สัทธรรมลำดับที่ : 500
ชื่อบทธรรม : -ความลดหลั่นแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน
เนื้อความทั้งหมด :-ความลดหลั่นแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน--ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทศ ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์--ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น ได้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า จึงเป็น อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้า จึงเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ เป็นเอกพีชี คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ, แต่เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมากแล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--ภิกษุ ท. ! ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน. ผู้ทำให้บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลาย ย่อมไม่เป็นหมันเลย, ดังนี้แล-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/301/528.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๑/๕๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 501
ชื่อบทธรรม : -(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความในสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า แม้มีการปฏิบัติอย่างเดียวกันแท้ ก็ยังได้รับผลลดหลั่นกันไม่เท่ากัน เพราะเหตุปัจจัยอย่างอื่น).
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความในสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า แม้มีการปฏิบัติอย่างเดียวกันแท้ ก็ยังได้รับผลลดหลั่นกันไม่เท่ากัน เพราะเหตุปัจจัยอย่างอื่น).--การรู้เบญจขันธ์ โดยหลักแห่งอริยสัจสี่--โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ทั่วถึงซึ่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน) ; โสณะ ! สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมุติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.--โสณะ ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ทั่วถึงซึ่งรูปรู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูปรู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ทั่วถึง ซึ่งทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป, (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน) :โสณะ !สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์, อีกอย่างหนึ่งบุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/62/101.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๖๒/๑๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 502
ชื่อบทธรรม : -(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับขันธ์ห้า แต่ละขันธ์ โดยอริยสัจสี่ ที่หน้า ๑๖๘, ๑๙๒, ๑๙๘, ๒๐๒, ๒๐๘ แห่งหนังสือเล่มนี้.
เนื้อความทั้งหมด :-(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับขันธ์ห้า แต่ละขันธ์ โดยอริยสัจสี่ ที่หน้า ๑๖๘, ๑๙๒, ๑๙๘, ๒๐๒, ๒๐๘ แห่งหนังสือเล่มนี้.--สูตรข้างบนนี้แสดงวัตถุแห่งการรู้ด้วยเบญจขันธ์;ในสูตรอื่นแสดงด้วย อินทรีย์ห้า คือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์, -๑๙/๒๒๖/๙๒๒-๙๒๓.--มีสูตรอื่นแสดงด้วย อายตนะภายในหก ก็มี, - ๑๙/๒๗๓/๘๑๒--และสูตรอื่นแสดงด้วย ปฏิจจสมุปปันนธรรม ๑๑ อย่าง มีชรามรณะ ชาติ ....จนถึง...วิญญาณ สังขาร ก็มี, - ๑๖/๕๓/๙๔).--การรู้ปัญจุปาทานขันธ์โดยธรรมลักษณะห้า--ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ มีอยู่, ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่ ขันธ์คือรูปที่ถูกอุปาทานครองแล้ว, ขันธ์คือเวทนาที่ถูกอุปาทานครองแล้ว, ขันธ์คือสัญญาที่ถูกอุปาทานครองแล้ว, ขันธ์คือสังขารที่ถูกอุปาทานครองแล้ว, และขันธ์คือวิญญาณ ที่ถูกอุปาทานครองแล้ว.--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดก็ตาม ยังไม่รู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้านี้, ไม่รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้, ไม่รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้รสอร่อย, ไม่รู้จักอุปาทาขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ, ทั้งไม่รู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้ ตามที่ถูกที่จริงแล้ว ; ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น แม้สมมติกันว่าเป็นสมณะผู้หนึ่งๆ ในสมณะทั้งหลายก็ตาม แม้สมมติกันว่าเป็นพราหมณ์ผู้หนึ่งๆ--ในบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก็ตาม ก็หาอาจเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ได้ไม่, หาสามารถทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ที่ตนมาเป็นสมณะ หรือประโยชน์ที่ตนมาเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้ไม่เลย.--(ปฏิปักขนัย)--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ได้รู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้านี้, รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้, รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้รสอร่อย, รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ, ทั้งได้รู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้ ตามที่ถูกที่จริงแล้ว; ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ที่สมมติกันแล้วว่าเป็นสมณะบ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง ก็เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์ได้จริง และทำให้แจ้งได้ซึ่งประโยชน์ที่ตนเข้ามาเป็นสมณะ หรือประโยชน์ที่ตนมาเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/195/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๕/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 503
ชื่อบทธรรม : -(สูตรข้างบนนี้แสดงวัตถุแห่งการรู้ด้วยอุปาทานขันธ์ในสูตรอื่นแสดงด้วยอินทรีย์ห้าคือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์. - ๑๙/๒๗๕ -๒๗๖/๙๑๙-๙๒๑.) ผู้ละราคะ-โทสะ-โมหะ ระดับโสดาบัน
เนื้อความทั้งหมด :-(สูตรข้างบนนี้แสดงวัตถุแห่งการรู้ด้วยอุปาทานขันธ์ในสูตรอื่นแสดงด้วยอินทรีย์ห้าคือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์. - ๑๙/๒๗๕ -๒๗๖/๙๑๙-๙๒๑.) ผู้ละราคะ-โทสะ-โมหะ ระดับโสดาบัน--ภิกษุ ท. ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน). ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ไม่ละธรรมหกอย่างเหล่านี้ คือ :---ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน) ;--ไม่ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์) ;--ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;--ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;--ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;--ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) .--ภิกษุ ท. ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่าง แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้ง ซึ่งทิฏฐิสัมปทา. ละธรรม ๖ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ละธรรมหกอย่างเหล่านี้--คือ:-ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน) ;--ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์) ;--ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;--ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การซึ่งอบาย) ;--ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;--ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) .--ภิกษุ ท. ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. 22/487/360.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. ๒๒/๔๘๗/๓๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 504
ชื่อบทธรรม : -[ธรรม ๖ ประการแห่งสูตรนี้ ในสูตรถัดไปกล่าวว่า เป็นธรรมที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว (๒๒/๔๘๗/๓๖๑) ; สูตรถัดไปอีกกล่าวว่า เป็นธรรมที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (๒๒/๔๘๗/๓๖๒)].
เนื้อความทั้งหมด :-[ธรรม ๖ ประการแห่งสูตรนี้ ในสูตรถัดไปกล่าวว่า เป็นธรรมที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว (๒๒/๔๘๗/๓๖๑) ; สูตรถัดไปอีกกล่าวว่า เป็นธรรมที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (๒๒/๔๘๗/๓๖๒)].--พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานักขันธ์--ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า. รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้.รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้รสอร่อย, รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ, ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้เสีย ตามที่ถูกที่จริง ; ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/196/296.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 505
ชื่อบทธรรม : -พระโสดาบันเป็นใครกัน ?
เนื้อความทั้งหมด :-พระโสดาบันเป็นใครกัน ?--สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน –โสดาบัน ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่าเป็นพระโสดาบันผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ พระเจ้าข้า !”--สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/435/1432-1433.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 506
ชื่อบทธรรม : -(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้เอง จึงเป็น พระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า. ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร ? สี่ประการนั้นคือ :---(๑) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า ว่าเพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.--(๒) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระธรรม ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัด--กาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.--(๓) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็น สงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.--(๔) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.--เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้แล้ว ได้ตรัสเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไปว่า :---ท่านผู้ใดแล มีศรัทธา มีศีล มีความเลื่อมใส ทั้งมีการได้เห็นธรรมด้วย, ท่านผู้นั้นแหละเว้ย ที่จักเป็นผู้ได้รับความสุข อันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ ในกาลอันควรแล !--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙-๔๓๐/๑๔๑๔-๑๔๑๕.--(อีกนัยหนึ่ง)--อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม ! ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่าน จักไม่ต่ำทราม. มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้. ธรรมสี่ประการ อย่างไรเล่า ? ธรรมสี่ประการคือ :---มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้ (๑) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.--(๒) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า “พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัด--กาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.--(๓) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อัน ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษนั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.--(๔) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.--มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน. ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน? “มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไป โน้มไป เอนไป พระเจ้าข้า !” มหานาม ! ฉันใดก็ฉันนั้น : อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรมสี่ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้ แล.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๖๕-๔๖๖/๑๕๑๑-๑๕๑๒.--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทศ (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้างและต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/297/526.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 507
ชื่อบทธรรม : -(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง พระโสดาบัน ได้อีก ที่หัวข้อว่า “เปรียบเทียบ พระเสขะ-อเสขะ” หน้า ๕๖๐ แห่งหนังสือเล่มนี้).
เนื้อความทั้งหมด :-(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง พระโสดาบัน ได้อีก ที่หัวข้อว่า “เปรียบเทียบ พระเสขะ-อเสขะ” หน้า ๕๖๐ แห่งหนังสือเล่มนี้).--หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง--คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวรห้าประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย. อริยสาวกประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย. อริยญายธรรมเป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พยากรณ์ ตนด้วยตนนั่นแหละ ว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้.--คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วเป็นอย่างไรเล่า ? คหบดี ! บุคคลผู้ ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใด ในทิฏฐธรรมบ้าง, ในสัมปรายะบ้าง ย่อมเสวยทุกข โทมนัสทางใจบ้าง, เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ; ผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ย่อม ไม่ประสพภัยเวรนั้น ทั้งในทิฏฐธรรมและสัมปรายะ ไม่ต้องเสวยทุกข โทมนัสทางใจด้วย, เมื่ออริยสาวกเว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ภัยเวรนั้นย่อมเป็นสิ่งสงบรำงับไป ด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และ สุราเมรยมัชชปาน ก็ได้ตรัส ข้อความไว้โดยทำนองเดียวกัน).--คหบดี ! ภัยเวรทั้งห้าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สงบรำงับแล้ว.--คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งการบรรลุซึ่งโสดา ๔ องค์อย่างไรเล่า ? (๑) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกอย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์” ดังนี้. (๒) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ใน พระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้. (๓) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขามาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทานเป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของ โลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้. (๔) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.--คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งการบรรลุซึ่งโสดา ๔ องค์ เหล่านี้แล.--คหบดี ! อริยญายธรรม เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ อย่างนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี, เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี, เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป : ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ .... ฯลฯ .... ฯลฯ .... เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน. ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ .... ฯลฯ .... ฯลฯ .... เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.”--คหบดี ! อริยญายธรรมนี้แล เป็นธรรมที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.--คหบดี ! ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย, อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่เหล่านี้ ด้วย, อริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั้นแหละว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/195/92.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 32
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site