สัทธรรมลำดับที่ : 150
ชื่อบทธรรม : -ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ เวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ เวทนา--ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น, สุขโสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของเวทนา ; เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของเวทนา ; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา ด้วยอุบายใด ๆ , อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากเวทนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/35/59.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๕/๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 151
ชื่อบทธรรม : -เวทนาขันธ์ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาขันธ์ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้ คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนาอันเกิดแต่สัมผัสทางกาย, และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา ; ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่ง ผัสสะ ;ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/73/114.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๓/๑๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 152
ชื่อบทธรรม : -ประมวลสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-ประมวลสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเวทนา--พระอานนท์ได้กราบทูลถามว่า :---“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เวทนา เป็นอย่างไรหนอ ? ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างไร ? ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไร ? ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไร ? อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา ? อะไรเป็นโทษ เลวทรามของเวทนา ? อะไรเป็นอุบายเครื่องออกจากเวทนา ?”--อานนท์ ! เวทนา มี ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ; อานนท์ ! นี้เราเรียกว่าเวทนา. ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อม--มีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ. ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ. มรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สุขโสมนัสอันใดเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนา นั้นคือรสอร่อยของเวทนา. เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นั้นคือโทษเลวทรามของเวทนา. การกำจัด การละเสีย ซึ่งฉันทราคะใน เวทนา นั้นคืออุบายเป็นเครื่องออกจากเวทนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/272/399.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๗๒/๓๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 153
ชื่อบทธรรม : -๓. วิภาคแห่งสัญญขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-๓. วิภาคแห่งสัญญขันธ์--สัญญาหก--ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้คือ สัญญาในรูป, สัญญาในเสียง, สัญญาในกลิ่น, สัญญาในรส, สัญญาในโผฏฐัพพะ, และสัญญาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สัญญา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/74/115.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 154
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “สัญญา”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “สัญญา”--ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา. สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลืองบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ใน--สิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธฺ. สํ. 17/105/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธฺ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 155
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งสัญญา
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งสัญญา--ภิกษุ ท. ! เมื่อเดือนท้ายแห่งฤดูร้อนยังเหลืออยู่, ในเวลาเที่ยงวัน พยับแดดย่อมไหวยิบยับ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นพยับแดดนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, พยับแดดนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในพยับแดดนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การบังเกิดขึ้นแห่ง) สัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในสัญญานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/172/244.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๒/๒๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 156
ชื่อบทธรรม : -หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ สัญญา
เนื้อความทั้งหมด :-หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ สัญญา--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักสัญญา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา, พึงรู้จักผลของสัญญา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง สัญญาหก เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์.--ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ผัสสะ (การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุ เป็นแดน เกิดของสัญญา.--ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สัญญาในรูปก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในเสียงก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในกลิ่นก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในรสก็เป็นอย่างหนึ่ง, สัญญาในโผฏฐัพพะก็เป็นอย่างหนึ่ง, และสัญญาในธรรมารมณ์ก็เป็นอย่างหนึ่ง. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของสัญญา.--ภิกษุ ท. ! ผลของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวสัญญา ว่า มีถ้อยคำที่พูดออกมานั้นแหละ เป็นผล, เพราะบุคคลย่อมพูด--ไปตามสัญญา โดยรู้สึกว่า “เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ๆ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผลของสัญญา.--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.--ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....--ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักสัญญา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของสัญญา, พึงรู้จักผลของสัญญา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/461/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๑/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 157
ชื่อบทธรรม : -สัญญามีธรรมดาแปรปรวน
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญามีธรรมดาแปรปรวน--ภิกษุ ท. ! สัญญาในรูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญญาในเสียง เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญญาในกลิ่น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญญาในรส เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญญาในโผฎฐัพพะ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญญาในธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/280/474.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๐/๔๗๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 158
ชื่อบทธรรม : -การเกิดของสัญญาเท่ากับการเกิดของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-การเกิดของสัญญาเท่ากับการเกิดของทุกข์--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/285/489.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 159
ชื่อบทธรรม : -ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สัญญา
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สัญญา--ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัย สัญญา แล้วเกิดขึ้น, สุขโสมนัส นี้แล เป็นรสอร่อย (อัสสาทะ) ของสัญญา ; สัญญาไม่เที่ยง--เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็นโทษ (อาทีนพ) ของสัญญา ; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา ด้วยอุบายใด ๆ, อุบายนี้แล เป็นเครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากสัญญา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/35, 78/59, 121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๕, ๗๘/๕๙, ๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 160
ชื่อบทธรรม : -สัญญาขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญาขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้ คือ สัญญาในรูป, สัญญาในเสียง, สัญญาในกลิ่น, สัญญาในรส, สัญญาในโผฏฐัพพะ, และสัญญาในธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สัญญา. ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/74/115.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 161
ชื่อบทธรรม : -๔. วิภาคแห่งสังขารขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-๔. วิภาคแห่งสังขารขันธ์--สังขารหก--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนา--หกเหล่านี้ คือ สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป, สัญเจตนาในเรื่องเสียง, สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น, สัญเจตนาในเรื่องรส, สัญเจตนาในเรื่องโผฎฐัพพะ, และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/74/116.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 162
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “สังขาร”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “สังขาร”--ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นรูป, ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/106/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 163
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งสังขาร
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งสังขาร--ภิกษุ ท. ! บุรุษผู้หนึ่งมีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่, เขาจึงถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า. เขาเห็น ต้นกล้วยต้นใหญ่ ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังอ่อนอยู่ ยังไม่เกิดแกนไส้. เขาตัดต้นกล้วย--นั้นที่โคน แล้วตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบออก. บุรุษนั้น เมื่อปอกกาบออกอยู่ ณ ที่นั้น ก็ไม่พบแม้แต่กระพี้ (ของมัน) จักพบแก่นได้อย่างไร. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นต้นกล้วยนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, ต้นกล้วยนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในต้นกล้วยนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุ สังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงมีได้อย่างไร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/172/245.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๒/๒๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 164
ชื่อบทธรรม : -สังขารมีธรรมดาแปรปรวน
เนื้อความทั้งหมด :-สังขารมีธรรมดาแปรปรวน--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องเสียง เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องรส เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/280/475.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๐/๔๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 165
ชื่อบทธรรม : -การเกิดของสังขารเท่ากับการเกิดของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-การเกิดของสังขารเท่ากับการเกิดของทุกข์--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และความปรากฏ ของสัญเจตนาในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องเสียง สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ ใด ๆ นั่น เท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/285/491.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๕/๔๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 166
ชื่อบทธรรม : -ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สังขาร
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สังขาร--ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยสังขารทั้งหลาย แล้วเกิดขึ้น,--สุขโสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของสังขารทั้งหลาย ; สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของสังขารทั้งหลาย ; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขารทั้งหลาย การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขารทั้งหลาย ด้วยอุบายใด ๆ , อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากสังขารทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนธ.สํ. 17/79/122.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนธ.สํ. ๑๗/๗๙/๑๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 167
ชื่อบทธรรม : -สังขารขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-สังขารขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกเหล่านี้ คือ สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป, สัญเจตนาในเรื่องเสียง, สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น, สัญเจตนาในเรื่องรส, สัญเจตนาในเรื่อง โผฏฐัพพะ, และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย มีได้เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/74/116.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 168
ชื่อบทธรรม : -๕. วิภาคแห่งวิญญาณขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-๕. วิภาคแห่งวิญญาณขันธ์--วิญญาณหก--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณหก เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา, วิญญาณทางหู, วิญญาณทางจมูก, วิญญาณทางลิ้น, วิญญาณทางกาย, และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า วิญญาณ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/75/117.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕/๑๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 169
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “วิญญาณ”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “วิญญาณ”--ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “วิญญาณ” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ. สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง, ย่อมรู้แจ้งซึ่ง ความหวานบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็มบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/106/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 170
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งวิญญาณ
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งวิญญาณ--ภิกษุ ท. ! นักแสดงกลก็ตาม ลูกมือของนักแสดงกลก็ตาม แสดงกลอยู่ที่ทางใหญ่สี่แยก. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นกลนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสาร ในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในวิญญาณนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/173/246.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๓/๒๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 171
ชื่อบทธรรม : -วิญญาณมีธรรมดาแปรปรวน
เนื้อความทั้งหมด :-วิญญาณมีธรรมดาแปรปรวน--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางตา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางหู เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางจมูก เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางลิ้น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางกาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางใจ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/279/471.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๙/๔๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 172
ชื่อบทธรรม : -วิญญาณเมื่อทำหน้าที่เป็นพืช
เนื้อความทั้งหมด :-วิญญาณเมื่อทำหน้าที่เป็นพืช--ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ พืชจากเหง้า (มูลพีช ), พืชจากต้น (ขนฺธพีช), พืชจากตา (ผลุพีช), พืชจากยอด (อคฺคพีช), และพืชจากเมล็ด (เช่นข้าวเป็นต้น) เป็นคำรบห้า (พีชพีช).--ภิกษุ ท. ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, แต่ดิน น้ำ ไม่มี. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?--“หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืช ห้าอย่างเหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?--“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! วิญญาณฐิติ สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่าเหมือนกับ ดิน. ภิกษุ ท. ! นันทิราคะ พึงเห็นว่าเหมือนกับ น้ำ. ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (คือกรรม) พึงเห็นว่าเหมือนกับ พืชสดทั้งห้านั้น.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา เวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/67/106-107.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖-๑๐๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 173
ชื่อบทธรรม : -การเกิดของวิญญาณเท่ากับการเกิดของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-การเกิดของวิญญาณเท่ากับการเกิดของทุกข์--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏ ของวิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้น ของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/284/483.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๔/๔๘๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 174
ชื่อบทธรรม : -ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ วิญญาณ
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ วิญญาณ--ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัส ใด ๆ ที่อาศัย วิญญาณ แล้วเกิดขึ้น, สุขโสมนัสนี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของวิญญาณ ; วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์--มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของวิญญาณ ; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ ด้วยอุบายใด ๆ, อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากวิญญาณ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/80/123.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๐/๑๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 175
ชื่อบทธรรม : -วิญญาณขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-วิญญาณขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณหกเหล่านี้คือ วิญญาณทางตา, วิญญาณทางหู, วิญญาณทางจมูก, วิญญาณทางลิ้น, วิญญาณทางกาย, และวิญญาณทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า วิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ; ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธนฺธ. สํ. 17/75/117.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธนฺธ. สํ. ๑๗/๗๕/๑๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 12
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site