สัทธรรมลำดับที่ : 116
ชื่อบทธรรม : -มหาภูต คือ ธาตุสี่
เนื้อความทั้งหมด :-มหาภูต คือ ธาตุสี่--ภิกษุ ท. ! ธาตุมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และวาโยธาตุ (ธาตุลม). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธาตุสี่อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/203/403.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 117
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.--ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !--ส่วนใดเป็นของแข็ง เป็นของหยาบ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตนเฉพาะตน กล่าวคือ ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย ฟันทั้งหลาย หนังเนื้อเอ็นทั้งหลาย กระดูกทั้งหลาย เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ ; หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ! นี้ เรียกว่า ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน. ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม ; นี้แหละ เรียกว่า ปฐวีธาตุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/437/684.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๗/๖๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 118
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! อาโปธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็ มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! อาโปธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็ มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.--ภิกษุ ท. ! อาโปธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ! ส่วนใดเอิบอาบ เปียกชุ่ม อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตนกล่าวคือ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร ; หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ! นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ที่เป็นไป ในภายใน. ภิกษุ ! อาโปธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม ; นี้แหละ เรียกว่า อาโปธาตุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/438/685.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๘/๖๘๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 119
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ! เตโชธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ! เตโชธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.--ภิกษุ ! เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ! ส่วนใดเป็นของเผา เป็นของไหม้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตนเฉพาะตน กล่าวคือธาตุไฟที่ยังกายให้อบอุ่นอย่างหนึ่ง, ธาตุไฟที่ยังกายให้ชราทรุดโทรมอย่างหนึ่ง, ธาตุไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายอย่างหนึ่ง, ธาตุไฟที่ทำอาหาร ซึ่งกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปด้วยดีอย่างหนึ่ง ; หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ! นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน. ภิกษุ ! เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม ; นี้แหละ เรียกว่า เตโชธาตุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/438/686.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๘/๖๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 120
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็มี, ที่เป็นภายนอก ก็มี.--ภิกษุ ! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ! ส่วนใดเป็นลม ไหวตัวได้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ ลมพัดขึ้นเบื้องสูงอย่างหนึ่ง, ลมพัดลงเบื้องต่ำอย่างหนึ่ง, ลมนอนอยู่ในท้องอย่างหนึ่ง, ลมนอนอยู่ในลำไส้อย่างหนึ่ง, ลมแล่นไปทั่วทั้งตัวอย่างหนึ่ง, และลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง ; หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน). ภิกษุ ! นี้ เรียกว่า วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน. ภิกษุ ! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม ; นี้แหละ เรียกว่า วาโยธาตุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/439/687.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๙/๖๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 121
ชื่อบทธรรม : -การเกิดขึ้นของธาตุสี่เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-การเกิดขึ้นของธาตุสี่เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์, เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย, และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/208/414.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๘/๔๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 122
ชื่อบทธรรม : -ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์--ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่ง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ, ผู้นั้น ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์. เราย่อมกล่าวว่า “ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/208/412.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๘/๔๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 123
ชื่อบทธรรม : -รสอร่อย - โทษ - อุบายเครื่องพ้นไปของธาตุสี่
เนื้อความทั้งหมด :-รสอร่อย - โทษ - อุบายเครื่องพ้นไปของธาตุสี่--ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นโทษของปฐวีธาตุอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นได้จาก ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ?”--ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แล้วเกิดขึ้น, สุข และโสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย ของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ; ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มี ความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด, อาการนี้แล เป็น โทษ ของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ เสียได้ ด้วยอุบายใด, อุบายนี้แล เป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นได้ จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ,” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/203/404.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 124
ชื่อบทธรรม : -ความลับของธาตุสี่
เนื้อความทั้งหมด :-ความลับของธาตุสี่--ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก รสอร่อย ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุ ก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้, สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนัก ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้. ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ รสอร่อย ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี มีอยู่แล สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก โทษ ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดีและวาโยธาตุก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้, สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายใน--ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้. ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่โทษในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี มีอยู่แลสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่าย ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อุบายเครื่องออกไปพ้นได้ จากปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้, สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้.ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ อุบายเครื่องออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี มีอยู่แล สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/205/408.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๐๕/๔๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 125
ชื่อบทธรรม : -ธาตุสี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เนื้อความทั้งหมด :-ธาตุสี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา--ราหุล ! เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุวาโยธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?--“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”--ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง, สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?--“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”--๑. ตรัสถึงอากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ ในที่นี้ด้วย.--ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแลหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่น เป็นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นตัวตนของเรา”.--“ข้อนั้น ไม่ควรเห็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/291/616.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๒๙๑/๖๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 126
ชื่อบทธรรม : -ยังยินดีในธาตุสี่อยู่ เพราะไม่รู้จักธาตุสี่
เนื้อความทั้งหมด :-ยังยินดีในธาตุสี่อยู่ เพราะไม่รู้จักธาตุสี่--ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน เป็นผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมหมายรู้ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม, ครั้นหมายรู้ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลมแล้ว ย่อมทำความหมายมั่น ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม, ย่อมทำความหมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม, ย่อมทำความหมายมั่น โดยเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม, ย่อมทำความหมายมั่นว่า “ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา” ดังนี้, และย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เราย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุว่าดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่บุถุชนนั้น ยังไม่ได้กำหนดรู้โดยทั่วถึงแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/1/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 127
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “รูป”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “รูป”--ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ? สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง,แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง, แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง, (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/105/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 128
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งรูป
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งรูป--ภิกษุ ท. ! แม่น้ำคงคานี้ ไหลพาเอาฟองน้ำก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งมา, บุรุษผู้จักษุ (ตามปกติ) เห็นฟองน้ำก้อนใหญ่ก้อนนั้น ก็พึงเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่, ก้อนฟองน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในก้อนฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม, ภิกษุเห็นรูปนั้น--ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, รูปนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในรูปนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/171/242.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑/๒๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 129
ชื่อบทธรรม : -อัสสาทะของรูป
เนื้อความทั้งหมด :-อัสสาทะของรูป--ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ก็ดี นางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ก็ดี และนางสาวน้อยแห่งคฤหบดีก็ดี ที่มีวัยอันบุคคลพึงแสดงว่าอายุสิบห้าหรือสิบหก ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนพีนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก. ภิกษุ ท.! เหล่านางสาวน้อยนั้น ๆ จักมีสีสรรแห่งวรรณะอันงดงาม ในสมัยนั้น เป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้นแล พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยสีสรรแห่งวรรณะอันงดงามแล้ว บังเกิดขึ้น, สุข โสมนัสนี้แล เป็นอัสสาทะของรูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/173/201.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗๓/๒๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 130
ชื่อบทธรรม : -อาทีนพของรูป
เนื้อความทั้งหมด :-อาทีนพของรูป--ภิกษุ ท. ! อาทีนพ (โทษ) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคล จะได้เห็นน้องหญิง ในกรณีนี้นั่นแหละ โดยกาล--ต่อมา มีอายุได้ ๘๐ ปีก็ตาม ๙๐ ปีก็ตาม ๑๐๐ ปีก็ตาม ชราทรุดโทรมแล้วมีหลังงอดุจไม้โคปาณสิแห่งหลังคา มีกายคดไปคดมา มีไม้เท้ายันไปในเบื้องหน้าเดินตัวสั่นเทิ้ม กระสับกระส่าย ผ่านวัยอันแข็งแกร่งไปแล้ว มีฟันหักแล้ว มีผมหงอกแล้ว มีผมตัดสั้นอย่างลวก ๆ มีผิวหนังหย่อนยาน และมีตัวเต็มไปด้วยจุด. ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อาพาธลง ได้รับทุกข์ทรมาน เป็นไข้หนัก นอนกลิ้งเกลือกอยู่ในมูตร และคูถของตนเอง อันบุคคลต้องช่วยพะยุพยุงให้ลุกและให้นอน.--ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิมใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละอันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่งก็ตาม ตายแล้ว--สองวันก็ตาม ตายแล้วสามวันก็ตาม หรือกำลังขึ้นพอง มีสีเขียว มีหนองไหล. ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ อันฝูงกาจิกกินอยู่ ก็ตาม อันฝูงแร้งจักกินอยู่ก็ตาม อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่ก็ตาม อันฝูงสุนัขกัดกินอยู่ก็ตามอันฝูงสุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่ก็ตาม และอันหมู่หนอนต่างชนิดบ่อนกินอยู่ก็ตาม. ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ศพ เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือดและยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดอยู่ก็ตาม เป็นร่างกระดูก ที่ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีเลือดเปื้อนอยู่ และยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดไว้ก็ตาม เป็นร่างกระดูก ที่ปราศจาก--เนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดไว้ก็ตาม เป็นท่อนกระดูก ที่ปราศจากเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง กระดูกมือไปทางหนึ่งกระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่งกระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่งกระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง ฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง. ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสันแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.--ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูก มีสีขาวดั่งสีสังข์ก็ตาม เป็นชิ้นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่งไปแล้วก็ตาม เป็นกระดูกเปื่อยผงละเอียดไปแล้วก็ตาม. ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร : สีสันแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป, โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?--“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล ก็เป็นอาทีนพของรูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/173/202.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗๓/๒๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 131
ชื่อบทธรรม : -นิสสรณะของรูป
เนื้อความทั้งหมด :-นิสสรณะของรูป--ภิกษุ ท. ! นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกไปพ้นได้) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป ด้วยอุบายใด, อุบายนี้แล เป็นอุบายเครื่องออกพ้นไปได้ของรูป แล.--- มู. ม. ๑๒/๑๗๕/๒๐๓, และ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๗/๑๑๙.--ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ รูป--ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยรูป แล้วเกิดขึ้น. สุข โสมนัสนี้แลเป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของรูป ; รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ, อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของรูป ; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปการละเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป ด้วยอุบายใด ๆ อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จาก รูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/34, 77/59,119.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔, ๗๗/๕๙,๑๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 132
ชื่อบทธรรม : -รูปขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-รูปขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่--ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! มหาภูตสี่อย่างและรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย : ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า รูป ; ความเกิดขึ้น--แห่งรูป มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ; ความดับไม่เหลือแห่งรูปมีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ; อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเองเป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/72/113.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 133
ชื่อบทธรรม : -๒. วิภาคแห่งเวทนาขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-๒. วิภาคแห่งเวทนาขันธ์--เวทนาหก--ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย, และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/73/114.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๓/๑๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 134
ชื่อบทธรรม : -ความหมายของคำว่า “เวทนา”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายของคำว่า “เวทนา”--ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความ--รู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/105/159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 135
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งเวทนา--ภิกษุ ท. ! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน), ต่อมน้ำย่อมเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, ต่อมน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่าและปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/171/243.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗๑/๒๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 136
ชื่อบทธรรม : -ความหมายอันแท้จริงของ “บาดาล”
เนื้อความทั้งหมด :-ความหมายอันแท้จริงของ “บาดาล”--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ พูดกันว่าบาดาลมีอยู่ใต้มหาสมุทร. ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสิ่งนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ไม่เป็นอยู่ ว่าบาดาลมีอยู่ใต้มหาสมุทร. ภิกษุ ท. ! คำว่า “บาดาล” นั้น เป็นคำแทนชื่อ ของทุกขเวทนาอันมีอยู่ในสรีระนี้. ภิกษุ ท. ! บุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ถูกต้องทุกขเวทนาในสรีระนี้อยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบากใจ ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความมีสติฟั่นเฟือน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ จมลงแล้วในบาดาล ไม่มีที่ยืนเหยียบถึง.--ภิกษุ ท. ! ส่วน อริยสาวก ผู้มีการสดับ เมื่อถูกต้องทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ ไม่จมลงแล้วในบาดาล มีที่ยืนเหยียบถึง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/255/365.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๕/๓๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 137
ชื่อบทธรรม : -ธรรมลักษณะ ๘ ประการแห่งเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมลักษณะ ๘ ประการแห่งเวทนา--ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา : นี้เราเรียกว่า เวทนา.--เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ จึงมี ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา (: นี้คือ สมุทัยแห่งเวทนา)--ตัณหา เป็น ปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้น แห่งเวทนา๑ (: นี้คือสมุทยคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา).--เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา ( : นี้คือนิโรธแห่งเวทนา).--อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ เป็น ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ; คือสัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (: นี้คือนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา).--สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น : นี้คืออัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งเวทนา.--ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แห่งเวทนา : นี้คือ อาทีนวะ (โทษ) จากเวทนา.--การนำออกเสียได้ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่งฉันทราคะในเวทนา : นี้คือ นิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนา-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/288/438.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๘/๔๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 138
ชื่อบทธรรม : -หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักเวทนา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา, พึงรู้จักผลของเวทนา,--๑. ข้อนี้หมายความว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดความหมายหรือค่าของเวทนา. ข้อนี้ไม่ขัดกับหลักทั่วไปที่ว่า เวทนาให้เกิดตัณหา แต่ประการใด.--พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง เวทนาสาม เหล่านี้ ; คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.--ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ผัสสะ (การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา.--ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิส (กามคุณ ๕) ก็มี สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส (ไม่มีกามคุณ ๕) ก็มี ; ทุกขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี ทุกขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี ; อทุกขมสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของเวทนา.--ภิกษุ ท. ! ผลของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อเสวยเวทนาใดอยู่ ยังอัตภาพซึ่งเกิดแต่เวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นฝ่ายบุญก็ตามเป็นฝ่ายมิใช่บุญก็ตาม. ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผลของเวทนา.--ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.--ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา, ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....--ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักเวทนา, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา, พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา, พึงรู้จักผลของเวทนา, พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา, และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น, เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/460/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๐/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 10
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site