สัทธรรมลำดับที่ : 549
ชื่อบทธรรม : -จ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเว้น
เนื้อความทั้งหมด :-จ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเว้น--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการงดเว้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้น จากช้างดุ, ม้าดุ, โคดุ, สุนัขดุ, งู, หลักตอ, ขวากหนาม ห้วยเหว บ่อของโสโครก หลุมอุจจาระ และงดเว้น ที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไป และ การคบพวกเพื่อนที่ลามก อันวิญญูชนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย จัดไว้ในฐานะที่ต่ำทราม. ภิกษุนั้น พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้นที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไปนั้นๆ เสีย และย่อมงดเว้นพวกเพื่อนที่ลามกเหล่านั้นเสีย. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่งดเว้นด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุงดเว้นอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการงดเว้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/18/16.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๘/๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 550
ชื่อบทธรรม : -ฉ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการบรรเทา
เนื้อความทั้งหมด :-ฉ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการบรรเทา--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุดทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งกามวิตก, พยาบาทวิตก, วิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว ; และย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลลามกทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่บรรเทาด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุบรรเทาอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการบรรเทา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/19/17.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๙/๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 551
ชื่อบทธรรม : -ช. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเจริญทำให้มาก
เนื้อความทั้งหมด :-ช. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเจริญทำให้มาก--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการเจริญ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ อุเปกขาสัมโพชฌงค์, อัน (แต่ละอย่าง ๆ) ย่อมอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ และน้อมไปเพื่อความปล่อย. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่เจริญด้วยอาการอย่างนี้ ; อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุเจริญอยู่ อาสวะ--ทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น.ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการเจริญ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/19/18.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๙/๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 552
ชื่อบทธรรม : -ซ. ผลแห่งการปิดกั้นอาสวะทั้งปวงโดยเจ็ดวิธี
เนื้อความทั้งหมด :-ซ. ผลแห่งการปิดกั้นอาสวะทั้งปวงโดยเจ็ดวิธี--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ด้วยการเห็น, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการสังวร, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการเสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการอดกลั้น, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการงดเว้น, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะถึงละได้ ด้วยการบรรเทา, ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงได้ ด้วยการเจริญ, แล้ว ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นซึ่งอาสวะทั้งปวง อยู่ ; ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/20/19.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๐/๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 553
ชื่อบทธรรม : -ผู้พ้นพิเศษเพราะความสิ้นตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้พ้นพิเศษเพราะความสิ้นตัณหา--“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! สมณพราหมณ์ทั้งปวง เป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด หรือพระเจ้าข้า ?”--ท่านผู้จอมเทพ ! ใช่ว่าสมณพราหมณ์ทั้งปวง จักเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด ก็หาไม่.--“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! เพราะเหตุไรเล่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงจึงไม่เป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด พระเจ้าข้า ?”--ท่านผู้จอมเทพ ! ก็ต่อเมื่อสมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ (ภิกขุ) เป็นผู้ หลุดพ้นวิเศษเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เท่านั้น, สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด. เพราะเหตุนั้นสมณพราหมณ์ทั้งปวง จึงไม่เป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/318/261.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๑๘/๒๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 554
ชื่อบทธรรม : -ผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบ
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบ--(หลุดพ้นได้เพราะการรู้ออกจากสัญญาคตะทั้งสาม)--(ความรู้นี้ ต้องนำด้วยการละอุปกิเลสสิบหก มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาบริสุทธิ์ แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารไปทั่วโลกทั้งสิ้น, ดังนั้น :-)--ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “สัญญาคตะว่าอย่างนี้ ๆ ก็มีอยู่, สัญญาคตะว่าเลว ก็มีอยู่, สัญญาคตะว่าประณีต ก็มีอยู่, และอุบายอันยิ่งเป็นเครื่องออกจากสัญญาคตะนี้ ก็มีอยู่” ดังนี้. เมื่อเธอนั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”. เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว--พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/69/97.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๖๙/๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 555
ชื่อบทธรรม : -ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน--(ดับกิเลสและทุกข์เพราะออกเสียได้จากทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ)--ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างเหล่านี้ มีอยู่ ; คือ ภวทิฏฐิ (ว่ามี). วิภวทิฏฐิ (ว่าไม่มี).--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นบวก) เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อวิภวทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดแอบอิง วิภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นลบ) เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อภวทิฏฐิ. ...--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิสองอย่างนี้, สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ--ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ไม่มีอุปาทาน เป็นผู้เห็นแจ้ง ไม่เป็นฝ่ายยอมรับ ไม่เป็นฝ่ายคัดค้าน ; เขาเหล่านั้น เป็นผู้มีธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มีความยินดีในธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้า ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย, เรากล่าวว่า เขาย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู ม. 12/131/155.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู ม. ๑๒/๑๓๑/๑๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 556
ชื่อบทธรรม : -ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว--(เมื่อวิมุตติถอนรากความรัก - เกลียด - ตามธรรมชาติแล้ว)--ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. สี่ประการอย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ความรักเกิดจากความรัก ความเกลียดเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากความเกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่า รักใคร่น่าพอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง. มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วย--อาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ; สมัยนั้น ความรักที่เกิดจากความรัก ก็ถูกละขาด มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา, ความเกลียดที่เกิดจากความรัก ก็ถูกละขาด... ; ความรักที่เกิดจากความเกลียด ก็ถูกละขาด... ; ความเกลียดที่เกิดจากความเกลียด ก็ถูกละขาด มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้นตาล มีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ย่อมไม่ถือตัว ย่อมไม่ตอบโต้ ย่อมไม่อัดควัน ย่อมไม่ลุกโพลง ย่อมไม่ไหม้เกรียม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/280/200
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 557
ชื่อบทธรรม : -ก. ผู้ไม่ถือตัว (น อุสฺเสเนติ)
เนื้อความทั้งหมด :-ก. ผู้ไม่ถือตัว (น อุสฺเสเนติ)--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ถือตัว ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูป ไม่ตามเห็นรูปในตน ไม่ตามเห็นตนในรูป, ไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีเวทนา ไม่ตามเห็นเวทนาในตน ไม่ตาม--เห็นตนในเวทนา, ไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีสัญญาไม่ตามเห็นสัญญาในตน ไม่ตามเห็นตนในสัญญา, ไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีสังขาร ไม่ตามเห็นสังขารในตน ไม่ตามเห็นตนในสังขาร, ไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณ ไม่ตามเห็นวิญญาณในตน ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ภิกษุย่อมไม่ถือตัว.--ข. ผู้ไม่ตอบโต้ (น ปฏิสฺเสเนติ)--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ตอบโต้ ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมไม่โกรธขึ้งตอบผู้โกรธขึ้งตน ย่อมไม่หักราญตอบผู้หักราญตน.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ตอบโต้.--ค. ผู้ไม่อัดควัน ( น ธูปายติ)--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่อัดควัน ?--ภิกษุ ท. ! (๑) เมื่อความนึก (ด้วยมานานุสัย) ว่า “เรามีอยู่เป็นอยู่” ดังนี้ ไม่มีอยู่, (๒) ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนี้” ก็ไม่มี ; (๓) ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนั้น” ก็ไม่มี ; (๔) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างอื่น” ก็ไม่มี ; (๕) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้” ก็ไม่มี ; (๖) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างเที่ยงแท้” ก็ไม่มี ; (๗) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็น” ก็ไม่มี; (๘) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้” ก็ไม่มี ; (๙) ว่า “เรา--พึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น” ก็ไม่มี; (๑๐) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น” ก็ไม่มี; (๑๑) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นบ้างหรือ” ก็ไม่ม ี; (๑๒) ความนึก ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๓) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๔) ว่า “เราพึงมี- พึงเป็นอย่างอื่นบ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๕) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้ว “ก็ไม่มี ; (๑๖) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนี้” ก็ไม่มี ; (๑๗) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนั้น” ก็ไม่มี ; (๑๘) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างอื่น” ก็ไม่มี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่อัดควัน.--ฆ. ผู้ไม่ลุกโพลง (น ปชฺชลติ)--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่า ภิกษุ ย่อมไม่ลุกโพลง ?--ภิกษุ ท. ! (๑) เมื่อความนึก (ด้วยมานานุสัย) ว่า “เรามีอยู่-เป็นอยู่แล้ว ด้วยขันธ์นี้” ไม่มีอยู่, (๒) ความนึกว่า “ เรามี-เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๓) ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๔) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๕) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๖) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๗) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๘) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๙) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๑๐) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้ “ก็ไม่มี ; (๑๑) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๒) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๓) ว่า “เราพึงมี-พึง--เป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๔) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี ; (๑๕) ความนึกว่า”เราจักมี-จักเป็นแล้ว ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๑๖) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๑๗) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี ; (๑๘) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ลุกโพลง.--ง. ผู้ไม่ไหม้เกรียม (น ปชฺฌายติ)--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ไหม้เกรียม ?--ภิกษุ ท. ! อัส๎มิมานะอันภิกษุในกรณีนี้ละขาดแล้ว มีรากถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ทำให้ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ไหม้เกรียม, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/293-296/200.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๙๓-๒๙๖/๒๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 558
ชื่อบทธรรม : -ผู้ลอกคราบทิ้งแล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ลอกคราบทิ้งแล้ว--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปข้างหน้า ไม่วกอ้าวมาข้างหลัง๑ ล่วงพ้นธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า๒ นี้เสียได้ทั้งสิ้น ; ผู้นั้น เป็น--๑. แล่นไปทางหน้า ด้วยอำนาจภวตัณหาเพื่อมีภพใหม่. แล่นวกไปทางหลัง ด้วยอำนาจกามตัณหาที่อาลัยในกามคุณ.--๒. ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้แก่กิเลสตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ทำให้คลานต้วมเตี้ยมอยู่ในภพไม่ออกไปสู่นิพพานอันปราศจากภพ.--ภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก๓ เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้วฉะนั้น.--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลังรู้ว่า ในโลกนี้ สิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่งตถา๔ ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโลภะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่งตถา ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่งตถา ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคาบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่งตถา ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--๓. ฝั่งในฝั่งนอก หมายถึงความคิดที่ถือมั่นว่ามีในมีนอก ไม่เป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตาหรือมัชฌิมาปฏิปทา.--๔. ปราศจากสัจจะแห่งตถาคือ ไม่สามารถมีความเป็นอสังขตะ หรือความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง.--ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปข้างหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่งตถา ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--อนุสัยไร ๆ ของผู้ใด ไม่มี เพราะถอนเสียได้ซึ่งมูลราก อันเป็นอกุศลทั้งหลาย ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้ว ทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--กิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความกระวนกระวายไร ๆ ของผู้ใดไม่มีเพื่อเป็นปัจจัยแห่งการมาสู่ฝั่งใน ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--กิเลสเป็นเหตุให้เกิดความรกทึบเพียงดังป่ารกไร ๆ ของผู้ใดไม่มีเพื่อสำเร็จแก่ความเป็นเหตุแห่งภพอันเป็นเครื่องผูกพัน ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.--ผู้ใด ละนิวรณ์ทั้งห้าแล้ว ไม่มีความคับแค้น ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากสิ่งเสียบแทงแห่งจิต ; ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/325/294.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๓๒๕/๒๙๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 559
ชื่อบทธรรม : -ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (อุปาทาน)
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (อุปาทาน)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว,--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).--ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.--(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหมอาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง, แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่งนิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้ :-)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของ--ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้--โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ;--ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).--ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/6/4.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๖/๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 560
ชื่อบทธรรม : -ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร--สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือน ถ้านักรบรู้จักการใช้ลูกศรชั้นเลิศเป็นอันมาก เขาเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้รับใช้พระราชา ถึงการนับว่าเป็นอังคาพยพแห่งพระราชา โดยฐานะสาม. ฐานะสามอย่างไรกันเล่า ? ฐานะสาม คือ เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.--สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ไกลเป็นฉันใดอริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาสมาธิก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ที่เป็น ภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี ไกลหรือใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้ ;--(ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).--สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้แม่นยำเป็นฉันใด อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้มี สัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้.--สาฬ๎หะ ! นักรบผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ เป็นฉันใดอริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาวิมุตติ ก็เป็นฉันนั้น : อริยสาวกผู้ มีสัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายกองแห่งอวิชชาอันใหญ่ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. 21/274/196.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จกตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๔/๑๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 561
ชื่อบทธรรม : -ผู้หลุดพ้นแล้วมีอุปมา ๕ อย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้หลุดพ้นแล้วมีอุปมา ๕ อย่าง--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ หลุดพ้นแล้วเป็นเจโตวิมุตต์และปัญญาวิมุตต์ ; ภิกษุนี้ เรา :---เรียกว่าเป็น “ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว” (อุกฺขิตฺตปลิโฆ) ดังนี้บ้าง ;--เรียกว่าเป็น “ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้” (สงฺกิณฺณปริกฺโข) ดังนี้บ้าง ;--เรียกว่าเป็น “ผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นเสียได้” (อพฺพุเฬฺหสิโก) ดังนี้บ้าง ;--เรียกว่าเป็น “ผู้ถอดกลอนประตูออกเสียได้” (นิรคฺคโฬ) ดังนี้บ้าง ;--เรียกว่าเป็น “อริยะผู้ลดธง ปลงภาระ ปราศจากเครื่องผูกพัน” (อริโยปนฺนทฺธโช ปนฺนภาโร วิสํยุตฺโต) ดังนี้บ้าง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี อวิชชาอันละขาดแล้ว เป็นอวิชชามีรากอันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้นยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี ชาติสังสาระเครื่องนำไปสู่ภพใหม่อันละขาดแล้วเป็นชาติสังสาระมีรากอันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี ตัณหาอันละขาดแล้ว เป็นตัณหามีราก อันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นเสียได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอดกลอนประตูออกเสียได้ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้าอันละขาดแล้วเป็นสังโยชน์มีรากอันถอนขึ้นแล้ว, กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วนถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้ถอดกลอนประตูออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า เป็นอริยะผู้ลดธง ปลงภาระ ปราศจากเครื่องผูกพัน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี อัส๎มิมานะอันละขาดแล้ว เป็นอัส๎มิมานะมีรากอันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็น อริยะผู้ลดธงปลงภาระปราศจากเครื่องผูกพันแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/96/71, 72.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๖/๗๑, ๗๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 36
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site