สัทธรรมลำดับที่ : 480
ชื่อบทธรรม : -อนุปุพพวิหารอาพาธ--(อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็น--สัญญาที่ทำความอาพาธให้แก่การเข้าอยู่ในฌานนั้น)
เนื้อความทั้งหมด :-(ธรรมเก้าข้อนี้ มีชื่อแปลกออกไปว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ แต่ก็หมายถึงธรรมเก้าประการ ดังที่กล่าวมาแล้วในหมวด ก. และหมวด ข. นั่นเอง หากแต่ว่าในหมวดนี้หมายถึงการที่จิตเข้าอยู่ในธรรมเหล่านั้น อย่างลึกซึ้งและนาน พอที่จะเกิดความรู้สึกว่าหายหิว ดับเย็นข้ามแล้วถึงฝั่งแล้ว. ฝั่งในที่นี้หมายถึงฝั่งแห่งพระนิพพานโดยปริยาย; ถ้าเป็นกรณีของผู้ที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็เป็นเสมือนการชิมรสพระนิพพานเป็นการล่วงหน้า ในระยะเวลาอันจำกัดเท่านั้น.--ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำบรรยายแห่งสมาบัติทั้งเก้านี้ แต่ละข้อๆ ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันทุกสมาบัติ ต่างกันแต่ชื่อแห่งฌานและนิทเทศที่บรรยายลักษณะแห่งฌานนั้นๆ เท่านั้น ซึ่งได้เน้นตัวหนังสือไว้ด้วยอักษรเส้นหนาให้เป็นที่สังเกตง่ายๆ ทุกแห่งแล้ว ขอให้ผู้ศึกษาพยายามสังเกต ให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วย จะมีประโยชน์มาก.--สรุปความว่า หมวด ก. หมายถึงการดับตามลำดับของสิ่งที่พึงดับ. หมวด ข. หมายถึงลำดับแห่งการเข้าอยู่ตามลำดับ. หมวด ค. หมายถึง ลำดับแห่งการเสวยรสของการเข้าอยู่ที่ยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ).--อนุปุพพวิหารอาพาธ--(อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็น--สัญญาที่ทำความอาพาธให้แก่การเข้าอยู่ในฌานนั้น)--อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ,ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้, แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เสื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคย--ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น--แก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยัง ไม่แล่น ไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ. แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขามีสติแลสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใด ก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ !--แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอุเบกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเบกขาสุข แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขาสุข ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อ--นั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้นเราแลเพราะผ่านพ้น รูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเรา--อยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในรูปทั้งหลาย ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา. เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่นั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นว่าอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้น--อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษวิญญาณัญจายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ--โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญยตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญา---ยตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั้น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.--อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น, อานนท์ !--ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแลผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป ). อนึ่งอาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจสี่) ได้ด้วยปัญญา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/457/245.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 30
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 481
ชื่อบทธรรม : -ปัญญาสติกับนามรูปดับเพราะวิญญาณดับ
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความทั้งหมดนี้ สรุปความว่า :---๑. อดีตกามสัญญา ที่ปฐมฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ปฐมฌาน,--๒. อดีตวิตักกธัมมสัญญา ที่ทุติยฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ทุติยฌาน.--๓. อดีตปีติสัญญา ที่ตติยฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ตติยฌาน.--๔. อดีตอุเปกขาสัญญา ที่จตุตถฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน จตุตถฌาน.--๕. อดีตรูปสัญญา ที่อากาสานัญจายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน อากาสานัญจายตนฌาน.--๖. อดีตอากาสานัญจายตนสัญญา ที่วิญญาณัญจายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน วิญญาณัญจายตนฌาน.--๗. อดีตวิญญาณัญจายตนสัญญา ที่อากิญจัญญายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน อากิญจัญญายตนฌาน.--๘. อดีตอากิญจัญญายตนสัญญา ที่เนวสัญญานาสัญญายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.--๙. อดีตเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ที่ระงับไปแล้วเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่อาจมาเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ). ปัญญาสติกับนามรูปดับเพราะวิญญาณดับ--“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว ขอพระองค์ จงตรัสบอกธรรมนั้น คือปัญญาและสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด ; ปัญญาและสติกับนามรูปนั้นจะดับไปในที่ไหน ?--ดูก่อนอชิตะ ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใด เราจะแก้ปัญหา ข้อนั้นแก่ท่าน : นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือ ในที่ใด, ปัญญาและสติกับนาม รูปนั้นก็ย่อมดับไปในที่นั้น, เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล.--- สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๓๐/๔๒๕. - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๐-๒๑/๘๐,๗๕.--เห็นโลกมีค่าเท่ากับเศษหญ้าเศษไม้--เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริง ว่าเป็นเพียงการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วน ๆ ว่าเป็นเพียงการสืบเนื่องกันเป็นสาย ของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงต่อ ๆ กันมาล้วน ๆ, แล้วความกลัวย่อมไม่มี.--เมื่อใดเห็นด้วยปัญญา ว่าโลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่าเศษหญ้าเศษไม้, เมื่อนั้นเขาย่อมไม่ปรารถนาสิ่งใด ๆ นอกจาก “ สิ่งที่ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จูฬนิ. ขุ. 30/253/505.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๕๓/๕๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 30
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 482
ชื่อบทธรรม : -หมดกลม-หยุดหมุน(ข้อความทั้งสองตอนนี้เป็นเถรภาษิต นำมาขยายความพุทธภาษิต)
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความทั้งสองตอนนี้เป็นเถรภาษิต นำมาขยายความพุทธภาษิต)--หมดกลม - หยุดหมุน--ตัด “วงกลม” ขาดจากกัน ก็ลุถึงสภาพแห่งความไม่มีอะไรเป็นที่จำนงหวัง. ตัณหาที่ไหลซ่าน เมื่อถูกทำให้แห้งสนิทแล้วก็ไหลไม่ได้. วงกลมถูกตัดแล้ว (เช่นนี้) ก็หมุนไม่ได้อีกต่อไป. นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/199/148.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๑๙๙/๑๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 30
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 483
ชื่อบทธรรม : -คนดำหรือคนขาว ล้วนมีหวังในนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-คนดำหรือคนขาว ล้วนมีหวังในนิพพาน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติ ชาติเฉพาะอย่าง ๖ ชนิด คือ ชาติดำ ชาติเขียว ชาติแดง ชาติเหลือง ชาติขาว และชาติขาวสุด.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการบัญญัติของปูรณกัสสปนั้น เขาบัญญัติคนฆ่าแพะแกะ คนฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ ชาวประมง โจรปล้น โจรฆ่าคน เจ้าหน้าที่เรือนจำหรือคนมีการงานชั้นต่ำ อย่างอื่นๆ ว่าเป็น ชาติดำ.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติภิกษุพวกกัณฑกพฤติ หรือพวกกัมมวาทพวกกิริยวาทอื่น ๆ ว่าเป็น ชาติเขียว.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกนิครนถ์มีผ้าผืนเดียว ว่าเป็น ชาติแดง.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวผู้เป็นสาวกอเจลก ว่าเป็น ชาติเหลือง.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกอาชีวก พวกอาชีวกินี(หญิง) ว่าเป็น ชาติขาว.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติเจ้าลัทธิชื่อนันทวัจฉะ กิจจสังกิจจะและมักขลิโคสาละ ว่าเป็น ชาติขาวสุด.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติชาติเฉพาะอย่าง ๖ชนิด เหล่านี้แลพระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! โลกทั้งปวง ยอมรับรู้การบัญญัติ อภิชาติ ๖ ชนิด ของปูรณกัสสปนั้นหรือ ?--“ ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น มันก็เหมือนกับคนยากจนเข็ญใจ ไม่มีทรัพย์ติดตัว ทั้งไม่ปรารถนาจะได้เนื้อซึ่งต้องใช้ค่าเนื้อตามสัดส่วน, เมื่อมีคนมากล่าวว่า “บุรุษผู้เจริญ ! เนื้อนี้น่ากิน แต่ท่านต้องใช้ค่าเนื้อ” ดังนี้แล้ว ; เขาย่อมปฏิเสธ ; ฉันเดียวกับปูรณกัสสป ไม่ได้รับการรับรู้จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แล้วมาบัญญัติอภิชาติ ๖ ชนิดนี้ มีลักษณะเป็นคนโง่ คนไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักขอบเขต ไม่ฉลาด ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! เราแหละจะบัญญัติ อภิชาติ ๖ ชนิด, เธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี, เราจะกล่าว. อานนท์ ! อภิชาติ ๖ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! ในกรณีแห่งอภิชาติหกนี้ คือ คนบางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑, บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑, บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิ้นราคะโทสะโมหะ) อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑.--อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำรถ หรือตระกูลเทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าวและน้ำน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขาก็ยังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวิบาตนรก. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ.--อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้ เ กิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ...ฯลฯ... มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก มีผิวพรรณทรามไม่น่าดู ....ฯลฯ .... ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ ....ฯลฯ ,.... ประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว.--อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ....ฯลฯ.... มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม. เขาปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน. เขานั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้วตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว.--อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเกลี้ยงเกลาแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ร่ำรวยด้วยข้าวด้วยน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าพึงอบายทุคติวินิบาตนรก. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ.--อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือสกุลกษัตริย์มหาศาล--สกุลพราหมณ์มหาศาล ....ฯลฯ.... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ....ฯลฯ .... ร่ำรวยด้วยข้าว น้ำ ....ฯลฯ .... ประทีปโคมไฟ ; เขา ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว.--อานนท์ ! คนชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูงคือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล ....ฯลฯ.... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ....ฯลฯ .... ร่ำรวยด้วยข้าวน้ำ ....ฯลฯ.... ประทีปโคมไฟ. เขาปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน, เขานั้นครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดี ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้วตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมี ชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว.--อานนท์ ! เหล่านี้แล อภิชาติ ๖ ชนิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/428/328.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๒๘/๓๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 30
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site