สัทธรรมลำดับที่ : 473
ชื่อบทธรรม : - หยุดถือมั่น – หยุดหวั่นไหว
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า ถอนความมั่นหมายโดยความหมายสี่สถาน นั้น คือ ๑. ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งนั้น ๒. ไม่มั่นหมายในสิ่งนั้น ๓. ไม่มั่นหมายโดยเป็นสิ่งนั้น ๔. ไม่มั่นหมายว่าสิ่งนั้นของเรา ดังนี้.--สำหรับปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายถึงสิ่งทั้งปวงนี้ ในสูตรถัดไป (๑๘/๒๙/๓๕) ทรงแสดงไว้ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกันกับที่ทรงแสดงในอนัตตลักขณสูตร อันเป็นสูตรที่ศึกษากันอยู่อย่างแพร่หลาย จึงไม่นำมาแปลใส่ไว้ในที่นี้. โดยใจความนั้นคือพระองค์ตรัสเริ่มด้วยทรงสอบถาม แล้วพระภิกษุทูลตอบ แล้วตรัสว่าอริยสาวกเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น และเป็นอรหันต์ในที่สุด; ซึ่งชื่อธรรมแต่ละอย่างๆ ที่ทรงยกขึ้นสอบถามนั้น คือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก สัมผัสหกและเวทนาหก, รวมเป็นชื่อธรรมที่ทรงยกขึ้นถาม สามสิบ;และทรงเรียกการปฏิบัติระบบนี้ว่า (ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายสิ่งทั้งปวง”). หยุดถือมั่น – หยุดหวั่นไหว--ภิกษุ ท. ! ในกาลใด อวิชชาของภิกษุดับไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว. เพราะอวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้นนั้นแหละ, ภิกษุนั้น ย่อมไม่ทำความยึดมั่นในกามให้เกิดขึ้น, ไม่ทำความยึดมั่นด้วยทิฏฐิให้เกิดขึ้น, ไม่ทำความยึดมั่นใน ศีล และ วัตร ให้เกิดขึ้น และไม่ทำความยึดมั่นว่าตัวตนให้เกิดขึ้น.--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่ทำความยึดมั่นทั้งหลายให้เกิดขึ้น ย่อมไม่หวั่นใจไปตามสิ่งใด ๆ, เมื่อไม่หวั่นใจ ย่อมดับสนิทเฉพาะตนโดยแท้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/135/158.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๕/๑๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 474
ชื่อบทธรรม : -ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทาน--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง .... ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้ ....--ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ได้เห็นสัตบุรุษ เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ, ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่ง รูป โดยความเป็นตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูปในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตนในรูปบ้าง ; แม้ รูป นั้น แปรปรวนไป เป็นความมีโดยประการอื่น แก่อริยสาวกนั้น วิญญาณของอริยสาวกนั้นก็ไม่เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น ; (เมื่อเป็นเช่นนั้น) ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว ซึ่งเกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่, เพราะความที่จิตไม่ถูกครอบงำด้วยธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียวอริยสาวกนั้นก็ไม่เป็นผู้หวาดสะดุ้งไม่คับแค้น ไม่พะว้าพะวัง และไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่เพราะไม่มีอุปาทาน.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับการตามเห็น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูป ข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น)--ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/20,22-23/31,33.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐, ๒๒-๒๓/๓๑,๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 475
ชื่อบทธรรม : -ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง .... ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ....--ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่ง รูป ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้. แม้รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่อริยสาวกนั้น, เพราะความแปรปรวนเป็นโดยประการอื่นแห่งรูป โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้น.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสเหมือนกับในกรณี แห่ง รูป).--ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/24/34, 35.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔/๓๔, ๓๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 476
ชื่อบทธรรม : -ลำดับแห่งโลกิยสุข
เนื้อความทั้งหมด :-ลำดับแห่งโลกิยสุข--(ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)--อานนท์ ! กามคุณมี ๕ อย่าง, ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปทั้งหลายที่เห็นได้ทางตาก็ดี, เสียงทั้งหลายที่ฟังได้ทางหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลายที่ดมรู้ได้ทางจมูกก็ดี, รสทั้งหลายที่ลิ้มได้ทางลิ้นก็ดี, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสรู้ทางผิวกายก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจมีอยู่. อานนท์ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕ อย่าง.--อานนท์ ! สุข โสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้บังเกิดขึ้น ; อานนท์ ! สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า “กามสุข”.--อานนท์ ! ชนเหล่าใดก็ตาม จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งกามสุข ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เรา ตถาคตไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้นยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุข นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี้แลคือความสุขชนิด ที่เป็นอย่างอื่น--ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุขนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่ปฐมฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน นั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะวิตกวิจารรำงับ จึง บรรลุถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายในทำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้นถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า“สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่ทุติยฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติบรมสุขบรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ ทุติยฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ทุติยฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขอยู่ด้วยนามกายจึง บรรลุฌานที่สามเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่าผู้บรรลุ--ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ทุติยฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้นถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่ตติยฌาน ย่อยอยู่ในฐานะได้บรมสันติบรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ตติยฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ตติยฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน, จึ ง บรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แล คือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ตติยฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่จตุตถฌาน ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่จตุตถฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่จตุตถฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้,--เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาเสียได้ โดยประการทั้งปวง, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา, เพราะไม่ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ๆ” ดังนี้ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่จตุตถฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่อากาสานัญจายตนฌาน ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า ความสุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุข อันเกิดแต่อากาสานัญจายตนฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากาสานัญจายตนฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “ วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ๆ” ดังนี้ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากาสานัญจายตนฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่วิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่าความสุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่วิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่วิญญาณัญจายตนฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “ อะไร ๆ ไม่มี ” ดังนี้ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่วิญญาณัญจายตนฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมอยู่ในฐานะ ได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนฌานนั้น ยังมีอยู่.--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะซึ่งสุข อันเกิดแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยังมีอยู่.--(ประโยคที่ตรัสใน ๒ ย่อหน้านี้ มีความหมายที่สำคัญ มีประโยชน์มาก)--อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้ โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลความสุขที่เป็นอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น.--อานนท์ ! ส่วนข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้คือ ข้อที่พวกปริพาชกทั้งหลาย ผู้ถือลัทธิอื่นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “พระสมณะโคดม ได้กล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ, แล้วจึงบัญญัติซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ในฐานะเป็นความสุข. มันจะเป็นความสุขชนิดไหนหนอ ? มันจะเป็นความสุขไปได้อย่างไรหนอ ?” อานนท์ ! พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ซึ่งมีปกติกล่าวอย่างนี้, เธอทั้งหลายจะพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระภาค ไม่ได้หมายถึงสุขเวทนา แล้วบัญญัติในฐานะเป็นตัวความสุข. ผู้มีอายุ ! แต่ว่า ความสุข อันบุคคลจะพึงหาได้ในธรรมใด ; พระตถาคตย่อมบัญญัติซึ่งธรรมนั้น ในฐานะเป็นความสุข” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/278-282/413-424.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๗๘-๒๘๒/๔๑๓-๔๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 477
ชื่อบทธรรม : อนุปุพพนิโรธ - อนุปุพพวิหาร - อนุปุพพวิหารสมาบัติ
เนื้อความทั้งหมด :-หมายเหตุ :- การนำโลกิยสุข หรือความสุขขั้นที่ยังต้องมีเหตุมีปัจจัยทุกระดับ มาใส่ไว้ในที่นี้ก็เพื่อเป็นเครื่องเปรียบเทียบกับนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมไม่เหตุไม่มีปัจจัย และอยู่ในฐานะยิ่งไปกว่าความสุข, พระองค์จึงได้ทรงนำมาเรียงลำดับไว้ในที่นั้นในฐานะเป็นความสุขชนิดหนึ่ง.--ธรรมเป็นที่ดับ ตามลำดับ (ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)--(: อนุปุพพนิโรธ - อนุปุพพวิหาร - อนุปุพพวิหารสมาบัติ)--ก. อนุปุพพนิโรธ เก้า--ภิกษุ ท. ! อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เก้าประการ อย่างไรเล่า ? เก้าประการ คือ:---(๑) เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน อามิสส (กาม) สัญญา ย่อมดับ ;--(๒) เมื่อเข้าถึงทุติยฌาน วิตกและวิจาร ย่อมดับ ;--(๓) เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ปีติ ย่อมดับ ;--(๔) เมื่อเข้าถึงจตุตถฌาน อัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมดับ ;--(๕) เมื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญา ย่อมดับ ;--(๖) เมื่อเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ ;--(๗) เมื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ ;--(๘) เมื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ ;--(๙) เมื่อเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/423/235.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๒๓/๒๓๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 478
ชื่อบทธรรม : - เป็นคำของพระอานนท์แสดงอนุปุพพปัสสัทธิและอนุปุพพนิโรธไว้ โดยความเป็น ระดับในฐานะเป็นอนุปุพพปัสสัทธิและ
เนื้อความทั้งหมด :-(ธรรมะหมวดนี้ แสดงถึงธรรมที่ต้องดับไปตามลำดับ ๆ แห่งการปฏิบัติระบบนี้ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อนุปุพพนิโรธเก้า คือ ธรรมที่ดับ ตามลำดับ ๙ ลำดับ, เป็นหมวดธรรมที่ต้องศึกษาก่อนแต่โดยย่อ, รายละเอียดหาดูได้ที่หมวด ค. ; ใน ที่อื่น (๒๓/๔๗๗/๒๖๓,๒๖๕) เป็นคำของพระอานนท์แสดงอนุปุพพปัสสัทธิและอนุปุพพนิโรธไว้ โดยความเป็น ระดับในฐานะเป็นอนุปุพพปัสสัทธิและ--อนุปุพพนิโรธโดยปริยาย, และ แสดงสัญญาเวทยิตนิโรธอันสิ้นอาสวะไว้ ในฐานะเป็นอนุปุพพปัสสัทธิและอนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยายโดยไม่แสดงไว้อย่างละเอียดว่า ฌานชื่อไร ระงับหรือดับเสียซึ่งธรรมชื่ออะไรเหมือนกับในสูตรข้างบนนี้).--ข. อนุปุพพวิหาร เก้า--ภิกษุ ท. ! อนุปุพพวิหาร ๙ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เก้าประการ อย่างไรเล่า ? เก้าประการ คือ :---(๑) ปฐมฌาน--(๒) ทุติยฌาน--(๓) ตติยฌาน--(๔) จตุตถฌาน--(๕) อากาสานัญจายตนะ--(๖) วิญญาณัญจายตนะ--(๗) อากิญจัญญายตนะ--(๘) เนวสัญญานาสัญญายตนะ--(๙) สัญญาเวทยิตนิโรธ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพวิหาร ๙ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/424/236.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๒๔/๒๓๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 479
ชื่อบทธรรม : -(ธรรมเก้าประการนี้ เรียกว่า วิหารธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งจิตเก้าลำดับจึงได้ชื่อว่า อนุปุพพวิหารเก้า. ยังมีข้อประหลาดที่ว่า ในบาลีบางแห่งถึงกับกล่าวว่า เข้าอยู่ในวิหารธรรมนี้ได้แม้ในขณะแห่งอิริยาบถทั้งสี่ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน สำหรับ ๔ ข้อข้างต้นคือ ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน. - ติก. อํ. ๒๐/๒๓๔/๕๐๓).
เนื้อความทั้งหมด :-(ธรรมเก้าประการนี้ เรียกว่า วิหารธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งจิตเก้าลำดับจึงได้ชื่อว่า อนุปุพพวิหารเก้า. ยังมีข้อประหลาดที่ว่า ในบาลีบางแห่งถึงกับกล่าวว่า เข้าอยู่ในวิหารธรรมนี้ได้แม้ในขณะแห่งอิริยาบถทั้งสี่ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน สำหรับ ๔ ข้อข้างต้นคือ ตั้งแต่ปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน. - ติก. อํ. ๒๐/๒๓๔/๕๐๓).--ค. อนุปุพพวิหารสมาบัติ เก้า--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ เหล่านี้. เธอทั้งหลายจงฟัง. ภิกษุ ท. ! อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--(๑) กามทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยังกามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิวดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “กามทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยังกามทั้งหลายให้ดับไปๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. กามทั้งหลาย ดับไปในปฐมฌานนั้น, และชนเหล่านั้น ยังกามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในปฐมฌานนั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำ สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๒) วิตกและวิจารทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใดยัง วิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า “วิตกและวิจารทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง วิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ?--ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น “ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความที่วิตกและวิจารทั้งหลายระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวไม่มีวิตกและวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, วิตกและวิจารทั้งหลาย ดับไปใน ทุติยฌาน นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง วิตกและวิจารทั้งหลายให้ดับไปๆ ในทุติยฌานนั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้.ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุดังนี้แล้วนอบน้อมอยู่จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๓) ปีติ ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง ปีติ ให้ดับไปๆในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้วถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า “ปีติ ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยังปีติให้ดับไป ๆ ในที่ไหนแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ อยู่อุเบกขามีสติและสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ดังนี้แล้วแลอยู่. ปีติ ดับไปใน ตติยฌาน นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง ปีติ ให้ดับไปๆใน ตติยฌาน นั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วย คำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๔) อุเบกขาสุข ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง--อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้นหายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า “อุเบกขาสุข ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้, คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. อุเบกขาสุข ดับไปใน จตุตถฌาน นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ใน จตุตถฌาน นั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่าสาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ แล้ว นอบน้อมอยู่จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๕) รูปสัญญาทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยังรูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น ดังนี้ไซร้, คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะการก้าวล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ได้ทำไว้ในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆจึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมี--การทำในใจว่า ‘ อากาศไม่มีที่สุด ’ แล้วแลอยู่. รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปในอากาสานัญจายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในอากาสานัญจายตนะ นั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท . ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใดยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “อากาสานัญจายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด, แล้วแลอยู่. อากาสานัญจายตนสัญญา ดับไปใน วิญญาณัญจายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในวิญญาณัญจายตนะนั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใครๆที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใดยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มี--อายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไปๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขา ว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า ‘อะไร ๆ ไม่มี ’ แล้วแลอยู่. วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับไปใน อากิญจัญญายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆใน อากิญจัญญายตนะ นั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใครๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายาพึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนา ด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๘) อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใดยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “อากิญจัญญายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น “ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อากิญจัญญายตนสัญญา ดับไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยังอากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า--สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--(๙) เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยังเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ ; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ดับไปใน สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น, และชนเหล่านั้น ยัง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/424/237.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๒๔/๒๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 29
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site