สัทธรรมลำดับที่ : 206
ชื่อบทธรรม : -เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นอนัตตา
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นอนัตตา--ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา. ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป ก็เป็นอนัตตา, รูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็น อัตตาได้อย่างไร ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา. ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็เป็นอนัตตา, เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร ;--ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา. ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญา ก็เป็นอนัตตา, สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร ;--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา. ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัยเพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขารทั้งหลาย ก็เป็นอนัตตา, สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา. ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็เป็นอนัตตา, วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/30/47.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๐/๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 207
ชื่อบทธรรม : -เบญจขันธ์เป็นภาระที่หนัก
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจขันธ์เป็นภาระที่หนัก--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงภาระ (ของหนัก)... แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นของหนัก ? ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งห้า นั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ. ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/32/49.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 208
ชื่อบทธรรม : -เบญจขันธ์เป็นทั้งผู้ฆ่าและผู้ตาย
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจขันธ์เป็นทั้งผู้ฆ่าและผู้ตาย--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘มาร มาร’ ดังนี้, เขากล่าวกันว่า ‘มาร’ เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) รูป มีอยู่, มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี.--ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) เวทนา มีอยู่, มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็ จะมีหรือผู้ตายก็จะมี.--ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สัญญา มีอยู่, มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี.--ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สังขารทั้งหลาย มีอยู่, มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี.--ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) วิญญาณ มีอยู่, มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี.--ราธะ ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ เธอ พึงเห็นรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี ว่าเป็นมาร, ว่าเป็นผู้ให้ตาย, ว่าผู้ตาย, ว่าโรค, ว่าหัวฝี, ว่าลูกศร, ว่าทุกข์, และว่าทุกข์ที่เกิดแล้ว, บุคคลเหล่าใดเห็นขันธ์ทั้งห้าในลักษณะเช่นนี้ บุคคลเช่นนั้นชื่อว่าเห็นอยู่โดยชอบ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/231/366.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๑/๓๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 209
ชื่อบทธรรม : -เบญจขันธ์เป็นกองถ่านเถ้ารึง
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจขันธ์เป็นกองถ่านเถ้ารึง--ภิกษุ ท. ! รูป เป็นกองถ่านเถ้ารึง,๑ เวทนา เป็นกองถ่านเถ้ารึง, สัญญา เป็นกองถ่านเถ้ารึง, สังขารทั้งหลาย เป็นกองถ่านเถ้ารึง, และวิญญาณ เป็นกองถ่านเถ้ารึง.--ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้ยินได้ฟัง เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน--๑. ถ่านเถ้ารึง คือ ไฟถ่านที่ซ่อนอยู่ใต้ขี้เถ้าร้อน.--สัญญา, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย, และย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน วิญญาณ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/217/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๗/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 210
ชื่อบทธรรม : -เบญจขันธ์เป็นเครื่องผูกพันสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจขันธ์เป็นเครื่องผูกพันสัตว์--ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำ ในธรรมของสัตบุรุษ :---ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่งรูป โดยความเป็นตนหรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย บ้าง ;--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือรูปบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือเวทนาบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือสัญญาบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือสังขารทั้งหลายบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือวิญญาณบ้าง ;--เป็นผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันทั้งภายในและภายนอก เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร) เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน), เกิดอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน, แก่อยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน, ตายอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน, จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นอย่างผู้มีเครื่องผูกพัน แล.--ขนธ. สํ. ๑๗/๒๐๐/๓๐๔.--เรียกกันว่า “สัตว์” เพราะติดเบญจขันธ์--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, เขากล่าวกันว่า ‘สัตว์’ เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า !”--ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป, สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้ ;--ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;--ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;--ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;--ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในวิญญาณ, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/232/367.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 211
ชื่อบทธรรม : -ไม่รู้จักเบญจขันธ์ชื่อว่ามีอวิชชา
เนื้อความทั้งหมด :-ไม่รู้จักเบญจขันธ์ชื่อว่ามีอวิชชา--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ ดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อมไม่รู้จักรูป, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของรูป, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของรูป, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป ; เขาย่อมไม่รู้จักเวทนา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา ; เขาย่อมไม่รู้จักสัญญา, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา ; เขาย่อม ไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ; และเขาย่อม ไม่รู้จักวิญญาณ, ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ, ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ. ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้เราเรียกว่า ‘อวิชชา’ และบุคคลชื่อว่ามีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/198/300.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 212
ชื่อบทธรรม : -เพลินในเบญจขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-เพลินในเบญจขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในรูป, ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลิน อยู่ในเวทนา, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสัญญา, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสังขารทั้งหลาย, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ ;--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในวิญญาณ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ สํ. 17/39/64.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ สํ. ๑๗/๓๙/๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 213
ชื่อบทธรรม : -ต้องละฉันทราคะในเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-ต้องละฉันทราคะในเบญจขันธ์--ภิกษุ ท. ! สิ่งใดไม่เที่ยง, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าไม่เที่ยง ? ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง, เวทนา ไม่เที่ยง, สัญญา ไม่เที่ยง, สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง, และวิญญาณ ไม่เที่ยง. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่ไม่เที่ยง พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/217/337.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๗/๓๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 214
ชื่อบทธรรม : สิ่งใดเป็นทุกข์, พวกเธอพึงละฉันทราคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นทุกข์, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นทุกข์ ? ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์, เวทนาเป็นทุกข์, สัญญา เป็นทุกข์, สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์, และวิญญาณ เป็นทุกข์. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นทุกข์ พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/218/338.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๘/๓๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 215
ชื่อบทธรรม : สิ่งใดเป็นอนัตตา, พวกเธอพึงละฉันทราคะ
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นอนัตตา, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นอนัตตา ? ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา, เวทนา เป็นอนัตตา, สัญญา เป็นอนัตตา, สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา, และวิญญาณ เป็นอนัตตา. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/218/341.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๘/๓๔๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 216
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๒
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๒--ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานักขันธ์--จบ--นิทเทศ ๓ ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์--(มี ๑๘ เรื่อง)--หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่ เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไรร่ำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์, ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ ; กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่, ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่, ที่คลายช้า มีอยู่, และที่คลายเร็ว มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล ; หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่า “ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้น ก็มีการแสวงหาที่พึ่ง ภายนอกเป็นผล. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.--ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....--ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์, พึงรู้จักผลของทุกข์, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/464/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 217
ชื่อบทธรรม : -ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกขอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกขอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. อุปาทานขันธ์ห้า อย่างไรเล่า ? อุปาทานขันธ์ห้าคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาญูปาทานขันธ์. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/534/1679.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 218
ชื่อบทธรรม : -ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นทุกข์--ภิกษุ ท. ! ทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานักขันธ์ นั้นแหละ เรากล่าวว่า เป็นทุกข์. อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ อุปาทานขันธ์คือ รูป, อุปาทานขันธ์คือ เวทนา, อุปาทานขันธ์คือสัญญา, อุปาทานขันธ์คือ สังขาร, และอุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ . ภิกษุ ท. ! นี้แล เรียกว่า ทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/193/280.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓/๒๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 219
ชื่อบทธรรม : -ทรงแสดงลักษณะความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงแสดงลักษณะความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำว่า ‘ทุกข์ ๆ’ ดังนี้ เป็นคำที่เขากล่าวกันอยู่ ทุกข์นั้นเป็น อย่างไร พระเจ้าข้า ?”--ราธะ ! รูป แล เป็นทุกข์, เวทนา เป็นทุกข์, สัญญา เป็นทุกข์, สังขาร ท. เป็นทุกข์, วิญญาณ เป็นทุกข์.--ราธะ ! อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร ท. แม้ในวิญญาณ. ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/240/381.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔๐/๓๘๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 220
ชื่อบทธรรม : - ทรงแสดงลักษณะแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น (๑๗/๒๔๐/๓๘๒) ได้ตรัสเรียกสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ว่า ทุกขธรรม คือ มีทุกข์เป็นธรรมดา).--ทรงแสดงลักษณะแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! คำว่า ‘ทุกข์ ๆ’ ดังนี้ เป็นคำที่เขากล่าวกันอยู่. ทุกข์หรือการบัญญัติว่าทุกข์ พึงมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ?”--สมิทธิ ! จักษุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด, ทุกข์ หรือการบัญญัติว่าทุกข์ ย่อมมีอยู่ในที่นั้น.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความมีลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/48/74.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๘/๗๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 221
ชื่อบทธรรม : -ความเป็นทุกข์สามลักษณะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความเป็นทุกข์สามลักษณะ--ภิกษุ ท. ! ความเป็นทุกข์ มีสามลักษณะเหล่านี้. สามลักษณะ เหล่าไหนเล่า ? สามลักษณะคือ :---๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก,--๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว,--๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ความเป็นทุกข์สามลักษณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/85/319.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๕/๓๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 222
ชื่อบทธรรม : -ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ
เนื้อความทั้งหมด :-ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป บันเทิงแล้วในรูป ย่อม อยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ตามเป็นจริง ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิงในรูป ยังคงอยู่เป็นสุขแม้เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/159/216.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 223
ชื่อบทธรรม : -เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ
เนื้อความทั้งหมด :-เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี รูป เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วในรูป บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป ;--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี เสียง เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในเสียง บันเทิงด้วยเสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง ;--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี กลิ่น เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในกลิ่น บันเทิงด้วยกลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น ;--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี รส เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วในรส บันเทิงด้วยรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของรส ;--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี โผฎฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วโผฎฐัพพะ บันเทิงด้วยโผฎฐัพพะ. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของโผฏฐัพพะ ;--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี ธรรมารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลายและความดับไปของธรรมารมณ์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/161/218.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 224
ชื่อบทธรรม : -ทุกข์เพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกข์เพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งมีกำเนิดแต่ภูเขา ไหลไปทางต่ำสิ้นระยะไกล มีกระแสเชี่ยวจัด. ถ้าหากหญ้ากาสะก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพพชะก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตาม เกิดอยู่ที่ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้นไซร้, หญ้าหรือต้นไม้เหล่านั้น ก็จะพึงย้อยลงปกฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้น. บุรุษผู้หนึ่ง ถูกกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดมา ถ้าจะจับหญ้ากาสะก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพพชะก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็จะพึงขาดหลุดไป (เพราะกระแสเชี่ยวจัดของแม่น้ำ). บุรุษผู้นั้นย่อมถึงการพินาศ เพราะการทำเช่นนั้น, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม ตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่งรูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในรูป, รูปนั้นย่อม--แตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง ;--บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในเวทนา, เวทนานั้นย่อมแตกสลาย แก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง ;--บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในสัญญา, สัญญานั้นย่อมแตกสลาย แก่เขา, เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง ;--บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขาร ทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย, สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง ;--บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีอยู่ในวิญญาณ, วิญญาณนั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/168/237.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๘/๒๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 225
ชื่อบทธรรม : -ทุกข์คือกระแสการปรุงแต่งทางจิต
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกข์คือกระแสการปรุงแต่งทางจิต--(ไม่มีบุคคลผู้ทุกข์)--กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า “ผู้นั้นกระทำผู้นั้นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า “ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง” ดังนี้ : นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิที่ถือว่าเที่ยง). กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า “ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า “ความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้” ดังนี้ : นั่นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).--กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า “เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; ....ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ.... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;.... ฯลฯ.... ฯลฯ....ฯลฯ....เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล, ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/24/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๔/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 226
ชื่อบทธรรม : - เรากล่าวว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปปันนธรรม)
เนื้อความทั้งหมด :-(พุทธศาสนามิได้ถือว่าจิตเป็นบุคคล กระแสการปรุงแต่งทางจิตเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ ผลที่เกิดขึ้นเป็นความทุกข์จึงมิใช่การกระทำของบุคคลใด ; ดังนั้น จึงมิใช่การกระทำของบุคคลผู้รู้สึกเป็นทุกข์ หรือการกระทำของบุคคลอื่นใดที่ทำให้บุคคลอื่นเป็นทุกข์. นี้เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตา ไม่มีสัตว์บุคคลที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตาซึ่งจิตรู้สึกได้เท่านั้น ; เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา ที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงที่สุด).--อุปวาณะ ! เรากล่าวว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปปันนธรรม). ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ? อุปวาณะ ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ....--ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.--ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.--ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วยก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.--ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ก็หามิได้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/49/87.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๔๙/๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 15
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site