สัทธรรมลำดับที่ : 281
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ต้องรู้ ต้องละ เพื่อความสิ้นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่ต้องรู้ ต้องละ เพื่อความสิ้นทุกข์--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า ? สิ่งทั้งปวง คือ (ต่อไปนี้ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละ เป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตนะหกประการ คือ:-)--อายตนะภายใน หก ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน) :--อายตนะภายนอก หก ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์) ;--วิญญาณ หก ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ) ;--สัมผัส หก ประการ (จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส) ;--เวทนา หก ประการ (จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา).--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดยปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่เมื่อรู้และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจเทียบเคียงได้เอง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/21/27 -28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๑/๒๗ -๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 282
ชื่อบทธรรม : -(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า ? สิ่งทั้งปวงคือ (ต่อไปนี้ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละ เป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตนะหกประการ คือ :-)--อายตนะภายใน หก ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน) ;--อายตนะภายนอก หก ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์) ;--วิญญาณ หก ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ) ;--วิญญาณวิญญาตัพพธรรม หก ประการ (จักขุวิญญาณวิญญาตัพพธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณวิญญาตัพพธรรม).--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดย ปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่เมื่อรู้และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจเทียบเคียงได้เอง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/22-23/29-30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๒๒ -๒๓/๒๙ -๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 283
ชื่อบทธรรม : -ภาวะเป็นที่รักที่ยินดี เป็น หนามในอริยวินัย
เนื้อความทั้งหมด :-ภาวะเป็นที่รักที่ยินดี เป็น หนามในอริยวินัย--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จะพึงเข้าไปสู่ป่า ที่มีหนามมาก ; คือ หนามข้างหน้าของบุรุษนั้น ก็มีอยู่, หนามข้างหลัง ก็มีอยู่, หนามข้างเหนือ ก็มีอยู่, หนามข้างใต้ ก็มีอยู่, หนามข้างล่างก็มีอยู่, หนามข้างบน ก็มีอยู่, บุรุษนั้น จะต้องมีสติ ค่อยๆ ก้าวไปข้างหน้า มีสติค่อยๆ ถอยกลับหลัง ด้วย คิดอยู่ว่า “หนามอย่ายอก อย่าตำ เราเลย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น, ภาวะเป็นที่รัก ภาวะเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป ซึ่งเป็นที่เกิดที่ดับแห่งตัณหา) ในโลก ใดๆ ; ภิกษุ ท. ! ปิยรูปสาตรูปนี้ เราเรียกว่า “หนามในวินัยของพระอริยเจ้า” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/234/334
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๔/๓๓๔
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 284
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๕
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๕--ว่าด้วยที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา--จบ--นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์--(มี ๓๑ เรื่อง)--การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/222/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 285
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์--(สายแห่งปฏิจจสมุปบาท)--ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี สังขาร ;--เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมี วิญญาณ ;--เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมี นามรูป ;--เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อายตนะหก ;--เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ผัสสะ ;--เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา ;--เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ตัณหา ;--เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อุปาทาน ;--เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ภพ ;--เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ชาติ ;--เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. การก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น) ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/1/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 286
ชื่อบทธรรม : -วิภาคแห่งปฏิจจสมุปบาท
เนื้อความทั้งหมด :-วิภาคแห่งปฏิจจสมุปบาท--ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ;--เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ชรา คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้เรียกว่า ชรา.--ภิกษุ ท. ! มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? มรณะคือ การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้ เรียกว่า มรณะ ; ด้วยเหตุนี้แหละ ชราอันนี้ด้วย มรณะอันนี้ด้วย. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.--ภิกษุ ท. ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ? ชาติ คือ การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชาติ.--ภิกษุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภพมีสามเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ภพ.--ภิกษุ ท. ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อุปาทานมีสี่อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งตัณหา มีหกอย่าง เหล่านี้ คือตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ และตัณหาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ตัณหา.--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนา มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า เวทนา.--ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งผัสสะ มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา สัมผัสทางหู สัมผัสทางจมูก สัมผัสทางลิ้น สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.--ภิกษุ ท. ! อายตนะหก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งอายตนะ มีหกอย่าง เหล่านี้คือ อายตนะคือตา อายตนะคือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย และอายตนะคือใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าอายตนะหก.--ภิกษุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ? นาม คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ. นี้ เรียกว่า นาม. รูป คือ มหาภูตทั้งสี่ด้วยและรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย. นี้ เรียกว่า รูป. ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูปอันนี้ด้วย. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า นามรูป.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณ มีหกอย่างเหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า วิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลายเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความไม่รู้อันใด เป็นความไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์, ละเป็นไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อวิชชา.--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร ; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก ; เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา ; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน ; เพราะ--อุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/2-5/5-17.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒-๕/๕-๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 287
ชื่อบทธรรม : -ปัจจัยแห่งอวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-ปัจจัยแห่งอวิชชา--ภิกษุ ท. ! ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ ; ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี ; แต่ว่า อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง. ภิกษุ ท. ! คำกล่าว อย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใคร ๆ๑ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า “อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา ? คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้.--๑. คำว่า วุจฺจติ คำนี้ เคยแปลกันแต่ว่า อันตถาคตย่อมกล่าว กันจนเป็นธรรมเนียมไปเสีย. ในที่นี้ พิจารณาดูแล้ว เห็นได้ว่าควรจะแปลว่าใคร ๆ ทุกคนที่เป็นผู้รู้ รวมทั้งพระองค์เองด้วย ควรจะกล่าว, หาใช่เป็นการผูกขาดเพราะไว้แต่พระองค์ผู้เดียวไม่.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์” ดังนี้.--....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....--การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์ ;--ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการให้บริบูรณ์ ;--นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.--ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และ บริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/120/61.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 288
ชื่อบทธรรม : -[ตามปกติเราได้ยินได้ฟังสั่งสอนกันมาว่า อวิชชาไม่มีปัจจัย ในที่นี้ได้ตรัสว่า มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ควรที่นักศึกษาจะได้พิจารณาดูให้เป็นอย่างดี ว่ามีนิวรณ์เป็นปัจจัยหรืออาหาร เพราะมีประโยคว่า “อิทปฺป จฺจยา อวิชฺชา” (ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑ บรรทัดที่สาม นับขึ้น)]
เนื้อความทั้งหมด :-[ตามปกติเราได้ยินได้ฟังสั่งสอนกันมาว่า อวิชชาไม่มีปัจจัย ในที่นี้ได้ตรัสว่า มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ควรที่นักศึกษาจะได้พิจารณาดูให้เป็นอย่างดี ว่ามีนิวรณ์เป็นปัจจัยหรืออาหาร เพราะมีประโยคว่า “อิทปฺป จฺจยา อวิชฺชา” (ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑ บรรทัดที่สาม นับขึ้น)]--อาการเกิดแห่งความทุกข์--เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิดจักขุวิญญาณ ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/111/163.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๑/๑๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 289
ชื่อบทธรรม : -อาการทุกข์เกิดขึ้นจากเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการทุกข์เกิดขึ้นจากเบญจขันธ์--ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมุทัยแห่งรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ความเป็นสมุทัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? และความเป็นสมุทัยแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. เขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น, ความเพลินใดในสังขารทั้งหลาย ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ ; เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/18/28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 290
ชื่อบทธรรม : -อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะยึดถือเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะยึดถือเบญจขันธ์--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ในโลกนี้ ย่อมตามเห็นซึ่ง รูป ว่า “นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้. รูปนั้น--ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแก่เขา ; โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ย่อมปรากฏแก่เขา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่งรูป. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสอย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/24/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 291
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)ทรงแสดงด้วยผัสสะ
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยผัสสะ)--ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ : อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม). ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ; แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.--อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น : สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้นก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ; สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ; สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย--แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ ; ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/40/75.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 292
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยนันทิ)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน. เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นพร้อม : ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/18/28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 293
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)ทรงแสดงด้วยฉันทราคะ
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยฉันทราคะ)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงซึ่งความเกิดและความดับไปแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.”--คามณิ ! ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่าน ปรารภอดีตกาลนานไกลว่า มันได้มีแล้วอย่างนี้ในอดีตกาล ดังนี้ไซร้, ความสงสัยเคลือบแคลงในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน. ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ ปรารภอนาคตกาลนานไกล ว่ามันได้มีแล้วอย่างนี้ในอนาคตกาล ดังนี้ไซร้, ความสงสัยเคลือบแคลงแม้ในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน. เอาละ คามณิ ! เรานั่งอยู่ที่นี่ จะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่าน ผู้นั่งอยู่ที่นี่ด้วยกัน, ท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี, เราจะกล่าว.--คามณิ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้ว โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า !”--คามณิ ! มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้ว โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า!”--คามณิ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้น แก่ท่านเพราะมนุษย์พวกหนึ่ง และไม่เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะมนุษย์พวกหนึ่ง ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่า ฉันทราคะของข้าพระองค์มีอยู่ ในหมู่มนุษย์ที่ทำให้ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ และ ฉันทราคะของข้าพระองค์ไม่มีอยู่ ในหมู่มนุษย์ที่ไม่ทำให้ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์.--คามณิ ! ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ท่านจงนำไปซึ่งนัยนี้สู่ธรรมในอดีตและอนาคต ว่า “ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ; และทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นใน อนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์,” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/403/627.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 294
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งภพใหม่)--ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่, ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่, และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ ; สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.--ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด, ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด, แต่เขายังมีใจฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่; สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง--วิญญาณ ย่อมมี; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี ; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/78/145.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 295
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยอารมณ์เป็นที่ก้าวลงแห่งนามรูป)--ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่, ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่, และย่อมมีจิตปักลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ ; สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี ; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้--ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด, ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด, แต่เขายัง--มีใจฝังลงไป (คือมีอนุสัย) ในสิ่งใดอยู่ ; สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี ; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/79/147.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๗๙/๑๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 19
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site