สัทธรรมลำดับที่ : 333
ชื่อบทธรรม : -รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับอาสวะ
เนื้อความทั้งหมด :-รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับอาสวะ--ภิกษุ ท. ! ที่เรากล่าวว่า “อาสวะ นิทานสัมภวะแห่งอาสวะ เวมัตตตาแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ นิโรธแห่งอาสวะ ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึงอาสวะไหนกันเล่า ? ภิกษุ ท. ! อาสวะ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.--ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นนิทานสัมภวะแห่งอาสวะ.--ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อาสวะนำไปสู่นรกก็มี อาสวะนำไปสู่กำเนิดเดรัจฉานก็มี อาสวะนำไปสู่เปรตวิสัยก็มี อาสวะนำไปสู่มนุสสโลกก็มี อาสวะนำไปสู่เทวโลกก็มี. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตตาแห่งอาสวะ.--ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถึงซึ่งอวิชชาแล้ว เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากอวิชชานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น๑ เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญก็ดี มีส่วนแห่งอบุญก็ดี. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ.--ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งอาสวะมี เพราะความดับแห่งอวิชชา. อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น--๑. ข้อความนี้ใช้ได้ทั้งภาษาคนและภาษาธรรม : ภาษาคนก็คือเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ดังที่ทราบกันอยู่; ถ้าเป็นภาษาธรรมก็คือ อัตภาพปัจจุบันของเขานั้นเกิดเปลี่ยนเป็นบุญหรือบาป ตามสมควรแก่อุปาทานที่เกิดขึ้นจากอวิชชานั้นๆ โดยที่ยังไม่ต้องตาย; ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ศึกษาจะถือเอาความหมายไหน.--ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่า เป็นนิโรธแห่งอาสวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/462-463/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๒-๔๖๓/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 334
ชื่อบทธรรม : -เหตุให้อาสวะเจริญและไม่เจริญ
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุให้อาสวะเจริญและไม่เจริญ--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ ขยะแขยงต่อสิ่งที่ไม่ควรขยะแขยง บุคคลผู้ ไม่ขยะแขยงต่อสิ่งที่ควรขยะแขยง. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/353.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 335
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/355.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 336
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าอาบัติในสิ่งที่มิใช่อาบัติ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่อาบัติในสิ่งที่เป็นอาบัติ. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/357.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 337
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าธรรมในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่ธรรมในสิ่งที่เป็นธรรม. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/108/359.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๘/๓๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 338
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้สำคัญว่า ไม่ใช่วินัยในสิ่งที่เป็นวินัย.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้สำคัญว่า ไม่ใช่วินัยในสิ่งที่เป็นวินัย.--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก ๆ เหล่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/108/361.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๘/๓๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 339
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ ไม่ขยะแขยงต่อสิ่งที่ไม่ควรขยะแขยง บุคคลผู้ ขยะแขยงสิ่งที่ควรขยะแขยง. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/354.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 340
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควร บุคคล ผู้สำคัญว่าควรในสิ่งที่ควร. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/356.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 341
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่อาบัติในสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติ บุคคลผู้ สำคัญว่าอาบัติในสิ่งที่เป็นอาบัติ. ...-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/107/358.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๗/๓๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 342
ชื่อบทธรรม : อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่ธรรม ในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม บุคคลผู้ สำคัญว่าธรรมในสิ่งที่เป็นธรรม. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/108/360.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๘/๓๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 343
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่วินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่งที่เป็นวินัย.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่วินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่งที่เป็นวินัย.--ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก ๆ เหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -ทุก. อํ. 20/108/362.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -ทุก. อํ. ๒๐/๑๐๘/๓๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 344
ชื่อบทธรรม : -เหตุให้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุให้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ?”--ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! รูป ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ มีอยู่, เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ถ้าว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้ ; เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น, วิญญาณนั้น เป็นวิญญาณอันตัณหา--ในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว วิญญาณนั้นคืออุปาทาน.๑ ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.--(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ กลิ่น ที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รส ที่จะพึงรู้สึกด้วยชิวหา สัมผัสทางผิวหนัง ที่จะพึงรู้สึกด้วยกายะ(ผิวกายทั่วไป) และธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้สึกด้วยมนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ข้างบนนั้น).--ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/128/178.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๒๘/๑๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 345
ชื่อบทธรรม : -บุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-บุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อม ไม่รู้จักรูป, ไม่รู้จัก เหตุให้เกิดของรูป, ไม่รู้จัก ความดับไม่เหลือของรูป, ไม่รู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป ; เขาย่อมไม่รู้จัก เวทนา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา; เขาย่อมไม่รู้จัก สัญญา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ--๑. วิญญาณในที่นี้ หมายถึงมโนวิญญาณที่รู้สึกต่อความเพลินและความมัวเมาในรูปนั้น; ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา.--ไม่เหลือของสัญญา ; เขาย่อมไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ; เขาย่อมไม่รู้จัก วิญญาณ, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า “อวิชชา” ; และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/198/300.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 346
ชื่อบทธรรม : -อวิชชา ของผู้ถึงซึ่งอวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-อวิชชา ของผู้ถึงซึ่งอวิชชา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา” ดังนี้ ; ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้ ; ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้. ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้ เราเรียกว่า อวิชชา ; และบุคคลชื่อว่าเป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/209/320.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๙/๓๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 347
ชื่อบทธรรม : -ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรละ
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรละ--ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ:- ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้มีอยู่, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละ มีอยู่. .... ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจคือ ทุกข์ ; อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละนั้น ได้แก่ อริยสัจคือ เหตุให้เกิดทุกข์. ....--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตาที่เป็นจริง ว่า ‘ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ’, ดังนี้ ; ว่า ‘เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ’ ; .... ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1709
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 348
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๘
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๘--ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย--จบ--ภาค ๒--ว่าด้วยทุกขสมุทยอริยสัจ--ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--____________--ภิกษุ ท.! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า--“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์--นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ. โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว,--ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล--อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,--กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.--พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,--อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร. สํ. - สฬา.สํ.)--ภาค ๓--ว่าด้วย--นิโรธอริยสัจ--ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์--ภาค ๓--มีเรื่อง :-นิทเทศ ๙ ว่าด้วยเรื่องความดับแห่งตัณหา ๒๙ เรื่อง--นิทเทศ ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับตัณหา ๖๑ เรื่อง--นิทเทศ ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา ๑๐๖ เรื่อง--นิทเทศ ๑๒ ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา ๖๑ เรื่อง--อริยสัจจากพระโอษฐ์--ภาค ๓--ว่าด้วย--นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ--คือความดับไม่เหลือของทุกข์--(มี ๔ นิทเทศ)--อุทเทศแห่งนิโรธอริยสัจ--ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น, ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด ; อันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/534/1681.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๘๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 349
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งนิโรธอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งนิโรธอริยสัจ--____________--นิทเทศ ๙ ว่าด้วยความดับแห่งตัณหา--(มี ๒๙ เรื่อง)--ที่ละไปดับไป แห่งตัณหา--ภิกษุ ท.! ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไปในที่ไหน ? เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในที่ไหน ?--ภิกษุ ท.! สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ,--ภิกษุ ท.! สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ?--ภิกษุ ท.! ตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, หู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, จมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, กาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! รูป ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เสียงทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, กลิ่นทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, รสทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, โผฏฐัพพะทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดี--ในโลก; ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไปในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับไปย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! วิญญาณทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัสทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัสทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัสทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัสทางกายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัสทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับ ย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! ความหมายรู้ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความ--หมายรู้ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ,--ภิกษุ ท.! ความคิดนึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึกในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึกในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึกในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! ตัณหาในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหาในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหาในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก, ตัณหาในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหาในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหาในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับ ย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! ความตริตรึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึกในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึกในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึกในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท.! ความตริตรองในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในกลิ่น--มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ,-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/346/298.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๖/๒๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 350
ชื่อบทธรรม : -ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ--ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ; ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มี รูป เป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.--ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม.14/482/756.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม.๑๔/๔๘๒/๗๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 351
ชื่อบทธรรม : -ลูกโซ่แห่งความดับทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ลูกโซ่แห่งความดับทุกข์--ภิกษุ ท.! เพราะความจางคลาย จนดับไม่เหลือแห่งอวิชชา นั่นแหละ จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งอายตนะหก ; เพราะความดับแห่งอายตนะหก จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะความดับแห่งชาติ, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/2/3.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒/๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 352
ชื่อบทธรรม : -พ้นทุกข์เพราะไม่เพลินในธาตุ
เนื้อความทั้งหมด :-พ้นทุกข์เพราะไม่เพลินในธาตุ--ภิกษุ ท.! ผู้ใด ย่อมไม่เพลินกะธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) กะธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) กะธาตุไฟ (เตโชธาตุ) กะธาตุลม (วาโยธาตุ), ผู้นั้นย่อมชื่อว่า--ไม่เพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์, เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็น “ผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์” ดังนี้ แล-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/208/413.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๘/๔๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 353
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “ความดับ”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “ความดับ”--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวอยู่ว่า ‘ความดับ ๆ’ ดังนี้. อันว่า ‘ความดับ ๆ’ ดังกล่าวนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเล่า ? พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา, คำอันเรากล่าวว่า “ความดับ ๆ” หมายถึง ความดับแห่งขันธ์มีรูปเป็นต้นนั้น ๆ ดังนี้.--อานนท์ ! คำอันเรากล่าวว่า “ความดับ ๆ” ดังนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/30/48.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๐/๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 354
ชื่อบทธรรม : -หมายเหตุ : ผู้ศึกษาพึงทำความสังเกตว่า พระองค์ตรัสความดับของเบญจขันธ์ หมายถึงความดับทุกข์โดยตรง เพราะได้ตรัสไว้ในที่ทั่วไปว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ คือตัวทุกข์ โดยสรุป และเมื่อดับปัญจุปาทานักขันธ์เสียแล้ว ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ซึ่งเป็นอาการแห่งความทุกข์ ก็ดับไปด้วยกัน.
เนื้อความทั้งหมด :-หมายเหตุ : ผู้ศึกษาพึงทำความสังเกตว่า พระองค์ตรัสความดับของเบญจขันธ์ หมายถึงความดับทุกข์โดยตรง เพราะได้ตรัสไว้ในที่ทั่วไปว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ คือตัวทุกข์ โดยสรุป และเมื่อดับปัญจุปาทานักขันธ์เสียแล้ว ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ซึ่งเป็นอาการแห่งความทุกข์ ก็ดับไปด้วยกัน.--ความดับของรูปขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุดิน, ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุน้ำ, ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุไฟ, ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุลม ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.--- นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๙/๔๑๕. - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๖/๔๙๕.--(ความดับในกรณีเช่นนี้ ทุกแห่ง หมายถึงดับนันทิราคะในสิ่งนั้น ๆ เสีย).--ความดับของเวทนาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางตา, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางหู, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางจมูก, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางกาย และของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางใจ ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/285/488.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 355
ชื่อบทธรรม : -ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญญาในรูป ของสัญญาในเสียง ของสัญญาในกลิ่น ของสัญญาในรส ของ--สัญญาในโผฏฐัพพะ และของสัญญาในธรรมารมณ์ ใดๆ, อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทง, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/285/490.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 356
ชื่อบทธรรม : -ความดับของสังขารขันธ์ คือ ความดับของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับของสังขารขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญเจตนาในรูป, ของสัญเจตนาในเสียง, ของสัญเจตนาในกลิ่น, ของสัญเจตนาในรส, ของสัญเจตนาในโผฏฐัพพะ และของสัญเจตนาในธรรมารมณ์ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/285/492.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 357
ชื่อบทธรรม : -ความดับของวิญญาณขันธ์ คือ ความดับของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับของวิญญาณขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของวิญญาณทางตา, ของวิญญาณทางหู, ของวิญญาณทางจมูก, ของวิญญาณทางลิ้น, ของวิญญาณทางกาย และของวิญญาณทางใจ ใด ๆ ; อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย. อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/287/498.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 358
ชื่อบทธรรม : -ความดับของเบญจขันธ์ คือ ความดับของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความดับของเบญจขันธ์ คือ ความดับของทุกข์--ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของรูป ของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณ ใดๆ, อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์, อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับ ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย, อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/287/498.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 359
ชื่อบทธรรม : -ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้
เนื้อความทั้งหมด :-ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้--ภิกษุ ท.! การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท.! ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น, ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น, และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด ; ภิกษุ ท. ! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้.--พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธวจนะนี้ ซึ่งเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไป :---“ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเน้อ !--บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป.--การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก.--การปลงภาระหนักเสียได้เป็นความสุข.--พระอริยเจ้าปลงภาระหนักลงเสียแล้ว.--ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก.--ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา) ;--เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/32/52-53
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๒-๕๓
ลำดับสาธยายธรรม : 23
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site