สัทธรรมลำดับที่ : 382
ชื่อบทธรรม : นิทเทศ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :นิทเทศ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา--(มี ๖๑ เรื่อง)--ทิฏฐิทัสสนะที่เป็นไปเพื่อทุกขนิโรธ--“พระโคดมผู้เจริญ ! ทิฏฐิคตะไร ๆ ของพระโคดม มีอยู่หรือ ?”--วัจฉะ ! สิ่งที่เรียกว่า “ทิฏฐิคตะ” นั้น ตถาคตนำออกหมดสิ้นแล้ว. วัจฉะ ! สัจจะที่ตถาคตเห็นแล้วนั่น มีอยู่ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, การเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้, การดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ; เวทนา เป็นอย่างนี้, การเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้. การดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ; สัญญา เป็นอย่างนี้, การเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้, การดับไปแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ; สังขาร เป็นอย่างนี้, การเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้, การดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ; วิญญาณ เป็นอย่างนี้” การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้, การดับไปแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้ ; เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ทั้งนี้เป็นเพราะความสิ้นไป ความจางคลาย ความดับไม่เหลือ ความสละ ความสลัดคืน ซึ่งความสำคัญหมายทั้งปวง ความต้องการทั้งปวง อหังการมมังการมานานุสัยทั้งปวง” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/244/247.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๔๔/๒๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 383
ชื่อบทธรรม : -“ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ
เนื้อความทั้งหมด :-“ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ--ภิกษุ ! สำหรับปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้เลย ; อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า :---“ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน ? ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ในที่ไหน ? นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้ต่างหาก.--ภิกษุ ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้ :---“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่ ; ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ; ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ ; ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ ; นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ; ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/289/348-350.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 384
ชื่อบทธรรม : -“ที่” ซึ่งธาตุสี่หยั่งลงไม่ถึง
เนื้อความทั้งหมด :-“ที่” ซึ่งธาตุสี่หยั่งลงไม่ถึง--“สระทั้งหลาย จะไหลกลับจากที่ไหน ? วัฏฏะ (วังวน) ย่อมไม่หมุน ในที่ไหน ? นามและรูปย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?--ในที่ใด, ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้, จากที่นั้นแหละ สระทั้งหลาย ย่อมไหลกลับ ; ในที่นั้นแหละ วัฏฏะย่อมไม่หมุน ; ในที่นั้นแหละ นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือ ; ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/22/70-71.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๒๒/๗๐-๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 385
ชื่อบทธรรม : -ที่เที่ยว นอกโลก
เนื้อความทั้งหมด :-ที่เที่ยว นอกโลก--พวกเทวดาทั้งหลาย ทั้งในชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวัตตี ล้วนแต่ถูกผูกมัดรัดรึงอยู่ด้วยเครื่องผูกคือ กามคุณ, ต้องกลับไปสู่อำนาจของมารอีก. โลกทั้งปวงร้อนเปรี้ยง. โลกทั้งปวงควันกลุ้ม. โลกทั้งปวงลุกโพลง ๆ, โลกทั้งปวงไหวโยกเยกอยู่. ที่ใด มีมารไปไม่ถึง ที่นั่นไม่หวั่นไหว ที่นั่น ไม่โยกเยก ที่นั่น ไม่ใช่ที่เที่ยวของบุถุชน. มารเอย, ใจเรายินดีในที่นั้นเสียแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/195/544.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๑๙๕/๕๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 386
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ไม่ปรุง(ข้อความนี้ เป็นเถรีภาษิต นำมาขยายความพุทธภาษิต).
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้ เป็นเถรีภาษิต นำมาขยายความพุทธภาษิต).--สิ่งที่ไม่ปรุง--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อวิชชาของภิกษุละขาดไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ; เธอนั้น เพราะอวิชชาจางหายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้นแทน ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันเป็นบุญนั่นเทียว, ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุงอันมิใช่บุญ, ย่อมไม่ปรุงเครื่อง ปรุงอันเป็นอเนญชา. เธอนั้น เมื่อไม่ปรุง เมื่อไม่ก่อ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆ--ในโลก. เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่เสียวสะดุ้ง. เมื่อไม่เสียวสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน. เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นเช่นนี้มิได้มีอีก” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/99/192.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๙๙/๑๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 387
ชื่อบทธรรม : -“สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้
เนื้อความทั้งหมด :-“สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้--“แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ; เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.--“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง, เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิท ไม่เหลือของโลก, และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/62/45.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๒/๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 388
ชื่อบทธรรม : -อาณาจักรแห่งโลกอุดร
เนื้อความทั้งหมด :-อาณาจักรแห่งโลกอุดร--ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด ; ในที่นั้นดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง ; ในที่นั้น, ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ ; ในที่นั้น, ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง ; แต่ความมืด ก็มิได้มีอยู่, ในที่นั้น.--ในกาลใด, มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ ได้รู้แจ่มแจ้ง (ในสิ่งที่กล่าวนี้) ด้วยตนเอง ด้วยความรู้ ; ในกาลนั้น, มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป ย่อมพ้นไปจากอรูป, ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์ โดยสิ้นเชิง, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/85/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๘๕/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 389
ชื่อบทธรรม : -เมื่อ “เธอ” ไม่มี !
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อ “เธอ” ไม่มี !--พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น, ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง, ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส, ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว ; เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี. เมื่อใด “เธอ” ไม่มี ; เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง : นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/83/49.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 390
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ไม่เต็มขึ้นหรือพร่องลง
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่ไม่เต็มขึ้นหรือพร่องลง--ภิกษุ ท. ! แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลไปยังมหาสมุทร. น้ำฝนที่ตกจากอากาศ, ก็ไหลไปยังมหาสมุทร, แต่ความลดหรือความเต็มของมหาสมุทร ย่อมไม่ปรากฏ (แก่ตา) ฉันใด ; ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากย่อมปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่ความลดหรือความเต็มขึ้นของนิพพานธาตุนั้น ก็ไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ข้อที่ ความลดหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ๆ ; นั่ น ก็เป็นความประหลาดมหัศจรรย์ข้อหนึ่ง ในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/155/118.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๑๕๗/๑๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 391
ชื่อบทธรรม : -ตรงกันข้ามไปเสียทุกอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ตรงกันข้ามไปเสียทุกอย่าง--ภิกษุ ท. ! “สิ่ง” สิ่งนั้นมีอยู่, เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม, ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ, ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น, ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในกรณีอันเกี่ยวกับ “สิ่ง” สิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา, ไม่กล่าวว่ามีการไป, ไม่กล่าวว่ามีการหยุด, ไม่กล่าวว่ามีการจุติ, ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่, สิ่งนั้นมิได้เป็นไป และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ ; นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/206/158.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๖/๑๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 392
ชื่อบทธรรม : -ที่สุดแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ที่สุดแห่งทุกข์--เมื่อสันดานยังเป็นสิ่งที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยอยู่ได้, ความหวั่นไหวก็ยังมีอยู่. เมื่อสันดานเป็นสิ่งที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ได้ ความหวั่นไหวก็ไม่อาจมี. เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ความรำงับแห่งจิตย่อมมี ; เมื่อความรำงับแห่งจิตมี ความน้อมไปทางใดทางหนึ่งของจิตย่อมไม่มี ; เมื่อความน้อมไปทางใด--ทางหนึ่งของจิตไม่มี การมาการไปก็ไม่มี ; เมื่อการมาการไปไม่มี การจุติและ การเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่มี. เมื่อการจุติและการเกิดขึ้นใหม่ไม่มี ก็ไม่มีการปรากฏ ในโลกนี้ ไม่มีการปรากฏในโลกอื่น ไม่มีการปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง : นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/208/161.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 393
ชื่อบทธรรม : -สิ่งนั้นมีแน่ !
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งนั้นมีแน่ !--ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกกระทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั้นมีอยู่. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้, ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏเลย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกกระทำมิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง จึงได้มีความรอดออกไปได้ ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง, ปรากฏอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/207/160.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๗/๑๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 394
ชื่อบทธรรม : -ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน”
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน”--นั่น สงบจริง ! นั่น ประณีตจริง !--ที่นี้เอง เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง, เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง, เป็นที่สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกำหนัด, เป็นที่ดับกิเลส. นี่คือนิพพาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/439/240.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๓๙/๒๔๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 395
ชื่อบทธรรม : ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน” ต่อ
เนื้อความทั้งหมด :ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสาณัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็น วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/344/214.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๔/๒๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 396
ชื่อบทธรรม : -ความไม่กังวล ความไม่ถือมั่น
เนื้อความทั้งหมด :-ความไม่กังวล ความไม่ถือมั่น นั่นแล คือ ธรรมอันเป็นเกาะไม่มีธรรมอื่นอีก. เรากล่าวธรรมนั้นว่า “นิพพาน” เป็นที่หมดสิ้น แห่งชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุคฺต. ขุ. 25/544/434.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุคฺต. ขุ. ๒๕/๕๔๔/๔๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 397
ชื่อบทธรรม : -เพราะละตัณหาได้ขาด ท่านกล่าวว่า “นิพพาน”
เนื้อความทั้งหมด :-เพราะละตัณหาได้ขาด ท่านกล่าวว่า “นิพพาน”--- สุคฺต. ขุ. ๒๕/๕๔๗/๔๓๗. - จุฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๑๖/๔๕๔.--ความดับด้วยความจางคลายโดยไม่เหลือ เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหาทั้งหลาย ด้วยประการทั้งปวง เป็น นิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/122/84.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๑๒๒/๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 398
ชื่อบทธรรม : ผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมยอดยิ่ง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมยอดยิ่ง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/40/24.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๔๐/๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 399
ชื่อบทธรรม : -นิพพานธาตุ
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานธาตุ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่พระองค์ทรงเรียกอยู่ว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ, เป็นที่กำจัดโทสะ, เป็นที่กำจัดโมหะ’ ดังนี้, คำว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ, เป็นที่กำจัดโทสะ, เป็นที่กำจัดโมหะ’ นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของอะไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คำว่า “ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ (ราควินโย) เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัดโมหะ” นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของนิพพานธาตุ ; เรียกว่าเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/10/31.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐/๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 400
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด--ภิกษุ ท. ! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.--ก. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ--ภิกษุ ท. ! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด, ภิกษุ ท. ! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.--ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ--ภิกษุ ท. ! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลกนี้เอง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.--( คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า :-)--นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือ นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ เป็นไปในทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ, และนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า (สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.--บุคคลเหล่าใด รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็นอสังขตบท เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นพิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ ; บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะการถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้วซึ่งภพทั้งปวง, ดังนี้.--เนื้อความแม้นี้ เป็นเนื้อความอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้, ดังนี้.--(ถ้อยคำในพากย์บาลี มีดังต่อไปนี้ :-)--เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา--นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา--เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา--สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา--อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา--ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส.--เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ--วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา--เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา--ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติ.--อยมฺปิ อตฺโถ วุตฺโต ภควตา อิติ เม สุตนฺติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/258-259/222.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘-๒๕๙/๒๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 401
ชื่อบทธรรม : -ความเคยชินในความรู้สึกต่ออารมณ์สำหรับจะรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ยังเหลืออยู่ จึงเรียกว่า สอุปาทิเสสะ
เนื้อความทั้งหมด :-(นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ เป็นนิพพานธาตุสำหรับพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ทั้งสองชนิด หากแต่ผู้บรรลุนิพพานธาตุชนิดสอุปาทิเสสะนั้น ระบบแห่งความรู้สึกทางอินทรีย์ห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของท่าน ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจนิพพานธาตุนั้น ความเคยชินในความรู้สึกต่ออารมณ์สำหรับจะรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ยังเหลืออยู่ จึงเรียกว่า สอุปาทิเสสะ - มีอุปาทิเหลืออยู่ นั่นคือดังข้อความข้อ ก. ; ส่วนพระอรหันต์จำพวกหลังนั้น ความเคยชินในความรู้สึกต่ออารมณ์ของอินทรีย์ทั้งห้า ถูกนิพพานธาตุอย่างที่สองกำจัดแล้วสิ้นเชิง เวทนาของท่านจึงเย็นสนิท ไม่รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จึงเรียกว่า อนุปาทิเสสะ - ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ ดังข้อความที่กล่าวแล้วในข้อ ข. หาใช่ต้องทำลายขันธ์ถึงมรณภาพไปไม่ เพราะบาลีมีอยู่อย่างชัดเจนว่า เวทนาเหล่านั้นดับเย็น (คือไม่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์) ในอัตภาพนี้หรือในโลกนี้เอง.--การที่มีผู้เข้าใจไปว่า นิพพานธาตุอย่างแรกเป็นของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และนิพพานธาตุอย่างหลังเป็นของพระอรหันต์ผู้ถึงแก่มรณภาพแล้วดังนี้นั้น คงจะเนื่องจากความเข้าใจผิดต่อคำบาลีสองคำ ในคาถาผนวกท้ายสูตรนั่นเอง คือคำว่า สมฺปรายิกา ซึ่งแปลกันว่าโลกหน้า หรือต่อตายแล้ว ซึ่งที่แท้แปลว่า ในเวลาถัด ๆ ไป ก็ได้, ส่วนคำว่า ทิฏฐธมฺมิกามีความหมายว่า ทันทีทันใดที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าในชาตินี้ ภพนี้เสมอไป.--ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ มีสำหรับพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงแต่ว่า พวกแรกนั้น อินทรีย์ยังรู้สึกต่อสุขและทุกข์ แม้จะไม่มีความยึดถือในเวทนานั้น, ส่วนพวกหลังนั้นไม่มีความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ จึงกล่าวว่าเวทนา เป็นของเย็น ในอัตภาพนี้ หรือในโลกนี้. ข้อนี้จะยุติเป็นอย่างไร ผู้ศึกษาจงพิจารณาดูเองเถิด).--อสังขตลักษณะ ๓ อย่าง--ภิกษุ ท. ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ :---๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ);--๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ) ;--๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺฺฺตํํปญฺญายติ).--ภิกษุ ท. ! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.--ภิกษุ ท. ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ :---๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ) ;--๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ) ;--๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ).--ภิกษุ ท. ! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/192/486-487.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๙๒/๔๘๖-๔๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 402
ชื่อบทธรรม : -ความดับเย็นของเวทนามีได้ แม้ในทิฏฐธรรมนี้
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับเย็นของเวทนามีได้ แม้ในทิฏฐธรรมนี้--วัปปะ ! เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม๑ ทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็น--๑. สตตวิหารธรรม ในที่นี้ หมายความว่า มีสติสัมปชัญญะติดต่อกันไป ในการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เกิดยินดียินร้ายขึ้นมาได้ อย่างติดต่อกัน ไม่มีเวลาเผลอ. เมื่อมีสติควบคุมสิ่งทั้งหกนี้ไว้ได้ อย่างติดต่อกันเช่นนี้ การเป็นอยู่อย่างนี้ ก็เรียกได้ว่า “สตตวิหารธรรม ๖ ประการ”.--รูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ....; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ....; ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ....; ถูกต้องสัมผัสผิวหนัง ด้วยผิวกายแล้ว ....; รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เธอย่อมรู้ชัดว่า “เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตภาพนี้๑ นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.--วัปปะ ! เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ). ลำดับนั้น บุรุษถือเอามาซึ่งจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน, ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด, ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก. บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ; ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ; ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ ; ครั้นจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด ; ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ; ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงทำให้เป็นผงเถ้าถ่าน ; ครั้นทำให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ. วัปปะ ! เงาอันใดที่อาศัยเสาสดมภ์, เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป--๑. การดับเย็นแห่งเวทนาในอัตภาพนี้ มีอธิบายอีกในหัวข้อว่า “การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสามแล้วดับเย็น” ที่หน้า ๗๘๗ แห่งหนังสือนี้.--เป็นธรรมดา, นี้ฉันใด ;--วัปปะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม ท. ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว....; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว....; ลิ้มรส ด้วยชิวหาแล้ว ....; ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยกายะแล้ว ....; รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เธอย่อมรู้ชัดว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/269/195.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๖๙/๑๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 403
ชื่อบทธรรม : -นิพพานคือ วิราคธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-นิพพานคือ วิราคธรรม--ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด, วิราคธรรม เรากล่าวว่า เป็นยอดของสังขตธรรม และอสังขตธรรมเหล่านั้นทั้งหมด. วิราคธรรมนั้นได้แก่ ธรรมอันเป็นที่สร่างแห่งความเมา, เป็นที่ขจัดความกระหาย, เป็นที่ถอนความอาลัย, เป็นที่ตัดวัฏฏะ (วน), เป็นที่สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกำหนัด, เป็นที่ดับกิเลส, นี่แลคือ นิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/298/270.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๙๘/๒๗๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 404
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ของนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ไวพจน์ของนิพพาน--(๓๒ คำ)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! นิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/741
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๑
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 405
ชื่อบทธรรม : - อสังขตะ (สิ่งที่ไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ (สิ่งที่ไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อสังขตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อสังขตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/441/674.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๔๑/๖๗๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 406
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนตะ (สิ่งซึ่งอะไร ๆ น้อมไปไม่ได้) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนตะ (สิ่งซึ่งอะไร ๆ น้อมไปไม่ได้) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/720.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 407
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาสวะ (สิ่งที่ไม่มีอาสวะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาสวะ (สิ่งที่ไม่มีอาสวะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาสวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/721.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 408
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สัจจะ (ของจริง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สัจจะ (ของจริง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สัจจะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สัจจะ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/722.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 409
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปาระ (ฝั่งนอก) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปาระ (ฝั่งนอก) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ปาระ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปาระ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/723.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 410
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปุณะ (ของละเอียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปุณะ (ของละเอียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! นิปุณะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปุณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/724.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 411
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทุททสะ (ของเห็นได้ยากอย่างยิ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทุททสะ (ของเห็นได้ยากอย่างยิ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สุทุททสะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทุททสะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/725.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 412
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อชัชชระ (ของที่ไม่คร่ำคร่า) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อชัชชระ (ของที่ไม่คร่ำคร่า) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น--ภิกษุ ท. ! อชัชชระ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อชัชชระ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/726.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 413
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ธุวะ (ของยั่งยืน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ธุวะ (ของยั่งยืน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ธุวะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ธุวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/727.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 414
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อปโลกินะ (เป้าที่หมาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อปโลกินะ (เป้าที่หมาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อปโลกินะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อปโลกินะ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/450/728.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๐/๗๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 415
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนิทัสสนะ (สิ่งที่ไม่แสดงตัว) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนิทัสสนะ (สิ่งที่ไม่แสดงตัว) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนิทัสสนะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนิทัสสนะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/729.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 416
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปปปัญจะ (สิ่งที่ไม่ถ่วงไว้ในโลกนี้) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปปปัญจะ (สิ่งที่ไม่ถ่วงไว้ในโลกนี้) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! นิปปปัญจะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปปปัญจะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/730.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 417
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สันตะ (สิ่งสงบระงับ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สันตะ (สิ่งสงบระงับ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สันตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สันตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/731.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 418
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อมตะ (สิ่งไม่ตาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อมตะ (สิ่งไม่ตาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อมตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อมตะ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/732.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 419
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปณีตะ (สิ่งประณีต) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปณีตะ (สิ่งประณีต) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ปณีตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปณีตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/733.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 420
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สิวะ (สิ่งที่เย็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สิวะ (สิ่งที่เย็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สิวะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สิวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/734.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 421
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เขมะ (ที่เกษม) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เขมะ (ที่เกษม) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! เขมะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เขมะ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/735.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 422
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตัณหักขยะ (ที่สิ้นตัณหา) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตัณหักขยะ (ที่สิ้นตัณหา) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ตัณหักขยะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตัณหักขยะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/736.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 423
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัจฉริยะ (สิ่งน่าอัศจรรย์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัจฉริยะ (สิ่งน่าอัศจรรย์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อัจฉริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัจฉริยะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/737.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 424
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อัพภุตะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพภุตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/451/738.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 425
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกะ (สิ่งที่ไม่มีเสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกะ (สิ่งที่ไม่มีเสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนีติกะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/739.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 426
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกธัมมะ (ธรรมที่ไม่เสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกธัมมะ (ธรรมที่ไม่เสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนีติกธัมมะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกธัมมะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/740.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 427
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพ๎ยาปัชฌะ (สิ่งที่ไม่เบียดเบียนสัตว์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพ๎ยาปัชฌะ (สิ่งที่ไม่เบียดเบียนสัตว์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อัพ๎ยาปัชฌะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพ๎ยาปัชฌะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/742.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 428
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง วิราคะ (ที่คลายกำหนัด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง วิราคะ (ที่คลายกำหนัด) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! วิราคะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า วิราคะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/743.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 429
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทธิ (สิ่งบริสุทธิ์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทธิ (สิ่งบริสุทธิ์) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สุทธิ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/744.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 430
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มุตติ (ความพ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มุตติ (ความพ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! มุตติ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า มุตติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/745.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 431
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาลยะ (สิ่งที่ไม่เป็นอาลัย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาลยะ (สิ่งที่ไม่เป็นอาลัย) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนาลยะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาลยะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/746.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 432
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ทีปะ (เกาะที่พ้นน้ำ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ทีปะ (เกาะที่พ้นน้ำ) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ทีปะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ทีปะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/757.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 433
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เลณะ (ที่ซ่อน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เลณะ (ที่ซ่อน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! เลณะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เลณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/452/748.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 434
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตาณะ (ที่ป้องกัน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตาณะ (ที่ป้องกัน) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ตาณะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตาณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/453/749.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๓/๗๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 435
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สรณะ (ที่พึ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สรณะ (ที่พึ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สรณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/453/750.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๓/๗๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 436
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปรายนะ (ที่สุดทาง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปรายนะ (ที่สุดทาง) แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ปรายนะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;--ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปรายนะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/453/751.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๓/๗๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 25
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site