สัทธรรมลำดับที่ : 360
ชื่อบทธรรม : -ละกิเลสตัณหาได้ คือละเบญจขันธ์ได้
เนื้อความทั้งหมด :-ละกิเลสตัณหาได้ คือละเบญจขันธ์ได้--ภิกษุ ท.! ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี ความกำหนัด (ราคะ) ก็ดี ความเพลิน (นันทิ) ก็ดี ตัณหาก็ดี มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ใดๆ, พวกเธอทั้งหลาย จงละกิเลสนั้นๆเสีย. ด้วยการทำอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ นั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวกเธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดเสียแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/236/375.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๖/๓๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 361
ชื่อบทธรรม : -ราธะ ! ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความเพลินก็ดี ตัณหาก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุให้เข้าไปสู่ภพ) ก็ดี และอุปาทานก็ดี อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิต มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใด ๆ ; พวกเธอทั้งหลายจงละกิเลสนั้นๆเสีย. ด้วยการทำอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวก
เนื้อความทั้งหมด :-ราธะ ! ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความเพลินก็ดี ตัณหาก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุให้เข้าไปสู่ภพ) ก็ดี และอุปาทานก็ดี อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิต มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใด ๆ ; พวกเธอทั้งหลายจงละกิเลสนั้นๆเสีย. ด้วยการทำอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวก--เธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดขาดเสียแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/237/376.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๗/๓๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 362
ชื่อบทธรรม : -ละฉันทราคะแห่งสิ่งใด ก็คือการละซึ่งสิ่งนั้น
เนื้อความทั้งหมด :-ละฉันทราคะแห่งสิ่งใด ก็คือการละซึ่งสิ่งนั้น--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่ง รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ก็ไม่ควรแก่ความสิ้นไป แห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้ยิ่ง เมื่อรู้รอบ เมื่อคลายกำหนัด เมื่อละขาด ซึ่ง รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ก็ควรแก่ความสิ้นไป แห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เสีย ; ด้วยการกระทำอย่างนี้ เป็นอันว่า รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ นั้น เป็นสิ่งที่เธอละขาดแล้ว มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ สํ. 17/33/56-58.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ สํ. ๑๗/๓๓/๕๖-๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 363
ชื่อบทธรรม : -(ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย ; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย ; คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).--ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ, เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น ๆ, เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้.--ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เล่นเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินอยู่, ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ; ตราบนั้นพวกเด็กน้อยนั้น ๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้.--ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เหล่านั้น มีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีความเร่าร้อนไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น, ในกาลนั้นแหละพวกเขาย่อมทำเรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย, อุปมานี้ฉันใด ;--ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. จงขจัดเสียให้ถูกวิธี, จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี, จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี, จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.--ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือนิพพาน ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/232/367.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 364
ชื่อบทธรรม : -ที่สุดของพรหมจรรย์ คือนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ที่สุดของพรหมจรรย์ คือนิพพาน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘มาร มาร’ ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า จึงถูกเรียกว่า มาร พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมีอยู่, จะพึงมีมาร, มีผู้ให้ตาย หรือว่าผู้ตาย.--ราธะ ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอจงเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่า ‘เป็นมาร’ เห็นว่าเป็น ‘ผู้ให้ตาย’ เห็นว่า ‘ผู้ตาย’ เห็นว่า ‘เป็นโรค’ เห็นว่า ‘เป็นหัวฝี’ เห็นว่า ‘เป็นลูกศร’ เห็นว่า ‘เป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘เป็นทุกข์ที่เกิดแล้ว’ ดังนี้. พวกใดย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้น ด้วยอาการอย่างนี้, พวกนั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นโดยชอบ แล.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัมมาทัสสนะ(การเห็นโดยชอบ) มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! สัมมาทัสสนะ มีนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! นิพพิทาแล มีวิราคะ (ความจางคลายไป) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็วิราคะ มีอะไรเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! วิราคะแล มีวิมุตติ (ความหลุดพ้น) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็วิมุตติ มีอะไรเป็นประโยชน์ ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! วิมุตติแล มีนิพพานเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็นิพพาน มีอะไรเป็นประโยชน์ ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! เธอได้ถามเลยปัญหาเสียแล้ว, เธอไม่อาจจะจับฉวยเอาที่สุดของปัญหาได้.--ราธะ ! ด้วยว่า พรหมจรรย์ ที่ประพฤติกันอยู่นี้แล ย่อมหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุดท้าย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/231/366.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๑/๓๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 365
ชื่อบทธรรม : -ความไม่เพลินในอายตนะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความไม่เพลินในอายตนะ--คือความหลุดพ้นจากทุกข์--ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใด ย่อมไม่เพลินกะตา, ไม่เพลินกะหู, ไม่เพลินกะจมูก, ไม่เพลินกะลิ้น, ไม่เพลินกะกาย, ไม่เพลินกะใจ แล้วไซร้ ; ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์ ; เรากล่าวว่า ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/16/19.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 366
ชื่อบทธรรม : ส่วนผู้ใดแล ย่อมไม่เพลิดเพลินกะรูป
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใดแล ย่อมไม่เพลิดเพลินกะรูป, ไม่เพลิดเพลินกะเสียง, ไม่เพลิดเพลินกะกลิ่น, ไม่เพลิดเพลินกะรส, ไม่เพลิดเพลินกะโผฏฐัพพะ, ไม่เพลิดเพลินกะธรรมารมณ์ แล้วไซร้ ; ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์ ; เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/16/20.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 367
ชื่อบทธรรม : -หลุดพ้นจากทุกข์ เพราะไม่เพลิดเพลินในเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-หลุดพ้นจากทุกข์ เพราะไม่เพลิดเพลินในเบญจขันธ์--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในรูป, ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในเวทนา, ผู้นั้น เท่ากับ ไม่--เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสัญญา, ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสังขาร, ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในวิญญาณ, ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/39/65.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๙/๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 368
ชื่อบทธรรม : -ความดับของอายตนะ คือ ความดับของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับของอายตนะ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท. ! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งตา แห่งหู แห่งจมูก แห่งลิ้น แห่งกาย แห่งใจ ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับแห่งทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/283/480
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๓/๔๘๐
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 369
ชื่อบทธรรม : -ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน”
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน”--นั่น สงบจริง ! นั่น ประณีตจริง !--ที่นี้เอง เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง, เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง, เป็นที่สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกำหนัด, เป็นที่ดับกิเลส. นี่คือนิพพาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/17/21.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗/๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 370
ชื่อบทธรรม : ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งรูป แห่งเสียง แห่งกลิ่น แห่งรส แห่งโผฏฐัพพะ แห่งธรรมารมณ์ ใด ๆ ; อันนั้นแหละ เป็นความดับแห่งทุกข์, อันนั้นแหละ เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/284/482.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๔/๔๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 371
ชื่อบทธรรม : ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งรูป แห่งเสียง แห่งกลิ่น แห่งรส แห่งโผฏฐัพพะ แห่งธรรมารมณ์ ใด ๆ ; อันนั้นแหละ เป็นความดับแห่งทุกข์, อันนั้นแหละ เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/17/23.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗/๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 372
ชื่อบทธรรม : -ความรู้ที่ถึงขั้นทำลายตัณหาแห่งกามคุณในอดีต
เนื้อความทั้งหมด :-ความรู้ที่ถึงขั้นทำลายตัณหาแห่งกามคุณในอดีต--มาคัณฑิยะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คนบางคนในโลกนี้ เคยได้รับการบำรุงบำเรอด้วยรูปทางตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มาแล้ว ; ครั้นสมัยอื่นอีก เขามารู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบายเครื่องออก แห่งรูปทั้งหลาย นั่นเทียว แล้วละเสียซึ่งตัณหาในรูป บรรเทาเสียซึ่งความเร่าร้อนในรูป ปราศจากความกระหาย เป็นผู้มีจิตสงบแล้วในภายใน อยู่. มาคัณฑิยะ ! ท่านมีอะไรที่จะกล่าวปรารภบุคคลคนนี้บ้างไหม ? “ไม่มีเลย พระเจ้าข้า !”--(ต่อไปนี้ ได้มีการถาม-ตอบ ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ โดยทำนอง เดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/273/280.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๗๓/๒๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 373
ชื่อบทธรรม : -ความปลอดจากกามโยคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความปลอดจากกามโยคะ--ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากกิเลส อันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความปลอดจากกามโยคะ, ความปลอดจากภวโยคะ, ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ, ความปลอดจากอวิชชาโยคะ.--ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากกามโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งโทษแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากกามทั้งหลายด้วย ; เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น, ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความเสน่หาในกาม ความสยบอยู่ในกาม ความหิว กระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความเมาหมกในกาม และกามตัณหา, ในกามทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากกามโยคะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/14/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 374
ชื่อบทธรรม : -ความปลอดจากภวโยคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความปลอดจากภวโยคะ--ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากภวโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งโทษแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปจากภพทั้งหลายด้วย ;--เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น, ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความเสน่หาในภพ ความสยบอยู่ในภพ ความหิวกระหายในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความเมาหมกในภพ และภวตัณหา, ในภพทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากภวโยคะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/14/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๔/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 375
ชื่อบทธรรม : -ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ--ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ; ซึ่งโทษแห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปจากทิฏฐิทั้งหลายด้วย ; เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น, ความกำหนัดในทิฏฐิ ความเพลิดเพลินในทิฏฐิ ความเสน่หาในทิฏฐิ ความสยบอยู่ในทิฏฐิ ความหิวกระหายในทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความเมาหมกในทิฏฐิ และตัณหาทางทิฏฐิ, ในทิฏฐิทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/15/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 376
ชื่อบทธรรม : -ความปลอดจากอวิชชาโยคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความปลอดจากอวิชชาโยคะ--ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งความดับไปแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่ง--รสอร่อยแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งโทษแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งอุบายเครื่องพ้นไปจากผัสสายตนะหกด้วย ; เมื่อเขารู้ชัดตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น, อวิชชาและอัญญาณใด ๆ ในผัสสายตนะหก อวิชชาและอัญญาณนั้น ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความปลอดภัยจากอวิชชาโยคะ.--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละจึงรวมเป็น การไม่ประกอบอยู่ด้วยกามโยคะ ๑ การไม่ประกอบอยู่ด้วยภวโยคะ ๑ การไม่ประกอบอยู่ด้วยทิฏฐิโยคะ ๑ และการไม่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชาโยคะ ๑.--ภิกษุ ท. ! บุคคลไม่ประกอบด้วยกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพโดยเด็ดขาด อันเป็นอกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุให้มีภพใหม่ อันกระสับกระส่าย มีผลเป็นทุกข์ มีชาติชราและมรณะต่อไป ; เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า “ผู้มีปกติเกษมจากโยคะ (โยคกฺเขมี)” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความปลอดจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพ ๔ อย่าง แล.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--สัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมแล้วด้วยกามโยคะ ด้วยภวโยคะ ด้วยทิฏฐิโยคะ และถูกอวิชชากระทำในเบื้องหน้าแล้ว, มีปกติไปสู่ชาติและมรณะ ; ย่อมไปสู่สังสารวัฏ.--ส่วนสัตว์เหล่าใดรอบรู้แล้ว ซึ่งกามและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง, ถอนขึ้นได้แล้วซึ่งทิฏฐิโยคะ, และพราก--ออกได้โดยเด็ดขาดซึ่งอวิชชา, สัตว์เหล่านั้นแล ไม่ประกอบแล้วด้วยกิเลสอันประกอบสัตว์ไว้ในภพทั้งปวง, เป็นมุนี ล่วงเสียได้ซึ่งโยคะกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ; ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/15/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 377
ชื่อบทธรรม : -เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์
เนื้อความทั้งหมด :-เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดหนอ ยังเป็นผู้มีความพอใจ ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ยังมีความยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ยังตามประกอบซึ่งความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ยังมีความพอใจในคณะ ยังยินดีในคณะ ยังตามประกอบซึ่งความพอใจในคณะ ; ภิกษุนั้น จักมาเป็นผู้อยู่เดี่ยวโดด อภิรมย์ในความสงบสงัด ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่ออยู่เดี่ยวโดดไม่ได้และไม่อภิรมย์ในความสงัดอยู่ ยังจักสามารถถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิต ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่อาจถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิต แต่ยังจักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ ดังนี้, ข้อนี้ เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้แล้วจักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้,-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/471/339.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๑/๓๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 378
ชื่อบทธรรม : -(ปฏิปักขนัย)
เนื้อความทั้งหมด :-(ปฏิปักขนัย)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่เป็นผู้มีความพอใจ ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่มีความยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่ตามประกอบซึ่งความพอใจในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ, ไม่มีความพอใจในคณะ ไม่ยินดีในคณะ ไม่ตามประกอบซึ่งความพอใจในคณะ ; ผู้เดี่ยวโดดนั้น จักอภิรมย์ในความสงบสงัดอยู่ได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ; ผู้เดี่ยวโดด เมื่ออภิรมย์ในความสงบสงัดอยู่ จักถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิตได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ; เมื่อถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิตได้อยู่ จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ; เมื่อทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ ได้แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ; เมื่อทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ; เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/472/339.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๒/๓๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 379
ชื่อบทธรรม : -ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดยเด็ดขาด
เนื้อความทั้งหมด :-ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดยเด็ดขาด--ภิกษุ ท. ! อนุสัยมี ๗ อย่างเหล่านี้. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ? เจ็ดอย่างคือ อนุสัยคือกามราคะ ๑ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑ อนุสัยคือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัยคืออวิชชา ๑. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ อนุสัย ๗ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัย ๗ อย่าง. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ?--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือกามราคะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือปฏิฆะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือทิฏฐิ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือวิจิกิจฉา, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือมานะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือภวราคะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา, ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัย ๗ อย่างเหล่านี้แล.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อนุสัยคือกามราคะก็ดี, อนุสัยคือปฏิฆะก็ดี, อนุสัยคือทิฏฐิก็ดี, อนุสัยคือวิจิกิจฉาก็ดี, อนุสัยคือมานะก็ดี, อนุสัยคือภวราคะก็ดี, และอนุสัยคืออวิชชาก็ดี, เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว มีรากเง่าอันตัดขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไป ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้น, ภิกษุนี้ เราเรียกว่า “ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสัญโญชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/8-9/11-12.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๘-๙/๑๑-๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 380
ชื่อบทธรรม : -(ความมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์ในสูตรนี้ ทรงแสดงว่า เพื่อละเสียซึ่งอนุสัยเจ็ด; ในสูตรอื่น (๒๓/๗-๘/๘-๙) ทรงแสดงว่าเพื่อตัดเสียซึ่งสังโยชน์เจ็ด ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “สังโยชน์เจ็ด” ที่หน้า ๓๘๘ แห่งหนังสือนี้. )
เนื้อความทั้งหมด :-(ความมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์ในสูตรนี้ ทรงแสดงว่า เพื่อละเสียซึ่งอนุสัยเจ็ด; ในสูตรอื่น (๒๓/๗-๘/๘-๙) ทรงแสดงว่าเพื่อตัดเสียซึ่งสังโยชน์เจ็ด ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “สังโยชน์เจ็ด” ที่หน้า ๓๘๘ แห่งหนังสือนี้. )--เห็นโลกก็เห็นเหมือนเห็นฟองน้ำและพยับแดด--บุคคลพึงเห็นฟองน้ำ ฉันใด. พึงเห็นพยับแดด ฉันใด, พญามัจจุราช จักไม่เห็นผู้ที่พิจารณาเห็นโลก ฉันนั้นอยู่ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/38/23.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๓๘/๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 381
ชื่อบทธรรม : -เห็นโลกชนิดที่ความตายไม่เห็นเรา
เนื้อความทั้งหมด :-เห็นโลกชนิดที่ความตายไม่เห็นเรา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพฤษี ! ....ข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร ความตายจึงไม่แลเห็นข้าพระองค์เล่า ? พระเจ้าข้า !”--ดูก่อนโมฆราช ! ท่านจงเป็นคนมีสติ ถอนความตามเห็นว่าเป็นตัวตนออกเสีย พิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของว่างเปล่าทุกเมื่อเถิด. ท่านจะพึงข้ามความตายเสียได้ ด้วยข้อปฏิบัติอย่างนี้, ความตายจะไม่แลเห็นท่าน ผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่ โดยอาการอย่างนี้ แล.--- สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๔๙/๔๓๙. - จูฬนิ. ขุ. ๓๐/๒๔๕/๔๙๙, ๕๐๔.--การดับทุกข์สิ้นเชิง--ไม่เนื่องด้วยอิทธิวิธี แม้กระทั่งวิโมกข์ที่ไม่เกี่ยวกับการสิ้นอาสวะ--(นักบวชเดียรถีย์อื่น ชื่อ สุสิมะ หาอุบายเข้ามาบวชในพุทธศาสนา เพื่อจะบรรลุคุณวิเศษสำหรับนำเอาไปทำให้คณะของตัวเจริญรุ่งเรืองด้วยลาภยศสักการะ เหมือนสังฆบริษัทของพระพุทธองค์ ; ครั้นบวชแล้ว ได้เข้าไปหาพวกภิกษุปัญญาวิมุตต์ โดยคิดว่าภิกษุพวกนี้ มีอภิญญาทั้งหก เมื่อได้ทราบว่าภิกษุพวกนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอภิญญาทั้งหก และได้รับบอกเล่าว่าความเป็นอริยะบุคคลไม่--เนื่องด้วยอภิญญาทั้งหก ก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซักไซ้ถึงเรื่องอภิญญาทั้งหก ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างจำเป็นกับความสิ้นอาสวะตามความเชื่อของเขาหรือไม่. พระพุทธองค์ได้ทรงใช้วิธีทำให้เขาเกิดธัมมฐิติญาณและนิพพานญาณ โดยทรงนำเอาเรื่องเบญจขันธ์ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ควรเห็นว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นอัตตาของเรา จนเป็นธัมมฐิติญาณขึ้นมาก่อน จนกระทั่งจิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้น และรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อันเป็นนิพพานญาณ ตามนัยแห่งอนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หรืออาจจะหาอ่านดูได้จากที่ทั่วไป และเมื่อนักบวชชื่อสุสิมะนั้น เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ในเรื่องความดับทุกข์หรือความสิ้นอาสวะนั้น ว่าเป็นไปได้ตามเหตุตามปัจจัยของมันเอง และเมื่อนักบวชชื่อสุสิมะเห็นชัดในความจริงข้อนี้แล้ว จึงตรัสแก่เขาต่อไปว่า:- )--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ชรามรณะ มี เพราะชาติเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ชาติ มี เพราะภพเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ภพ มี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า อุปาทาน มีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ตัณหา มี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า เวทนา มี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ผัสสะ มี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า สฬายตนะ มี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า นามรูป มี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า วิญญาณ มี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า สังขาร ทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--(ต่อไปได้ตรัสชักนำให้เห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร โดยรูปแบบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกับข้อความข้างบนนี้ ครบทั้ง ๑๑ อาการ แล้วได้ตรัสว่า :-)--สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี อิทธิวิธี มีอย่างต่าง ๆ อยู่อีกหรือ คือคนเดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ....ฯลฯ....๑ และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี ทิพพโสต อยู่อีกหรือ คือมีโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ....ฯลฯ....๑ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี--๑. ลักษณะแห่งอภิญญาแต่ละอย่าง ๆ โดยละเอียด ออกจะยืดยาว ในที่นี้นำมาใส่ไว้แต่โดยย่อพอ เป็นเครื่องสังเกต ผู้ปรารถนาจะทราบโดยละเอียด พึงดูได้ที่หัวข้อว่า “ธรรมธาตุต่างๆ ที่เป็นผล ของสมถวิปัสสนาอันดับสุดท้าย” ที่หน้า ๔๙๕ แห่งหนังสือนี้.--เจโตปริยญาณ อยู่อีกหรือ คือกำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่น ....ฯลฯ....๑ จิตไม่หลุดพ้นว่าไม่หลุดพ้น ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อยู่อีกหรือ คือระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนมีอย่างต่าง ๆ ....ฯลฯ....๑ พร้อมทั้งอาการและอุทเทศ ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี ทิพพจักขุญาณ อยู่อีกหรือ คือ มีจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ ....ฯลฯ....๑ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี อารุปปวิโมกข์ อยู่อีกหรือ คือ วิโมกข์เหล่าใด อันสงบรำงับ เป็นอรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ เธอถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ดังนี้. “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”--สุสิมะ ! คราวนี้, คำพูดอย่างโน้นของเธอกับการที่ (เธอกล่าวบัดนี้ว่า) ไม่ต้องมีการบรรลุถึงอภิญญาธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ก็ได้, ในกรณีนี้ นี้เราจะว่า อย่างไรกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/153-155/294-302.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕๓-๑๕๕/๒๙๔-๓๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 24
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site