สัทธรรมลำดับที่ : 310
ชื่อบทธรรม : -จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว
เนื้อความทั้งหมด :-จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า ?”--มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้,--แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับ ;--เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มี ;--เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี ;--มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.--(ในกรณีแห่ง เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี, รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และ ธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).--มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย, ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย, ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ; ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.--ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเรา จึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/44/67.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๔๔/๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 311
ชื่อบทธรรม : -(เรื่องนี้ควรจะอยู่ในหมวดนิโรธ แต่นำมาใส่ไว้ต่อท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นหมวดสมุทัยก็เพื่อความสะดวกแก่การศึกษา คือศึกษาพร้อมกัน อันจะเป็นการง่าย ได้ผลดีกว่าที่จะแยกกัน.
เนื้อความทั้งหมด :-(เรื่องนี้ควรจะอยู่ในหมวดนิโรธ แต่นำมาใส่ไว้ต่อท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นหมวดสมุทัยก็เพื่อความสะดวกแก่การศึกษา คือศึกษาพร้อมกัน อันจะเป็นการง่าย ได้ผลดีกว่าที่จะแยกกัน.--แต่ยังมีลักษณะแห่งจิตของผู้ที่เรียกว่าอยู่คนเดียวที่ลึกซึ้งกว่า ประณีตกว่าเรื่องนี้ในหมวดนิโรธ หรือภาค ๓ ขอให้ดูจากที่นั้น ที่หน้า ๖๙๕ โดยหัวข้อว่า “ผู้อยู่คนเดียวคือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง”).--ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม--ภิกษุ ท. ! โทษของกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพศิลปะใด ๆ เช่นศิลปะแห่งการใช้สัญญาด้วยมือ, ศิลปะแห่งการคำนวณ, ศิลปะแห่งการพยากรณ์, การทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และโครักขกรรม, ศิลปะแห่งศัสตราวุธ, และการทำราชการ และศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ; เพราะการประกอบอาชีพนั้น ๆ เขาต้องเผชิญหน้าต่อความหนาว ความร้อน เผชิญหน้าด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสด้วยสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ซูบผอมอยู่ หิวระหายอยู่ เพราะการไม่ได้บริโภคตามเวลา. ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายามอยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็ยังไม่สำเร็จแก่เขา, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความมืดมัวอยู่ ว่า “ความขยันของเรา เป็นหมันหนอ, ความพยายามของเราไร้ผลหนอ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายาม อยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็สำเร็จแก่เขาด้วย เขา ก็จะต้องเสวยทุกข์ โทมนัสเพราะการอารักขาโภคทรัพย์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ด้วยหวังอยู่ ว่า “พระราชาจะไม่ริบทรัพย์เหล่านั้นไป, โจร จะไม่ปล้นทรัพย์เหล่านั้นไป, ไฟ จะไม่ไหม้ทรัพย์เหล่านั้น, น้ำ จะไม่ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้น ; ทายาทที่ไม่พอใจ จะไม่ยื้อแย่งทรัพย์เหล่านั้นไป” ดังนี้. เมื่อกุลบุตรนั้น ทำการอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา ริบเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, โจร ปล้นเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, ไฟ ไหม้ทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, น้ำ ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, หรือทายาทที่ไม่พอใจ ยื้อแย่งเอาทรัพย์เหล่านั้นไปได้ก็ตาม, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวรำพันอยู่ ว่า “ ทรัพย์ใดได้มีแล้วแก่เรา ทรัพย์นั้นไม่มีเสียแล้ว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว :--พระราชา ย่อมวิวาทกับพระราชาบ้าง, กษัตริย์ย่อมวิวาทกับกษัตริย์บ้าง, พราหมณ์ย่อมวิวาทกับพราหมณ์บ้าง, คฤหบดีย่อมวิวาทกับคฤหบดีบ้าง, มารดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง, บุตรย่อมวิวาทกับมารดาบ้าง, บิดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง. บุตรย่อมวิวาทกับบิดาบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องหญิงบ้าง, พี่น้องหญิงย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, สหายย่อมวิวาทกับสหายบ้าง ; คนเหล่านั้น ทำการทะเลาะ วิวาท บาดหมางกันแล้ว ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยมือบ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยก้อนดินบ้าง ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยท่อนไม้บ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยศัสตราบ้าง, อยู่ในที่นั้นๆ. เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุ เพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร แบ่งกันเป็นสองกองทัพ พุ่งเข้าทำสงครามกัน. เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษ ของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร วิ่งขึ้นปีนเชิงเทิน (เพื่อปล้นเอาเมือง), เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ราดกันด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง. ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดมในเรือนหลังเดียว คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วงภรรยาผู้อื่น. พระราชา จับคนเหล่านั้นมาแล้ว ให้ลงกรรมกรณ์หลายวิธีด้วยกัน เช่นเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง, หวดด้วยเชือกหนังบ้าง, ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง, ตัดมือเสียบ้าง, ตัดเท้าเสียบ้าง, ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง, ตัดหูบ้าง, ตัดจมูกบ้าง, ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง, ยอมทำโทษโดยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ขอดสังข์๒ บ้าง. ย่อมทำโทษ--๑. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดงใส่ลงไปให้มันสมองเดือดพลุ่งขึ้น เหมือนน้ำส้มเดือดล้นหม้อ.--๒. ขอดสังข์ คือตัดหนังควั่นไปให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมดขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุ ยกขึ้น ให้หนังหลุดติดขึ้นมาพร้อมกับผมแล้วใช้ทรายหยาบขัดกระโหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์.--โดยวิธี ปากราหู๓ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี มาลัยไฟ๔ บ้าง. ย่อมทำโทษ โดยวิธีคบมือ๕ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ริ้วส่าย๖ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี นุ่งเปลือกไม้๗ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ยืนกวาง๘ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธีเกี่ยวเหยื่อเบ็ด๙ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี เหรียญกษปณ์๑๐ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ทาเกลือบ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี แปรงแสบ๑๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี กางเกวียน๑๒ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ตั่งฟาง๑๓ บ้าง, ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้าง, ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้ง๑๔ บ้าง, ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง, ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง. เขาเหล่านั้น ย่อม--๓. ปากราหู คือใช้ขอเหล็กง้างปากให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะตั้งแต่จอนหูเข้าไปจนถึงปาก ให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู.--๔. มาลัยไฟ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันจนทั่วตัวแล้วจุดไฟ--๕. คบมือ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั่วสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ.--๖. ริ้วส่าย คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกฉุดคร่าไป นักโทษเดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลุกคลุกคลานไปกว่าจะตาย--๗. นุ่งเปลือกไม้ คือเชือดหนังเป็นริ้ว ๆ อย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึงเอวตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้--๘. ยืนกวาง คือใช้ห่วงเหล็กรัดศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็กสี่หลักบนพื้นดิน ดูดั่ง กวางถูกตรึง แล้วก่อไฟล้อมลนไปกว่าจะตาย.--๙. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด.--๑๐. เหรียญกษาปณ์ คือใช้มีดคมเชือดเนื้อออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญจนกว่าจะตาย.--๑๑. แปรงแสบ คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้หนังเนื้อเอ็น ขาดหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก.--๑๒. างเกวียน คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียน.--๑๓. ตั่งฟาง คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผมรวบขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพันตะล่อมวางไว้ เหมือนดั่งที่ทำด้วยฟางสำหรับเช็ดเท้า.--๑๔. ให้สุนัขทึ้ง คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียวเหลือแต่กระดูก, -นัยอรรถกถา และพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต.--ถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ. ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว, เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการแตกสลายแห่งกาย. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/169/198.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๖๙/๑๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 312
ชื่อบทธรรม : -ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล
เนื้อความทั้งหมด :-ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. เก้าอย่าง อย่างไรเล่า ?--เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา (ปริเยสนา) ;--เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ (ลาโภ) ;--เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย) ;--เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค) ;--เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ;--เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห) ;--เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ (มจฺฉริยํ) ;--เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น (อารกฺโข) ;--เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมีเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.--- นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗; (สอบทานด้วย - มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙).--ตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก--ความโศก ย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก, ความกลัวย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก ; เมื่อพ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก, ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.--ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความรัก, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความรัก ; เมื่อพ้นแล้วจา ความรัก, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.--ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี ; เมื่อพ้นแล้วจากความยินดี, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.--ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่ ; เมื่อพ้นแล้วจากความใคร่, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.--ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา ; เมื่อพ้นแล้วตัณหา, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/43/26.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๔๓/๒๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 313
ชื่อบทธรรม : -ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
เนื้อความทั้งหมด :-ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปธิ เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อวิชชา เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี สังขาร เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี วิญญาณ เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ผัสสะ เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี เวทนา เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ตัณหา เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปาทาน เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว) เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อาหาร เป็นปัจจัย....--.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) เป็นปัจจัย....--นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ.--(อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายนิโรธซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขนิโรธอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย”. ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไป กระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/474-479/392-402.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๔-๔๗๙/๓๙๒-๔๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 314
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๖
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๖--ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์--จบ--นิทเทศ ๗ ว่าด้วยทิฏฐิที่เกี่ยวกับตัณหา--(มี ๘ เรื่อง)--เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน--ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและ อปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กันเป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้วให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชาวประมงและลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อยไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน เมื่อผุดอยู่ที่เดียว ก็ผุดอยู่ ในอวนนั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็ยังคงผุดอยู่ในอวนนั้นนั่นเอง, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่าง--ต่าง ๆ กัน เป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้ว ให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้นนั่นเอง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/58/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที.(๘/๕๘/๙๐). ๙/๕๘/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 315
ชื่อบทธรรม : -เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
เนื้อความทั้งหมด :-เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ--ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างนี้มีอยู่ คือ ภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายบวก). วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายลบ).--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ เข้าถึง ภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ วิภวทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงวิภวทิฏฐิ เข้าถึง วิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ ภวทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิทั้งสองนี้ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ประเดี๋ยวยอมรับประเดี๋ยวคัดค้าน--มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มักยินดีในความเนิ่นช้า. เขาเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส, เรากล่าวว่า เขาเหล่านั้น ไม่พ้นจากทุกข์.--(ต่อจากนี้ได้ตรัสสมณพราหมณ์พวกตรงกันข้าม ไม่มีทิฏฐิบวก-ทิฏฐิลบ พ้นจากทุกข์ได้ โดยนัยตรงกันข้าม).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/131/155.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๑/๑๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 316
ชื่อบทธรรม : -สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
เนื้อความทั้งหมด :-สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?”--ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขาย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ; ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ; ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น--ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง. ภิกษุ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.--(ต่อไปนี้ ได้ตรัสอาการที่สักกายทิฏฐิไม่มี, โดยนัยตรงกันข้าม).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/124/188-189.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๔/๑๘๘-๑๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 317
ชื่อบทธรรม : -สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา--ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึง ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่ง รูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง เวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง สัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม--ซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง สังขาร โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น เรียกว่าการตามเห็นอันเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทุกข์, (ทุกฺขสมุทยคามินีสมนุปสฺสนา).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/55/89.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๕/๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 318
ชื่อบทธรรม : -[ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.
เนื้อความทั้งหมด :-[ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.--ในบาลีแห่งอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๕/๘๒๐) แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวดคือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับตัวตน และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน].--เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนก เหล่านี้ ขึ้นมาในโลก ว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกมีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้’ บ้าง ?”--วัจฉะ ! เพราะความไม่รู้ในรูป ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ในความดับไม่เหลือแห่งรูป ในหนทางเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นมาในโลก ว่า “โลกเที่ยง” บ้าง ว่า “โลกไม่เที่ยง”บ้าง ....ฯลฯ.... ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” บ้าง.--(ในกรณีแห่ง ความไม่รู้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร และในวิญญาณ แล้วจึงเกิดทิฏฐิต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งความไม่รู้ในรูป.--สำหรับคำว่า “เพราะความไม่รู้” ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น ๆ ได้ตรัสไว้ด้วยคำว่า เพราะไม่เห็น, เพราะไม่ถึงพร้อมเฉพาะ, เพราะไม่รู้โดยลำดับ, เพราะไม่แทงตลอด, เพราะไม่กำหนดทั่วถึง, เพราะไม่เข้าไปกำหนด, เพราะความไม่เพ่งพินิจอย่างสม่ำเสมอ, เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง, เพราะความไม่เข้าไปกำหนดโดยเฉพาะ และเพราะไม่ทำให้ประจักษ์, อีกถึง ๑๐ คำ ซึ่งก็มีใจความอย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/319-326/554-584.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๑๙-๓๒๖/๕๕๔-๕๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 319
ชื่อบทธรรม : -ทิฏฐิให้เกิดเวทนาชนิดที่ล้วนแต่เป็นทุกขสมุทัย
เนื้อความทั้งหมด :-ทิฏฐิให้เกิดเวทนาชนิดที่ล้วนแต่เป็นทุกขสมุทัย--ภิกษุ ท. ! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก สัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๔ ประการ ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอันตานันติกวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งโลกว่ามีที่สุดหรือไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอมราวิกเขปิกวาท (เมื่อถูกถามปัญหาในที่นั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอธิจจสมุปปันนิกวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท (มีปุพพันตนานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ) ก็ดี;--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็น พวกอุทธมาฆตนิกอสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญาก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุจเฉทวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพานวาท แก่สัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ) ก็ดี,--สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอปรันตกัปปิกวาท (มีอปรันตานุทิฏฐิปรารภขันธ์มีส่วนสุดในเบื้องหน้า ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๔๔ ประการ) ก็ดี ;--แม้สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท ก็ดี อปรันตกัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท ก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่มีแล้วในกาลก่อนและขันธ์อันมีในเบื้องหน้าย่อมกล่าวบัญญัติอธิมุตติบท มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๖๒ ประการ ;--สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกต่อเวทนาตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวทเทนฺติ๑) เพราะการถูกต้องแล้ว ๆ ด้วย--๑. คำว่า “รู้สึก” (ปฏิสํเวเทนฺติ) ในที่นี้ เป็นความรู้สึกต่อธัมมารมณ์ด้วยมโน, เมื่อคนมีทิฏฐิอยู่อย่างไร การเสวยเวทนาของเขา ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกชนิดที่เป็นไปตามอำนาจแห่งทิฏฐิที่เขามีอยู่ ; ดังนั้นเมื่อมีทิฏฐิต่างกัน แม้อารมณ์ที่มีมากระทบจะเป็นอย่างเดียวกัน เขาย่อมเกิดความรู้สึกต่ออารมณ์ต่างกันไปตามทิฏฐิของเขา ; ดังนั้น เวทนาที่มาจากอารมณ์เดียวกัน จึงมีความหมายต่างกันได้ เป็นเหตุให้มีทิฏฐิชนิดที่หล่อเลี้ยงทิฏฐิเดิมให้แน่นแฟ้นอยู่เสมอไป : นี้เรียกได้ว่า ผัสสะหรือเวทนาสร้างทิฏฐิ แล้วก็หล่อเลี้ยงทิฏฐินั้นไว้. ถ้าปราศจากผัสสะหรือเวทนาเสียอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดทิฏฐิได้.--ผัสสายตนะ ๖ ประการ, เพราะเวทนาแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/57/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๕๗/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 320
ชื่อบทธรรม : -(รายละเอียดเกี่ยวกับสมณพราหมณ์ทุกพวกข้างบนนี้ หาดูได้จากหนังสือปฏิจจ.โอ.หน้า ๗๓๓ เป็นต้นไป.)
เนื้อความทั้งหมด :-(รายละเอียดเกี่ยวกับสมณพราหมณ์ทุกพวกข้างบนนี้ หาดูได้จากหนังสือปฏิจจ.โอ.หน้า ๗๓๓ เป็นต้นไป.)--ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ (อุปาทาน)--ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ. บุถุชนนั้น ย่อมรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ; ครั้นรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ; ย่อมสำคัญมั่นหมาย ในดิน ; ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นดิน ; ย่อมสำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา ; ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะความไม่กำหนดรอบรู้ซึ่งดิน.--(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๓ อย่าง คือ น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก, ลิ้น, ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และ นิพพาน, แต่ละอย่าง ๆ--พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าสัตว์ย่อมสำคัญผิดในความเป็นของตนเป็นต้น แล้วเพลิดเพลินเฉพาะต่อสิ่งนั้น ๆ เพราะความไม่รอบรู้ต่อสิ่งนั้น ๆ จึงกล่าวได้ว่า ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/1/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 21
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site