สัทธรรมลำดับที่ : 524
ชื่อบทธรรม : -พระอริยบุคคลผู้ต้องใช้สังขารธรรมต่างกัน สี่ประเภท
เนื้อความทั้งหมด :-พระอริยบุคคลผู้ต้องใช้สังขารธรรมต่างกัน สี่ประเภท--ก. ผู้ทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายีเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกายเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้ว ในภายใน. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ ก็เป็นธรรมมีประมาณยิ่ง ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุผู้นั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้เป็นธรรมมีประมาณอันยิ่ง จึงเป็นผู้ทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายี (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้เทียว?).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/209/169.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๙/๑๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 525
ชื่อบทธรรม : -ข. ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี
เนื้อความทั้งหมด :-ข. ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังเแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธิน---ทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็นผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานต่อกายแตก?).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/210/169.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๐/๑๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 526
ชื่อบทธรรม : -ค. ผู้ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี
เนื้อความทั้งหมด :-ค. ผู้ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ .... เข้าถึงปฐมฌาน .... เข้าถึงทุติยฌาน .... เข้าถึงตติยฌาน .... เข้าถึงจตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ ก็เป็นธรรมมีประมาณยิ่งปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมี ประมาณยิ่ง จึงเป็นผู้ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี (ผู้ไม่ต้องใช้สังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้เทียว ?).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/210/169.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๐/๑๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 527
ชื่อบทธรรม : -ง. ผู้กายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี
เนื้อความทั้งหมด :-ง. ผู้กายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ .... เข้าถึงปฐมฌาน .... เข้าถึงทุติยฌาน .... เข้าถึงตติยฌาน .... เข้าถึงจตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่, เธออาศัยธรรมเป็นกำลังแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็นผู้กายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี (ผู้ไม่ต้องใช้สังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานต่อกายแตก?).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/211/169.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๑๑/๑๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 528
ชื่อบทธรรม : -อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นประกอบด้วยคุณสมบัติสี่ สมควรแก่พระราชาจะใช้สอยจัดได้ว่าเป็นอังคาพยพ (ส่วนประกอบแห่งองค์) ของพระราชา.สี่อย่างอย่างไรเล่า ? ในกรณีนี้ สี่อย่างคือ ช้างต้น เป็นช้างรู้ฟัง รู้ประหาร รู้อดทน รู้ไป.--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างสั่งให้ทำการอันใดที่เคยทำหรือไม่เคยทำก็ตาม, ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ฟัง.--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมประหารช้างบ้าง ผู้อยู่บนหลังช้างบ้างประหารม้าบ้าง ประหารผู้อยู่บนหลังม้าบ้าง ย่อมประหารรถบ้าง คนประจำรถบ้าง ย่อมประหารพลเดินเท้าบ้าง. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ประหาร.--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว อดทนต่อการประหารด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วลูกศร อดทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมหรทึก. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้อดทน.--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างจะส่งไปสู่ทิศใดที่เคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม, ย่อมไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลัน. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ไป.--ภิกษุ ท. ! ช้างต้นประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ อย่าง เหล่านี้แล สมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็นอังคาพยพของพระราชา.--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นอาหุเนยบุคคล ปาหุเนยบุคคล ทักขิเณยบุคคล อัญชลิ---กรณียบุคคล และเป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. คุณธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการในกรณีนี้ คือ ภิกษุเป็นผู้รู้ฟัง รู้ประหาร รู้อดทน และรู้ไป.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้, เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลแสดงอยู่. ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ ฟังธรรมอยู่. อย่างนี้ แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้ฟัง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่อยู่เฉย ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้สิ้นไป ย่อมกระทำให้ไม่มี ซึ่งกามวิตก .... พ๎ยาปาทวิตก .... วิหิงสาวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมไม่อยู่เฉย ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้สิ้นไป ย่อมกระทำให้ไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย อันเกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้ประหาร.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อคลองแห่งถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายกาจ เป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นต่อเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ ราวกะว่าจะนำไปเสียซึ่งลมปราณ. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้อดทน.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้, ทิศใดอันเธอไม่เคยไป ตลอดกาลยาวนานถึงเพียงนี้ กล่าวคือนิพพานอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากความกำหนัด เป็นที่ดับโดยไม่เหลือ, เธอเป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลันนั่นเทียว. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้ไป.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล และเป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/156-158/114.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๖-๑๕๘/๑๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 529
ชื่อบทธรรม : -บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก--เช้าวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่าเวลายังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไปในอารามของพวกปริพาชกลัทธิอื่น ได้ทักทายปราศรัยกันตามธรรมเนียมแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในเวลานั้นแล พวกปริพาชกทั้งหลายนั้น กำลังยกข้อความขึ้นกล่าวโต้เถียงกันอยู่ ถึงเรื่องบุคคลใดใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นเสียจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉานจากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้เลยสักคนเดียว ดังนี้. ท่านพระสารีบุตรไม่แสดงว่าเห็นด้ว ย และไม่คัดค้าน ข้อความของปริพาชกเหล่านั้น, ลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจักได้ทราบความข้อนี้. ครั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนเช้า ทุกประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :---สารีบุตร ! พวกปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด จักรู้ ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.--สารีบุตร ! บุคคลที่มีเชื้อ (อุปาทิ) เหลือ ๙ จำพวก ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ แม้ตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก พ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต. บุคคลเก้าจำพวก เหล่านั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เก้าจำพวกคือ:---(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า ๕๖๓, ๕๖๕ ; ในขุม.โอ. หน้า ๔๕๔/คำว่า “บุคคล”, “แม้ตายไป” แสดงถึงว่าเป็นผู้ยังมีชีวิตอยู่บนโลก ซึ่งมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามที่ตรัสไว้)--(๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๑ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จาก อบาย ทุคติ วินิบาต.--(๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๒ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--(๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบายทุคติ วินิบาต.--(๔) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบายทุคติ วินิบาต.--(๕) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง ในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๕ ที่เมื่อตายก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--(๖) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะ--ทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, และเพราะมีราคะ โทสะ โมหะเบาบางน้อยลง, เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๖ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--(๗) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้มีพืชหนเดียว คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--(๘) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, บุคคลผู้นั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุล ๒ หรือ ๓ ครั้ง แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๘ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--(๙) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร !--นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--สารีบุตร ! ปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.สารีบุตร ! บุคคลเหล่านี้แล ที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก เมื่อตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.--สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเราเห็นว่า ถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยายข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท ; อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยายที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น ; ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/393/216.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๓๙๓/๒๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 530
ชื่อบทธรรม : -พระอรหันต์รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ชัดแจ้งแล้วหลุดพ้น
เนื้อความทั้งหมด :-พระอรหันต์รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ชัดแจ้งแล้วหลุดพ้น--ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ภิกษุมารู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า, รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้า, รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งรสอร่อยแห่งอุปาทานขันธ์ห้า, รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งโทษแห่งอุปาทานขันธ์ห้า และรู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้า ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่าเป็น พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/196/297.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 531
ชื่อบทธรรม : -บุคคลผู้บรรลุอนุปาทาปรินิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-บุคคลผู้บรรลุอนุปาทาปรินิพพาน--(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๔๖๘, ๖๗๙)--ภิกษุ ท. ! อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ได้เฉพาะซึ่งความเข้าไปเพ่งอยู่ว่า “ถ้า (ปัจจัย) ไม่เคยมี, (ผล) ก็ต้องไม่มีอยู่แก่เรา ; ถ้า (ปัจจัยเพื่ออนาคต) จักไม่มีอยู่, (ผลในอนาคต) ก็ต้องไม่มีแก่เรา. สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราย่อมละได้ซึ่งสิ่งนี้.” ดังนี้. ภิกษุนั้น ไม่กำหนัดในภพ ไม่เกาะเกี่ยวในสมภพ ย่อมเห็นซึ่งบทอันยิ่งขึ้นไปที่มีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบว่าเป็นบทอันสงบรำงับ ; และ บทนั้น แล เป็นบทอันเธอกระทำให้แจ้งแล้วหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ; มานานุสัยก็เป็นอันภิกษุนั้นละขาดแล้วทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวง ; ภวราคานุสัย ก็เป็นอันภิกษุนั้นละขาดแล้วทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ; อวิชชานุสัย ก็เป็นอันภิกษุนั้นละขาดแล้วทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ; เธอนั้น กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/74/52.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๔/๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 532
ชื่อบทธรรม : -พระอรหันต์คือผู้เป็น อเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-พระอรหันต์คือผู้เป็น อเสขะ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่กล่าว ๆ กันว่า ‘อเสขะ-อเสขะ’ ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นอเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยสัมมาทิฏฐิชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาสังกัปปะชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาวาจาชนิดเป็นอเสขะ, สัมมากัมมันตะชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาอาชีวะชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาวายามะชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาสติชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาสมาธิชนิดเป็นอเสขะ, สัมมาญาณะชนิดเป็นอเสขะ และสัมมาวิมุตติชนิดเป็นอเสขะ.--ภิกษุ ! ภิกษุที่ชื่อว่าเป็นพระอเสขะ (อรหันต์) ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/237/111.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๗/๑๑๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 533
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะทั่วไปของความเป็นพระอรหันต์
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะทั่วไปของความเป็นพระอรหันต์--ความเร่าร้อน หมดความสุข ย่อมมีไม่ได้แก่ท่านผู้เดินสุดทางสายไกลแล้ว, มีไม่ได้แก่ผู้ไม่รู้จักเศร้าโศก, มีไม่ได้แก่ผู้ได้พ้นแล้วในทุกๆสิ่ง ; และความเร่าร้อนหมดความสุข ย่อมมีไม่ได้ แก่ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้แล้วทุกกรณี.--เหล่าท่านผู้มีสติสมบูรณ์ ย่อมส่งตนไปเสียได้ ไม่ติดใจยินดีในถิ่นที่อยู่ ละอาลัยและสิ่งที่ทำให้อาลัยเสียได้ ดุจหงส์โผบิน ละเปือกตมไปเสีย ฉะนั้น.--ท่านเหล่าใด ไม่มีการสั่งสม รู้จักการกินการอยู่ได้ดี มีความพ้นอย่างว่างกิเลสเป็นโคจร มีความพ้นอย่างไม่มีอะไรให้หมายได้เป็นโคจร. คติที่จะไปข้างหน้าของเหล่าท่านผู้เช่นนั้น ย่อมยากที่จะบอกให้รู้กันได้ เหมือนทิศทางไปในอากาศของเหล่านกทั้งหลายฉะนั้น.--ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่มีเรื่องยุ่งเกี่ยวกับอาหาร มีความพ้นอย่างว่างกิเลสเป็นโคจร มีความพ้นอย่างไม่มีอะไรให้หมายได้ เป็นโคจร. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่านนั้น ยากที่จะบอกให้รู้กันได้ เหมือนร่องรอยของนกบินในอากาศ ฉะนั้น.--อินทรีย์มีตาหูจมูกเป็นต้น ของท่านผู้ใด ไม่ทำพิษ คือสงบรำงับได้แล้ว เหมือนดั่งม้าที่สารถีเขาฝึกดีแล้ว แม้ปวงเทวาและมนุษย์ก็ยังนิยมชมชอบต่อท่านผู้นั้น ที่ท่านได้ละมานะแล้ว หาอาสวะกิเลสไม่ได้ ทั้งเป็นผู้คงที่อยู่.--ท่านเหล่าใด ไม่จำต้องเชื่อไปกับผู้อื่นเขา รู้แจ้งนิพพานอันอะไรปรุงแต่งให้แปรเปลี่ยนไม่ได้ เป็นผู้ตัดรอยต่อคือกิเลสที่จะต่อภพต่อชาติ เป็นผู้ยอมทำลายโอกาสที่จะมีเพื่อเอาอะไรอีก และเป็นผู้สิ้นหวัง, เหล่าท่านผู้เช่นนั้นแล เป็นอุดมบุรุษ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/27/17.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๒๗/๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 534
ชื่อบทธรรม : -ท่านผู้ใดเลิกข้องใจในเรื่องที่ว่า นี่ใช่ฝั่ง หรือไม่ใช่ฝั่ง หนอที่ว่าฝั่งนั้นอย่างไร ไม่ใช่นั้นอย่างไร หนอ ดังนี้, เป็นผู้ไม่กระวนกระวายใจได้แล้ว เป็นผู้พรากมาเสียจากกิเลสาสวะได้หมด ท่านผู้เช่นนั้นแล เราตถาคตเรียกว่า พราหมณ์แท้.
เนื้อความทั้งหมด :-ท่านผู้ใดเลิกข้องใจในเรื่องที่ว่า นี่ใช่ฝั่ง หรือไม่ใช่ฝั่ง หนอที่ว่าฝั่งนั้นอย่างไร ไม่ใช่นั้นอย่างไร หนอ ดังนี้, เป็นผู้ไม่กระวนกระวายใจได้แล้ว เป็นผู้พรากมาเสียจากกิเลสาสวะได้หมด ท่านผู้เช่นนั้นแล เราตถาคตเรียกว่า พราหมณ์แท้.--ความอาลัยของท่านผู้ใดไม่มีเสียแล้ว รู้ทั่วถึง มีปกติไม่ต้องถามคนอื่นว่าอะไรเป็นอย่างไรแล้ว, เป็นผู้หยั่งลงสู่อมตะ มีประโยชน์ตน อันถึงโดยลำดับแล้ว, เราตถาคตเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์แท้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/67-70/36.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๖๗-๗๐/๓๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 535
ชื่อบทธรรม : -ท่านผู้ใดพิจารณาเห็นได้แล้ว ในสภาพที่มียิ่งและมีหย่อนในวิสัยโลก ไม่ได้ไหวหวั่นไปในอารมณ์ไหนๆ ในโลกเลย
เนื้อความทั้งหมด :-ท่านผู้ใดพิจารณาเห็นได้แล้ว ในสภาพที่มียิ่งและมีหย่อนในวิสัยโลก ไม่ได้ไหวหวั่นไปในอารมณ์ไหนๆ ในโลกเลย, เป็นผู้รำงับสงบแล้ว ไม่มีกิเลสฟุ้งกลุ้มเหมือนควัน ไม่มีความทุกข์ความคับแค้นแล้ว เป็นผู้ไม่หวังอะไรแล้ว, เราตถาคตกล่าวผู้นั้น ว่าเป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งความเกิดความแก่ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/169/471.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๖๙/๔๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 536
ชื่อบทธรรม : -ท่านผู้ปฏิบัติจนเสร็จกิจในพรหมจรรย์แล้ว ไม่สะดุ้งหวาดเสียวแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-ท่านผู้ปฏิบัติจนเสร็จกิจในพรหมจรรย์แล้ว ไม่สะดุ้งหวาดเสียวแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว หมดกิเลสที่จะรั้นเพื่อรักษามานะเสียแล้ว ตัดรอนความทุกข์เพียงดังลูกศรที่คอยทิ่มแทงในภพได้ ; สำหรับท่านผู้เช่นนี้ รูปกายนี้ชื่อว่าสิ้นสุดกันเพียงนี้ (เรือนร่างนี้มีในที่สุด).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/63/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๖๓ก/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 537
ชื่อบทธรรม : -ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า--(อริยวาส)--ภิกษุ ท. ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้. สิบประการอะไรบ้างเล่า ? สิบประการ คือ :---ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด, ประกอบพร้อมด้วยองค์หก, มีอารักขาอย่างเดียว, มีพนักพิงสี่ด้าน, เป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริง ดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว, เป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว, เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว, เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว, เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี, เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.--ภิกษุ ท. ! (๑) ภิกษุเป็นผู้ ละองค์ห้าได้ขาด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะ, ละพยาบาท, ละถีนมิทธะ, ละอุทธัจจกุกกุจจะ และละวิจิกิจฉาได้แล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด.--ภิกษุ ท. ! (๒) ภิกษุเป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยองค์หก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก.--ภิกษุ ท. ! (๓) ภิกษุเป็นผู้ มีอารักขาอย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบการรักษาจิตด้วยสติ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่ามีอารักขาอย่างเดียว.--ภิกษุ ท. ! (๔) ภิกษุเป็นผู้ มีพนักพิงสี่ด้าน เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาแล้วเสพของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้ว--อดกลั้นของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้วเว้นขาดของสิ่งหนึ่ง, พิจารณาแล้วบรรเทาของสิ่งหนึ่ง, ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน๑--ภิกษุ ท. ! (๕) ภิกษุเป็นผู้ ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ถอนสละ คาย ปล่อย ละ ทิ้ง เสียแล้ว ซึ่งความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางมากอย่างของเหล่าสมณพราหมณ์มากผู้ด้วยกัน ที่มีความเห็นว่า “โลกเที่ยง บ้าง, โลกไม่เที่ยง บ้าง, โลกมีที่สุด บ้าง, โลกไม่มีที่สุด บ้าง, ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น บ้าง, ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีก บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี บ้าง, ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ บ้าง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทาง (ปัจเจกสัจจะ) ขึ้นเสียแล้ว.--ภิกษุ ท. ! (๖) ภิกษุเป็นผู้ ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละการแสวงหากามแล้ว, เป็นผู้ละการแสวงหาภพแล้ว. และการแสวงหาพรหมจรรย์ของเธอนั้นก็ระงับไปแล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว.--๑. การพิจารณาแล้วเสพ ใช้กับ สิ่งของ บุคคล ธรรม ที่ควรเสพ. การพิจารณาแล้วอดกลั้น ใช้กับ เวทนา ถ้อยคำ อารมณ์ ที่ควรอดกลั้น. การพิจารณาแล้วงดเว้น ใช้กับ สิ่งของ บุคคล ธรรม ที่ควรเว้น. การพิจารณาแล้วบรรเทา ใช้กับ อกุศลวิตกทุกชนิด.--ภิกษุ ท. ! (๗) ภิกษุเป็นผู้ มีความดำริไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละความดำริในทางกามเสียแล้ว, เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทเสียแล้ว, และเป็นผู้ละความดำริในทางเบียดเบียนเสียแล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว.--ภิกษุ ท. ! (๘) ภิกษุเป็นผู้ มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขาร อันสงบรำงับแล้ว.--ภิกษุ ท. ! (๙) ภิกษุเป็นผู้ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ, ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี.--ภิกษุ ท. ! (๑๐) ภิกษุเป็นผู้ มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดว่า “เราละ ราคะ โทสะ โมหะ เสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ไม่ให้มีไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.--ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่าย อดีต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง--ได้เป็นอยู่แล้วอย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็ได้เป็น อยู่แล้ว ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็จักเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! ในกาลบัดนี้ พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำลังเป็น อยู่อย่างพระอริยเจ้า ; พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็กำลังเป็นอยู่ในการอยู่ อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/31-34/20.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๓๑-๓๔/๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 34
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site