สัทธรรมลำดับที่ : 25
ชื่อบทธรรม : -ยังมีพวกบริโภคกามโดยไม่จมกาม
เนื้อความทั้งหมด :-ยังมีพวกบริโภคกามโดยไม่จมกาม--ภิกษุ ท. ! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างเป็นอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยผิวกาย, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ติดอก- ติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้มีบาปต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เปรียบได้ดังเนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในกองบ่วง ในลักษณะที่ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า มันจะถึงซึ่งความพินาศย่อยยับ เป็นไปตามความประสงค์ของพรานทุกประการ, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ดังนี้, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ส่วนชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ไม่ติดใจ ไม่สยบอยู่ ไม่เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าเหล่านี้แล้ว มองเห็น ส่วนที่เป็นโทษอยู่ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์--บริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความพินาศย่อยยับ ไปตามความประสงค์ของมารผู้มีบาปแต่อย่างใดดังนี้. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเนื้อป่าตัวที่ไม่ติดบ่วง แม้นอนจมอยู่บนกองบ่วง มันก็เป็นสัตว์ที่ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า เป็นสัตว์ที่ไม่ถึงความพินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของพรานแต่อย่างใด,เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหลีกหนีไปได้ตามที่ต้องการ ดังนี้, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! (อีกอย่างหนึ่ง) เปรียบเหมือนเนื้อป่า เที่ยวไปในป่ากว้าง เดินอยู่ก็สง่างาม ยืนอยู่ก็สง่างาม หมอบอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม.เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่าเนื้อป่านั้นยังไม่มาสู่คลองแห่งจักษุของพราน, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน : สงัดแล้ว จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาณ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร ไปแล้วสู่ที่ที่มารผู้มีบาปมองไม่เห็น.--(ต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงการบรรลุ ทุติยฌาน - ตติยฌาน - จตุตถฌาน - อากาสานัญจายตนะ - วิญญาณัญจายตนะ -อากิญจัญญายตนะ - เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยนัยเดียวกันกับการบรรลุปฐมฌาน เป็นลำดับไป, จนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)--ภิกษุ ท. ! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมารไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น, ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก. ภิกษุนั้น--ยืนอยู่ก็สง่างาม เดินอยู่ก็สง่างาม นั่งอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม. เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นไม่ได้มาสู่คลองแห่งอำนาจของมารผู้มีบาป, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/333-335/327-328.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๓๓-๓๓๕/๓๒๗-๓๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 26
ชื่อบทธรรม : -ผู้รู้อริยสัจเป็นหลักอยู่ในใจ
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้รู้อริยสัจเป็นหลักอยู่ในใจ--ย่อมไม่มีอาการสั่นสะเทือนเพราะถูกยกวาทะ : ดุจเสาหิน--ภิกษุ ท. ! ภิกษุรูปใด รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.” ดังนี้นั้น ; แม้ว่าจะพึงมีบุคคลที่เป็นสมณะหรือพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้องการจะโต้วาทะ เที่ยวแสวงคู่โต้วาทะ มาจากทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม โดยประกาศว่า “เราจักยกวาทะของภิกษุรูปนั้นเสีย” ดังนี้ ; ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์นั้น จักทำภิกษุนั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไป โดยถูกธรรมนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้เลย. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุที่อริยสัจสี่นั้น เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นเห็นแล้วด้วยดี.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก ฝังอยู่ในดิน ๘ ศอก โผล่ขึ้นพ้นดิน ๘ ศอก แม้จะมีลมพายุฝนอย่างแรงกล้า มาจากทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ก็ตาม ไม่พึงทำเสาหินนั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไปได้เลย. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะส่วนที่ฝังนั้นลึก และฝังเป็นอย่างดี ; ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนั้น ในกรณีนี้พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/555/1724
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๕/๑๗๒๔
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 27
ชื่อบทธรรม : -ผู้ประกอบด้วยอวิชชา คือผู้ไม่มีความรู้สี่อย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ประกอบด้วยอวิชชา คือผู้ไม่มีความรู้สี่อย่าง--“พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า “อวิชชา อวิชชา” ดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ?”--แน่ะภิกษุ ! ความไม่รู้อันใด เป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ และเป็นความไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ : นี้เราเรียกว่า อวิชชา ; และบุคคลชื่อว่าถึงแล้วซึ่งอวิชชา ก็เพราะเหตุไม่รู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล.--“พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า ‘วิชชา วิชชา’ ดังนี้. ก็วิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา ?”--แน่ะภิกษุ ! ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์, เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความรู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์ และเป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ : นี้เราเรียกว่า วิชชา ; และบุคคลชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งวิชชา ก็เพราะเหตุรู้ความจริงมีประมาณเท่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘-๕๓๙/๑๖๙๔-๑๖๙๕.--อย่าคิดเรื่องโลก แต่จงคิดเรื่องอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! มีเรื่องราวในกาลก่อน : บุรุษผู้หนึ่ง ตั้งใจว่าจะคิด ซึ่งความคิดเรื่องโลก, จึงออกจากนครราชคฤห์ไปสู่สระบัวชื่อ สุมาคธา แล้วนั่งคิดอยู่ที่ริมฝั่งสระ. บุรุษนั้นได้เห็นแล้ว ซึ่งหมู่เสนาประกอบด้วยองค์สี่ (คือช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า) ที่ฝั่งสระสุมาคธานั้น เข้าไปอยู่ ๆ สู่เหง้ารากบัว. ครั้นเขาเห็นแล้วเกิดความไม่เชื่อตัวเองว่า “เรานี้บ้าแล้ว เรานี้วิกลจริตแล้ว, สิ่งใดไม่มีในโลก เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้ว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุรุษนั้นกลับเข้าไปสู่นครแล้ว ป่าวร้องแก่มหาชน ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าเป็นบ้าแล้ว ข้าพเจ้าวิกลจริตแล้ว, เพราะว่า สิ่งใดไม่มีอยู่ในโลก ข้าพเจ้ามาเห็นแล้วซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้. มีเสียงถามว่า เห็นอะไรมา ? เขาบอกแล้วตามที่เห็นทุกประการ. มีเสียงรับรองว่า “ถูกแล้ว, ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! ท่านเป็นบ้าแล้ว ท่านวิกลจริตแล้ว”.--ภิกษุ ท. ! แต่ว่าบุรุษนั้น ได้เห็นสิ่งที่มีจริง เป็นจริง หาใช่เห็น สิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริงไม่. ภิกษุ ท. ! ในกาลก่อนดึกดำบรรพ์ : สงครามระหว่างพวกเทพกับอสูรได้ตั้งประชิดกันแล้ว. ในสงครามครั้งนั้น พวกเทพเป็นฝ่ายชนะ อสูรเป็นฝ่ายแพ้. พวกอสูรกลัว แล้วแอบหนีไปสู่ภพแห่งอสูรโดยผ่านทางเหง้ารากบัว หลอกพวกเทพให้หลงค้นอยู่. (เรื่องของโลกย่อมพิสดารไม่--สิ้นสุดถึงเพียงนี้). ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงอย่าคิดเรื่องโลก โดยนัยว่า “โลกเที่ยงหรือ ? โลกไม่เที่ยงหรือ ? โลกมีที่สุดหรือ ? โลกไม่มีที่สุดหรือ ? ชีพก็ดวงนั้น ร่างกายก็ร่างนั้นหรือ ? ชีพก็ดวงอื่น ร่างกายก็ร่างอื่นหรือ ? ตถาคตตายแล้วย่อมเป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว ไม่เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วนั้น อีกหรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็มี ไม่เป็นก็มี หรือ ? ตถาคตตายไปแล้ว เป็นอย่างที่เป็นมาแล้วอีกก็ไม่เชิง ไม่เป็นก็ไม่เชิง หรือ ?” เพราะเหตุไรจึงไม่ควรคิดเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เลย.--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะคิด จงคิดว่า “เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไรจึงควรคิดเล่า ? เพราะความคิดนี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๘ - ๕๕๙/๑๗๒๕ - ๑๗๒๗.--อย่ากล่าวเรื่องทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน--แต่จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์--ภิกษุ ท. ! พวกเธออย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกัน ว่า “ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด, ข้าพเจ้าซิปฏิบัติชอบ, คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์คำพูดของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์. ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวนไปเสียแล้ว. ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว, ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอนคำพูดผิด ๆ นั้นเสียหรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด ;” ดังนี้. พวกเธอไม่พึงกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะการกล่าวนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า “เช่นนี้ ๆ เป็นความทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไรจึงควรกล่าวเล่า ? เพราะการกล่าวนั้น ๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/525/1662.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๕/๑๖๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 28
ชื่อบทธรรม : -อย่ากล่าวเรื่องไม่มีประโยชน์ แต่จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-อย่ากล่าวเรื่องไม่มีประโยชน์ แต่จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จง อย่ามัวสนทนาเรื่องขวางหนทางธรรม(ติรจฺฉานกถา) คือเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องอมาตย์ เรื่องทหาร เรื่องของน่ากลัว เรื่องการรบพุ่ง เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องจังหวัด เรื่องเมืองหลวง เรื่องบ้านนอก เรื่องหญิง เรื่องชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอกทางเดิน เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ตายไปแล้ว เรื่องต่าง ๆ นานา เรื่องโลก เรื่องมหาสมุทร เรื่องความรุ่งเรือง เรื่องความทรุดโทรม เหล่านี้. เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าวเล่า ? เพราะการกล่าวนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เลย.--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า “เช่นนี้ ๆ เป็นทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้. เพราะเหตุไรจึงควรกล่าวเล่า ? เพราะการกล่าวนั้นๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/526/1663.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 29
ชื่อบทธรรม : -จงบวชเพื่อรู้ความดับทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-จงบวชเพื่อรู้ความดับทุกข์--เหมือนเขาทั้งหลายผู้บวชแล้วโดยชอบ--ภิกษุ ท. ! กุลบุตรทั้งหลาย ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้ออกจากเรือน บวชแล้ว เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน โดยชอบ, กุลบุตรทั้งหมดนั้น ได้บวชแล้ว เพื่อการรู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! กุลบุตรทั้งหลาย ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต จักออกจากเรือน บวชแล้ว เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน โดยชอบ, กุลบุตรทั้งหมดนั้น ก็จักบวช เพื่อการรู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! กุลบุตรทั้งหลายในกาลเป็นปัจจุบันนี้ ก็ออกจากเรือน บวชอยู่ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน โดยชอบ, กุลบุตรทั้งหมดนั้น บวชอยู่ เพื่อการรู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่งความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง. สี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความดับไม่เหลือทุกข์ และเรื่องทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/521/1656.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๒๑/๑๖๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 30
ชื่อบทธรรม : -ไม่รู้อริยสัจ ก็ยังไม่เป็นสมณพราหมณ์ที่แท้
เนื้อความทั้งหมด :-ไม่รู้อริยสัจ ก็ยังไม่เป็นสมณพราหมณ์ที่แท้--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ความทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่--เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะได้ทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ หาได้ไม่.--ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ความทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ชัดตามความเป็นจริงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ได้โดยแท้.--(พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว พระองค์ผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสคำประพันธ์ ต่อไปอีกว่า :-)--“ชนเหล่าใด ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ และเหตุเกิดแห่งทุกข์ และธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ทั้งปวงโดยไม่เหลือ และหนทางเป็นที่ถึงซึ่งความเข้าไปสงบแห่งทุกข์ ; ชนเหล่านั้น พลาดแล้วจากเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่สมควรที่จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ มีแต่จะเข้าถึงซึ่งชาติและชรา.--ส่วนชนเหล่าใด รู้ทั่วถึงซึ่งทุกข์ และเหตุเกิดแห่งทุกข์ และ--ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ทั้งปวงโดยไม่เหลือ และหนทางเป็นที่ถึงซึ่งความเข้าไปสงบแห่งทุกข์ ; ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ สมควรที่จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่เข้าถึงซึ่งชาติและชรา”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/542/1700 - 1702.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๔๒/๑๗๐๐ - ๑๗๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 31
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! (เครื่องทำ) ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : นี้เรียกว่า (เครื่องทำ) ความเป็นสมณะ.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! (เครื่องทำ) ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : นี้เรียกว่า (เครื่องทำ) ความเป็นสมณะ.--ภิกษุ ท. ! ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ : นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/30/102 - 104.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐/๑๐๒ - ๑๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 32
ชื่อบทธรรม : -ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า
เนื้อความทั้งหมด :-(สำหรับเครื่องทำความเป็นพราหมณ์ และ ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความเหมือนกันกับในกรณีแห่งเครื่องทำความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็น สมณะนั้นทุกประการ.- ๑๙/๓๑/๑๐๘ - ๑๑๐.)--ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำเป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า--มาลุงก๎ยบุตร ! ตถาคตมิได้พูดกะท่านว่า ท่านจงมาประพฤติพรหม-จรรย์ในสำนักเรา เราจักพยากรณ์แก้ความเห็น ๑๐ ประการ๑ แก่ท่าน และทั้ง--๑. ทิฏฐิ ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันว่า โลกเที่ยง, โลกไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด, โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ เป็นต้น รวม ๑๐ อย่าง ซึ่งเป็นปัญหาดาดดื่นในยุคพุทธกาล.--ท่านก็มิได้พูดไว้กะเราว่า ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มี-พระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคเจ้าจักพยากรณ์แก้ทิฏฐิความเห็น ๑๐ ประการแก่ข้าพระองค์. เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่า โมฆบุรุษ ! ที่จักบอกคืนพรหมจรรย์แก่ใคร. มาลุงก๎ยบุตร ! ถึงใครกล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ แก่เราเสียก่อนก็ตาม ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ นั้นอยู่นั่นเอง และเขาก็ตายเปล่าโดยแท้.--มาลุงก๎ยบุตร ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถูกลูกศรอันกำซาบด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญ.บุรุษนั้นกล่าวเสียอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเราว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์เวสส์ ศูทร ชื่อไร โคตรไหน ฯลฯ ธนูที่ใช้ยิงนั้นเป็นชนิดหน้าไม้ หรือ เกาฑัณฑ์ ฯลฯ (เป็นต้น) เสียก่อนแล้ว เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้น. มาลุงก๎ยบุตร ! เขาไม่อาจรู้ข้อความที่เขาอยากรู้นั้นได้เลย ต้องตายเป็นแท้ ! อุปมานี้ฉันใด ; อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, บุคคลผู้กล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหาทิฏฐิ ๑๐ แก่เราเสียก่อน, และตถาคตก็ไม่พยากรณ์ปัญหานั้นแก่เขา เขาก็ตาย เปล่า โดยแท้ ...--มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจงซึมทราบสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์. ซึมทราบสิ่งที่เราพยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์. อะไรเล่า ที่เราไม่พยากรณ์ ? คือความเห็นสิบประการว่า โลกเที่ยง ฯลฯ (เป็นต้น) เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ. มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ? คือสัจจะว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความ--ดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ : นี้เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์. เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า ? เพราะสิ่ง ๆ นี้ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/147,151/149 - 150,152.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๑๔๗,๑๕๑/๑๔๙ - ๑๕๐,๑๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 33
ชื่อบทธรรม : -อย่ายึดถือติดแน่นในธรรม แต่จงใช้เพียงเป็นเครื่องมือ
เนื้อความทั้งหมด :-อย่ายึดถือติดแน่นในธรรม แต่จงใช้เพียงเป็นเครื่องมือ--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ไปพบแม่น้ำใหญ่ : ฝั่งข้างนี้ก็เต็มไปด้วยอันตรายน่ารังเกียจ น่ากลัว ฝั่งข้างโน้นปลอดภัย. แต่เรือหรือสะพานสำหรับข้าม ไม่มีเพื่อจะข้ามไป. เขาใคร่ครวญเห็นเหตุนี้แล้ว คิดสืบไปว่า “กระนั้นเราพึงรวบรวมหญ้าแห้ง ไม้แห้ง กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วพยายามเอาด้วยมือและเท้า ก็จะพึงข้ามไปโดยสวัสดี,” บุรุษนั้น ครั้นทำดังนั้นและข้ามไปได้โดยสวัสดีแล้ว ลังเลว่า “แพนี้ มีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก ถ้าไฉนเราจักทูนไปด้วยศีรษะ หรือแบกไปด้วยบ่า พาไปด้วยกัน” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกท่านจะสำคัญว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจักทำอย่างนั้น เจียวหรือ ? “พระองค์ผู้เจริญ! ข้อนั้นหามิได้”. ภิกษุ ท. ! เขาพึงทำอย่างไร : ถ้าไฉน เขาจะพึงคร่ามันขึ้นบก หรือปล่อยให้ลอยไปในน้ำ, ส่วนเขาเอง ก็หลีกไปตามปรารถนาเท่านั้นเอง : นี้ฉันใด ; ธรรมที่เราแสดงแล้ว ก็เพื่อรื้อถอนตนออกจากทุกข์ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ เปรียบได้กับพ่วงแพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! ท่านทั้งหลายผู้ได้ฟังธรรมอันเราแสดงแล้ว อันเปรียบด้วยพ่วงแพ ควรละธรรม ทั้งหลายเสีย และป่วยกล่าวทำไมถึงสิ่งไม่ใช่ธรรม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/270/280.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๗๐/๒๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 34
ชื่อบทธรรม : -เปรียบนักเรียนอริยสัจ ด้วยหนูต่างจำพวกกัน
เนื้อความทั้งหมด :-เปรียบนักเรียนอริยสัจ ด้วยหนูต่างจำพวกกัน--ภิกษุ ท. ! หนูเหล่านี้มีสี่จำพวก คือ หนูที่ขุดรู แต่ไม่อยู่, หนูที่อยู่ แต่ไม่ขุดรู, หนูที่ไม่ขุดรู และทั้งไม่อยู่, หนูที่ทั้งขุดรู และทั้งอยู่, บุคคลสี่จำพวก เปรียบด้วยหนู ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ คนปลูกเรือน แต่ไม่อยู่, คนอยู่ แต่ไม่ปลูกเรือน, คนไม่ปลูกเรือน และทั้งไม่อยู่, คนทั้งปลูกเรือน และทั้งอยู่. สี่จำพวกเหล่านี้ มีอยู่พร้อมในโลก.--ภิกษุ ท. ! คนที่ปลูกเรือนแต่ไม่อยู่ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! คนบางคนเรียนปริยัติธรรม ที่เป็นสูตร เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ๑ แต่เขา ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์. นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ : เช่นนี้แล เรียกว่า ปลูกเรือนแต่ไม่อยู่ ; เรากล่าวว่า เปรียบได้กับหนูที่ขุดรูแล้วไม่อยู่.--ภิกษุ ท. ! คนอยู่แต่ไม่ปลูกเรือนนั้น เป็นอย่างไร ภิกษุ ท. ! คนบางคน ไม่ได้เรียนปริยัติธรรม ที่เป็นสูตร ฯลฯ เวทัลละ แต่เขาเป็นผู้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ : เช่นนี้แลเรียกว่า อยู่แต่ไม่ปลูกเรือน ; เรากล่าวว่า เปรียบกันได้กับหนูที่อยู่แต่ไม่ขุดรู.--ภิกษุ ท. ! คนไม่ปลูกเรือนและทั้งไม่อยู่นั้น เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. !คนบางคน ไม่ได้เรียนทั้งปริยัติธรรม ที่เป็นสูตร ฯลฯ เวทัลละ และทั้ง ไม่รู้--๑. เรียนปริยัติธรรม ครบ ๙ อย่างเช่นนี้ ได้แก่เรียนจบ พระปริยัติธรรม หรือพระไตรปิฎกสมัยนี้.--ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ : เช่นนี้แล เรียกว่า ไม่ปลูกเรือน และทั้งไม่อยู่ ; เรากล่าวว่า เปรียบกันได้กับหนูที่ไม่ขุดรู และทั้งไม่อยู่.--ภิกษุ ท. ! คนที่ปลูกเรือนทั้งอยู่นั้น เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! คนบางคนในโลกนี้ ทั้งเรียนปริยัติธรรม ที่เป็นสูตร ฯลฯ เวทัลละด้วย และ ทั้งรู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้ด้วย :เช่นนี้แล เรียกว่าทั้งปลูกเรือนและทั้งอยู่ ; เรากล่าวว่า เปรียบกันได้กับหนูที่ทั้งขุดรูและทั้งอยู่.--ภิกษุ ท. ! คนสี่จำพวกเหล่านี้แล เปรียบกันได้กับหนูสี่จำพวก, อันมีอยู่พร้อมในโลกนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/144/107.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔๔/๑๐๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 35
ชื่อบทธรรม : -จงสงเคราะห์ผู้อื่น ด้วยการให้รู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-จงสงเคราะห์ผู้อื่น ด้วยการให้รู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำมาตย์ก็ตาม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม ; ชนเหล่านั้น อันเธอพึง ชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง. ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ? สี่ประการคือ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ--คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/544/1706.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 37
ชื่อบทธรรม : -พระพุทธองค์ กับ จตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-พระพุทธองค์ กับ จตุราริยสัจ--พระพุทธเป็นดุจดั่งผู้ชี้ทาง พระธรรมซึ่งมีอริยสัจเป็นแก่นเป็นตัวทาง พระอริยสงฆ์สาวก คือผู้ที่ได้เดินไปตามทางแล้ว แต่สัตว์โลกผู้ยังถูกอวิชชากดให้จมติดอยู่ในเปือกตมแห่งโอฆะ กำลังต้องการทางนั้นอยู่, เมื่อใดเขาศึกษาจนรู้จักพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้งถึงที่สุด ดุจลูกที่เข้าใจบิดาดี เมื่อนั้นเขาจะพบทางนั้นด้วย และเดินตามรอยท่านผู้ประเสริฐ ที่เดินไปแล้วนั้นได้. ถ้าเข้าใจไม่ตรงพอ เช่นเห็นพระพุทธองค์เป็นพระเป็นเจ้าไป ก็จะมีความมุ่งหมายและการตั้งหน้าทำที่พลาด ในที่สุดก็ปราศจากผล เพราะความจริงพระองค์เป็นแต่ผู้ชี้ทาง เท่านั้น.--พระพุทธองค์ คือผู้ทรงชี้ให้รู้จักทุกข์--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ว่ายล่องกระแสแม่น้ำลงไปเพราะเหตุสิ่งที่น่ารักน่าเพลินใจ. บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง เห็นบุรุษผู้นั้นแล้วร้องบอกว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านย่อมว่ายล่องตามกระแสแม่น้ำ เพราะเหตุสิ่งที่น่ารักน่าเพลินใจโดยแท้ แต่ว่า ทางเบื้องล่าง มีห้วงน้ำ ประกอบด้วยคลื่น ประกอบด้วยน้ำวน มียักษ์มีรากษส ซึ่งเมื่อท่านไปถึงแล้ว จักต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย.” ภิกษุ ท. !บุรุษผู้ว่ายล่องตามกระแสนั้น ครั้นได้ฟังแล้ว ก็พยายามว่ายกลับทวนกระแสทั้งด้วยมือและด้วยเท้าทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! คำอุปมานี้ เราผูกขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความ. นี้เป็นเนื้อความ คือ คำว่า ‘กระแสแม่น้ำ’ เป็นชื่อแห่งตัณหา, คำว่า ‘สิ่งน่ารักน่าเพลินใจ’ เป็นชื่อแห่งอายตนะหกในภายใน, คำว่า ‘ทางเบื้องล่าง มีห้วงน้ำ’ เป็นชื่อแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า, คำว่า ‘คลื่น’ เป็นชื่อแห่งความโกรธและความคับแค้น, คำว่า ‘น้ำวน’ เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า, คำว่า ‘ยักษ์และ--รากษส’ เป็นชื่อแห่งมาตุคาม.- คำว่า ‘ทวนกระแส’ เป็นชื่อแห่งเนกขัมมะ, คำว่า ‘พยายามด้วยมือและเท้า’ เป็นชื่อแห่งการปรารถความเพียร, คำว่า ‘บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง’ เป็นชื่อแห่งตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ; ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/316/289.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๑๖/๒๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 3
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site