สัทธรรมลำดับที่ : 538
ชื่อบทธรรม : -ผู้มีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้มีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ. ธรรมสามประการเหล่าไหนเล่า ? สามประการคือ ประกอบด้วย สีลขันธ์อันเป็นอเสขะด้วย สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ด้วย ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึง--ที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจถึงที่สุดประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรมสามประการแม้อื่นอีก. ธรรมสามประการแม้อื่นอีกเหล่าไหนเล่า ? สามประการคือ ประกอบด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ ด้วย อนุศาสนีปาฏิหาริย์. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/353/217.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๕๓/๒๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 539
ชื่อบทธรรม : -(ยังมีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์ อย่างอื่น นอกไปจากอเสขธรรมสามและปาฏิหาริย์ สามเหล่านี้อีก แต่เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะนำมาใส่ไว้ในที่นี้).
เนื้อความทั้งหมด :-(ยังมีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์ อย่างอื่น นอกไปจากอเสขธรรมสามและปาฏิหาริย์ สามเหล่านี้อีก แต่เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะนำมาใส่ไว้ในที่นี้).--พระอรหันต์มีคุณลักษณะที่น่าสนใจ--(หลังจากที่ได้ตรัสว่า พระอรหันต์ เป็นผู้เลิศในโลกทั้งปวงยิ่งกว่าสัตตาวาสและภวัคคพรหมแล้ว (ข้อความนั้นอยู่ในหัวข้อถัดไปจากหัวข้อนี้) ได้ตรัสข้อความที่ประพันธ์เป็นคาถา ดังต่อไปนี้ :-)--พระอรหันต์ ท. ท่านมีความสุขหนอ, ตัณหาของท่าน ไม่มี, ท่านถอนอัส๎มิมานะหมดสิ้นแล้ว, ท่านทำลายข่ายแห่งโมหะได้แล้ว, ท่านถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว,จิตของท่านนั้นไม่ขุ่นมัว, ไม่มีอะไรฉาบไล้ท่านให้ติดอยู่ในโลก, ท่านเป็นเสมือนพรหม๑ ผู้ไม่มีอาสวะ, รอบรู้ซึ่งเบญจขันธ์มีสัทธรรมเจ็ด๒ เป็นที่โคจร, เป็นสัปบุรุษ๓ ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ, เป็นบุตรที่เกิดแต่อกพระพุทธเจ้า, ถึงพร้อมแล้วด้วยรัตนะเจ็ดประการ๔, ผ่านการศึกษาในสิกขาทั้งสาม, เป็นมหาวีระ๕ เที่ยวไปในที่ต่าง ๆ, ปราศจากภัยเวรโดยสิ้นเชิง, ถึงพร้อมแล้วด้วยองค์ (แห่งสัมมัตตะ๖) ทั้งสิบ, เป็นมหานาคผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว, นี่แหละคือผู้ประเสริฐในโลกละ, ตัณหาของท่านไม่มี, อเสขญาณ เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. ประชุมแห่งกายนี้มีแก่ท่านเป็นครั้งสุดท้าย,--๑. “พรหม” เป็นภาษาดึกดำบรรพ์ในอินเดีย หมายถึงผู้ประเสริฐสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.--๒. สัทธรรมเจ็ด ได้แก่ สัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ วิริยะ สติ ปัญญา (พุทธภาษิต ๒๓/๑๔๗/๘๔).--๓. คำว่า “สัปบุรุษ” คำนี้ อาจจะเป็นคำที่ประหลาดที่สุดสำหรับพวกเราสมัยนี้ก็ได้ ที่ท่านใช้ เป็นคำเรียกพระอรหันต์ แม้ในศิลาจารึกยุคหลังพุทธกาลตอนต้น ๆ.--๔. รัตนะเจ็ดประการ ในที่นี้ ท่านหมายถึง โพชฌงครัตนเจ็ดประการ (พุทธภาษิต ๑๙/๑๓๙/๕๐๖)--๕. “มหาวีระ” คำนี้ ใช้ร่วมกันในระหว่างพุทธกับลัทธิอื่น เช่นเดียวกับ คำว่า ชินะ เป็นต้น.--๖. คำว่า “สัมมัตตะสิบ” หมายถึงความถูกต้องสิบประการ ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ” หน้า ๕๕๖ และที่หน้า ๕๕๗ แห่งหนังสือเล่มนี้.--๗. ภูมิแห่งผู้ฝึกตนถึงที่สุดแล้ว คือพระอรหันต์.--ไม่ต้องอาศัยปัจจัยจากใครอื่น ในสาระแห่งพรหมจรรย์, ไม่หวั่นไหวในเพราะวิธา (ชั้นแห่งมานะสาม) ทั้งหลาย, พ้นพิเศษแล้วจากการต้องมีภพใหม่, บรรลุแล้วตามลำดับซึ่งทันตภูมิ ๗, ท่านชนะโลกแล้วทั้งเบื้องบนเบื้องขวางและเบื้องล่าง, นันทิของท่านไม่มี, ท่านประกาศธรรมในลักษณะบันลือสีหนาท, ท่านเป็นผู้รู้ในโลก อย่างไม่มีผู้รู้อื่นยิ่งกว่า, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/101/153.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๑/๑๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 540
ชื่อบทธรรม : -พระอรหันต์เลิศกว่าภวัคคพรหม
เนื้อความทั้งหมด :-พระอรหันต์เลิศกว่าภวัคคพรหม--ภิกษุ ท. ! รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร ....วิญญาณ (แต่ละอย่าง) ไม่เที่ยง ; สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ; สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ; สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นอันบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย--ย่อมคลายกำหนัด ; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! สัตตาวาสมีประมาณเท่าใด ภวัคค (พรหม) มีประมาณเท่าใด พวกที่เลิศประเสริฐในโลก คือพวกพระอรหันต์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/101/152.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๑/๑๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 541
ชื่อบทธรรม : -ผู้ข้ามพ้นกามโลก - รูปโลก - อรูปโลก ยังไม่ชื่อว่าข้ามพ้นโลก
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ข้ามพ้นกามโลก - รูปโลก - อรูปโลก ยังไม่ชื่อว่าข้ามพ้นโลก--(จนกว่าจะลุอนาสวสัญญาเวทยิตนิโรธ)--พราหมณ์ ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ ในอริยวินัยเรียกกันว่า โลก. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. พราหมณ์ ! กามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล ในอริยวินัยเรียกกันว่า โลก.--พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. พราหมณ์ ! ภิกษุนี้เขากล่าวกันว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่ในที่สุดแห่งโลก ; คนพวกอื่น--กล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ยังเนื่องอยู่กับโลก ยังไม่ออกจากโลก” ดังนี้. พราหมณ์ ! ถึงแม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ ยังเนื่องอยู่กับโลก ยังไม่ออกจากโลก”.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมฌานข้างบน)--พราหมณ์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ ; แม้อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ เพราะเห็นด้วยปัญญา อยู่. พราหมณ์ ! ภิกษุนี้ อันใคร ๆ ย่อมกล่าวว่า ได้ถึงซึ่งที่สุดแห่งโลก อยู่ในที่สุดแห่งโลก ข้ามแล้วซึ่งเครื่องข้องในโลก, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/448/242.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๔๘/๒๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 542
ชื่อบทธรรม : -พระอรหันต์คือผู้เป็นเกพลี
เนื้อความทั้งหมด :-พระอรหันต์คือผู้เป็นเกพลี--(จบพรหมจรรย์แล้ว อยู่โดยปราศจากธรรมห้า แต่ถึงพร้อมด้วยธรรมห้า)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีองค์ห้าอันละขาดแล้ว และมีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เรากล่าวว่า เป็น เกพลี (มีไกวัลยธรรม) อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มีกามฉันทะขาดแล้ว มีพยาบาทอันละขาด--แล้ว มีถีนมิทธะอันละขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะอันละขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละขาดแล้ว. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบพร้อมแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีองค์ห้าอันละขาดแล้ว และมีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เรากล่าวว่า เป็นเกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ; ภิกษุผู้เช่นนั้น สมบูรณ์ด้วย อเสขสีล อเสขสมาธิ อเสขปัญญา อเสขวิมุตติ และอเสขญาณ. ภิกษุผู้เช่นนั้น สมบูรณ์ด้วยองค์ห้า เว้นขาดจากองค์ห้า. ภิกษุผู้เช่นนั้น ท่านกล่าวว่าเป็น “เกพลี” ในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/17/12.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๑๗/๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 543
ชื่อบทธรรม : -ผู้เป็นเกพลีบุคคล ในพุทธศาสนา
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้เป็นเกพลีบุคคล ในพุทธศาสนา--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตฺตฏฺฐานกุสโล) ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า เกพลี๑ อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวมเจ็ดประการ ).--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! รูปเป็นอย่างไรเล่า ? มหาภูตรูปสี่อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรูปสี่อย่างด้วย : นี้เราเรียกว่ารูป ; การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ; ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเองเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ--๑. คำว่า “เกพลี” ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งแก่นักศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มักจะแปลกันว่า ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นคำใช้เรียกพระอรหันต์ ในความหมายที่ว่า เข้าถึงธรรมอันเป็นไกวัลย์ ในระดับเดียวกันกับปรมาตมันของฝ่ายฮินดู เป็นคำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันทุกลัทธิแห่งยุคนั้น เช่นเดียวกับคำว่า อรหันต์ นั่นเอง จึงควรใช้ทับศัพท์ว่าเกพลี ไม่ควรแปล จนกว่าจะกลายเป็นคำที่รู้กันทั่วไป. ควรจะยุติเป็นอย่างไร ขอท่านผู้รู้จงวินิจฉัยดูเองเถิด. -ผู้รวบรวม.--การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ; สุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น อันใด ๆ, นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ; ข้อที่รูป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา อันใด, นี้ เป็น อาทีนวะแห่งรูป ; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือการละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป อันใด, นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ชัดเจ็ดอย่าง).--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่าอย่างนี้ คือรูป, อย่างนี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป, อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูป, อย่างนี้ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป, อย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูป, อย่างนี้ คือ นิสสรณะแห่งรูป, ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งรูป ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า อย่างนี้ คือรูป, อย่างนี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป, อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูป, อย่างนี้ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป, อย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูป, อย่างนี้ คือนิสสรณะแห่งรูป, ดังนี้ แล้ว เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งรูป.--สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).--บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกหมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา : นี้เราเรียกว่าเวทนา ; การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ....ฯลฯ .... [ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งเวทนาเท่านั้น ไปจนถึงคำว่า .... สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา.) ].--บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.--ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งสัญญาหกหมู่ เหล่านี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา : นี้เราเรียกว่าสัญญา ; ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะ--ความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, .... ฯลฯ .... [ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งสัญญาเท่านั้น ไปจนถึงคำว่า .... สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].--บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.--ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกหมู่เหล่านี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา : นี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย ; ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, .... ฯลฯ .... [ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูปต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งสังขารเท่านั้น ไปจนถึงคำว่า ....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว ด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].--บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี, บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณหกหมู่เหล่านี้ คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ : นี้เราเรียกว่าวิญญาณ ; ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป : ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, .... ฯลฯ .... [ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งวิญญาณเท่านั้น ไปจนถึงคำว่า ....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].--บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.--ภิกษุ ท . ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตฺตฏฺฐานกุสโล) ด้วยอาการอย่างนี้ แล--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการ อย่างนี้ แล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการด้วยเป็นผู้พิจารณา--ใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการด้วย เราเรียกว่า เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/76-80/118-124.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 544
ชื่อบทธรรม : -มีศีลงาม - ธรรมงาม - ปัญญางาม ก็เป็นเกพลี !
เนื้อความทั้งหมด :-มีศีลงาม - ธรรมงาม - ปัญญางาม ก็เป็นเกพลี !--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล มีกัลยาณธรรม มีกัลยาณปัญญา เรากล่าวว่าเป็น เกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุตตมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย อยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่าภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล. ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีกัลยาณศีล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณธรรม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามประกอบซึ่งความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณธรรม. ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีกัลยาณศีล มีกัลยาณธรรม.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณปัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้--เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณปัญญา. ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีกัลยาณศีล มีกัลยาณธรรม มีกัลยาณปัญญา ; เราเรียกว่า เป็นเกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุตตมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/303/277.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 545
ชื่อบทธรรม : -(คำว่า เกพลี เป็นคำโบราณ มีความสำคัญ ใช้พูดกันทั่วไป เช่นเดียวกับคำ ว่าอรหันต์ ; มาบัดนี้เราไม่ได้ยินคำนี้ เพราะไม่นำมาใช้ ถ้านำมาใช้ก็แปลให้มีความหมายเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไป จนหมดความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช้คำว่าเกพลี จึงไม่ชินหูเหมือนคำว่าอรหันต์.ขอให้เราใช้คำว่า เกพลี นี้ให้ติดปาก ให้ชินหู ก็จะได้มีคำสำคัญใช้กันมากขึ้นกว้างขวางออกไปในฐานะเป็นเครื่องเตือนใจ.
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า เกพลี เป็นคำโบราณ มีความสำคัญ ใช้พูดกันทั่วไป เช่นเดียวกับคำ ว่าอรหันต์ ; มาบัดนี้เราไม่ได้ยินคำนี้ เพราะไม่นำมาใช้ ถ้านำมาใช้ก็แปลให้มีความหมายเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไป จนหมดความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช้คำว่าเกพลี จึงไม่ชินหูเหมือนคำว่าอรหันต์.ขอให้เราใช้คำว่า เกพลี นี้ให้ติดปาก ให้ชินหู ก็จะได้มีคำสำคัญใช้กันมากขึ้นกว้างขวางออกไปในฐานะเป็นเครื่องเตือนใจ.--ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า ศีลงาม - ธรรมงาม - ปัญญางาม ก็คืออริยอัฏฐังคิกมรรคนั่นเอง ผลแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคคือความเป็นเกพลี จึงนำข้อความนี้มารวมไว้ในหมวดนี้).--ผู้ละอาสวะนานาแบบ--ก. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ, ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำไว้ในใจ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจและไม่ควรกระทำไว้ในใจ, ท่านย่อมไม่กระทำไว้ในใจซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ, จะกระทำ--ไว้ในใจแต่ธรรมทั้งหลายที่ควรทำไว้ในใจเท่านั้น.--ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันไม่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเหล่าใด อยู่, กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะก็ตามที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญยิ่งขึ้น ; ธรรมเหล่านี้แลเป็นธรรมที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจ.--ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลาย อันเป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะก็ตาม ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละไป แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งธรรมเหล่าใดไว้ในใจ อยู่ ; ธรรมเหล่านี้แล เป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจ.--เพราะอริยสาวกนั้นไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ แต่มากระทำไว้ในใจแต่ธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจเท่านั้น, อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จึงไม่เกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละไป. อริยสาวกนั้น ย่อม กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ว่า “ทุกข์ เป็น อย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็น อย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.เมื่ออริยสาวกนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่อย่างนี้, สังโยชน์สาม คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมละไป. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายจะพึงละเสียด้วยการเห็น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/15/12.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๕/๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 546
ชื่อบทธรรม : -ข. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการสำรวม
เนื้อความทั้งหมด :-ข. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการสำรวม--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวมเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรในอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นอินทรีย์ที่เมื่อภิกษุไม่สำรวมแล้ว, อาสวะ ท. อันเป็นเครื่องทำให้คับแค้นและเร่าร้อนจะพึงบังเกิดขึ้น. และเมื่อภิกษุเป็นผู้สำรวมแล้วเป็นอยู่, อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่สำรวม ด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อนจะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อนจะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/16/13.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๖/๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 547
ชื่อบทธรรม : -ค. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเสพ
เนื้อความทั้งหมด :-ค. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเสพ--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการเสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงนุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลาย อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย ; เธอ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา. ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกัน--ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, ด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียแล้ว ไม่ทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น. ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา ; เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา ; เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคหยูกยาซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่าง ๆ และเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่พิจารณาแล้วเสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุพิจารณาแล้วเสพเฉพาะสิ่งควรเสพอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการเสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/17/14.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗/๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 548
ชื่อบทธรรม : -ง. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการอดกลั้น
เนื้อความทั้งหมด :-ง. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการอดกลั้น--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการอดกลั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ต่อความร้อน, เป็นผู้อดทนต่อความหิว ต่อความระหาย, เป็นผู้อดทนต่อ สัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย, เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นต่อ คลองแห่งถ้อยคำอันหยาบคาย, อันว่าร้าย, และเป็นผู้อดกลั้นต่อ ทุกข์เวทนาในกาย ที่--เกิดขึ้นแล้ว อย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด ขมขื่น ไม่เป็นที่สบายใจ หรือจวนจะถึงแก่ชีวิตได้. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่อดกลั้นอดทนด้วยอาการอย่างนี้. อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และเมื่อภิกษุอดกลั้นอดทนอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะละเสียด้วยการอดกลั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/18/15.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๘/๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 35
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site