สัทธรรมลำดับที่ : 268
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยผลไม้
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยผลไม้--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนป่าใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลหมู่บ้านหรือนิคมนัก. ในป่าใหญ่นั้น มีต้นไม้ ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย, ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย. ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งผ่านมา เป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยว--แสวงหาผลไม้อยู่, เขาเข้าไปยังป่านั้นแล้ว พบต้นไม้ต้นนั้นแล้วคิดว่า “ต้นไม้นี้มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย และเราก็รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้อยู่, ถ้าไฉน เราขึ้นสู่ต้นไม้นี้แล้ว จะพึงกินผลไม้ตามความพอใจ ด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย” ดังนี้แล้ว เขาก็ขึ้นสู่ต้นไม้นั้น เก็บกินตามความพอใจด้วย ห่อจนเต็มห่อด้วย. ในลำดับนั้นเอง บุรุษคนที่สอง ซึ่งเป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อย่างเดียวกัน ถือขวานคมผ่านมาที่นั้น, เขาเข้าไปยังป่านั้นแล้วก็พบต้นไม้ต้นเดียวนั้น ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย, เขาจึง คิดว่า “ต้นไม้นี้ มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย และเราก็ไม่รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้, ถ้าไฉน เราจะโค่นมันที่โคน แล้วจะพึงกินผลไม้ตามความพอใจด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย” ดังนี้แล้ว เขาจึงโค่นต้นไม้นั้นที่โคน.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? บุรุษผู้ขึ้นอยู่บนต้นไม้คนแรก, ถ้าเขาไม่รีบลงมาโดยเร็วไซร้, เมื่อต้นไม้นั้นล้มลง, เขาก็จะต้องมือหักบ้าง เท้าหักบ้าง หรืออวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งหักบ้าง โดยแท้. บุรุษผู้นั้น ก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ มิใช่หรือ ?--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยผลไม้ เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษ อย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้--แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นเจริญอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือของ อุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวง แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/44/53.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๔/๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 269
ชื่อบทธรรม : -รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม
เนื้อความทั้งหมด :-รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม--ภิกษุ ท. ! ที่เรากล่าวว่า “กาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตา แห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า ? ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ.... เสียง ทั้งหลาย อันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ.... กลิ่น ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ.... รส ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา.... โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้ง ได้ด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่, ภิกษุ ท. ! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่ ; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ.--(คาถาจำกัดความตอนนี้)--ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค)--นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก--นั้น หาใช่กามไม่ ; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก--นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก--ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.--ภิกษุ ท. ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ; ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.--ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้น ๆ ให้เกิดขึ้น๑ เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ; ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.--ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น--๑. ข้อความนี้ใช้ได้ทั้งภาษาคนและภาษาธรรม : ภาษาคนก็คือเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ดังที่ทราบกันอยู่ ; ถ้าเป็นภาษาธรรมก็คือ จิตที่ครองอัตตภาพปัจจุบันของเขานั้นเกิดเปลี่ยนเป็นบุญหรือบาป ตามสมควรแก่อุปาทานที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้น ๆ โดยที่ยังไม่ต้องตาย ; ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ศึกษาจะถือเอาความหมายไหน.--ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อ. 22/457-460/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 270
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ของกาม
เนื้อความทั้งหมด :-ไวพจน์ของกาม--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘ภัย’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘ทุกข์’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘โรค’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘หัวฝี’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘ลูกศร’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘เปือกตม’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! คำว่า ‘ครรภ์’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ภัย’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกาม ทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากภัย ทั้งที่--เป็นไปในทิฏฐธรรม (ปัจจุบันนี้) และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ทุกข์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์ ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้นคำว่า ‘ทุกข์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘โรค’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกาม ทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วย กามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากโรค ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘โรค’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘หัวฝี’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกาม ทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วย กามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากหัวฝี ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘หัวฝี’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ลูกศร’ จึงเป็นแทนชื่อของกาม ทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกาม---ราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากลูกศร ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘ลูกศร’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘เครื่องข้อง’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้วด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากเครื่องข้อง ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘เครื่องข้อง’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘เปือกตม’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลาย ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้วด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากเปือกตม ทั้งที่เป็นไปทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้น คำว่า ‘เปือกตม’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ครรภ์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากครรภ์ ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า, เพราะฉะนั้นคำว่า ‘ครรภ์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฎฺฐก. อํ. 23/298/146.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๒๙๘/๑๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 271
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยรูรั่วของเรือ
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยรูรั่วของเรือ--เมื่อสัตว์ มีความใคร่ในกามอยู่, ถ้ากามนั้น สำเร็จแก่เขา คือเขาได้ตามปรารถนาแล้ว, เขา ย่อมมีปีติในใจ โดยแท้. เมื่อสัตว์ ผู้มีความพอใจ กำลังใคร่ในกามอยู่, ถ้ากามนั้น สูญหายไป, เขา ย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกแทง ด้วยศร ฉะนั้น.--ผู้ใด เว้นขาดจากกาม ด้วยความเห็น ว่า เป็นดุจหัวงู ผู้นั้นเป็นคนมีสติ ล่วงพ้นตัณหาอันส่ายไปในโลกเสียได้.--ผู้ใด เข้าไปผูกใจอยู่ในที่นา ที่สวน เงิน โค ม้า ทาสชายและสตรี พวกพ้อง และกามทั้งหลายอื่น ๆเป็น อันมาก กิเลสมารย่อมครอบงำบุคคลผู้นั้นได้, อันตรายรอบด้าน ย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้น ; เพราะเหตุนั้น ความทุกข์ ย่อมติดตามเขา เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรืออันแตกแล้ว ฉะนั้น.--เพราะฉะนั้น บุคคล ควรเป็นผู้มีสติ ทุกเมื่อ, พึงเว้นขาดจากกาม, ละกามแล้ว พึงข้ามโอฆะเสียได้ ดุจบุคคลอุดยาเรือดีแล้ว ก็พึงข้ามไปถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ได้ ฉะนั้น แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต.ขุ.25/484/408.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต.ขุ.๒๕/๔๘๔/๔๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 272
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งภวตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะแห่งภวตัณหา--ภิกษุ ท. ! ภวโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยภพ) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งภพทั้งหลาย ซึ่งความดับไปแห่งภพทั้งหลาย ซึ่งรสอร่อยแห่งภพทั้งหลาย ซึ่งโทษแห่งภพทั้งหลาย และซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากภพทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เมื่อเขาไม่รู้อยู่อย่างนั้น, ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความเสน่หาในภพ ความสยบในภพ ความหิวระหายในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความเมาหมกในภพ และภวตัณหาในภพทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ภวโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยภพ), ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ.21/13/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ.๒๑/๑๓/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 273
ชื่อบทธรรม : -ปัจจัยแห่งภวตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-ปัจจัยแห่งภวตัณหา--ภิกษุ ท. ! ที่สุดในเบื้องต้นของภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ; ก่อนแต่นี้ ภวตัณหามิได้มี ; แต่ว่า ภวตัณหาเพิ่งมีต่อภายหลัง. ภิกษุ ท. ! คำกล่าวอย่างนี้แหละเป็นคำที่ใคร ๆ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า “ภวตัณหา ย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ภวตัณหานั้น ก็เป็น ธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของภวตัณหา ? คำตอบพึงมีว่า “อวิชชา เป็นอาหารของภวตัณหา” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา ? คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของ นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้.--....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....--การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์ ; ทุจริต ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ ๕ ประการให้บริบูรณ์ ; นิวรณ์ ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์ ; อวิชชาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำภวตัณหาให้บริบูรณ์.--ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งภวตัณหานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้และ บริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ.24/124/62.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ.๒๔/๑๒๔/๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 274
ชื่อบทธรรม : -วิภาคแห่งภวตัณหาร้อยแปด
เนื้อความทั้งหมด :-วิภาคแห่งภวตัณหาร้อยแปด--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา อันมีธรรมชาติ เหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้. พวกเธอ จงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.--ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัส พระพุทธวจนะนี้ว่า :---ภิกษุ ท. ! ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือนข่าย เป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ ?--ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไป จับยึดขันธ์อันเป็นภายใน และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายใน นั้นคือ เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ว่า “เรามี เราเป็น” ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า “เรามีอยู่ เป็นอยู่” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างนั้นๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นๆ ” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เรามีอยู่--เป็นอยู่” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนั้นๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่” ดังนี้ ๑, ว่า “เรา จักเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักเป็นอย่างนั้นๆ” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน.--ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก คือ เมื่อมีความนึกไปในทางที่ว่า “เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้” ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า “เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก)นี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑, ว่า “เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก.--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึด ขันธ์อันเป็นภายในด้วย และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๓๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล เป็นอดีต ๓๖ อย่าง, เป็นอนาคต ๓๖ อย่าง, และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง, รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ๑ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/289/199.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๙/๑๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 275
ชื่อบทธรรม : -เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง--(เพราะภวตัณหา)--ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง--๑. หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน. ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.--มีจิตฟุ้งซ่านไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม และทำในใจไม่แยบคาย. ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/195/151.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 276
ชื่อบทธรรม : -(อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง ยเป็นคนโง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้. ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบ ด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/195/152.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 277
ชื่อบทธรรม : -(อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ เป็นคนลบหลู่ฟังธรรม มีจิตมากไปด้วยความลบหลู่ แข่งดีฟังธรรม คอยจ้องจับความผิดพลาดในผู้แสดงธรรมด้วยจิตมุ่งร้ายแข็งกระด้าง เป็นคนโง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้. ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญจก. อํ. 22/196/153.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญจก. อํ. ๒๒/๑๙๖/๑๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 278
ชื่อบทธรรม : -(ในตอนท้ายของแต่ละปริยาย ได้ตรัสถึงบุคคลผู้มีธรรมตรงกันข้าม คือสามารถฟังธรรมสำเร็จประโยชน์, ผู้ศึกษาพึงคำนวณเอาด้วยตนเอง โดยปฏิปักขนัยจากข้อความข้างบนนี้)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในตอนท้ายของแต่ละปริยาย ได้ตรัสถึงบุคคลผู้มีธรรมตรงกันข้าม คือสามารถฟังธรรมสำเร็จประโยชน์, ผู้ศึกษาพึงคำนวณเอาด้วยตนเอง โดยปฏิปักขนัยจากข้อความข้างบนนี้)--ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ--ภิกษุ ท. ! คูถแม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. 20/46/203.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 279
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วย มูตร ด้วย น้ำลาย ด้วย หนอง ด้วย โลหิต โดยทำนองเดียวกัน, - ๒๐/๔๖/๒๐๔).
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วย มูตร ด้วย น้ำลาย ด้วย หนอง ด้วย โลหิต โดยทำนองเดียวกัน, - ๒๐/๔๖/๒๐๔).--วิภวตัณหา--เรื่องของ วิภวตัณหา ที่เป็นพุทธดำรัสโดยตรง ยังไม่พบที่มา ; ขอนักศึกษาจงทราบ โดยเป็นปฏิปักขนัยของ ภวตัณหา.--นิทเทศ ๓--ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา--จบ--นิทเทศ ๕ ว่าด้วยที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา--(มี ๕ เรื่อง)--การเกิดขึ้นแห่งตัณหา--ภิกษุ ท. ! การก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น, การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+จักขุวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย หู ด้วย เสียงด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณขึ้น. การประจวบพร้อม (แห่งหู+เสียง+โสตวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณขึ้น, การประจวบพร้อม (แห่งจมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมี ผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น, การประจวบพร้อม (แห่งลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมี--ผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ตัณหา ; นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะด้วย จึงเกิดกายวิญญาณขึ้น, การประจวบพร้อม (แห่งกาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธรรมารมณ์ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น, การประจวบพร้อม (แห่งใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา ; นี้ คือ การขึ้นแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/106/154.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๖/๑๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 280
ชื่อบทธรรม : -ฐานที่เกิดแห่งตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-ฐานที่เกิดแห่งตัณหา--(สี่อย่าง)--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้นแห่งตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุใน อารมณ์ใด ๆ ก็ตาม มีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ :---ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะจีวรเป็น เหตุ บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะอาหารบิณฑบาตเป็นเหตุ บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ บ้าง ;--ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะความได้เป็นหรือไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นเหตุ บ้าง.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ การเกิดขึ้นแห่งตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม มีสี่อย่าง แล.--- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒/๙; จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๕/๒๕๗.--ที่ตั้งอาศัยเกิดแห่งตัณหา--ภิกษุ ท. ! ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ณ ที่ไหน ? เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?--ภิกษุ ท. ! สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น.--ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ?--ภิกษุ ท. ! ตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, หู มีภาวะเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก, จมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดี--ในโลก, กาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และ ใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้นๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! รูป ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เสียง ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, กลิ่น ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, รส ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, โผฏฐัพพะ ทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก, และธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณ ทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณ ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณ ทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, วิญญาณ ทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และวิญญาณ ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! สัมผัส ทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัส ทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัส ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัส ทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, สัมผัส ทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และสัมผัส ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และเวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้นๆ.--ภิกษุ ท. ! ความหมายรู้ ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความหมายรู้ใน โผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และความหมายรู้ ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ--ภิกษุ ท. ! ความคิดนึก ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึก ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึก ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความคิดนึก ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และความคิดนึก ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! ตัณหา ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหา ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหา ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหา ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหา ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และตัณหา ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! ความตริตรึก ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึก ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึก ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรึก ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, และความตริตรึก ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.--ภิกษุ ท. ! ความตริตรอง ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรอง ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรอง ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรอง ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรอง ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ความตริตรองในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ, เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ. เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ. ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/343/297.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 18
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site