สัทธรรมลำดับที่ : 176
ชื่อบทธรรม : -(ข.) วิภาคแห่งปัญจุปาทานักขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-(ข.) วิภาคแห่งปัญจุปาทานักขันธ์--ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! รูป ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่--แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! ขันธ์ที่ยังมีอุปาทานห้าขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/59/96.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๙/๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 177
ชื่อบทธรรม : -อุปาทานสี่
เนื้อความทั้งหมด :-อุปาทานสี่--ภิกษุ ท. ! อุปาทานมี ๔ อย่าง เหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ :---๑. กามุปาทาน ความถือมั่นใน กาม--๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นใน ทิฎฐิ--๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นใน ศีลพรต--๔. และอัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นใน วาทะว่าตน.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/88/337.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๘/๓๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 178
ชื่อบทธรรม : -(คำอธิบายตามนัยแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี อภิธัมมปิฎก ๓๔/๓๐๖/๗๘๐ มีดังนี้ :-)
เนื้อความทั้งหมด :-(คำอธิบายตามนัยแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี อภิธัมมปิฎก ๓๔/๓๐๖/๗๘๐ มีดังนี้ :-)--ธรรมทั้งหลายชื่อ อุปาทาน เป็นอย่างไร ? อุปาทานสี่ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน.--ในอุปาทานสี่นั้น, กามุปาทาน เป็นอย่างไร ? กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความยินดีในกาม) กามนันทิ (ความเพลินในกาม) กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) กามสิเนหะ (ความเยื่อใยในกาม) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนในกาม) กามมุจฉา (ความสยบในกาม) กามัชโฌสานะ (ความเมาหมกในกาม) ในกามทั้งหลายใดๆ. นี้ เรียกว่า--กามุปาทาน.--ในอุปาทานสี่นั้น, ทิฏฐุปาทาน เป็นอย่างไร ? “ของที่ให้แล้วไม่มี, ของที่บูชาแล้วไม่มี, ของที่บวงสรวงแล้วไม่มี, ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี, โลกนี้ไม่มี, โลกอื่นไม่มี, มารดาไม่มี, บิดาไม่มี, สัตว์ผู้โอปปาติกะไม่มี, เหล่าสมณพราหมณ์ผู้ไปถูก ปฏิบัติถูก คือผู้ที่ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้รู้ไม่มีในโลก”. ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ, ไปแล้วด้วยทิฏฐิ, รกชัฏด้วยทิฏฐิ, กันดารด้วยทิฏฐิ, เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ, โยกโคลงด้วยทิฏฐิ, รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ, การจับ, การจับยึดไว้, การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา, การลูบคลำ, มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด, การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด. นี้ เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน. ยกเว้น สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานเสียแล้ว แม้ทั้งหมดเป็นมิจฉาทิฏฐิสิ้น ชื่อทิฏฐุปาทาน.--ในอุปาทานสี่นั้น, สีลัพพตุปาทาน เป็นอย่างไร ? “ความสะอาดด้วยศีล, ความสะอาดด้วยวัตร ความสะอาดด้วยศีลพรตของเหล่าสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่ศาสนานี้”. ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ, ไปแล้วด้วยทิฏฐิ, รกชัฏด้วยทิฏฐิ, กันดารด้วยทิฏฐิ, เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ, โยกโคลงด้วยทิฏฐิ, รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ, การจับ, การจับยึดไว้, การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา, การลูบคลำ, มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด, การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด. นี้ เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.--ในอุปาทานสี่นั้น. อัตตวาทุปาทาน เป็นอย่างไร ? บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังในโลกนี้ ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ; ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาก็ดี, ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งอัตตา เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณก็ดี, ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอซึ่งรูป เวทนา สังขารและวิญญาณว่ามีอยู่ในอัตตาก็ดี, หรือว่า ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งอัตตาว่ามีอยู่ ในรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณก็ดี. ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใดๆ เป็นทิฏฐิ, ไปแล้วด้วยทิฏฐิ, รกชัฏด้วยทิฏฐิ, กันดารด้วยทิฏฐิ, เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ, โยกโคลงด้วยทิฏฐิ, รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ, การจับ, การจับยึดไว้, การยึดถือเอาไว้อย่าง--แน่นหนา, การลูบคลำ, มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด, การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด. นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.--เหล่านี้ คือ ธรรมทั้งหลาย ชื่อ อุปาทาน.--รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้นหรือ ?--ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้ เท่านั้น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีอะไรเป็นรากเง่าเล่าพระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นรากเง่า แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/101/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 179
ชื่อบทธรรม : -อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน
เนื้อความทั้งหมด :-อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ เหล่านั้น ? หรือว่าอุปทาน เป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเล่า ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวปัญจุปาทานักขันธ์, แต่อุปาทานนั้น ก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย ; เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทานในที่นี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/101/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 180
ชื่อบทธรรม : -อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม) และตัวอุปาทาน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร ? และ ตัวอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น ;--ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสัญญานั้น ;--ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญาณนั้น.--ภิกษุ ท. ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/202/309.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 181
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐) และอายตนะภายนอกหก (๑๘/๑๓๖/๑๙๐).
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่นทรงแสดง อุปาทานิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐) และอายตนะภายนอกหก (๑๘/๑๓๖/๑๙๐).--เบญจขันธ์ได้นามว่าสักกายะและสักกายันตะ--ภิกษุ ท. ! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! คำตอบ คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า. ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายะ.--ภิกษุ ท. ! สักกายันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! คำตอบคือ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า. ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายันตะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/193, 192/285, 275.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓, ๑๙๒/๒๘๕, ๒๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 182
ชื่อบทธรรม : -ที่ติดของสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-ที่ติดของสัตว์--ภิกษุ ท. ! สังสารวัฏนี้ เป็นสิ่งที่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลรู้ไม่ได้ (เพราะเป็นวงกลม), เบื้องต้น เบื้องปลาย ไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งหลายซึ่งมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน กำลังแล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนสุนัข ถูกผูกด้วยเครื่องผูกสุนัข ซึ่งเขาผูกไว้ที่หลักหรือเสา อันมั่นคง : ถ้ามันจะเดินก็เดินเบียดหลักหรือเสา นั้นเอง, ถ้ามันจะยืนก็ยืนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, ถ้ามันจะนั่งก็นั่งเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, ถ้ามันจะนอนก็นอนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง, อุปมานี้ ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่ง รูป ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็น--ตัวตนของเรา” ดังนี้ ; ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง เวทนา ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ; ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สัญญา ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้; ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ; และย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง วิญญาณ ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้. ถ้าบุถุชนนั้นเดินอยู่ก็เดินอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง, ถ้าบุถุชนนั้นยืนอยู่ก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง, ถ้าบุถุชนนั้นนั่งอยู่ก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง, ถ้าบุถุชนนั้นนอนอยู่ ก็นอนอยู่ใกล้ ๆ ปัญจุปาทานักขันธ์นี้เอง.--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ บุคคลควรพิจารณาดูจิตของตนอยู่เสมอไป ว่า “จิตนี้ เศร้าหมองแล้ว ด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดกาลนาน” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/183/258.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘๓/๒๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 183
ชื่อบทธรรม : -ผู้ติดบ่วง - ผู้หลุดจากบ่วง
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้ติดบ่วง - ผู้หลุดจากบ่วง--ภิกษุ ! บุคคลผู้ยึดมั่นอยู่ เรียกว่ามีเครื่องผูกแห่งมาร. ผู้ไม่ยึดมั่นอยู่ เรียกว่า พ้นแล้วจาก (เครื่องผูกแห่ง) มาร.--“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้าพระองค์เข้าใจซึมซาบแล้ว. ข้าแต่พระสุคต ! ข้าพระองค์เข้าใจซึมซาบแล้ว”.--ภิกษุ ! เธอ เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดาร ว่าอย่างไร ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลผู้ยึดมั่นอยู่ ซึ่งรูป ... ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ ชื่อว่ามีเครื่องผูกแห่งมาร ; ส่วนผู้ไม่ยึดมั่นอยู่ ซึ่งรูป ... ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณ ชื่อว่าพ้นแล้วจาก (เครื่องผูกแห่ง) มาร. ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งคำ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”--สาธุ สาธุ ภิกษุ ! เธอ เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างดี. ภิกษุ ! เนื้อความแห่งคำอันเรากล่าวแล้วโดยย่อ นี้ บุคคลพึงเห็นโดยพิสดาร อย่างนั้นแหละ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/91/138.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๙๑/๑๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 184
ชื่อบทธรรม : -[ในสูตรนี้ ใช้คำว่า “ยึดมั่นอยู่” (อุปาทิยมาน) สำหรับการติดบ่วง ; ในสูตรอื่น ใช้คำว่า “สำคัญมั่นหมายอยู่” (มญฺฌมาน) ก็มี, ใช้คำว่า “หลงเพลิดเพลินอยู่” (อภินนฺทมาน) ก็มี; ซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนกันได้. (๑๗/๙๒, ๙๓/๑๔๐, ๑๔๑)].
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรนี้ ใช้คำว่า “ยึดมั่นอยู่” (อุปาทิยมาน) สำหรับการติดบ่วง ; ในสูตรอื่น ใช้คำว่า “สำคัญมั่นหมายอยู่” (มญฺฌมาน) ก็มี, ใช้คำว่า “หลงเพลิดเพลินอยู่” (อภินนฺทมาน) ก็มี; ซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนกันได้. (๑๗/๙๒, ๙๓/๑๔๐, ๑๔๑)].--ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน....แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น กระทำไว้ในใจให้สำเร็จประโยชน เราจักกล่าวบัดนี้.--ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ, เขาย่อม ตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งรูป โดยความเป็นตน บ้าง, ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งตน ว่ามีรูป บ้าง, ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตนบ้าง, ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ; แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่เขา, วิญญาณของเขาก็เป็นวิญญาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น ; (เมื่อเป็นเช่นนั้น) ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว อันเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูปย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ ; เพราะความที่จิตถูกครอบงำด้วยธรรมเป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว เขาก็เป็นผู้หวาดสะดุ้ง คับแค้น พะว้าพะวัง และสะดุ้งหวาดเสียวอยู่ด้วยอุปาทาน.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับการตามเห็น เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป).--ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนธ. สํ. 17/20/31-32.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนธ. สํ. ๑๗/๒๐/๓๑-๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 185
ชื่อบทธรรม : -ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน....แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว บัดนี้.--ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อม ตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งรูป ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้. แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่เขา. เพราะความแปรปรวนเป็นโดยประการอื่นแห่งรูป โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่บุถุชนนั้น. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มี ข้อความที่ตรัสเหมือนกับในกรณีแห่งรูป).--ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/24/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๔/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 186
ชื่อบทธรรม : -ลัทธิอื่นไม่รู้จักเรื่องอัตตวาทุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-ลัทธิอื่นไม่รู้จักเรื่องอัตตวาทุปาทาน--ภิกษุ ท. ! อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ; ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่น--ในทิฏฐิ ; ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลพรต ; ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นในวาทะว่าตน.--ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวง, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน) ทั้งสาม (นอกนั้น) เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งที่ปฏิญาณตัวว่าเป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือเขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน, แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติการรอบรู้ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน, แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน) ทั้งสอง (นอกนั้น) เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้--บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน, แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง, แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน, บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง ทิฏฐุปาทาน, และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง สีลัพพตุปาทาน ; แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน) หนึ่งอันนี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน, บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน, และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน ; แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ซึ่งอัตตาวาทุปาทาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/132/156.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๒/๑๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 187
ชื่อบทธรรม : -ตอน ๒ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยสรุป
เนื้อความทั้งหมด :-ตอน ๒ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยสรุป--เบญจขันธ์เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ .... พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น. ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้, เวทนา เป็น สิ่งที่ควรรอบรู้, สัญญาเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้, และวิญญาณ เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้.--ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า สิ่งที่ควรรอบรู้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/33/54.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๓/๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 188
ชื่อบทธรรม : -มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์)
เนื้อความทั้งหมด :-มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เล่า ? พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์ ;--ภิกษุ ! ผัสสะ(การประจวบแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์ ;--ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์ ;--ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์ ;--ภิกษุ ! นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/102/124.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๒/๑๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 189
ชื่อบทธรรม : -เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ--อานนท์ ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธออย่างนี้ว่า “ท่านอานนท์ ! กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว จักถูกบัญญัติ และย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่ธรรมเหล่าไหนเล่า ?” ดังนี้. อานนท์ ! เธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบเขาว่าอย่างไร ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามข้าพระองค์เช่นนั้นแล้ว ข้าแต่พระองค์จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้วแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น, ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.’ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ เมื่อถูกถามอย่างนั้น จะพึงตอบแก่เขาอย่างนี้.”--ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็น--อย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว ; กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น. อานนท์ ! เธอ เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงตอบแก่เขาอย่างนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/47-49/81-82.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๗-๔๙/๘๑-๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 190
ชื่อบทธรรม : -การถูกตราหน้าเพราะอนุสัยในเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-การถูกตราหน้าเพราะอนุสัยในเบญจขันธ์--ถูกแล้ว ภิกษุ ! ถูกแล้ว ภิกษุ ! ภิกษุ ! เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ (ว่าถ้ามีอนุสัยในสิ่งใด จะถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น), ได้โดยพิสดาร อย่างถูกต้องแล้ว.--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน รูป, เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น ;๑--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา, เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน เวทนา นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัย ในสัญญา, เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สัญญา นั้น ;--๑. อนุสัย ในที่นี้ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย และ อวิชชานุสัย เป็นต้น, และเขาจะถูกตราหน้าว่า เป็นคนกำหนัดแล้วด้วยกามราคานุสัย, หรือเป็นคนโกรธแล้วด้วยปฏิฆานุสัย, หรือว่าเป็นคนหลงแล้วด้วยอวิชชานุสัย ในเพราะรูปเป็นต้น ดังนี้.--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย, เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ, เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้น.--(ปฏิปักขนัย)--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน รูป, เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน เวทนา, เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน เวทนา นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน สัญญา, เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สัญญา นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย, เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น ;--ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ, เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้นเลย.--ภิกษุ ! เนื้อความแห่งภาษิตอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ ใคร ๆ พึงเห็นโดยพิสดาร ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/44/75.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๔/๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 13
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site