สัทธรรมลำดับที่ : 484
ชื่อบทธรรม : -วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ
เนื้อความทั้งหมด :-วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมี อยู่, ถ้าชนใน--แต่ละวรรณะเหล่านั้น ประกอบด้วยองค์แห่งผู้ควรประกอบความเพียรห้า๑ เหล่านี้แล้ว, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความผิดแปลกแตกต่างกันแห่งชนเหล่านั้นจะพึงมีอยู่ในกรณีนี้อีกหรือ ?”--มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตกล่าวแต่ความแตกต่างกันแห่งความเพียรของชนเหล่านั้น. มหาราช ! เปรียบเหมือนคู่แห่งช้างที่ควรฝึกคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่ง โคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว และคู่แห่งช้างที่ควรฝึก คู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่งโคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ ก็มีอยู่. มหาราช ! มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คู่แห่งสัตว์ที่ฝึกดีแล้วนั้น จะพึงถึงซึ่งการณะแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ ? “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ส่วนคู่แห่งสัตว์เหล่าใดที่ไม่ถูกฝึกไม่ถูกแนะนำสัตว์เหล่านั้นจะพึงถึงซึ่งการณะแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้วพึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว เช่นเดียวกับคู่แห่งสัตว์ที่ฝึกดีแล้วแนะนำดีแล้วเหล่าโน้น แลหรือ ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !” มหาราช ! ผลอันใดที่ผู้มีสัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญาจะพึงบรรลุได้นั้น, ผู้ที่ไม่มีสัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา ขี้เกียจ ไร้ปัญญา จักบรรลุซึ่งผลอย่างเดียวกันนั้นได้หนอ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีผล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร มีอยู่. ถ้าชนในแต่ละวรรณะเหล่านั้น ประกอบด้วยองค์แห่งผู้มีความเพียรห้าเหล่านี้--๑. ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร” ที่หมวดสัมมาวายามะในภาค ๔ ; หรือดูโดยย่อ ที่ตอนท้ายของย่อหน้าถัดไปจากย่อหน้านี้.--แล้ว และเป็นผู้มีความเพียรโดยชอบอยู่ แล้วยังจะมีความผิดแปลกแตกต่างกันแห่งชนเหล่านั้น ในกรณีนี้ อยู่อีกหรือ ?”--มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไร ๆ ในระหว่างชนเหล่านั้นเลย ในเมื่อกล่าวเปรียบเทียบกันถึงวิมุตติกับวิมุตติ. มหาราช ! เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาดุ้นไม้สาละแห้งมาแล้ว ทำไฟให้เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ และบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะม่วงแห้งมาแล้ว ทำให้ไฟเกิดขึ้นทำเตโชธาตุให้ปรากฏ และหรือบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะเดื่อมาแล้ว ทำไฟให้เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ. มหาราช ! มหาบพิตร จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความต่างกันใด ๆ ของไฟเหล่านั้นที่เกิดจากไม้ต่าง ๆ กันจะพึงมีแลหรือ เมื่อเปรียบกันซึ่งเปลวด้วยเปลว ซึ่งสีด้วยสี ซึ่งแสงด้วยแสง ? “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !” มหาราช ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : เดช (แห่งธรรม) อันวิริยะนฤมิตขึ้น อันปธานกระทำให้เกิดขึ้น ใด ๆ มีอยู่, ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไร ๆ ในเดช (แห่งธรรม) นั้น เมื่อกล่าวเทียบกันถึงวิมุตติ กับวิมุตติ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/522-523/578-579.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๕๒๒-๕๒๓/๕๗๘-๕๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 485
ชื่อบทธรรม : -อริยโลกุตตรธรรมสำหรับคนทุกคนทุกวรรณะ
เนื้อความทั้งหมด :-อริยโลกุตตรธรรมสำหรับคนทุกคนทุกวรรณะ--“พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมบัญญัติทรัพย์สี่ประการ คือบัญญัติทรัพย์ประจำตัวของพราหมณ์ บัญญัติทรัพย์ประจำตัวของกษัตริย์ บัญญัติทรัพย์ประจำตัวของแพศย์ บัญญัติทรัพย์ประจำตัวของศูทร.--พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติการภิกขาจารว่าเป็นทรัพย์ประจำตัวของพวกพราหมณ์ ถ้าพวกพราหมณ์ดูหมิ่นการภิกขาจารซึ่งเป็นทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัวเที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่. พระโคดมผู้เจริญ ! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัวสำหรับพราหมณ์.--พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติคันศรและกำแห่งลูกศรว่าเป็นทรัพย์ประจำตัวของพวกกษัตริย์ ถ้าพวกกษัตริย์หมิ่นคันศรและกำแห่งลูกศรซึ่งเป็นทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัวเที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่. พระโคดมผู้เจริญ ! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัวสำหรับกษัตริย์.--พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติกสิกรรมและโครักขกรรมว่าเป็นทรัพย์ประจำตัวของพวกแพศย์ ถ้าพวกแพศย์ดูหมิ่นกสิกรรมและโครักขกรรมซึ่งเป็นทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัวเที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่, พระโคดมผู้เจริญ ! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัวสำหรับแพศย์.--พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติเคียวและไม้คานว่าเป็นทรัพย์ประจำตัวของพวกศูทร ถ้าพวกศูทรดูหมิ่นเคียวและไม้คานซึ่งเป็นทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัวเที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่. พระโคดมผู้เจริญ ! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัวสำหรับศูทร.--พวกพราหมณ์ บัญญัติทรัพย์สี่ประการเหล่านี้ ; ในกรณีนี้ พระโคดมผู้เจริญกล่าวอย่างไร ?--พราหมณ์ ! โลกทั้งปวงยอมรับรู้การบัญญัติเช่นนั้น ของพราหมณ์ทั้งหลาย ว่าคนทั้งหลายจงบัญญัติทรัพย์ทั้งสี่อย่างเหล่านี้เถอะ ดังนี้หรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระโคดมผู้เจริญ !”--พราหมณ์ ! ข้อนี้เปรียบเหมือนคนยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ มีอยู่คนพวกหนึ่งแขวนเนื้อ (ที่ทำไว้เป็นชุด ๆ) แสดงแก่เขาผู้ไม่ปรารถนา โดยกล่าวว่า“บุรุษผู้เจริญ ! เนื้อนี้น่ากิน แต่ต้องใช้มูลค่า” ดังนี้ นี้ฉันใด ; พราหมณ์เอย ! พราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ได้รับการรับรู้ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แล้วก็มาบัญญัติทรัพย์ทั้งหลายสี่เหล่านั้น ก็ฉันนั้น. พราหมณ์ ! เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันประเสริฐว่าเป็นทรัพย์ประจำตัวสำหรับคน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/614-615/665-666
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๖๑๔-๖๑๕/๖๖๕-๖๖๖
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 486
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๐
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๐--ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา--จบ--นิทเทศ ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา--(มี ๑๐๖ เรื่อง)--ปุถุชน คือ ผู้ยึดถือเต็มที่--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้ยินได้ฟังไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ. ย่อมเข้าใจ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ; เมื่อเข้าใจ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว, ย่อมหมายมั่น ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ย่อมหมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ย่อมหมายมั่นโดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ย่อมหมายมั่นว่า ‘ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา’ดังนี้ ; เขา ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ต่อ ดิน น้ำ ไฟ ลม. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น ยังไม่ได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 12/1/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๒/๑/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 487
ชื่อบทธรรม : -พระเสขะ คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ
เนื้อความทั้งหมด :-(สิ่งที่ปุถุชนไม่รู้จักแล้วหมายมั่นเพลิดเพลินนั้น ยังตรัสไว้ต่อไปอีกในสูตรนี้ คือภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน).--พระเสขะ คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด แม้ยังเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรคยังปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า อยู่, ภิกษุ--แม้นั้นย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ; เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยสักแต่ว่าเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว, เป็นผู้จะไม่หมายมั่น๑ ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม ; จะไม่หมายมั่น ใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ; จะไม่หมายมั่น โดยความเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ; จะไม่หมายมั่นว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา ดังนี้ ; จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม, ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/6/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๖/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 488
ชื่อบทธรรม : -ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ, ย่อม เข้าใจ นิพพาน โดยความเป็น นิพพาน ; เมื่อเข้าใจนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว, ย่อม หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ; ย่อมหมายมั่นในนิพพาน ; ย่อมหมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ; ย่อมหมายมั่นว่า นิพพานเป็นของเรา ดังนี้. เขา ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ต่อนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้นยัง--๑. ที่ว่า “จะไม่หมายมั่น” ในที่นี่นั้นให้เข้าใจว่า หมายมั่นก็ไม่ใช่ ไม่หมายมั่นเสียเลยก็ไม่ใช่ยังอยู่ในระหว่าง ๆ ในบาลีจึงใช้คำว่า ‘มามญฺญี’ แทนที่จะใช้คำ ว่า มญฺญี หรือ มมญฺญี เป็นลักษณะของพระเสขะ ซึ่งอยู่ในระหว่างปุถุชน กับพระอเสขะ. สำหรับวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ก็ได้ตรัสไว้เต็มจำนวนเหมือนที่กล่าวไว้ในหัวข้ออันว่าด้วยปุถุชนข้างบนนั่นเอง.--ไม่ได้รู้รอบ” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/5/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๕/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 489
ชื่อบทธรรม : -พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด แม้ยังเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรคยังปรารถนาพระนิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า อยู่, ภิกษุแม้นั้นย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ; เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพานโดยสักแต่ว่า เป็นนิพพานแล้ว, ย่อมเป็นผู้ จะไม่หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ; จะไม่หมายมั่น ในนิพพาน ; จะไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ; จะไม่หมายมั่นว่า นิพพาน เป็นของเราดังนี้ ; จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่งซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/6/3.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๖/๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 490
ชื่อบทธรรม : -พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง
เนื้อความทั้งหมด :-พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็น พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ, ภิกษุแม้นั้น ก็ย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ; เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยสักแต่ว่า--เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว, ย่อม ไม่เป็นผู้หมายมั่น ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ไม่หมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ไม่หมายมั่น โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ; ไม่หมายมั่นว่า ‘ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา’ ดังนี้ ; จึง ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินยิ่งซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่าดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้น ได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/6/4.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๖/๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 491
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรนี้ได้ตรัสสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือนอกไปจากดินน้ำไฟลมอีก คือภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว-ฟังแล้ว-รู้สึก-รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน).
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรนี้ได้ตรัสสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือนอกไปจากดินน้ำไฟลมอีก คือภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว-ฟังแล้ว-รู้สึก-รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน).--พระอเสขะ คือ ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้ในนิพพาน--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ, ภิกษุแม้นั้น ก็ย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ; เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่า เป็นนิพพานแล้ว, ย่อม ไม่เป็นผู้หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ; ไม่หมายมั่น ในนิพพาน ; ไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ; ไม่หมายมั่นว่า‘นิพพานเป็นของเรา’ ดังนี้ ; จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้นได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/7/4.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๗/๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 492
ชื่อบทธรรม : -ไตรสิกขาของพระอเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-ไตรสิกขาของพระอเสขะ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมสามประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีโยคักเขมธรรมถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด จบกิจถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ประกอบด้วยธรรมสามประการ อย่างไรเล่า ? ประกอบด้วยธรรมสามประการ คือ :---ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ .--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมสามประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีโยคักเขมธรรมถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด จบกิจถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/375/583.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๗๕/๕๘๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 493
ชื่อบทธรรม : -ธรรมขันธ์ของพระอเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมขันธ์ของพระอเสขะ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมห้าประการ ย่อมเป็นอาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกรณีโย และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ประกอบด้วยธรรมห้าประการ อย่างไรเล่า ? ประกอบด้วย ธรรมห้าประการ คือ :---ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย วิมุตติขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--ประกอบด้วย วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นอเสขะ ๑ .--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมห้าประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกรณีโย และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/152/108.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕๒/๑๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 494
ชื่อบทธรรม : -สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเป็นอเสขะสิบอย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่าง อย่างไรเล่า ? สิบอย่างคือ :---สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาวาจา อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมากัมมันตะ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาอาชีวะ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาวายามะ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาสติ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาสมาธิ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาญาณะ อันเป็นอเสขะ ๑ ;--สัมมาวิมุตติ อันเป็นอเสขะ ๑ .--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรมอันเป็นอเสขะสิบอย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/237/112.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๗/๑๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 495
ชื่อบทธรรม : -องค์แห่งความเป็นพระเสขะและพระอเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-องค์แห่งความเป็นพระเสขะและพระอเสขะ--ภิกษุ ท. ! ในบริกขารแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น, สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นองค์นำหน้า.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำหน้า อย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เมื่อมีสัมมาทิฏฐิอยู่, สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาสังกัปปะอยู่, สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาวาจาอยู่, สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมากัมมันตะอยู่, สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาอาชีวะอยู่, สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาวายามะอยู่, สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาสติอยู่, สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาสมาธิอยู่, สัมมาญาณะ ย่อมมีเพียงพอ. เมื่อมีสัมมาญาณะอยู่, สัมมาวิมุตติ ย่อมมีเพียงพอ.--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แล, ภิกษุ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย องค์ทั้ง ๘ ชื่อว่า เป็น พระเสขะ; และผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย องค์ทั้ง ๑๐ (คือเพิ่มสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ อีก ๒ องค์) ชื่อว่า เป็น พระอรหันต์ (พระอเสขะ) แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/187/279.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๗/๒๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 496
ชื่อบทธรรม : -นิทเทสแห่งไตรสิกขา เพื่อเปรียบเทียบ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทสแห่งไตรสิกขา เพื่อเปรียบเทียบ--ภิกษุ ท. ! สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรมีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน, เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/303/529.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 497
ชื่อบทธรรม : -นิทเทสแห่งไตรสิกขา (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทสแห่งไตรสิกขา (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่, สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร .... ฯลฯ .... สมาทาน ศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย .... เข้าถึงปฐมฌาน .... ฯลฯ .... ทุติยฌาน .... ฯลฯ .... ตติยฌาน .... ฯลฯ .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--พึงเป็นผู้มีความเพียร มีกำลัง มีความตั้งมั่นมีความเพ่ง มีสติ สำรวมอินทรีย์ ประพฤติอธิสีลอธิจิตและอธิปัญญาเถิด พึงแผ่จิตครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้เช่นเดียวกันทั้งข้างหน้าข้างหลังทั้งข้างหลังข้างหน้าเช่นเดียวกันทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง ทั้ง--เบื้องสูงเบื้องต่ำ เช่นเดียวกันทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งกลางคืนกลางวัน. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นเสขปฏิปทา หรือการประพฤติ ธรรมหมดจดด้วยดี. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นผู้รู้พร้อมในโลก มีปัญญา ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ.--วิโมกข์แห่งจิต ย่อมมีแก่บุคคลนั้นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา เพราะความดับสนิทแห่งวิญญาณ เหมือนความดับสนิทแห่งไฟ ฉะนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/303/530.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 498
ชื่อบทธรรม : -เปรียบเทียบพระเสขะ - อเสขะ
เนื้อความทั้งหมด :-เปรียบเทียบพระเสขะ - อเสขะ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เสขะ เสขะ” ดังนี้ มีอยู่. บุคคล ชื่อ ว่าเสขะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! บุคคลที่ศึกษานั่นแหละ ชื่อว่า เสขะ,ศึกษาอะไรกันเล่า ? ศึกษาทั้งอธิสีล ทั้งอธิจิต ทั้งอธิปัญญา.๑ ภิกษุ ! เพราะเขาศึกษาเขาจึงชื่อว่าเสขะ ดังนี้. (ต่อไปนี้ มีคำประพันธ์เป็นคาถาของพรสังคีติกาจารย์ แสดงการเชื่อมต่อกันของพระเสขะและพระอเสขะว่า :- ) “เมื่อเสขบุคคล แล่นไปตามหนทางอันตรง ศึกษาอยู่ ขยญาณย่อมเกิดขึ้นก่อน ; ต่อแต่นั้น จึงเกิดอรหัตตผลญาณตามลำดับ ; ต่อจากนั้น ญาณในความสิ้นแห่งภวสังโยชน์ ย่อมเกิดแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผลญาณ แล้วเป็นผู้คงที่อยู่. ว่า วิมุตติของเราไม่กลับกำเริบ ดังนี้”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/297/525.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 499
ชื่อบทธรรม : -๑. คำอธิบายของว่า อเสขะ หาดูได้ที่หัวข้อว่า “พระอรหันต์คือผู้เป็นอเสขะ” ที่หน้า ๖๐๙ แห่งหนังสือเล่มนี้.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. คำอธิบายของว่า อเสขะ หาดูได้ที่หัวข้อว่า “พระอรหันต์คือผู้เป็นอเสขะ” ที่หน้า ๖๐๙ แห่งหนังสือเล่มนี้.--ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบท ทั้งปวงนั้น.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้างและต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วนสิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. .... (ต่อไปนี้เป็น ข้อความจาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระโสดาบัน :-)--ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็นผู้โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็นผู้เป็น เอกพีชี คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา, เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้น เพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วนสิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น--เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า เป็น โอปปาติกอนาคามี ผู้อุบัติขึ้นในทันที มีการปรินิพพานในภพนั้น ๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ....(ต่อไปนี้เป็นข้อความจาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระอนาคามี :-)--ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้า เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.--(หรือว่า) ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้อง--ออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.--ภิกษุ ท. ! ผู้กระทำเพียงบางส่วน ย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน, ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ก็ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลาย ย่อมไม่เป็นหมันเลย, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/297/526.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 31
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site