สัทธรรมลำดับที่ : 227
ชื่อบทธรรม : - ไม่พ้นทุกข์เพราะมัวเพลินในอายตนะ
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า ผัสสะ ในที่นี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือกระแสแห่งการปรุงแต่งในทางจิต, มิใช่บุคคล ; ดังนั้นจึงกล่าวว่า ทุกข์นี้ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เป็นเพียงกระแส แห่งการปรุงแต่งทางจิต).--ไม่พ้นทุกข์เพราะมัวเพลินในอายตนะ--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่กับตา, เพลิดเพลินอยู่กับหู, เพลิดเพลินอยู่กับจมูก, เพลิดเพลินอยู่กับลิ้น, เพลิดเพลินอยู่กับกาย, และเพลิดเพลินอยู่กับใจ ; ผู้นั้น ชื่อว่าเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่กับรูป, เพลิดเพลินอยู่กับเสียง, เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่น, เพลิดเพลินอยู่กับรส, เพลิดเพลินอยู่กับโผฏฐัพพะ, เพลิดเพลินอยู่กับธรรมารมณ์ ; ผู้นั้น ชื่อว่า เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/16/19, 20.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๖/๑๙, ๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 228
ชื่อบทธรรม : -อายตนะหกเป็นทุกขอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-อายตนะหกเป็นทุกขอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อายตนะภายในหก. อายตนะภายในหกเหล่าไหนเล่า ? หกคือ จักขุอายตนะ โสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือ ทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/535/1685.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 229
ชื่อบทธรรม : -กลุ่มอายตนะเป็นของร้อน
เนื้อความทั้งหมด :-กลุ่มอายตนะเป็นของร้อน--ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวง เป็นของร้อน. ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นของร้อน ?--ภิกษุ ท. ! ตา เป็นของร้อน, รูป เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางตา เป็นของร้อน, สัมผัสทางตา เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน.--ภิกษุ ท. ! ร้อนเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า “ร้อนเพราะไฟคือราคะ. ร้อนเพราะไฟคือโทสะ, ร้อนเพราะไฟคือโมหะ, ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ เพราะความตาย เพราะความร่ำไรรำพัน เพราะความทุกข์กาย เพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! หู เป็นของร้อน, เสียง เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางหู เป็นของร้อน, สัมผัสทางหู เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางหูเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...--ภิกษุ ท. ! จมูก เป็นของร้อน, กลิ่น เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางจมูก เป็นของร้อน, สัมผัสทางจมูก เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...--ภิกษุ ท. ! ลิ้น เป็นของร้อน, รส เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางลิ้น เป็นของร้อน, สัมผัสทางลิ้น เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...--ภิกษุ ท. ! กาย เป็นของร้อน, โผฏฐัพพะ เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทั้งทางกาย เป็นของร้อน, สัมผัสทางกาย เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...--ภิกษุ ท. ! ใจ เป็นของร้อน, ธรรมารมณ์ เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางใจ เป็นของร้อน, สัมผัสทางใจ เป็นของร้อน, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน.--ภิกษุ ท. ! ร้อนเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า “ร้อนเพราะไฟ คือราคะ, ร้อนเพราะไฟคือโทสะ, ร้อนเพราะไฟคือโมหะ, ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ เพราะความตาย เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน เพราะความทุกข์กาย เพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/23/31.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๓/๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 230
ชื่อบทธรรม : -กลุ่มอายตนะเป็นของมืด
เนื้อความทั้งหมด :-กลุ่มอายตนะเป็นของมืด--ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวง เป็นของมืด. ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่า ชื่อว่า สิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นของมืด ?--ภิกษุ ท. ! ตา เป็นของมืด, รูป เป็นของมืด ความรู้แจ้งทางตา เป็นของมืด, สัมผัสทางตา เป็นของมืด, เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของมืด.--ภิกษุ ท. ! มืดเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า “มืดเพราะความเกิด เพราะความแก่ เพราะความตาย เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน เพราะความทุกข์กาย เพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ” ดังนี้.--(ในกรณีแห่งหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ได้ตรัสเหมือนกันกับในกรณีแห่งตา).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/25/32.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๕/๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 231
ชื่อบทธรรม : -พิษลูกศรแห่งความทุกข์ของบุถุชน
เนื้อความทั้งหมด :-พิษลูกศรแห่งความทุกข์ของบุถุชน--ภิกษุ ท. ! ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ตามปรารถนา มีอยู่. ห้าประการเหล่าไหนเล่า ? ห้าประการคือ สมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า “สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย, สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลย, สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย, สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลย, สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดาอย่าวินาศเลย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับบุถุชนผู้มิได้สดับ. เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เขาก็ ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า “ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น,--โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ, ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลแม้อาหารก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชงัก พวกอมิตรก็ดีใจ มิตรสหายก็เศร้าใจ” ดังนี้. บุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว ย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า บุถุชนผู้มิได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่.--(ในกรณีแห่งสิ่งที่มี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา มี ความตาย เป็นธรรมดา มี ความสิ้นไป เป็นธรรมดา มี ความวินาศไป เป็นธรรมดา ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาข้างบนนี้.--และพระองค์ยังได้ตรัสไว้ ในลักษณะที่ตรงกันข้ามจากข้อความนี้ สำหรับอริยสาวก ผู้ได้สดับ.)-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/59/48.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๙/๔๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 232
ชื่อบทธรรม : -สุขทุกข์เนื่องจากการมีอยู่แห่งขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-สุขทุกข์เนื่องจากการมีอยู่แห่งขันธ์--ภิกษุ ท. ! เมื่อรูป มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยรูป ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อเวทนา มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อสัญญา มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสัญญา ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อสังขารทั้งหลาย มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสังขารทั้งหลาย ;--ภิกษุ ท. ! เมื่อวิญญาณ มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิญญาณ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/221/346.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๑/๓๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 233
ชื่อบทธรรม : -ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อรอบรู้ทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อรอบรู้ทุกข์--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิศาสนาอื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุ ! ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะโคดม เพื่อประโยชน์อะไรเล่า ? ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชก เหล่านั้นว่า “ผู้มีอายุ ! เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพาชกเหล่านั้น จะพึงถามต่อไปว่า “ผู้มีอายุ ! ก็ทุกข์ซึ่งท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะโคดม เพื่อจะรอบรู้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้อีกแล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชกเหล่านั้นต่อไปว่า “ผู้มีอายุ ! ตา เป็นทุกข์. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้ตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. รูป เป็นทุกข์. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้รูป ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. ความรู้แจ้งทางตา เป็นทุกข์. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรอบรู้ความรู้แจ้งทางตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. สัมผัสทางตา เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้สัมผัสทางตา ซึ่งเป็น--ทุกข์นั้น, เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นทุกข์. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้เวทนาเช่นนั้น ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. (ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายใน ภายนอก วิญญาณ สัมผัส และ เวทนา อีก ๕ หมวดนั้น ก็ตรัสทำนองเดียวกับหมวดแรกนี้). ผู้มีอายุ ! เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคนี้ก็เพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชก ผู้ถือลัทธิศาสนาอื่นเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/172/238.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๒/๒๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 234
ชื่อบทธรรม : -ทุกข์ชนิดปลายแถว
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกข์ชนิดปลายแถว--(ทรงแสดงโดยภาษาคน)--ภิกษุ ท. ! ความยากจน เป็นทุกข์ของคนผู้บริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ย่อมกู้หนี้, การกู้หนี้ นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้ว ต้องใช้ดอกเบี้ย, การต้องใช้ดอกเบี้ย นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้วต้องใช้ดอกเบี้ยไม่อาจใช้ดอกเบี้ยตามเวลา เจ้าหนี้ก็ทวง, การถูกทวงหนี้ นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูกทวงหนี้อยู่ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อมติดตาม, การถูกติดตาม นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูกติดตามอยู่ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อมจับกุม, การถูกจับกุม นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ความยากจน ก็ดี การกู้หนี้ ก็ดี การต้องใช้ดอกเบี้ย ก็ดีการถูกทวงหนี้ ก็ดี การถูกติดตาม ก็ดี การถูกจับกุม ก็ดี, ทั้งหมดนี้ เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.--(ทรงแสดงโดยภาษาธรรม)--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ความไม่มีศรัทธา – หิริ - โอตตัปปะ - วิริยะ - ปัญญา, ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด ; เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.--ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา – หิริ - โอตตัปปะ - วิริยะ - ปัญญา, ในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโน-ทุจริต, เรากล่าว การประพฤติทุจริต ของเขานี้ ว่าเป็น การกู้หนี้.--เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขา เขาตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขา ดำริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา ขวนขวายทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา, เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้ ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้.--เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าวปรารภเขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ ทำอะไร ๆ (น่าเกลียดน่าชัง) อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทำอะไร ๆ (น่าเกลียดน่าชัง) อย่างนี้”, เรากล่าว การถูกกล่าวอย่างนี้ นี้ ว่าเป็น การถูกทวงหนี้.--เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่างก็ตาม อกุศลวิตกอันลามกประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ ย่อม เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขา, เรากล่าว อาการอย่างนี้ นี้ ว่าเป็น การถูกติดตามเพื่อทวงหนี้.--ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติกาย – วจี - มโนทุจริตแล้วภายหลังแต่การตายเพราะการแตกทำลายแห่งกาย ย่อม ถูกจองจำอยู่ในนรก บ้าง ใน กำเนิดเดรัจฉาน บ้าง.--ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นการจองจำอื่นแม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจำในนรก หรือในกำเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความทุกข์ในโลก. คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะเจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง. การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคน บูชาการได้กาม.--ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน : ผู้ใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต - วจีทุจริต - มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา, ผู้นั้น พอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้น ๆ. คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยากจน กู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน. ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร อันเป็นเครื่องทรมานใจ ย่อมติดตามเขา ทั้งในบ้านและในป่า. คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่กำเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจำอยู่ในนรก. การถูกจองจำนั้น เป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย. ...-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/392/316.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 235
ชื่อบทธรรม : -ทุกขอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกขอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้--ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ :- ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้, อริยสัจที่ใครๆควรรอบรู้ มีอยู่. .... ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจคือ ทุกข์. ....--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริง ว่า ‘ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ.....’ ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1709.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 236
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๓
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๓--ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์--จบ--ภาค ๑--ว่าด้วยทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--____________--ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า--“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์--นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว,--ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล--อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,--กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.--พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,--อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร.สํ. - สฬา.สํ.)--ภาค ๒--ว่าด้วย--สมุทยอริยสัจ--ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์--ภาค ๒--มีเรื่อง :- นิทเทศ ๔ ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา ๔๑ เรื่อง--นิทเทศ ๕ ว่าด้วยที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา ๕ เรื่อง--นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์ ๓๑ เรื่อง--นิทเทศ ๗ ว่าด้วยทิฎฐิที่เกี่ยวกับตัณหา ๘ เรื่อง--นิทเทศ ๘ ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย ๑๕ เรื่อง--อริยสัจจากพระโอษฐ์--ภาค ๒--ว่าด้วย--สมุทยอริยสัจ--ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์--(มี ๓ นิทเทศ)--__________--อุทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ที่ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ, ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ; นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/534/1680.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 237
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ--____________--นิทเทศ ๔ ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา--(มี ๔๑ เรื่อง)--ลักษณาการแห่งตัณหา--ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ.--- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๑; และ ๑๙/๕๒๙/๑๖๖๕.--ตัณหา ย่อมปกคลุมบุคคล ผู้ประพฤติตนเป็นคนมัวเมาเหมือนเครือเถามาลุวา (ใบดกขึ้นปกคลุมต้นไม้อยู่) ฉะนั้น. เขาผู้ถูกตัณหาปกคลุมแล้ว ย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ เหมือนวานรต้องการผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น. ตัณหา ซึ่งเป็นของลามก ส่ายซ่านไปได้ทั่วโลกนี้ ครอบงำผู้ใดเข้าแล้ว, ความโศกทั้งหลาย ย่อมลุกลามแก่บุคคลผู้นั้น เหมือนหญ้าวีรณะ๑ ซึ่งงอกงาม แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว ฉะนั้น. ต้นไม้ แม้ถูกตัดแล้ว แต่เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตรายย่อมงอกงามขึ้นมาได้อีก ฉันใด ; ความทุกข์นี้ก็ฉันนั้น, เมื่อตัณหานุสัย (ซึ่งเป็นรากเง่าของมัน) ยังไม่ถูกถอนขึ้นแล้ว, มันย่อมเกิดขึ้นร่ำไป.--๑. วีรณะ เป็นชื่อซึ่งหมายถึงหญ้าที่ขึ้นรกแผ่กว้างโดยเร็วชนิดหนึ่ง ยังไม่ทราบชื่อในภาษาไทย.--ตัณหา ซึ่งมีกระแสสามสิบหกสาย มีกำลังกล้าแข็ง ไหลไปตามใจชอบ ของบุคคลใด มีอยู่, ความดำริซึ่งอาศัยราคะ มีกระแสอันใหญ่หลวง ย่อมพัดพาไป ซึ่งบุคคลนั้น อันมีทิฏฐิ ผิดเป็นธรรมดา.--กระแส (แห่งตัณหา) ย่อมหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง. เถาวัลย์ (คือตัณหา) แตกขึ้นแล้ว ตั้งอยู่. ท่านทั้งหลาย เห็นเถาวัลย์นั้นเกิดขึ้นแล้ว จงตัดรากมันเสีย ด้วยปัญญา.--โสมนัส ซึ่งซาบซ่านและมีเยื่อใย มีอยู่แก่สัตว์, สัตว์เหล่านั้น จึงแสวงสุข เพราะอาศัยความยินดี, สัตว์เหล่านั้น แหละเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา.--หมู่สัตว์ เผชิญหน้าด้วยตัณหา (เครื่องให้เกิดความสะดุ้ง) ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกระต่ายที่ติดบ่วง เผชิญหน้านายพราน กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น. สัตว์ผู้ข้องแล้วด้วยสัญโญชน์ ก็เข้าถึงความทุกข์อยู่ร่ำไป ตลอดกาลนาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/60/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๖๐/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 238
ชื่อบทธรรม : -สักกายสมุทัยไวพจน์แห่งตัณหา
เนื้อความทั้งหมด :-สักกายสมุทัยไวพจน์แห่งตัณหา--ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ทำให้เพลิน อย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ; ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า สักกายสมุทัย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/194/286.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๔/๒๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 239
ชื่อบทธรรม : - เจ้าเหนือหัวของสัตว์โลก
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น แทนที่จะตรัสว่า สักกายสมุทัย แต่ตรัสเรียกว่า สักกายสมุทัยยันตะ ก็มี. - ๑๗/๑๙๒/๒๗๖).--เจ้าเหนือหัวของสัตว์โลก--“โลก ถูกอะไรชักนำไป ? โลก ถูกอะไรฉุดดึงไปรอบ ๆ ? สัตว์โลกทั้งหมด ตกอยู่ในอำนาจของสิ่ง ๆเดียวกันนั้น คืออะไร ?”--โลก ถูกตัณหาชักนำไป, โลก ถูกตัณหาฉุดดึงไปรอบๆ. สัตว์โลกทั้งหมด ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งๆ เดียว สิ่งนั้น คือ ตัณหา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. 15/54/182-183.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา. สํ. ๑๕/๕๔/๑๘๒-๑๘๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 240
ชื่อบทธรรม : -สัญโญชน์อย่างเอก
เนื้อความทั้งหมด :-สัญโญชน์อย่างเอก--ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นสัญโญชน์อื่น แม้แต่อย่างเดียว ซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสารตลอดกาลนานอย่างนี้ เหมือนอย่าง ตัณหาสัญโญชน์ นี้. ภิกษุ ท. ! เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยตัณหาสัญโญชน์แล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร ตลอดกาลนาน โดยแท้จริง แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อติวุ. ขุ. 25/236/193.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖/๑๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 241
ชื่อบทธรรม : -เครื่องจูงใจสู่ภพ
เนื้อความทั้งหมด :-เครื่องจูงใจสู่ภพ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ๑ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้, ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร ? พระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ?”--๑. อรรถกถาแก้คำ ว่า ‘ภวเนตฺติ’ ซึ่งใน ที่นี้แปลว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ’ ว่า ‘ภวรชฺขุ’ ซึ่งหมายถึง เชือก หรือบ่วง ที่จะจูงสัตว์ไปสู่ภพ.--ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี ตัณหาก็ดี และอุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทานอันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใด ๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ ; กิเลสเหล่านี้นี่เรา เรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ.’ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลสมีฉันทราคะเป็นต้นเหล่านั้นเอง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/233/368.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 242
ชื่อบทธรรม : -พืชของภพ
เนื้อความทั้งหมด :-พืชของภพ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ – ภพ’ ดังนี้. ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ). การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อหา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ), การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/287/516.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 243
ชื่อบทธรรม : -เหตุให้มีการเกิด
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุให้มีการเกิด--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ – ภพ’ ดังนี้. ภพ ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า”--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?--“หามิได้ พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต. การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.--อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/288/517.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 244
ชื่อบทธรรม : -ที่เกิดแห่งอุปธิ
เนื้อความทั้งหมด :-ที่เกิดแห่งอุปธิ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาสืบต่อไป ย่อมพิจารณาลึกลงไปอีกว่า “อุปธินี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด ? และมีอะไรเป็นแดนเกิด ? เมื่ออะไรมีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ ? เมื่ออะไรไม่มี อุปธิก็ไม่มี ?” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้ชัดอย่างนี้ว่า “อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด, และมีตัณหาเป็นแดนเกิด ; เมื่อตัณหามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่, เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/131/257.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๑/๒๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site