สัทธรรมลำดับที่ : 454
ชื่อบทธรรม : -นิพพานที่เห็นได้เอง
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานที่เห็นได้เอง--(เมื่อบุคคลนั้นรู้สึกต่อความสิ้นราคะ - โทสะ - โมหะ)--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำที่พระโคดมกล่าวว่า ‘นิพพานที่เห็นได้เอง นิพพานที่เห็นได้เอง’--ดังนี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล, เป็นสิ่งที่กล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ได้เฉพาะตน นั้นมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--พราหมณ์ ! บุคคลผู้กำหนัดแล้ว อันราคะครอบงำแล้ว, มีจิตอันราคะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองบ้าง, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง. เมื่อละราคะได้แล้ว, เขาย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองอย่าง, และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้. พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาลเป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.--พราหมณ์ ! บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว, อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองบ้าง, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง. เมื่อละโทสะได้แล้ว, เขาย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองอย่าง, และย่อมไม่เสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตโดยแท้. พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.--พราหมณ์ ! บุคคลผู้มีโมหะแล้ว, อันโมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโมหะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง, ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง, ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบ้าง, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง. เมื่อละโมหะได้แล้ว, ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองอย่าง, และย่อมไม่เสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัสอันเป็นไปในทางจิตโดยแท้. พราหมณ์ ! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.--พราหมณ์ ! เมื่อใดแล, ผู้นี้ ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งความสิ้นไปแห่งราคะ อันหาเศษเหลือมิได้, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโทสะ อันหาเศษเหลือมิได้, ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสิ้นไปแห่งโมหะ อันหาเศษเหลือมิได้ ; พราหมณ์เอย ! เมื่อนั้น, นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/202/495.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๐๒/๔๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 455
ชื่อบทธรรม : -นิพพานที่เห็นได้เอง ตามคำของพระอานนท
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานที่เห็นได้เอง ตามคำของพระอานนท--“อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘สันทิฏฐิกนิพพาน สันทิฏฐิกนิพพาน’ ดังนี้. อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).--อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยปริยาย.--(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า สันทิฏฐิกนิพพาน ในที่นี่ ต้องหมายถึงความสุขดับอันเป็นผลจากปฐมฌานที่บุคคลนั้นรู้สึกเสวยอยู่ นั่นเอง, เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ความสุขอันเกิดจากเนกขัมมะ โดยเฉพาะคือฌานทุกระดับ มีชื่อเรียกว่านิพพานได้, ไม่จำเป็นจะต้องหมายถึงอนุปาทิเสสนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น. จะยุติเป็นอย่างไร ขอให้นักศึกษาพิจารณาดูเอาเองเถิด.--ในกรณีแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นสันทิฏฐิกนิพพาน โดยปริยาย.ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้นกล่าวไว้ในฐานะเป็นสันทิฏฐิกนิพพานโดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)--อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/475/251.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๗๕/๒๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 456
ชื่อบทธรรม : -หมด “อาหาร” ก็นิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-หมด “อาหาร” ก็นิพพาน--ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวก็ดี ใน อาหารคือผัสสะ ก็ดี ใน อาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี ใน อาหารคือวิญญาณ ก็ดี แล้วไซร้, วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ. วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น ; การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น ; ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ; การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด, ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ; ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุ ท. ! เราเรียก “ที่” นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก. ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว จักตั้งอยู่ที่ส่วนไหนแห่งเรือนนั่นเล่า ?--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ จักปรากฏที่ฝาเรือนข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏ ที่ไหน ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏ ที่ไหนอีก?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้ว พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล : ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวก็ดี ในอาหารคือผัสสะก็ดี ในอาหารคือมโนสัญเจตนาก็ดี ในอาหารคือวิญญาณก็ดี แล้วไซร้, วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในอาหารคือคำข้าว เป็นต้นนั้น ๆ. วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น ; การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด, ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น ; ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีในที่ใด, การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ; การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด, ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ; ชาติชรามรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด, ภิกษุ ท. ! เราเรียก “ที่” นั้น ว่า เป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และ ไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/124-125/248-249.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๔-๑๒๕/๒๔๘-๒๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 457
ชื่อบทธรรม : -อาสวักขยญาณเป็นเครื่องให้พ้นจากอาสวะ
เนื้อความทั้งหมด :-อาสวักขยญาณเป็นเครื่องให้พ้นจากอาสวะ--พราหมณ์ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ :--เธอนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี่ ทุกข์, นี่ เหตุแห่งทุกข์, นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี่ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ; และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “เหล่านี้ เป็นอาสวะ, นี้ เหตุแห่งอาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ เป็นทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ. ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.--พราหมณ์ ! วิชชาที่สามนี้ เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดแทนแล้ว, ตามที่มันจะเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้ว แลอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/210/498.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๑๐/๔๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 458
ชื่อบทธรรม : -ปริญญาที่แท้จริง
เนื้อความทั้งหมด :-ปริญญาที่แท้จริง--ภิกษุ ท. ! ปริญญา (ความรอบรู้) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ, อันใด ; ภิกษุ ท. ! อันนั้นแหละเราเรียกว่า ปริญญา (ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งการบรรลุนิพพาน ซึ่งจัดว่าเป็นความรู้อันแท้จริง) แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/33/55.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๓/๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 459
ชื่อบทธรรม : -วิโมกข์ ๒ ระดับ : สมยวิโมกข์ - อสมยวิโมกข์
เนื้อความทั้งหมด :-วิโมกข์ ๒ ระดับ : สมยวิโมกข์ - อสมยวิโมกข์--ก. สมยวิโมกข์--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ กุลบุตรบางคน มีศรัทธา ออกบวชจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ ความตายความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้” ดังนี้. ครั้นบวชแล้ว เธอสามารถทำลาภสักการะและเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้, เธอไม่มีใจยินดีในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, เธอไม่เมาไม่มัวเมาในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในลาภสักการะและเสียงเยินยออันนั้น ; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อมด้วยศีลเกิดขึ้นได้, เธอมีใจยินดีในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, เธอไม่เมาไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น ; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อมด้วยสมาธิเกิดขึ้นได้, เธอมีใจยินดีในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, เธอไม่เมา--ไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น ; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ญาณทัสสนะ (ปัญญาเครื่องรู้เห็น) เกิดขึ้นได้อีก, เธอมีใจยินดีในญาณทัสสนะอันนั้น, แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วในญาณทัสสนะอันนั้น, เธอไม่ทะนงตัวเพราะญาณทัสสนะอันนั้น, เธอไม่เมาไม่มัวเมาในญาณทัสสนะอันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในญาณทัสสนะอันนั้น, เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้สมยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษโดยสมัย) เกิดขึ้นได้อีก.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ คือข้อที่ ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมคลาย จาก สมยวิมุตติ อันนั้นก็ได้.--ข. อสมยวิโมกข์--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า “นี่ เป็นแก่นแท้” ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด, รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง. จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอา--แก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี้ แก่นแท้’ ดังนี้ ; สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้” ดังนี้, นี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ กุลบุตรบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ ความตาย ....(ข้อความต่อไป เหมือนกับข้อความตอนต้นของตอนสมยวิโมกข์ จนถึงข้อความที่ว่า).... เธอไม่ทะนงตัวเพราะญาณทัสสนะอันนั้น, เธอไม่เมาไม่มัวเมาในญาณทัสสนะอันนั้น, ไม่ถึงความประมาทในญาณทัสสนะ อันนั้น; เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ อสมยวิโมกข์ เกิดขึ้นได้.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้ คือข้อที่ภิกษุนั้น จะพึงเสื่อมคลายจาก อสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่มีสมัย) อันนั้นเลย.--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.--ภิกษุ ท. ! ก็ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ อันใด มีอยู่, พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย เจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/370-373/351-352
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๗๐-๓๗๓/๓๕๑-๓๕๒
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 460
ชื่อบทธรรม : -ธรรมที่สมควรแก่การหลุดพ้นจากทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมที่สมควรแก่การหลุดพ้นจากทุกข์--ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร, เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ ; ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ; เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว, ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จาก ความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/50/83.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 461
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด--ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/51/84.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 462
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/51/85.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 463
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา--ในสังขาร อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ; ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ, ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ, ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ, ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ; เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/52/86.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๒/๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 464
ชื่อบทธรรม : -นิสฺสารณิยธาตุที่ทำความง่ายให้แก่การละตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-นิสฺสารณิยธาตุที่ทำความง่ายให้แก่การละตัณหา--ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ :---ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย, จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ; แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ, จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในเนกขัมมะ. จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจากกามทั้งหลายด้วยดี ; และเธอนั้นหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท, จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท; แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท, จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในอัพ๎ยาบาท. จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี; และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายอันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา, จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ; แต่เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา, จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา, จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากวิหิงสาด้วยดี ; และเธอนั้นหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือเมื่อภิกษุ กระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลาย, จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ; แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป, จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในอรูป. จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี ; และเธอนั้นหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (กายของตนกล่าวคือขันธ์ห้า), จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ; แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ, จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ, จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี ; และเธอนั้นหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งสักกายะ.--นันทิในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ; นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ; นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ; นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ; นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ. เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาทนันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ; ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/272/200.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 465
ชื่อบทธรรม : -ธรรมธาตุต่าง ๆ ที่เป็นผลของสมถวิปัสสนาอันดับสุดท้าย (: อภิญญาหก)
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมธาตุต่าง ๆ ที่เป็นผลของสมถวิปัสสนาอันดับสุดท้าย (: อภิญญาหก)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ผลเท่าใด อันบุคคลพึงบรรลุด้วยเสขญาณ ด้วยเสขวิชชา ผลนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ ; ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า !”--วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ทั้งสองให้ยิ่งขึ้นไป คือสมถะและวิปัสสนา, วัจฉะ ! ธรรมทั้งสองคือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้แล อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก๑ (กล่าวคือ:-)--๑. วัจฉะ ! เธอจักมีได้โดยเฉพาะซึ่งอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ตามที่เธอหวัง เช่นเธอหวังว่า เราผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง, ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน, ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ก็ลอยไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก, ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้, ดังนี้. ในอิทธิวิธิญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.--๑. คำว่าธาตุในกรณีนี้ หมายถึงธรรมธาตุเช่นนิพพานก็เป็นธาตุอย่างหนึ่งเป็นต้น มิได้มีความหมายอย่างในภาษาไทย.--๒. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีโสตธาตุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์หมดจดล่วงโสตแห่งสามัญมนุษย์ ได้ยินเสียงทั้งสองคือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้. ในทิพพโสตญาณธาตุ นั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.--๓. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ กำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจของตน คือกำหนดรู้จิตที่มีราคะว่ามีราคะ กำหนดรู้จิตที่ไม่มีราคะว่าไม่มีราคะ มีโทสะว่ามีโทสะ ไม่มีโทสะว่าไม่มีโทสะ มีโมหะว่ามีโมหะ ไม่มีโมหะว่าไม่มีโมหะ หดหู่ว่าหดหู่ ฟุ้งซ่านว่าฟุ้งซ่าน ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าถึงซึ่งคุณอันใหญ่ ไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ตั้งมั่นว่าตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นว่าไม่ตั้งมั่น หลุดพ้นว่าหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นว่าไม่หลุดพ้น ดังนี้. ในเจโตปริยญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ--๔. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ ระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่างๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง, สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง, ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง, ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง, ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ, เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ; ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ, ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ;--ครั้นจุติจากภพนั้น ๆ ๆ ๆ แล้ว มาเกิดในภพนี้ ดังนี้ : ระลึกได้ถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการและอุทเทศ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. ในปุพเพนิวาสานุสสติญาณธาตุ๑ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.--๕. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีจักษุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่, เลวทรามประณีต, มีวรรณะดี มีวรรณะเลว, มีทุกข์ มีสุข. รู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า, เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์,” ดังนี้ ; มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวประณีต มีวรรณะดี วรรณะทรามมีทุกข์ มีสุข รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ดังนี้. ในจุตูปปาตญาณธาตุนั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.--๑. มีคำอธิบายเกี่ยวกับปุพเพนิวาสสานุสสติญาณธาตุที่ชัดเจน อยู่ในหัวข้อที่ถัดไปจากหัวข้อนี้ คือหัวข้อที่ว่า “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่แท้จริง”.--๖. วัจฉะ ! เธอจักได้ตามที่เธอหวัง คือ กระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาวสะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้. ใน อาสวักขยญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายนตนะยังมีอยู่ ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/257-261/261-266.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๕๗-๒๖๑/๒๖๑-๒๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 27
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site