สัทธรรมลำดับที่ : 139
ชื่อบทธรรม : -ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา--พุทธสาวก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา ซึ่งหนทางให้ถึงความสิ้นไป (แห่งฉันทราคะในเวทนา), ภิกษุ เพราะสิ้น(ฉันทราคะ) แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท.--เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามเป็นอทุกขมสุขก็ตาม เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตกสลายเป็นธรรมดาเสวยแล้ว เสวยแล้ว เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา : ดังนี้ ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ.--เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. เมื่อบุคคล เสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขา ผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุขอันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่.--เมื่อใดภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร.--บุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง ; บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ยืนเหยียบถึง.--ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว ; บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้วในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง.--ผู้ใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ; ผู้นั้นเป็นภิกษุ ผู้รู้เห็นโดยชอบ ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา เพราะรอบรู้เวทนา จึง--เป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร,--- สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔-๒๕๗/๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๖, ๓๖๘.--วิภาคแห่งเวทนา--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เวทนา แม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนาแม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามสิบหกอย่างเราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, และเวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย.--ภิกษุ ท. ! เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สองอย่างนั้น คือ เวทนาที่เป็นไปทางกาย และเวทนาที่เป็นไปทางใจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง--ภิกษุ ท. ! เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สามอย่างนั้น คือ สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข) ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์)--และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เวทนา ห้าอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา ห้าอย่างนั้นคือ อินทรีย์คือสุข อินทรีย์คือทุกข์ อินทรีย์คือโสมนัส อินทรีย์คือโทมนัส และอินทรีย์คืออุเบกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เวทนา หกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา หกอย่างนั้น คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนาอันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย, และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาหกอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เวทนา สิบแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สิบแปดอย่างนั้น คือ ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโสมนัสหกอย่าง, ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโทมนัสหกอย่าง, และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยอุเบกขาหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง, โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (ไม่เกี่ยวด้วยกามคุณ ๕) หกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่--เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง, อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, และอุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ส่วนที่เป็นอดีต, เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต, และเวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นปัจจุบัน. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาร้อยแปดอย่าง.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/286-8/430-7.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๖-๘/๔๓๐-๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 140
ชื่อบทธรรม : -“ธรรม” (คือเวทนา) เป็นสิ่งที่บัญญัติได้หลายปริยาย
เนื้อความทั้งหมด :-“ธรรม” (คือเวทนา) เป็นสิ่งที่บัญญัติได้หลายปริยาย--(อันเป็นเหตุให้หลงทุ่มเถียงกัน)--ภิกษุ ท. ! เวทนาเรากล่าวแล้ว โดยปริยายแม้สองอย่าง, โดยปริยายแม้สามอย่าง, โดยปริยายแม้ห้าอย่าง, โดยปริยายแม้หกอย่าง, โดยปริยายแม้สิบแปดอย่าง, โดยปริยายแม้สามสิบหกอย่าง, โดยปริยายแม้ร้อยแปดอย่าง.--ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนี้ ที่เราแสดงธรรม. เมื่อเราแสดง--ธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนี้, ชนเหล่าใด จักไม่สำคัญร่วม จักไม่รู้ร่วม จักไม่พอใจร่วม แก่กันและกัน ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว ; เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกปาก อยู่.--ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนั้น ที่เราแสดงธรรม. เมื่อเราแสดงธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนั้น, ชนเหล่าใด จักสำคัญร่วม จักรู้ร่วม จักพอใจร่วม แก่กันและกัน ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว ; เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักพร้อมเพรียงกัน บันเทิงต่อกัน ไม่วิวาทกันเข้ากันได้เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันและกันด้วยสายตาอันเป็นที่รักอยู่, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/283/425.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๓/๔๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 141
ชื่อบทธรรม : -เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง--อัคคิเวสสนะ ! เวทนามีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.--อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยสุขเวทนาอยู่ สมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา และไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียว.--อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยทุกขเวทนาอยู่ สมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว.--อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียว.--อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ ! แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ ! แม้ อทุกขมสุขเวทนา เล่า ก็เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/267/273.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๖๗/๒๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 142
ชื่อบทธรรม : -เวทนามีธรรมดาแปรปรวน
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนามีธรรมดาแปรปรวน--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ;--ภิกษุ ท. ! เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ 17/280/473.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ ๑๗/๒๘๐/๔๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 143
ชื่อบทธรรม : -เวทนาเป็นทุกข์ เป็นลูกศร เป็นของไม่เที่ยง
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาเป็นทุกข์ เป็นลูกศร เป็นของไม่เที่ยง--ภิกษุ ท. ! เวทนา มีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.--ภิกษุ ท. ! สุขเวทนา พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์, ทุกขเวทนาพึงเห็นโดยความเป็นลูกศร, อทุกขมสุขเวทนา พึงเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง.--ภิกษุ ท. ! แต่กาลใดแล สุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นทุกข์, ทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นลูกศร, อทุกขมสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นของไม่เที่ยง ; ภิกษุ ท. ! แต่กาลนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า “ผู้เห็นโดยถูกต้อง (สมฺมทฺทโส) ได้ตัดตัณหา--เสียแล้ว รื้อถอนสัญโญชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะรู้จักหน้าตา ของมานะอย่างถูกต้องแล้ว.”-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/256/367.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๖/๓๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 144
ชื่อบทธรรม : -เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาทุกชนิดสรุปลงในความหมายว่า “ทุกข์”--ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า :---“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ ได้เกิดการใคร่ครวญขึ้นในใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์’ ดังนี้ ข้อที่พระองค์ตรัสว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนา นั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายถึงอะไรหนอ ?’’--ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง ; และยังได้กล่าว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์”. ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง, และเรายังกล่าวหมายถึงความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของจางคลายไปเป็นธรรมดา ความเป็นของดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงในความทุกข์” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/268/391.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๘/๓๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 145
ชื่อบทธรรม : -เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย--ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น, อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น, และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ; ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น ชื่อว่า ผัสสะ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่, อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วยซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ยังละอนุสัยคือราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้, ยังบรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้, ยังถอนอนุสัยคืออวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้, ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้--ดังนี้ : ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/516/822.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 146
ชื่อบทธรรม : -อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา--ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ--ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละ--ทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/176/205.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗๖/๒๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 147
ชื่อบทธรรม : -เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์--ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น, ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง, ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง, ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง, ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง, อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง, อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่ง รูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม, หรือว่าเมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น. ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อ เท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วย เหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโสมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น. ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม, หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูป เช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น. ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, ความโทมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญา อันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้” ดังนี้. เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความกระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจาก--เหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง. อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน. (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ ชื่อเรียกเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น, อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตาม รูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น. อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับ--ข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.--ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น, คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/402-405/624-630.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๒-๔๐๕/๖๒๔-๖๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 148
ชื่อบทธรรม : -การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/284/487.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๔/๔๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 149
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดดับแห่งเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดดับแห่งเวทนา--ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา--ย่อมเกิดขึ้น ; เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น สุขเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไปย่อมระงับไป.--(ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและเกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟสองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น, ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา, สํ. 18/266/389-390.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา, สํ. ๑๘/๒๖๖/๓๘๙-๓๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 11
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site