สัทธรรมลำดับที่ : 437
ชื่อบทธรรม : -นิพพานอธิวจนะ
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานอธิวจนะ--[คำว่า “นิพพาน” ในข้อความในสูตรอื่น ๆ เป็นอันมาก ได้ทรงแสดงไว้ด้วยอธิวจนะคือคำแทนชื่อต่าง ๆ กัน และมีเรื่องที่จะพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างเดียวกัน คือทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า :---อสังขตะ (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้)--อนตะ (ธรรมที่ไม่น้อมไปในสิ่งใด หรือสิ่งใดน้อมไปไม่ได้)--อนาสวะ (ไม่มีอาสวะอันเป็นสิ่งเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง)--สัจจะ (ของจริงเพียงสิ่งเดียว ไม่มีสิ่งที่สองเทียบ)--ปาระ (ฝั่งนอกที่กิเลสและทุกข์ตามไปไม่ถึง)--นิปุณะ (สิ่งละเอียดอ่อนสำหรับการศึกษาและปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า)--สุทุททสะ (อันผู้ไม่สิ้นอาสวะเห็นได้ยากที่สุด)--อชัชชระ (ไม่มีความคร่ำคร่าลงโดยประการทั้งปวง)--ธุวะ (ยั่งยืนมั่นคงไม่แปรผัน)--อปโลกินะ (เป็นที่จ้องมองแห่งสัตว์เพื่อการบรรลุถึง)--อนิทัสสนะ (ไม่มีการแสดงออกทางวัตถุ หรือทางตา ; ผู้อื่นพลอยเห็นด้วยไม่ได้)--นิปปปัญจะ (ไม่มีเครื่องกีดกั้นให้เนินช้าเพราะว่างจากกิเลส)--สันตะ (สงบระงับจากการปรุงแต่งเสียดแทงเผาลน)--อมตะ (ไม่ตายเพราะไม่มีการเกิด เพราะไม่อยู่ในอำนาจเหตุปัจจัย)--ปณีตะ (ประณีตละเอียด เพราะพ้นไปจากความเป็นรูปธรรมและนามธรรม)--สิวะ (สงบเย็นเพราะไม่มีไฟกิเลสและไฟทุกข์)--เขมะ (เกษมจากสิ่งรบกวนทุกชนิด)--ตัณหักขยะ (เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา หรือภาวะสิ้นสุดแห่งตัณหา)--อัจฉริยะ (น่าอัศจรรย์ ไม่มีสิ่งใดน่าอัศจรรย์เท่า)--อัพภุตะ (ประหลาดควรนำมาบอกกล่าวในฐานะสิ่งที่ไม่เคยบอกกล่าว)--อนีติกะ (ไม่มีเสนียดจัญไร เพราะพ้นดีพ้นชั่ว)--อนีติกธัมมะ (มีปกติภาวะไม่มีเสนียดจัญไรเป็นธรรมดา)--อัพ๎ยาปัชฌะ (ไม่มีความเบียดเบียนเป็นสภาวะ)--วิราคะ (ไม่มีความย้อมติดในสิ่งใด มีแต่จะทำให้คลายออก)--สุทธิ (บริสุทธิ์หมดจด เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง)--มุตติ (เป็นความปล่อยความหลุดจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน)--อนาลยะ (ไม่เป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งกิเลสและความทุกข์)--ทีปะ (เป็นดวงประทีปที่พึ่งของสัตว์ผู้ตกจมอยู่ในความมืดคืออวิชชา)--เลณะ (เป็นเสมือนที่หลบซ่อนจากภัยของสัตว์ผู้หนีภัย)--ตาณะ (เป็นเสมือนที่ต้านทานของสัตว์ผู้แสวงหาที่ต้านทานข้าศึกศัตรู)--สรณะ (เป็นที่แล่นไปสู่แห่งจิตที่รู้สึกว่ามีภัยต้องการที่พึ่ง)--ปรายนะ (เป็นเป้าหมายในเบื้องหน้าแห่งสัตว์ผู้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ).--คำแทนชื่อกันและกันชนิดนี้ ในบาลีท่านเรียกว่า อธิวจนะ ในที่นี้เป็นอธิวจนะของคำว่า นิพพาน ].--- สฬา. สํ. ๑๘/๔๔๑-๔๔๒, ๔๕๐-๔๕๓/๖๗๔-๖๘๔, ๗๒๐-๗๕๑.--ยาถ่ายและยาสำรอกความเกิด - แก่ – ตาย--ภิกษุ ท. ! แพทย์ทั้งหลาย ย่อมให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดโรค ที่มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง ที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานบ้าง ที่มีลมเป็นสมุฏฐานบ้าง. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ยาถ่ายชนิดนั้น มีอยู่ มิใช่ไม่มี แต่ว่ายาถ่ายชนิดนั้น บางทีก็มีผล บางทีก็ไม่มีผล.--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ยาถ่ายอันเป็นอริยะ (อริยวิเรจน) อันเป็นยาถ่ายมีผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ให้ผล อันเป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้วสัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเกิด ที่มีความแก่เป็นธรรมดาจะพ้นจากความแก่ ที่มีความตายเป็นธรรมดาจะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเป็นธรรมดาจะพ้นจากโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.--ภิกษุ ท. ! ยาถ่ายอันเป็นอริยะ อันให้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีเสียผลเลย อันสัตว์อาศัยแล้ว จักพ้นจากชาติ ฯลฯ ได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิ อัน สัมมาทิฏฐิกบุคคลระบายออกได้แล้ว ; กล่าวคือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเหล่าใดบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาสังกัปปะ อัน ผู้มีสัมมาสังกัปปะระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวาจา อัน ผู้มีสัมมาวาจาระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉากัมมันตะ อัน ผู้มีสัมมากัมมันตะระบายออกได้ แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาอาชีวะ อัน ผู้มีสัมมาอาชีวะระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวายามะ อัน ผู้มีสัมมาวายามะระบายออกได้แล้ว ....ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาสติ อัน ผู้มีสัมมาสติระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาสมาธิ อัน ผู้มีสัมมาสมาธิระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาญาณะ อัน ผู้มีสัมมาญาณะระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวิมุตติ อัน ผู้มีสัมมาวิมุตติระบายออกได้แล้ว ; กล่าวคือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยเหล่าใดบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ที่มีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.--ภิกษุ ท. ! นี้แล ยาถ่ายอันเป็นอริยะ (รวม ๑๐ ประการ) อันเป็นยาถ่ายมีผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ให้ผล อันเป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเกิด ที่มีความแก่เป็นธรรมดาจะพ้นจากความแก่ ที่มีความตายเป็นธรรมดาจะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเป็นธรรมดาจะพ้นจากโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/233/108.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๓/๑๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 438
ชื่อบทธรรม : -[ ธรรมสิบประการ ซึ่งในสูตรข้างบนนี้ตรัสเรียกว่า ยาถ่าย (วิเรจนํ) : ส่วนในสูตรถัดไปทรงเรียกว่า ยาสำรอกให้อาเจียน (วมนํ); มีข้อความเหมือนกันทุกประการ.
เนื้อความทั้งหมด :-[ ธรรมสิบประการ ซึ่งในสูตรข้างบนนี้ตรัสเรียกว่า ยาถ่าย (วิเรจนํ) : ส่วนในสูตรถัดไปทรงเรียกว่า ยาสำรอกให้อาเจียน (วมนํ); มีข้อความเหมือนกันทุกประการ.--ในสูตรถัดไปอีก ตรัสเรียกธรรมสิบประการนั้น ว่า มนต์เครื่องปัดเป่า (นิทฺธมนํ) สามารถปัดเป่าบาปอกุศลให้สิ้นไป และให้ธรรมที่เป็นกุศลถึงพร้อม แต่ไม่มีกล่าวถึงกับว่า สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเกิด เป็นต้น ; ผู้ทำการเสกเป่าพึงพิจารณาดูเถิด.--ในสูตรอื่นอีก (๒๔/๒๓๑/๑๐๗) ตรัสเรียกธรรมสิบประการในข้อความข้างบนนี้ว่า น้ำชำระกระดูกให้บริสุทธิ์ (โธวนํ) ตามประเพณีชาวบ้านที่เขาทำกันอยู่อย่างเป็นพิธีรีตองมาแต่โบราณ แต่น้ำชำระที่เป็นอริยะนี้สามารถชำระบาปอกุศลให้สิ้นไป ทำกุศลให้ถึงพร้อม และเป็นไปเพื่อรู้ยิ่งรู้พร้อม เพื่อนิพพาน และเมื่อสัตว์อาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา จะพ้นจากความเกิดเป็นต้น]. ธรรมเป็นเครื่องถอนอัส๎มิมานะในปัจจุบัน--ภิกษุ ท. ! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี (กลฺยาณมิตฺต) มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก) คือ จักเป็นผู้มีศีล--สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่ ;--ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ; กล่าวคือ กถาเป็นเครื่องขูดเกลาอย่างยิ่ง เป็นธรรมเครื่องสบายแก่การเปิดโล่งแห่งจิต ได้แก่อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร) สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ), เธอ จักเป็นผู้ได้โดยง่าย ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งกถาเช่นนี้ ;--ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ; กล่าวคือ จักเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เพื่อการละซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อการถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง (จิต) มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ;--ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ; กล่าวคือ จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ (อุทยตฺถคามินี) อันเป็นปัญญาที่เป็นอริยะ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งสิ้นทุกข์โดยชอบ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมห้าประการ๑ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ :---เจริญ อสุภะ เพื่อ ละ ราคะ ;--เจริญ เมตตา เพื่อ ละ พยาบาท ;--เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่ง วิตก ;--เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอน อัส๎มิมานะ.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีอนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา ย่อมตั้งมั่น ; ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงการถอนเสียได้ซึ่งอัส๎มิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรมเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/365/205
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๓๖๕/๒๐๕
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 439
ชื่อบทธรรม : -(เมื่ออ่านข้อความตอนนี้ ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงคำที่ตรัสว่า “ความมีมิตรดีเป็นทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์” อันเป็นข้อความที่ผ่านสายตากันบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยจะรู้ว่าหมายความว่าอย่างไร). สมาธิที่มีผลเป็นความไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย
เนื้อความทั้งหมด :-(เมื่ออ่านข้อความตอนนี้ ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงคำที่ตรัสว่า “ความมีมิตรดีเป็นทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์” อันเป็นข้อความที่ผ่านสายตากันบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยจะรู้ว่าหมายความว่าอย่างไร). สมาธิที่มีผลเป็นความไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย--พระอานนท์ ได้ทูลถามว่า “ มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่มีผลคือ ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ด้วย, ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ในนิมิตทั้งปวงในภายนอกด้วย, และเธอนั้นเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอัน ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ด้วย, พระเจ้าข้า !”--๑. คำว่า ๕ ประการ ในที่นี้ นับรวมทั้งความมีมิตรดี พวกพ้องดี เข้าด้วยอีกประการหนึ่ง ; ดูข้อความอันชัดเจนที่หัวข้อ ว่า “ วิธีบ่มวิมุตติให้ถึงที่สุด” ที่หน้า ๘๐๔ แห่งหนังสือนี้.--อานนท์ ! สมาธิที่ภิกษุได้แล้วมีผลเป็นอย่างนั้น มีอยู่.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สมาธิที่ภิกษุได้แล้วมีผลเป็นอย่างนั้น มีอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ความเพ่งเฉพาะของภิกษุในกรณีนี้ มีอยู่อย่างนี้ว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน (เย็น)” ดังนี้.--อานนท์ ! อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่มีผล คือ ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ ด้วย, ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ในนิมิตทั้งปวงในภายนอกด้วย, และเธอนั้นเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ด้วย.--อานนท์ ! ข้อนี้เรากล่าวอาศัยคำกล่าว ในการตอบปัญหาแก่ปุณณกมาณพ ในปารายนสมาคม ว่า :---“ท่านผู้ใด พิจารณาเห็นแล้ว ซึ่งสภาพยิ่งและหย่อนในโลก (ว่าเป็นของว่างเสมอกัน) ไม่มีความหวั่นไหวไปในอารมณ์ไหน ๆ ในโลกเลย, เป็นผู้รำงับสงบแล้ว ไม่มีกิเลสฟุ้งกลุ้มเหมือนควัน ไม่มีความทุกข์ความคับแค้นแล้ว เป็นผู้ไม่หวังอะไรแล้ว, เราตถาคตกล่าวผู้นั้น ว่าเป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งความเกิดและความแก่” ดังนี้แล.--(ข้อความแห่งคาถาข้างบนนี้ คือความหมายแห่งคำว่า “ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/168/471.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๖๘/๔๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 440
ชื่อบทธรรม : -นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง--ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี, โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี, ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ไม่มี, สุขอื่นนอกจาก ความสงบ (นิพพาน) ก็ไม่มี.--ความหิว เป็นเครื่องเสียบแทงอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ; เมื่อรู้ความข้อนั้น ตามที่เป็นจริงแล้ว ดับเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง.--ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง, ความคุ้นเคยกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/42/25.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๔๒/๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 441
ชื่อบทธรรม : -นิพพานเห็นได้ยากยิ่ง
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานเห็นได้ยากยิ่ง--ขึ้นชื่อว่า นิพพาน อันบุคคลเห็นได้ยาก, ไม่มีตัณหาเครื่องน้อมไป. เพราะว่านิพพานนั้น เป็นธรรมชาติจริงแท้, อันบุคคลเห็นไม่ได้ง่ายเลย. ตัณหา อันเราแทงตลอดแล้ว เพราะเรารู้อยู่ เห็นอยู่ จึงไม่มีกิเลสเครื่องกังวล, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/207/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 442
ชื่อบทธรรม : -พอนิพพานธรรมปรากฏก็หมดสงสัย
เนื้อความทั้งหมด :-พอนิพพานธรรมปรากฏก็หมดสงสัย--เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่, เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของผู้ปฏิบัติ--เพื่อหมดบาปนั้น ย่อมสิ้นไป โดยที่รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/74/38
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๗๔/๓๘
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 443
ชื่อบทธรรม : -เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่, เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาปนั้น ย่อมสิ้นไป โดยที่รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/74/39.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๗๔/๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 444
ชื่อบทธรรม : -เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่, เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ตั้งอยู่ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ส่องอากาศให้สว่าง ฉะนั้นแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/76/40.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๗๖/๔๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 445
ชื่อบทธรรม : -นิพพานเป็นที่มุ่งแสวงของผู้มองเห็นโทษในโลก
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานเป็นที่มุ่งแสวงของผู้มองเห็นโทษในโลก--ภิกษุ ท. ! การแสวงหาอย่างประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตนเองมี ความเกิด เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความเกิดเป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่เกิด อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--เมื่อตนเองมี ความแก่ เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความแก่เป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่แก่ อันเป็นธรรมเกษม จากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--เมื่อตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความเจ็บไข้ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--เมื่อตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความตายเป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความตาย อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--เมื่อตนเองมีความโศกเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความโศกเป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความโศก อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--เมื่อตนเองมีความเศร้าหมองรอบด้านเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความเศร้าหมองรอบด้านเป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพานอันไม่มีความเศร้าหมองรอบด้าน อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--ภิกษุ ท. ! แม้นี้ชื่อว่าเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/316/315.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๑๖/๓๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 446
ชื่อบทธรรม : -เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย สิ่งที่ตายจึงมีทางออก
เนื้อความทั้งหมด :-เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย สิ่งที่ตายจึงมีทางออก--ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาตํ) มิได้เป็น (อภูตํ) มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ) มิได้ถูกอะไรปรุง (อสงฺขตํ) นั้นมีอยู่.--ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำมิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฏอยู่. (ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายที่ตรัสไว้เป็นคาถา :-)--ใคร ๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของผุพัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.--ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น) นั้นเป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึง เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขารเป็นสุข, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/257/221.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๗/๒๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 447
ชื่อบทธรรม : -ไม่ถึงนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ไม่ถึงนิพพาน--เพราะพลัดออกนอกทางจนหลงทาง--“ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ทุก ๆ รูป ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ ? หรือว่าไม่ได้บรรลุ ?” พราหมณ์ผู้หนึ่งทูลถาม พระผู้มีพระภาค.--พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.--“พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่, หนทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่, พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่, ทำไมน้อยพวกที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ ?”--พราหมณ์ ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้, ท่านจงตอบตามควร. ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทางไปสู่เมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ? มีบุรุษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหาและกล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด”. ดังนี้ ; ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า “มาซิท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้านชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอันน่าสนุกจักเห็นภูมิภาคอันน่าสนุก สระโบกขรณีอันน่าสนุก ของเมืองราชคฤห์” ดังนี้. บุรุษนั้นอันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงกันข้ามไป, ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ำบอกพร่ำชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี. พราหมณ์เอย ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอกก็ยังตั้งอยู่ แต่ทำไม บุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง. ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี ?--“พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียง ผู้บอกทางเท่านั้น”--พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล, ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังคงตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่ ; แต่สาวกแม้เรากล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวก ที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ. พราหมณ์ ! ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะเราเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/85-87/101-103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๘๕-๘๗/๑๐๑-๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 448
ชื่อบทธรรม : -นิพพานของคนตาบอด (มิจฉาทิฏฐิ)
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานของคนตาบอด (มิจฉาทิฏฐิ)--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแต่ก่อน คือข้อที่พระสมณโคดมได้กล่าวคำนี้ว่า ‘ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง’ ดังนี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าก็ได้เคยฟังคำกล่าวนี้ ของปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์ แห่งอาจารย์ในกาลก่อน กล่าวอยู่ว่า ‘ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง’ ดังนี้ด้วยเหมือนกัน. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนี้ช่างตรงกันแท้”.--มาคัณฑิยะ ! ข้อนี้ท่านฟังมาแต่ปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์แห่งอาจารย์ในกาลก่อน ที่กล่าวอยู่ว่า “ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” ดังนี้นั้น อะไรเล่าคือความไม่มีโรคนั้น อะไรเล่าคือนิพพานนั้น ?--เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพพาชก ได้ลูบร่างกายของตนด้วยฝ่ามือ แล้วร้องขึ้นว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! นี่ยังไงล่ะ ความไม่มีโรค ! นี่ยังไงล่ะนิพพาน ! พระโคดมผู้เจริญ ! เวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นสุข ไม่มีโรค ไม่มีอาพาธไร ๆ”.--มาคัณฑิยะ ! ข้อนี้เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่อาจเห็นรูปดำขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีส้ม ไม่อาจเห็นที่ขรุขระไม่อาจเห็นดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์. เขาได้ยินคนตาดีกล่าวอยู่ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ”. บุรุษตาบอดนั้นก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว. บุรุษคนหนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำมันว่า “บุรุษผู้เจริญ ! นี้ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนัก สำหรับท่าน”. บุรุษตาบอดนั้น รับผ้านั้นไปห่ม แล้วเที่ยวประกาศความพอใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ” ดังนี้. มาคัณฑิยะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นรู้อยู่เห็นอยู่ แล้วรับเอาผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำมันไปห่ม แล้วเที่ยวคุยอวดอยู่ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ” ดังนี้หรือ ? หรือว่าเขากล่าวเช่นนั้นเพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขา ?--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เขากล่าวเช่นนั้น เพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขาเท่านั้น”--มาคัณฑิยะ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่นเป็นคนบอดไม่มีจักษุ ไม่รู้จักความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน ก็ยังมากล่าวคำนี้ว่า “ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง” ดังนี้.--มาคัณฑิยะ ! คาถานี้ เป็นคาถาที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายกล่าวกันแล้วในกาลก่อน ว่า :---“ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง, อัฎฐังคิกมรรค เป็นทางอันเกษมกว่าทางทั้งหลาย ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงอมตะ”--ดังนี้นั้น บัดนี้ ได้มากลายเป็นคาถาของบุถุชนกล่าวไปเสียแล้ว. มาคัณฑิยะ ! กายนี้นะหรือ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ, ท่านก็มากล่าวมันว่าเป็นความไม่มีโรค เป็นนิพพาน. มาคัณฑิยะเอ๋ย ! อริยจักษุสำหรับจะรู้จักความไม่มีโรค จะเห็นนิพพาน ของท่าน ไม่มี.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/281-283/287-288.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๘๑-๒๘๓/๒๘๗-๒๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 449
ชื่อบทธรรม : -(ปริพพาชกผู้นี้ สำคัญตัวเขาเองว่า เป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน ดังนั้นจึงต้องเรียกว่า นิพพานของคนตาบอด, เช่นเดียวกับคนตาบอดในอุปมานี้ สำคัญผ้าสกปรกว่าเป็นผ้าขาว ).
เนื้อความทั้งหมด :-(ปริพพาชกผู้นี้ สำคัญตัวเขาเองว่า เป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน ดังนั้นจึงต้องเรียกว่า นิพพานของคนตาบอด, เช่นเดียวกับคนตาบอดในอุปมานี้ สำคัญผ้าสกปรกว่าเป็นผ้าขาว ).--ไม่นิพพานเพราะยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขาว่า ‘ถ้าไม่ควรมี และไม่พึงมีแก่เรา, ก็ต้องไม่มีแก่เรา; สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราจะละสิ่งนั้นเสีย’ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุนั้นควรจะปรินิพพานหรือ ? หรือว่าไม่ควรจะปรินิพพานเล่า ? พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีเช่นที่กล่าวนี้ บางรูปจะปรินิพพาน, แต่บางรูปจะไม่ปรินิพพาน.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ภิกษุในกรณีเช่นที่กล่าวนี้ บางรูปจะปรินิพพาน แต่บางรูปจะไม่ปรินิพพาน เล่า ? พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขาว่า “ถ้าไม่ควรมี และไม่พึงมีแก่เรา, ก็ต้องไม่มีแก่เรา ; สิ่งใดมีอยู่, สิ่งใดมีแล้วเราจะละสิ่งนั้นเสีย” ดังนี้ ; ภิกษุ (บางรูป) นั้น ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น. เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น, วิญญาณของเธอ ก็เป็นธรรมชาติอาศัยอยู่ซึ่งอุเบกขานั้น มีอุเบกขานั้นเป็นอุปาทาน. อานนท์ ! ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานอยู่ จะปรินิพพานไม่ได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/78/89-90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๘/๘๙-๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 450
ชื่อบทธรรม : -การทำรถให้แล่นไปได้ถึงนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-การทำรถให้แล่นไปได้ถึงนิพพาน--“สรีรยนต์ มีสี่ล้อ, มีประตูเก้าประตู, เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ เกิดแล้วในเปือกตม. ข้าแต่พระองค์มหาวีระ ! ทำอย่างไร, จักถึงฝั่งโน้นได้ ?”--ตัดความผูกโกรธดังเชือกหนังที่รึงรัดเสีย, ตัดทิฏฐิดังเชือกที่ผูกล่ามเสีย, ตัดความอยากและความโลภอันลามกเสียแล้ว, ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก (อวิชชา) เสีย, สรีรยนต์ ก็จะแล่นไปถึงฝั่งโน้นด้วยการทำอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/23/74-75.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๒๓/๗๔-๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 451
ชื่อบทธรรม : -ถ้ายังมีเชื้อก็ยังไม่ปรินิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ถ้ายังมีเชื้อก็ยังไม่ปรินิพพาน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเล่า ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ยังไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบันนี้ ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเล่า ที่สัตว์ทั้งหลาย บางเหล่าในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบันนี้ ? พระเจ้าข้า !”--คฤหบดี ! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี ; อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. และภิกษุก็เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็อาศัยซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่ มีสิ่งนั้นแหละเป็นอุปาทาน.--คฤหบดี ! ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานอยู่ ย่อมไม่ปรินิพพาน.--คฤหบดี ! นี่แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบันนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/137/191.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๗/๑๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 452
ชื่อบทธรรม : -ถ้าหมดเชื้อก็ปรินิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ถ้าหมดเชื้อก็ปรินิพพาน--คฤหบดี ! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี,--โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี ; อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ; และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น, เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็ไม่อาศัยซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ไม่มีสิ่งนั้น ๆ เป็นอุปาทาน.--คฤหบดี ! ภิกษุผู้หมดอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.--คฤหบดี ! นี่แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย (ซึ่งด้วยความหมดอุปาทานนั่นแหละ) ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมจักปรินิพพานในปัจจุบันนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/138/192.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๘/๑๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 453
ชื่อบทธรรม : ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ; เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับเย็นแล้ว ที่ตา, ที่หู, ที่จมูก, ที่ลิ้น, ที่กาย, ที่ใจ ; ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าวว่าภิกษุ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรมนี้ นั่นแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/177/244.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๗/๒๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 26
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site