สัทธรรมลำดับที่ : 245
ชื่อบทธรรม : -ที่เกิดแห่งอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ที่เกิดแห่งอุปาทาน--ภิกษุ ท. ! อุปาทานสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด ? และมีอะไรเป็นแดนเกิดเล่า ?--ภิกษุ ท. ! อุปาทานสี่เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด, และมีตัณหาเป็นแดนเกิด.--ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด ? และมีอะไรเป็นแดนเกิด ?--ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด, มีเวทนาเป็นเครื่องก่อให้เกิด, มีเวทนาเป็นเครื่องกำเนิด, และมีเวทนาเป็นแดนเกิด แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/134/158.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๔/๑๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 246
ชื่อบทธรรม : -ที่เกิดแห่งอาหาร
เนื้อความทั้งหมด :-ที่เกิดแห่งอาหาร--ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้กำลังแสวงหาที่เกิด (สัมภเวสี)* บ้าง. อาหารสี่อย่างอะไรเล่า ? สี่อย่างคือ อาหารที่หนึ่ง คือ อาหารคำข้าว หยาบก็ตามละเอียดก็ตาม, อาหารที่สอง คือ ผัสสะ, อาหารที่สาม คือมโนสัญเจตนา (มโนกรรม), อาหารที่สี่ คือ วิญญาณ ; ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้--แล มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้กำลังแสวงหาที่เกิดบ้าง.--ภิกษุ ท. ! ก็อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด (นิทาน) ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทัย) ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด (ชาติกะ) ? และมีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภพ) ? ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด, และ มีตัณหาเป็นแดนเกิด แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/14/28-29.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๔/๒๘-๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 247
ชื่อบทธรรม : -ตัณหาโดยวิภาคแห่งอารมณ์หกอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ตัณหาโดยวิภาคแห่งอารมณ์หกอย่าง--ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งตัณหาหกอย่างเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป, ตัณหาในเสียง, ตัณหาในกลิ่น, ตัณหาในรส, ตัณหาในโผฏฐัพพะ, และตัณหาในธรรมารมณ์.--ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ตัณหา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/3/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๓/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 248
ชื่อบทธรรม : -ภพโดยวิภาค สามอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ภพโดยวิภาค สามอย่าง--ภิกษุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภพ มีสามอย่างเหล่านี้ คือ:---๑. กามภพ ภพมีกาม ;--๒. อรูปภพ ภพมีรูป ;--๓. อรูปภพ ภพไม่มีรูป.--ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ภพ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/3/8.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๓/๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 249
ชื่อบทธรรม : -ตัณหาโดยวิภาค สามอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ตัณหาโดยวิภาค สามอย่าง--ภิกษุ ท. ! ตัณหามีสามอย่างเหล่านี้, สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ :---๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม ;--๒. วิภวตัณหา ตัณหาในความมีความเป็น ;--๓. วิภวตัณหา ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ตัณหาสามอย่าง.๑-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. 19/86/329.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๖/๓๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 250
ชื่อบทธรรม : -๑. ตัณหาสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. ตัณหาสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.--กามตัณหา เป็นอย่างไร ? คือ ราคะ สาราคะ ฯลฯ สาราคะแห่งจิตที่ประกอบด้วยกามธาตุ : นี้ เรียกว่า กามตัณหา.--ภวตัณหา เป็นอย่างไร ? คือ ราคะ สาราคะ ฯลฯ สาราคะแห่งจิตที่ประกอบด้วย ภวทิฏฐิ : นี้ เรียกว่า ภวตัณหา.--วิภวตัณหา เป็นอย่างไร ? คือ ราคะ สาราคะ ฯลฯ สาราคะแห่งจิตที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ : นี้ เรียกว่า วิภวตัณหา. - นัย วิภงฺค. อภิธมฺ ๓๕/๔๙๕/๙๓๓-๔.--ลักษณะแห่งกามตัณหา--ภิกษุ ท. ! กามโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยกาม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้แจ้งชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้น แห่งกามทั้งหลาย ซึ่งความดับไปแห่งกามทั้งหลาย ซึ่งรสอร่อยแห่งกามทั้งหลาย ซึ่งโทษแห่งกามทั้งหลาย และซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากกามทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เมื่อเขาไม่รู้อยู่อย่างนั้น, ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความเสน่หาในกาม ความสยบในกาม ความหิวกระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความเมาหมกในกาม และกามตัณหา ในกามทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า กามโยคะ, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/13/10.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 251
ชื่อบทธรรม : -กามคุณห้าคือบ่วง
เนื้อความทั้งหมด :-กามคุณห้าคือบ่วง--ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือกามคุณห้าอย่าง.--ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจสยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า--เป็นผู้จะถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจ อย่างใด.--ภิกษุ ท. ! เปรียบได้ดั่งเนื้อป่า ตัวที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในบ่วง. เมื่อนายพรานมาถึงเข้า, มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, พวกเขา พากันติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ ; สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้จะถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/333/327-8.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๓๓/๓๒๗-๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 252
ชื่อบทธรรม : -กามเป็นเครื่องผูก
เนื้อความทั้งหมด :-กามเป็นเครื่องผูก--เครื่องผูกอันใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปัพพชะก็ตาม, ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่กล่าวเครื่องผูกอันนั้น ว่าเป็นเครื่องผูกอันมั่นคงเลย. ส่วนความยินดีของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ในตุ้มหูแก้วมณีเป็นต้นด้วย และความเยื่อใยในบุตรและภรรยาด้วย, ผู้มีปัญญาทั้งหลายกล่าวความยินดีและเยื่อใยอันนั้น ว่าเป็นเครื่องผูกอันมั่นคงที่จะฉุดสัตว์ลงสู่ที่ต่ำได้โดยแท้ ซึ่งผูกไว้หย่อน ๆ แต่แก้ได้ยาก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/112/353.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๑๑๒/๓๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 253
ชื่อบทธรรม : -กามเป็นมายา
เนื้อความทั้งหมด :-กามเป็นมายา--ภิกษุ ท. ! กามทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง เป็นของเปล่า ๆ ปลี้ ๆ เป็นของเท็จ เป็นสิ่งที่มีการหลอกให้หลงเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! กามนั้นเป็นเหมือนสิ่งที่ทำแล้วด้วยมายา เป็นที่พร่ำบ่นหาของคนพาล, ได้แก่ กาม และสัญญาในกาม ทั้งที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ และที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า. กามและสัญญาในกาม ทั้งสองอย่างนั้น เป็น อาณาจักรของมาร เป็น วิสัยของมาร เป็น เหยื่อของมาร และเป็น ที่เที่ยวหาอาหารของมาร. จิตอันเป็นบาปอกุศลเป็นอภิชฌาก็ดี พยาบาทก็ดี และสารัมภะ (การแข่งดี)ก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นไปในอาณาจักรของมารนั้น. อนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมมีขึ้น เพื่อเป็นอันตราย แก่พระอริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ ในธรรมวินัยนี้ได้ โดยแท้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/74/81.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๔/๘๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 254
ชื่อบทธรรม : -ไม่มีความเย็นในกาม
เนื้อความทั้งหมด :-ไม่มีความเย็นในกาม--มาคัณฑิยะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ ท่านเคยได้เห็นหรือเคยได้ฟังบ้างหรือไม่ ว่า พระราชาก็ดี อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาก็ดีผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่, ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนเพราะกามไม่ได้ แล้วจะเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบเย็นอยู่ ณ ภายใน ในอดีตก็ตาม กำลังอยู่ในปัจจุบันก็ตาม หรือจักอยู่ในอนาคตก็ตาม นั้นมีอยู่บ้างหรือ ?”--“ข้อนั้น ไม่เคยมีเลย ท่านโคดม !”--มาคัณฑิยะ ! ถูกแล้ว, แม้เราเอง ก็ไม่เคยให้เห็นไม่เคยได้ฟังเช่นนั้นเลยว่า พระราชาก็ดี อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาก็ดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่, ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนเพราะกามไม่ได้ แล้วจะเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบเย็นอยู่ ณ ภายใน ในอดีตก็ตาม กำลังอยู่ในปัจจุบันก็ตาม หรือจักอยู่ในอนาคตก็ตาม ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/280/286.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๘๐/๒๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 255
ชื่อบทธรรม : -คนกล่าวคำเท็จเพราะกาม
เนื้อความทั้งหมด :-คนกล่าวคำเท็จเพราะกาม--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! หม่อมฉัน นั่งแล้ว ในที่วินิจฉัยอรรถคดีนั่นแหละ ได้เห็นพวกกษัตริย์มหาศาลบ้าง พวกพราหมณ์มหาศาลบ้าง พวกคฤหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์ในการหาทรัพย์มากมาย มีข้าวเปลือกเป็นหลักทรัพย์อยู่มากมาย ทำการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องทำให้พูดออกมา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน ว่า ‘บัดนี้พอแล้ว ในการวินิจฉัยอรรถคดี, บัดนี้ภัท๎รมุข (วิฑูฑภะ) จักปรากฏตัว ในการวินิจฉัยอรรถคดีสืบไป’ ดังนี้.”--มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น, มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ; มหาราช ! คือข้อที่พวกกษัตริย์มหาศาลบ้าง พวกพราหมณ์มหาศาลบ้าง พวกคฤหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์ในการหาทรัพย์มากมาย มีข้าวเปลือกเป็นหลักทรัพย์อยู่มากมาย ทำการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็น--ต้นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องทำให้พูดออกมา. การทำเช่นนี้ ของคนเหล่านั้น จักเป็นไป เพื่อความทุกข์ อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน ;--ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไปซึ่งเป็นคำร้อยกรอง ว่า :---ผู้ย้อมติดอยู่ในการบริโภคกาม พัวพัน เมาหมกอยู่ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกความหลวมตัวของตัว ดั่งมัศยาชาติ พลัดเข้าสู่เครื่องดัก ฉะนั้น. ความเดือดร้อน ย่อมมีแก่เขา ในภายหลัง เพราะว่า ผล ที่เขาสร้างไว้ เป็นความชั่ว” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/107/343-345.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๑๐๗/๓๔๓-๓๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 256
ชื่อบทธรรม : -อิทธิพลของกาม
เนื้อความทั้งหมด :-อิทธิพลของกาม--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความคิดในกรณีเช่นนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่หม่อมฉันผู้ไปสู่ที่เร้นลับว่า ‘สัตว์เหล่าใด ได้โภคะอันมโหฬารแล้ว ไม่เมาอยู่ด้วย ไม่มัวเมาอยู่ด้วย ไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลายด้วย และไม่ปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วย, สัตว์เหล่านั้นมีน้อยนักในโลก. อันที่จริง สัตว์เหล่าใด ได้โภคะอันมโหฬารแล้ว เมาอยู่ด้วย มัวเมาอยู่ด้วย ถึงความยินดีในกามทั้งหลายด้วย และปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วย, สัตว์เหล่านั้นมีอยู่มากในโลก’ ดังนี้.”--มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น, มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ; มหาราช ! คือข้อที่ สัตว์เหล่าใด ได้โภคะอันมโหฬารแล้ว ไม่เมาอยู่ด้วย ไม่มัวเมาอยู่ด้วย ไม่ถึงความยินดีในกามทั้งหลายด้วย และไม่ปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วย, สัตว์เหล่านั้น มีน้อยนักในโลก. อันที่จริง สัตว์เหล่าใดได้โภคะอันมโหฬารแล้ว--เมาอยู่ด้วย มัวเมาอยู่ด้วย ถึงความยินดีในกามทั้งหลายด้วย และปฏิบัติผิดในสัตว์ ทั้งหลายด้วย, สัตว์เหล่านั้น มีอยู่มากในโลก ;--ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไป ซึ่งเป็นคำร้อยกรอง ว่า :---“ผู้ย้อมติดอยู่ในการบริโภคกาม พัวพัน เมาหมก อยู่ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกความหลวมตัวของตัว เหมือนเนื้อหรือนก พลัดเข้าสู่เครื่องดัก ฉะนั้น. ความเดือดร้อนย่อมมีแก่เขา ในกาลภายหลัง เพราะว่า ผล ที่เขา สร้างไว้ เป็นของชั่ว” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/106/340-342.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๑๐๖/๓๔๐-๓๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 257
ชื่อบทธรรม : -เข้าไปหาความตายเพราะกาม
เนื้อความทั้งหมด :-เข้าไปหาความตายเพราะกาม--เช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ถือบาตร เ ข้าไปบิณฑบาต ในเมืองสาวัตถี, พระพุทธองค์ ได้ทรงเห็นหมู่มนุษย์ในเมืองสาวัตถีเหล่านั้น ซึ่งกำลังข้องเกี่ยว ติดพัน อยู่กะกาม กำหนัดในกาม เมาหมกอยู่ในกาม เป็นอยู่โดยส่วนมาก, จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ ว่า :---“สัตว์ทั้งหลาย ผู้มืดมนธ์เพราะอำนาจแห่งกาม ถูกตัณหา เป็นดุจข่ายเครื่องดักสัตว์ปกคลุมไว้ ถูกเครื่องมุงคือ ตัณหาปิดบังไว้ ถูกหมู่มารซึ่งเป็นเหมือนพวกพ้องของผู้ประมาท จองจำตัวไว้ ย่อมไปสู่ชราและมรณะ เหมือนปลาเข้าไปสู่ปากแห่งเครื่องดัก หรือเหมือนลูกโคที่ยังดื่มนมเข้าไปหาแม่ ฉะนั้น” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. 25/200/150.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๐/๑๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 258
ชื่อบทธรรม : -ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์--ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้นไซร้. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. เรากล่าวว่า เพราะความเพลินเป็นสมุทัย (เครื่องก่อขึ้น) จึงเกิดมีทุกขสมุทัย (ความก่อขึ้นแห่งทุกข์), ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -อุปริ. ม. 14/481/755.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๑/๗๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 259
ชื่อบทธรรม : -เพลินอยู่กับอายตนะภายใน เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-เพลินอยู่กับอายตนะภายใน เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในจักษุ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในโสตะ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในฆานะ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในชิวหา, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในกายะ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในมนะ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -สฬา. สํ. 18/16/19.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 260
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่ง อายตนะภายนอกหก ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่ง อายตนะภายในข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ชื่ออายตนะ).
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่ง อายตนะภายนอกหก ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่ง อายตนะภายในข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ชื่ออายตนะ).--ความอร่อยกลางกองทุกข์--(ความลวงของกาม)--มาคัณฑิยะ ! บุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล สุกปลั่ง ถูกตัวเชื้อโรค แทะกัดอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผลอยู่ รมตัวอยู่ที่หลุมถ่านไฟ. มาคัณฑิยะ ! เขา ทำเช่นนั้นอยู่เพียงใด, ปากแผลของเขา ก็ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็น และ--เปื่อยเน่ามากยิ่งขึ้น อยู่เพียงนั้น, จะมีความรู้สึกสักว่า ความพอใจ และความสบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่แผลได้รับการเกาหรือการอบอุ่น เพราะไฟนั้นเป็นเหตุ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ;--มาคัณฑิยะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สัตว์ทั้งหลาย ยังเป็นผู้ไม่ไปปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาแทะกัดอยู่ ถูกความเร่าร้อน เพราะกามแผดเผาอยู่ ก็ยังขืนเสพกามทั้งหลายอยู่นั่นเอง. มาคัณฑิยะ ! เขายังทำเช่นนั้น อยู่เพียงใด, กามตัณหาของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเจริญขึ้นด้วย เขาถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วย และสัตว์เหล่านั้น จะมีความรู้สึกสักว่าความพอใจ และความสบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่รสอันอาศัยกามคุณ ๕ เป็นเหตุอยู่เพียงนั้น เท่านั้นแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/279/285.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๗๔/๒๘๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 261
ชื่อบทธรรม : -ความอร่อยที่ไม่คุ้มกับความทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความอร่อยที่ไม่คุ้มกับความทุกข์--ภิกษุ ท. ! อริฏฐภิกขุคันธวาธิปุพพะ กล่าวตู่พวกเราด้วย ขุดราก ตนเองด้วย ประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะตัวเองจับฉวยเอาผิด ใน ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างไร, แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็เข้าใจธรรมที่เราแสดง แล้ว เหมือนอย่างอริฎฐภิกขุนั้นหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า ! ธรรมเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วโดยหลายแง่หลายมุม แก่พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ว่า เป็นธรรมที่ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติ, ธรรมเหล่านั้น ก็สามารถที่จะ--ทำอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติได้จริง. กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วว่า มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีเรื่องทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ควรเปรียบเทียบด้วยท่อนแห่งกระดูก, ควรเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ, ควรเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า, ควรเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง, ควรเปรียบด้วยความฝัน, ควรเปรียบด้วยของยืม, ควรเปรียบด้วยผลไม้, ควรเปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ. ควรเปรียบด้วยหอกและหลาว, และควรเปรียบด้วยหัวงู, ดังนี้”--ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว, ที่พวกเธอทั้งหลาย เข้าใจธรรมที่เราแสดง แล้วอย่างนั้น.--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใด ที่เรากล่าวแล้ว โดยหลายแง่หลายมุม แก่พวกเธอทั้งหลาย ว่า เป็นธรรมที่ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติ ธรรมเหล่านั้น ก็สามารถที่จะทำอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติได้จริง. กามทั้งหลาย เรากล่าวแล้ว ว่า มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีเรื่องทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษ อย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ ควรเปรียบด้วยท่อนแห่งกระดูก, ควรเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ, ควรเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า, ควรเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง, ควรเปรียบด้วยของในความฝัน, ควรเปรียบด้วยของยืม, ควรเปรียบด้วยผลไม้, ควรเปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ, ควรเปรียบด้วยหอกและหลาว, และควรเปรียบด้วยหัวงู ฉะนั้น. ก็แต่ว่า อริฎฐภิกขุคันธวาธิปุพพะนี้ เพราะตัวเอง ถือเอาธรรมที่เราแสดงแล้วผิด จึงกล่าวตู่พวกเราด้วย ขุดรากตนเองด้วย และประสพสิ่งมิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย, ข้อนั้น จักเป็นไป เพื่อความทุกข์ อันมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน แก่โมฆบุรุษนั้นแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/266/277.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๖๖/๒๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 262
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนสุนัข ที่หมดกำลังเพราะหิวจัด จะพึงเข้าไปยืนชะเง้ออยู่ ในที่ที่ฆ่าโค. คนฆ่าโคหรือลูกมือของเขา ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะพึง เอาท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่ แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง โยนไปให้สุนัขตัวนั้นแทะ.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สุนัขตัวนั้นแทะท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง นั้นอยู่, จะพึงบรรเทาความหมดกำลัง เพราะหิวจัด ได้ละหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? “เพราะว่าท่อนกระดูกที่ชำแหละเนื้อ ออกหมดแล้วนั้น ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง เท่านั้น. สุนัขตัวนั้น ก็จะได้รับแต่ความเหนื่อยใจ และความแค้นใจโดยแท้ พระเจ้าข้า !”--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็น โดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ว่า มี อุปมาด้วยท่อนกระดูก เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และ มีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ แล้วก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญ ซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขา ที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือของ--อุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/41/47.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๑/๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 263
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยชิ้นเนื้อคาปาก
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยชิ้นเนื้อคาปาก--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนแร้ง หรือเหยี่ยว หรือนกตะกรุมก็ตาม ตัวหนึ่ง คาบชิ้นเนื้อพาบินไป. ฝูงแร้งบ้าง ฝูงเหยี่ยวบ้าง ฝูงนกตะกรุมบ้าง ตามโฉบ ตอมโฉบ นกตัวนั้น เพื่อให้ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น ยังนกตัวนั้นให้ปล่อย ให้คาย.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ถ้าแร้ง หรือ เหยี่ยว หรือนกตะกรุมนั้น ไม่รีบสลัดทิ้งชิ้นเนื้อนั้นเสียไซร้, มันก็จะถึงซึ่ง ความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ?--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณา เห็นโดยประจักษ์ดังนี้ ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ว่า มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และ มีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัย อารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญ ซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์--อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วน เหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/41/48.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๑/๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 264
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยคบเพลิงทวนลม
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยคบเพลิงทวนลม--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถือเอาคบหญ้าแห้ง ที่ติดไฟโพลงอยู่ พาทวนลมไป.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ถ้าบุรุษผู้นั้น ไม่รีบทิ้งคบหญ้าแห้งนั้นเสียโดยเร็วไซร้, คบไฟนั้น ก็จะพึงลามไหม้มือ ไหม้แขน หรือไหม้อวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งของบุรุษนั้น, เขาก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ?--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณา เห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยคบหญ้าแห้ง เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/42/49.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๒/๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 265
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิง ที่ปราศจากเปลวและปราศจากควัน. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษ ที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิง.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? บุรุษนั้น จะไม่บิด ตัวดิ้นไปทางโน้นที ทางนี้ที บ้างแลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ? “เพราะเหตุว่า บุรุษนั้น รู้อยู่ว่าถ้าเราจะตกลงไปสู่หลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้, เราก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตายเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ พระเจ้าข้า !” ดังนี้.--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณา เห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้. ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัย อารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์ อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วน เหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/43/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๓/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 266
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยของในความฝัน
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยของในความฝัน--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ฝันเห็น สวน อันรื่นรมย์ใจบ้าง ป่าไม้อันรื่นรมย์ใจบ้าง ภูมิภาค อันรื่นรมย์ใจบ้าง หรือสระโบกขรณี อันรื่นรมย์ใจบ้าง, ครั้นบุรุษนั้นตื่นขึ้นมา ก็ไม่ได้พบเห็นอะไรเลย.--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็น โดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยของในความฝัน เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้. ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัย อารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์ อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นสิ่งที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/43/51.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๓/๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 267
ชื่อบทธรรม : -กามเปรียบด้วยของยืม
เนื้อความทั้งหมด :-กามเปรียบด้วยของยืม--คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ขอยืมทรัพย์จากผู้อื่นได้แล้ว เอาลงใส่เกวียนน้อย มีตุ้มหูแก้วมณีอันล้ำค่า เป็นต้น. บุรุษผู้นั้น วางของยืม เหล่านั้นไว้ข้างหน้าตัวบ้าง รอบ ๆ ตัวบ้าง ขับผ่านไปตามหมู่ชาวร้าน. หมู่ชน เห็นบุรุษผู้นั้นแล้ว ก็จะพึงกล่าวกันแซ่ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! บุรุษผู้นี้ร่ำรวยจริงหนอ ! ดูซิ, พวกคนรวย เขาใช้สอยโภคะกันอย่างนี้เอง” ดังนี้, ครั้นเจ้าของทรัพย์ พบบุรุษ ซึ่งทำอยู่ดังนั้น ในที่ใด ๆ เขาก็จะทวงเอาทรัพย์ของ--เขาคืนไปเสีย ณ ที่นั้น ๆ นั่นเอง.--คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือควรจะทำอย่างอื่นแก่บุรุษนั้นไหมหนอ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ? “เพราะเหตุว่า ธรรมดาเจ้าของทรัพย์ ก็ต้องทวงเอาทรัพย์ของเขาคืนไป” ดังนี้.--คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยของยืม เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษ อย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/43/52.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๓/๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 17
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site