สัทธรรมลำดับที่ : 508
ชื่อบทธรรม : -แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน
เนื้อความทั้งหมด :-แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน--อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่าแว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้วมีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้.--อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า....--ในองค์พระธรรม.... ในองค์พระสงฆ์.... และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำและเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.--อานนท์ ! ธรรมปริยาย อันนี้แล ที่ชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งหาก อริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑-๑๔๗๙-๑๔๘๐.--ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิโดยธรรมชาติ--(สิ่งที่ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิทำไม่ได้โดยธรรมชาติ)--ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ) ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ:---ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆโดยความเป็นของเที่ยง ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆโดยความเป็นสุข ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไร ๆโดยความเป็นตัวตน ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธิ์โดยโกตุหลมงคล ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล ภายนอกจากศาสนานี้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/488/364.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 509
ชื่อบทธรรม : -(คำว่า “เข้าถึง” ในสูตรนี้ มีความหมายแห่งการถือเอาเช่นเดียวกับคำว่า สรณํคจฺฉามิ หมายความว่าถือเอาเป็นที่พึ่ง. คำว่า “โกตุหลมงคล” หมายถึงการถือลัทธิโบราณทางไสยศาสตร์ เช่นว่า ตื่นนอนขึ้นมา ได้เห็นหรือได้ยินหรือได้สัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ว่าจะนำมาซึ่งความบริสุทธิ์ตามลัทธินั้น ๆ).
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า “เข้าถึง” ในสูตรนี้ มีความหมายแห่งการถือเอาเช่นเดียวกับคำว่า สรณํคจฺฉามิ หมายความว่าถือเอาเป็นที่พึ่ง. คำว่า “โกตุหลมงคล” หมายถึงการถือลัทธิโบราณทางไสยศาสตร์ เช่นว่า ตื่นนอนขึ้นมา ได้เห็นหรือได้ยินหรือได้สัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ว่าจะนำมาซึ่งความบริสุทธิ์ตามลัทธินั้น ๆ).--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ--(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)--ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :---ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์ ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา) ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/488/363.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 510
ชื่อบทธรรม : -(คำว่า “วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา” หมายถึงวัตถุสิ่งของ ก็ได้ การกระทำที่มีผลก็ได้ ทิฏฐิก็ได้. คำว่า “ภพที่แปด” หมายความว่า ไม่อาจจะมีแก่พระโสดาบัน พระโสดาบันจะมีภพหรือชาติต่อไปได้อีกเพียงเจ็ดเท่านั้น).
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า “วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา” หมายถึงวัตถุสิ่งของ ก็ได้ การกระทำที่มีผลก็ได้ ทิฏฐิก็ได้. คำว่า “ภพที่แปด” หมายความว่า ไม่อาจจะมีแก่พระโสดาบัน พระโสดาบันจะมีภพหรือชาติต่อไปได้อีกเพียงเจ็ดเท่านั้น).--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ--(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :---เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตมารดา ;--เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตบิดา ;--เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์ ;--เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง คิดประทุษร้ายตถาคต แม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ ;--เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ทำสงฆ์ให้แตกกัน ;--เป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ถือศาสดาอื่น (นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/488/365.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๘/๓๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 511
ชื่อบทธรรม : -ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ--(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการ คือ :---ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเอง” ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้” ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี” ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง” ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง” ;--ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”.--ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เหตุ(แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเห็นแล้ว โดยแท้จริง และธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/489 /366.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๙ /๓๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 512
ชื่อบทธรรม : -ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน)
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน)--ภิกษุ ท. ! เมื่อ รูป นั้นแลมีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็--ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร : รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !” ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !” แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอดพระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !” (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและ ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับกรณีแห่งรูปนี้ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว ; เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !” ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !” แม้สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้๑เป็นสิ่งที่อริยสาวกละขาดแล้ว ; ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์, แม้ ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, แม้ ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,แม้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/248-249/417-418.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔๘-๒๔๙/๔๑๗-๔๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 513
ชื่อบทธรรม : -๑. ฐานะหกประการ คือ ขันธ์ห้าประการ และอาการที่ได้เห็นแล้วเป็นต้นดังที่กล่าวแล้วข้างบน เจ็ดอย่างรวมเป็นหนึ่งประการ ; รวมเป็นหกประการ.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. ฐานะหกประการ คือ ขันธ์ห้าประการ และอาการที่ได้เห็นแล้วเป็นต้นดังที่กล่าวแล้วข้างบน เจ็ดอย่างรวมเป็นหนึ่งประการ ; รวมเป็นหกประการ.--สูตรข้างบนนี้ แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง เอสิกัฏฐายิฎฐิตสัสสตทิฏฐิ.--ในสูตรอื่น (๑๗/๒๕๐/๔๑๙)แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง ทิฏฐิว่าตน ว่าของตน.--ในสูตรอื่นอีก (๑๗/๒๕๑/๔๒๒) แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง สัสสตทิฏฐิทั่วไป.--ในสูตรอื่นอีก (๑๗/๒๕๓/๔๒๔) แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง อุจเฉททิฏฐิทั่วไป.--ในสูตรอื่นอีก (๑๗/๒๕๕/๔๒๖) แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง นัตถิกทิฏฐิ.--ในสูตรอื่นอีก (๑๗/๒๕๗/๔๒๘) แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง อกิริยทิฏฐิ.--ในสูตรอื่นอีก (๑๗/๒๕๘/๔๓๐) แสดงฐานะหกประการนี้ ว่าเป็นที่ตั้งแห่ง อเหตุกทิฎฐิ. และฐานะทั้งหกประการนี้ ยังมีกล่าวไว้ว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอื่นๆ อีกหลายอย่าง เห็นว่ามากเกินไปจึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ ผู้ศึกษาพึงหาอ่านดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หมวดที่สิบเอ็ด.--ผู้มีธรรมญาณและอัน๎วยญาณ (พระโสดาบัน)--ภิกษุ ท. ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้เรียกว่าชรา. การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไปการวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่างการขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตจากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้ เรียกว่ามรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ชรามรณะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ; ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึง ซึ่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ, ในกาลใด ; ในกาลนั้น ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ธัมมญาณ (ญาณในธรรม). ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้วและเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล, อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยยะอันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก) ว่า “สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด--เหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้--อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่งซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ก็ตาม ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้.ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า อัน๎วยญาณ (ญาณในการรู้ตาม).--ภิกษุ ท. ! ญาณทั้งสอง คือธัมมญาณและอัน๎วยญาณเหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องใส ในกาลใด ; ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้นเราเรียกอริยสาวกนั้นว่า “ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะ”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส”, ดังนี้บ้าง ; ว่า “ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ”, ดังนี้บ้าง, ดังนี้.--(ข้อความข้างบนนี้ เป็นกรณีแห่งปฏิจจสมุปปันธรรมคือชราและมรณะ ที่อริยสาวกมารู้--ทั่วถึงโดยนัยแห่งอริยสัจสี่แล้ว ทำให้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณ และทำให้เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิเป็นต้น. ต่อไปได้ตรัสถึงปฏิจจสมุปปันนธรรมคือ ชาติ...ภพ ...อุปาทาน ...ตัณหา ...เวทนา ...ผัสสะ ...สฬายตนะ ...นามรูป ...วิญญาณ ...สังขารแต่ละอย่างๆ ว่าอริยสาวกมารู้ทั่วถึงโดยนัยแห่งอริยสัจสี่แล้ว ก็ทำให้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณเป็นต้น ได้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งปฏิจจสมุปปันนธรรมคือ ชราและมรณะนั้น; รายละเอียดหาอ่านดูได้จากหนังสือปฏิจจ.โอ. หมวดที่ ๖ หัวข้อว่า “ญาณวัตถุ ๔๔ ในปฏิจจสมุปบาทเพื่อความเป็นโสดาบัน”).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/68-71/120-125.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘-๗๑/๑๒๐-๑๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 514
ชื่อบทธรรม : -พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก
เนื้อความทั้งหมด :-พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก--ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกอย่างเหล่านี้ มีอยู่. หกอย่างอะไรเล่า ? หกอย่างคือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวก มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอินทรีย์หกเหล่านี้, รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้, รู้จักอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้ในแง่ที่มันให้รสอร่อย, รู้จักอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้ในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ, ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้, ตามที่ถูกที่จริง ; ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้น เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมพร้อมได้ในเบื้องหน้า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/271/902-903.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๙๐๒-๙๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 515
ชื่อบทธรรม : -พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกัน ในการเห็นธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกัน ในการเห็นธรรม--ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเครื่องออก (นิสสรณะ)แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เหล่านี้ ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/196/296.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 516
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออก แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เหล่านี้ ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น--แล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/196/297.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 517
ชื่อบทธรรม : -พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกคือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งอินทรีย์หก เหล่านี้ ; ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/271/902
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๙๐๒
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 518
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกคือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกคือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออก แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้ ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ--พรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/272/904.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๒/๙๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 519
ชื่อบทธรรม : -(สูตรข้างบนนี้ทรงแสดงอินทรีย์โดยอายตนะภายในหก; ยังมีสูตรอื่น (๑๙/๒๗๕/๙๑๔-๙๑๘)ทรงแสดงอินทรีย์โดยเวทนาห้าคือสุขินทรีย์ ทุกขินทย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์, ดังนี้ก็มี.)
เนื้อความทั้งหมด :-(สูตรข้างบนนี้ทรงแสดงอินทรีย์โดยอายตนะภายในหก; ยังมีสูตรอื่น (๑๙/๒๗๕/๙๑๔-๙๑๘)ทรงแสดงอินทรีย์โดยเวทนาห้าคือสุขินทรีย์ ทุกขินทย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์, ดังนี้ก็มี.)--ผู้รวมอยู่ในกลุ่มโสดาบัน ๓ จำพวก--ก. สัทธานุสารี--ภิกษุ ท. ! จักษุ.... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ... กายะ ... มนะ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ. ภิกษุ ท. ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นบุถุชนภูมิไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.--ข. ธัมมานุสารี--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่ง แห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมา---นุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย และไม่ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.--ค. โสตาปันนะ--ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ (ตามที่กล่าวแล้วในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ; บุคคลนี้เราเรียกว่าโสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส) ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม) เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต) มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/278/469.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 520
ชื่อบทธรรม : อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต)
เนื้อความทั้งหมด :-สารีบุตร ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต) ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/435/1431.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 521
ชื่อบทธรรม : -(สูตรข้างบนนี้(:๑๗/๒๗๘/๔๖๙) ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจังเป็นต้นด้วยธรรม ๖อย่าง คือ อายตนะภายในหก;ในสูตรถัดไปทรงแสดงอารมณ์นั้นด้วยอายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็มี, แสดงด้วยวิญญาณหก ก็มี, ด้วยสัมผัสหก ก็มี, ด้วยเวทนาหก ก็มี, ด้วยสัญญาหก ก็มี, ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี, ด้วยตัณหาหก ก็มี, ด้วยธาตุหก ก็มี และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ; ทรงแสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน).
เนื้อความทั้งหมด :-(สูตรข้างบนนี้(:๑๗/๒๗๘/๔๖๙) ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจังเป็นต้นด้วยธรรม ๖อย่าง คือ อายตนะภายในหก;ในสูตรถัดไปทรงแสดงอารมณ์นั้นด้วยอายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็มี, แสดงด้วยวิญญาณหก ก็มี, ด้วยสัมผัสหก ก็มี, ด้วยเวทนาหก ก็มี, ด้วยสัญญาหก ก็มี, ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี, ด้วยตัณหาหก ก็มี, ด้วยธาตุหก ก็มี และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ; ทรงแสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน).--ความเป็นพระโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน--ภิกษุ ท. !แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปได้. แต่เหล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า.... ในองค์พระธรรม... ในองค์พระสงฆ์...ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย. ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า เป็นต้นนั้น ยังจะมีการปรวนแปร ไปเป็นเสียอย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี วิสัยแห่งเปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.--ภิกษุ ท. ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอื่นไปได้, แต่เหล่าอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้เลย. ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้านั้น ยังจะมีการปรวนแปรไปเป็นเสียอย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี วิสัยแห่งเปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/457/1495-6.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๗/๑๔๙๕-๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 522
ชื่อบทธรรม : -ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เนื้อความทั้งหมด :-ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ--ภิกษุ ท. ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่ เบื้องหน้าจากการตายเพราะร่างกายแตกดับ อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์--เป็นสหายอยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่นางอัปสรในสวนนันทวัน ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้าอันเป็นของทิพย์อย่างนี้ก็ตาม, แต่กระนั้น ท้าวเธอก็ยัง รอดพ้นไปไม่ได้ จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.--ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ แม้เป็นผู้ยังอัตภาพให้พอเป็นไปด้วยคำข้าวที่ได้มาจากบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตนเอง พันกายด้วยการนุ่งห่มผ้าปอน ๆ ไม่มีชาย, หากแต่ว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยธรรม๔ ประการ เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้ จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ? สี่ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม ... ในองค์พระสงฆ์...เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลาย ชนิดเป็นที่พอใจเหล่าอริยเจ้า ฯลฯ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ระหว่างการได้ทวีปทั้งสี่ กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้น การได้ทวีปทั้งสี่มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหก ของการได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๘-๔๒๙/๑๔๑๑-๑๔๑๓.--ผลแห่งความเป็นโสดาบัน--ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ๖ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่, หกอย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ :---เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม (สทฺธมฺมนิยโต) ;--เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม (อปริหานธมฺโม) ;--ทุกข์ดับไปทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว;--เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น) ;--เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ ; และ--เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/490/368.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 523
ชื่อบทธรรม : -พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน
เนื้อความทั้งหมด :-พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก. สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :---(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยังละไม่ได้, และมีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.--(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้วแต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.--(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้วทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย, แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพที่ยังละไม่ได้.--(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้วละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.--(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายไม่ได้ทั้งหมดละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้และ ละสังโยชน์ตังเหตุให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.--(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่ได้ และละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.--(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แลเป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.--(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/181/131.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 33
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site