สัทธรรมลำดับที่ : 466
ชื่อบทธรรม : -ปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่แท้จริง
เนื้อความทั้งหมด :-ปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่แท้จริง--(ซึ่งไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ)--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงปุพเพนิวาสมีอย่างเป็นอเนก ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตามระลึกถึงซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่งแห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้น. ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าคือ :---ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง รูป นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้” ดังนี้บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง เวทนา นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สัญญา นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สังขาร นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้” ดังนี้บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง วิญญาณ นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้” ดังนี้บ้าง.--ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ? ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป. สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวบ้าง เพราะความระหายบ้าง เพราะการสัมผัสกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.--ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ? ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น อัน (บุคคล) รู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา. รู้สึกซึ่งอะไร ? รู้สึกซึ่งสุขบ้าง ซึ่งทุกข์บ้าง ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง, ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา.--ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา ? ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? หมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีเขียวบ้าง ซึ่งสีเหลืองบ้าง ซึ่งสีแดงบ้าง ซึ่งสีขาวบ้าง. ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม เหตุนั้นจึง เรียกว่า สัญญา.--ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร ? ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า สังขาร. ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ? ปรุงแต่งรูปให้เป็นของปรุงแต่ง--โดยความเป็นรูป ปรุงแต่งเวทนาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสัญญาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขารให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่งวิญญาณให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้น จึงเรียกว่าสังขาร.--ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ? ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ. รู้แจ้งซึ่งอะไร?รู้แจ้งซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง. ภิกษุ ท. ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! ในขันธ์ทั้งห้านั้น อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า “ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น. ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต, แม้ในอนาคตนานไกล เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่เราถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”. อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปนี้ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น แล้วตรัสต่อไป ว่า:- )--ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร : รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !” สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !” สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้. “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัส ตรัสถาม และ ภิกษุทูลตอบอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทุกประการ ต่างแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น แล้วตรัสต่อไปว่า :-)--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกับในกรณี แห่งรูป แล้วตรัสต่อไปว่า :-)--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ ; ย่อมขว้างทิ้ง - ย่อมไม่ถือเอา ; ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.--อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ? เธอย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.--อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ? เธอย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.--อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร ? เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.--อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ? เธอย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่ง สังขาร ซึ่งวิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด, เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้วดำรงอยู่ ; ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้วดำรงอยู่ ; ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว ดำรงอยู่ ; ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้โพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว ดำรงอยู่.--ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.--ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.--ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจายซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.--ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้โพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้โพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.--ภิกษุ ท. ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดีย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า :---“ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/105-110/158-164.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕-๑๑๐/๑๕๘-๑๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 467
ชื่อบทธรรม : -[ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณตามนัยนี้ ไม่ขัดต่อหลักมหาปเทสแห่งมหาปรินิพพานสูตร (สุตฺเต โอสาเรตพฺพํ วินเย สนฺทสฺเสตพฺพํ), และไม่มีลักษณะแห่งสัสสตทิฏฐิดังที่กล่าวไว้ในนิทเทศแห่งวิชชาสามทั่วๆไป. ขอให้นักศึกษาโปรดพิจารณาดูเป็นพิเศษด้วย]
เนื้อความทั้งหมด :-[ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณตามนัยนี้ ไม่ขัดต่อหลักมหาปเทสแห่งมหาปรินิพพานสูตร (สุตฺเต โอสาเรตพฺพํ วินเย สนฺทสฺเสตพฺพํ), และไม่มีลักษณะแห่งสัสสตทิฏฐิดังที่กล่าวไว้ในนิทเทศแห่งวิชชาสามทั่วๆไป. ขอให้นักศึกษาโปรดพิจารณาดูเป็นพิเศษด้วย]--อริยวิโมกข์ คือ อมตธรรม--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อริยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษอันประเสริฐ) เป็นอย่างไรเล่า ?”--อานนท์ ! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า :---๑. กามทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;--๒. กามสัญญาที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามสัญญา ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;--๓. รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;--๔. รูปสัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลาย ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;--๕. อาเนญชสัญญา เหล่าใดด้วย ;--๖. อากิญจัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย ;--๗. เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย.--(ธรรมทั้งหมดเจ็ดหมู่) นั้น (ล้วนแต่) เป็นสักกายะ. สักกายะมีประมาณเท่าใด, อมตธรรมนั้น คือวิโมกข์แห่งจิต เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งสักกายะมีประมาณเท่านั้น.--อานนท์ !ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้ว, อากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทาเราแสดงแล้ว, เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้ว, การอาศัยแล้วๆ ซึ่งสัปปาย---ปฏิปทา (ตามลำดับ ๆ) แล้วข้ามโอฆะเสียได้ เราก็แสดงแล้ว, นั่นแหละ คืออริยวิโมกข์.--อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. อานนท์ ! นั่น โคนไม้, นั่นเรือนว่าง. อานนท์! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แหละ เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนแก่พวกเธอทั้งหลายของเรา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/79/91-92.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๙/๙๑-๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 468
ชื่อบทธรรม : -บริษัทเลิศเพราะสนใจโลกุตตระสุญญตา (ทางแห่งนิโรธ)
เนื้อความทั้งหมด :-บริษัทเลิศเพราะสนใจโลกุตตระสุญญตา (ทางแห่งนิโรธ)--ภิกษุ ท. ! บริษัทสองจำพวกเหล่านี้ มีอยู่, สองจำพวกเหล่าไหนเล่า? สองจำพวก คือ อุกกาจิตวินีตาปริสา (บริษัทอาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) โนปฏิปุจฉาวินีตา (ไม่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป) นี้อย่างหนึ่ง, และ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสา (บริษัทอาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป) โนอุกกาจิตวินีตา (ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) นี้อีกอย่างหนึ่ง.--ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา- มี อรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่อง--สุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟังตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียน--ธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา.--ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระประกอบด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะ--เป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็น ที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุ ท. ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือบริษัทปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองเป็นเครื่องนำไป: ไม่อาศัยความเชื่อจากบุคคลภายนอกเป็นเครื่องนำไป) แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/91/292.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 469
ชื่อบทธรรม : -นิพพานเพราะไม่ยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานเพราะไม่ยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ--อานนท์ ! ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทา อันเป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา ว่า “ถ้าไม่ควรมี และไม่พึงมีแก่เรา, ก็ต้องไม่มีแก่เรา ; สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว, เราจะละสิ่งนั้นเสีย” ดังนี้. ภิกษุ (บางรูป) นั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งอุเบกขานั้น, เมื่อไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น, วิญญาณของเธอก็ไม่เป็นธรรมชาติอาศัยซึ่งอุเบกขานั้น ไม่มีอุเบกขานั้นเป็นอุปาทาน. อานนท์ ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/79/91.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๙/๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 470
ชื่อบทธรรม : -ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ด้วยการตัดอกุศลมูล
เนื้อความทั้งหมด :-ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ด้วยการตัดอกุศลมูล--ภิกษุ ท. ! กุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ อโลภะ เป็น กุศลมูล อโทสะ เป็น กุศลมูล อโมหะ เป็น กุศลมูล.--ภิกษุ ท. ! แม้อโลภะนั้นก็เป็นกุศล. บุคคลผู้ไม่โลภแล้ว ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ ; แม้กรรมนั้นก็เป็นกุศล. บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภไม่กลุ้มรุมแล้ว ไม่ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่นโดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ ; แม้กรรมนี้ก็เป็นกุศล : กุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดจากความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็นเหตุ มีความไม่โลภเป็นสมุทัย มีความไม่โลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง อโทสะ และ อโมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งอโลภะ อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่าเป็นกาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง. เพราะเหตุไรจึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่า บุคคลนี้ ไม่ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ ; และเมื่อเขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็ยอมรับไม่บิดพลิ้ว ; เมื่อถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ก็พยายามที่จะทำให้แจ้งชัดออกมาว่า--นั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ ๆ. เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ จึงควรถูกเรียกว่าเป็นกาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง.--ภิกษุ ท. ! อกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดแต่ความโลภ อันบุคคลนี้ละขาดแล้ว โดยกระทำให้เหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน (ซึ่งหมายความว่ามีการตัดความโลภอันเป็นมูลแห่งอกุศลธรรมนั้นด้วย) ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา. เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้นความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรม นี้เทียว, ย่อม ปรินิพพานในทิฏฐธรรม นั่นเทียว (ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปรินิพฺพายติ). (ในกรณีแห่ง ความโกรธและความหลง ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง ความโลภ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่นต้นสาละ ต้นธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี ถูกเครือเถามาลุวาสามชนิดขึ้นคลุมแล้ว รึงรัดแล้ว. ลำดับนั้น บุรุษถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้วตัดเครือเถามาลุวานั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้วก็ขุดเซาะ ครั้นขุดเซาะแล้วก็รื้อขึ้นซึ่งรากทั้งหลายแม้ที่สุดเพียงเท่าก้านแฝก. บุรุษนั้นตัดเครือเถามาลุวานั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดดังนั้นแล้วก็ผ่า ครั้นผ่าแล้วก็กระทำให้เป็นซีกๆ ครั้นทำให้เป็นซีก ๆ แล้วก็ผึ่งให้แห้งในลมและแดด ครั้นผึ่งให้แห้งแล้วก็เผาด้วยไฟ ครั้นเผาแล้วก็ทำให้เป็นขี้เถ้า ครั้นทำให้เป็นขี้เถ้าแล้ว ก็โปรยไปตามลมอันพัดจัด หรือให้ลอยไปในกระแสน้ำอันเชี่ยว. ภิกษุ ท. ! เครือเถามาลุวาเหล่านั้น มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่มีเป็น ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา, ข้อนี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : อกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดแต่ความโลภ อันบุคคลนี้ละขาดแล้ว กระทำให้เหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วนถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา. เขาย่อมอยู่เป็นสุขไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้นความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรมนี้เทียว, ย่อมปรินิพพานในทิฏฐธรรมนั่นเทียว. (ในกรณีแห่งความโกรธ และความหลง ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กุศลมูล ๓ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/260/509.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๖๐/๕๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 471
ชื่อบทธรรม : -ปรินิพพานเฉพาะตน
เนื้อความทั้งหมด :-ปรินิพพานเฉพาะตน--ผลแห่งการถอนความมั่นหมายในธรรมทั้งปวง--โดยความหมายสี่สถาน--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง” แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :---ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักษุ ไม่มั่นหมาย ใน จักษุ ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักษุ ไม่มั่นหมายจักษุ ว่าของเรา ;--ไม่มั่นหมาย ซึ่ง รูป ท. ไม่มั่นหมาย ใน รูป ท. ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น รูป ท. ไม่มั่นหมายรูป ท. ว่าของเรา ;--ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นจักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมายจักขุวิญญาณ ว่าของเรา ;--ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นจักขุสัมผัส ไม่มั่นหมายจักขุสัมผัส ว่าของเรา ;--ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นเวทนาไม่มั่นหมายเวทนา ว่าของเรา ซึ่งเป็นเวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม.--(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งหมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ไม่มั่นหมาย ซึ่ง สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย ใน สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.--ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก, เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้ง, เมื่อไม่สะดุ้งก็ปรินิพพานเฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ ปรินิพฺพายติ) นั่นเทียว. เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวงนั้น”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/26/33.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๖/๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 472
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรถัดไป เมื่อได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกันกับในสูตรข้างบนนี้ครบทั้งหกอายตนะแล้ว ซึ่งในตอนท้ายแห่งอายตนะหมวดหนึ่งๆนั้น ได้ตรัสข้อความเพิ่มเติมต่อไปอีกดังข้อความข้างล่างนี้ และได้ทรงเรียกชื่อปฏิปทานี้เสียใหม่ว่า “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนเสีย ซึ่งความมั่นหมายทั้งปวง” :-)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรถัดไป เมื่อได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกันกับในสูตรข้างบนนี้ครบทั้งหกอายตนะแล้ว ซึ่งในตอนท้ายแห่งอายตนะหมวดหนึ่งๆนั้น ได้ตรัสข้อความเพิ่มเติมต่อไปอีกดังข้อความข้างล่างนี้ และได้ทรงเรียกชื่อปฏิปทานี้เสียใหม่ว่า “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนเสีย ซึ่งความมั่นหมายทั้งปวง” :-)--ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุย่อมมั่นหมาย ซึ่ง สิ่งใด มั่นหมาย ใน สิ่งใดมั่นหมาย โดย ความเป็นสิ่งใด มั่นหมายสิ่งใด ว่าของเรา, สิ่งที่เขามั่นหมายนั้น ย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขามั่นหมายนั้น. สัตว์โลกผู้ข้องอยู่ในภพ เพลิดเพลินอยู่ในภพนั่นแหละ จักเป็นผู้มีความเป็นโดยประการอื่น. (ข้อความต่อไปนี้ได้ตรัสหลังจากตรัสข้อความในหมวดที่หก คือหมวดมนายตนะจบแล้ว :-)--ภิกษุ ท. ! ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีอยู่มีประมาณเท่าใด ; ภิกษุ ย่อม ไม่มั่นหมายแม้ ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ไม่มั่นหมายแม้ ใน ขันธ์ธาตุ อายตนะนั้น ไม่มั่นหมายแม้ โดย ความเป็นขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ว่าของเรา. ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก, เมื่อไม่ถือมั่นก็ ไม่สะดุ้ง, เมื่อไม่สะดุ้งก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว, เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอน ความมั่นหมายทั้งปวงนั้น”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/28/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 28
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site