. ๒๓/๔๗๔/๒๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 573
ชื่อบทธรรม : -ผู้นิพพาน ตามคำของพระอานนท์
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้นิพพาน ตามคำของพระอานนท์--และผู้ปรินิพพาน ตามคำของพระอานนท์--(นิพพาน และ ปรินิพพาน ตามคำของพระอานนท์ มีใจความอย่างเดียวกันกับสันทิฏฐิกนิพพานข้างต้น ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น. นอกจากนี้ ยังมีการแสดงไว้ ด้วยคำ ว่า เขมํอมตํ อภยํ ปสฺสทฺธิ นิโรโธ แทนคำ ว่านิพพานข้างบน. -นวก. อํ. ๒๓/๔๗๕-๔๗๗/๒๕๒,๒๕๓, ๒๕๖,๒๕๘,๒๖๐,๒๖๒,๒๖๔).--ผู้มีทิฏฐธรรมนิพพาน ตามคำของพระอานนท์--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘ทิฏฐธรรมนิพพาน ทิฏฐธรรมนิพพาน’ ดังนี้. อาวุโส ! ทิฏฐธรรมนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถาม พระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ อาวุโส ! ทิฏฐธรรมนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, อนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ, อาวุโส ทิฏฐธรรมนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/475/255.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๗๕/๒๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 574
ชื่อบทธรรม : -ผู้เขมัปปัตต์ ตามคำของพระอานนท์
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้เขมัปปัตต์ ตามคำของพระอานนท์--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘เขมัปปัตต์ เขมัปปัตต์’ ดังนี้. อาวุโส ! เขมัปปัตต์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่, อาวุโส! เขมัปปัตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะเป็นเขมัปปัตต์ โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธชนิดมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นเขมัปปัตต์ โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส ! เขมัปปัตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/477/257.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๗๗/๒๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 575
ชื่อบทธรรม : - ตทังคนิพพุโต - ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ
เนื้อความทั้งหมด :-(นอกจากแสดงไว้โดยชื่อว่า เขมัปปัตต์ นี้แล้ว ยังแสดงไว้โดยชื่อว่า อมตัปปัตต์ อภยัปปัตต์ โดยมีข้อความทำนองเดียวกันด้วย.- นวก. อํ. ๒๓/๒๗๗/๒๕๙,๒๖๑, คำว่า เขม ก็ดี อมต ก็ดี อภย ก็ดี ในกรณีเช่นนี้ ล้วนแต่เล็งถึงนิพพานด้วยกันทั้งนั้น. คำว่า ปัตต์ แปลว่า ผู้ถึงแล้ว).--ตทังคนิพพุโต - ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความจางคลาย ความดับ ของ รูป นั้นเทียว แล้วเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ว่า รูปทั้งปวงทั้งในกาลก่อน และในกาลนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้อยู่, โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายย่อมละไป. เพราะละเสียได้ซึ่งโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเหล่านั้น เขาย่อมไม่สะดุ้งหวาดเสียว ; เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียว ย่อมอยู่เป็นสุข ; ผู้อยู่เป็นสุข (ด้วยอาการอย่างนี้) เรากล่าวว่า เป็นภิกษุผู้ ตทังคนิพพุโต (ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ) ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/54/88.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๔/๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 576
ชื่อบทธรรม : -ผู้มีตทังคนิพพาน ตามคำของพระอานนท์
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้มีตทังคนิพพาน ตามคำของพระอานนท์--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘ตทังคนิพพาน ตทังคนิพพาน’ ดังนี้. อาวุโส! ตทังคนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อาวุโส ! ตทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยปริยาย.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นตทังคนิพพาน โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นตทังคนิพพาน โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส ! ตทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/475/254.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๗๕/๒๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 577
ชื่อบทธรรม : -หมดตัวตน ก็หมดเรื่องผูกพัน
เนื้อความทั้งหมด :-หมดตัวตน ก็หมดเรื่องผูกพัน--ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า. ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ :--(๑) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่า ตนมีรูปด้วย ไม่ตามเห็นว่ารูป มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในรูปด้วย ;--(๒) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีเวทนาด้วย ไม่ตามเห็นว่าเวทนา มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในเวทนาด้วย ;--(๓) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสัญญาด้วย ไม่ตามเห็นว่าสัญญา มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในสัญญาด้วย ;--(๔) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสังขารด้วย ไม่ตามเห็นว่าสังขาร มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในสังขารด้วย ;--(๕) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีวิญญาณด้วย ไม่ตามเห็นว่าวิญญาณ มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในวิญญาณด้วย ;--ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้สดับแล้วเช่นนี้นี่แล เราตถาคตย่อมเรียกผู้นั้นว่า ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือรูป ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือเวทนา ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือสัญญา ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือสังขาร ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือวิญญาณ ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกใด ๆ ทั้งภายในภายนอก, เป็นผู้มีปกติมองเห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร) เป็นผู้มีปกติมองเห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน) ; เราตถาคตจึงกล่าวว่า สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ.17/201/305.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ.๑๗/๒๐๑/๓๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 578
ชื่อบทธรรม : -หมดตัวตน ก็หมดอหังการ
เนื้อความทั้งหมด :-หมดตัวตน ก็หมดอหังการ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงไม่ยึดถือว่าเรา ไม่ยึดถือ ว่าของเรา อันเป็นอนุสัยคือมานะ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก ? พระเจ้าข้า !”--กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ภายในหรือข้างนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี อริยสาวกได้เห็นสิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า นั้นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้นั่นแหละ ; กัปปะ ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละ จึงไม่ยึดถือว่าเรา ไม่ยึดถือว่าของเรา อันเป็นอนุสัยคือมานะในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอื่นทั้งหมดนั้นแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/206/318.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๖/๓๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 579
ชื่อบทธรรม : -“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะเห็นธรรมชาติ ปราศจากความยึดถือว่าเรา ปราศจากความยึดถือว่าของเรา อันเป็นมานะเครื่องถือตัว ในกายอันมีอวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก ; รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะก้าวล่วงมานะเสียด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไป ? พระเจ้าข้า !”
เนื้อความทั้งหมด :-“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะเห็นธรรมชาติ ปราศจากความยึดถือว่าเรา ปราศจากความยึดถือว่าของเรา อันเป็นมานะเครื่องถือตัว ในกายอันมีอวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก ; รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะก้าวล่วงมานะเสียด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไป ? พระเจ้าข้า !”--กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ภายในหรือข้างนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ก็ดี อริยสาวกได้เห็นสิ่งทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงขึ้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้แล้วหลุดพ้นไปเพราะไม่ยึดมั่นนั่นแหละ ; กัปปะ ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละ จิตใจจึงจะเป็นธรรมชาติปราศจากความยึดถือว่าเรา ปราศจากความยึดถือว่าของเรา อันเป็นมานะเครื่องถือตัว ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอื่นทั้งหมดทั้งสิ้นได้, และจิตใจจะก้าวล่วงมานะเสียได้ด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไปด้วยดี, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/207/319.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๗/๓๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 580
ชื่อบทธรรม : -สัญญาที่เป็นส่วนประกอบแห่งวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญาที่เป็นส่วนประกอบแห่งวิชชา--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา (วิชฺชาภาคิย). หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่างคือ อนิจจสัญญา (สัญญาว่าไม่เที่ยง) อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง) ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาว่ามิใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์) ปหานสัญญา (สัญญาในการละ) วิราคสัญญา (สัญญาในความคลาย--กำหนัด) นิโรธสัญญา (สัญญาในความดับ). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา.--ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๗๒/๓๐๖.--บุคคลผู้ถึงซึ่งวิชชา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘วิชชา-วิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งวิชชา ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ มารู้ชัดแจ้งถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รู้ชัดแจ้งถึง เหตุให้เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รู้ชัดแจ้งถึง ความดับไม่เหลือ ของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รู้ชัดแจ้งถึง ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ;--ภิกษุ ! อย่างนี้แล เราเรียกว่า วิชชา และบุคคลชื่อว่าถึงวิชชา ย่อมมีได้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/198/301.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1068
ชื่อบทธรรม : -ความรู้สึกในใจของผู้ชนะตัณหาได้
เนื้อความทั้งหมด :-ความรู้สึกในใจของผู้ชนะตัณหาได้--เมื่อเรายังไม่พบญาณ ก็ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสาร เป็นอเนกชาติ, แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหา ผู้สร้างภพ, การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป.--นายช่างผู้ปลูกเรือนเอ๋ย ! ฉันรู้จักแกเสียแล้ว ; เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป. โครงเรือนทั้งหมดของเจ้า เราหักเสียแล้ว; ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว. จิตของเราถึงแล้ว ซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป เพราะถึงความสิ้นไป แห่งตัณหาเสียแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/35/21.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๓๕/๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 38
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site