สัทธรรมลำดับที่ : 2
ชื่อบทธรรม : -สัตว์โลก กับ จตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-สัตว์โลก กับ จตุราริยสัจ--ตรัสรู้แล้ว ทรงรำพึงถึงหมู่สัตว์--สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า๑ ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความ เสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตนเขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง) โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น--๑. คำว่า “มีผัสสะบังหน้า (ผสฺสปเรโต)” หมายความว่า เมื่อเขาถูกต้องผัสสะใด จิตทั้งหมดของเขายึดมั่น อยู่ในผัสสะนั้นจนไม่มองเห็นสิ่งอื่น แม้จะใหญ่โตมากมายเพียงใด ทำนองเส้นผมบังภูเขา เขาหลงใหลยึดมั่นแต่ใน อัสสาทะของผัสสะนั้นจนไม่มองเห็นสิ่งอื่น; อย่างนี้เรียกว่า มีผัสสะบังหน้า คือบังลูกตาของเขา ให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดไปจากตามที่เป็นจริง--สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น. เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย (ที่เขาไม่รู้จัก) ; เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์. พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ ; เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะวิภพ๑ ; เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้. ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง. เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว ; และว่า สัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้. ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง๒ เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ; ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.--๑. คำว่า “วิภพ” ในที่นี้ ตรงกันข้ามกับคำว่า “ภพ” คือไม่มีภพตามอำนาจของนัตถิกทิฏฐิ หรืออุจเฉท ทิฏฐิโดยตรง คือไม่เป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา; ดังนั้น แม้เขาจะรู้สึกว่าไม่มีอะไร มันก็มีความไม่มีอะไรนั้นเองตั้งอยู่ในฐานะเป็นภพชนิดที่เรียกว่า “วิภพ” เป็นที่ตั้งแห่งวิภวตัณหา.--๒. คำว่า “ในที่หรือในเวลาทั้งปวง” ตลอดถึงคำว่า “เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง” เป็นคุณบทแห่งค่าอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นของภพ. ความมีความเป็นอย่างไรก็ตาม ย่อมเนื่องด้วยเวลาที่พอเหมาะ เนื้อที่ที่พอดีประโยชน์ที่น่ารัก มันจึงจะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หรือยั่วยวนให้ยึดถือ; ดังนั้น ภพชนิดไหนก็ตาม ย่อมเนื่องอยู่ด้วยสิ่งทั้งสามนี้ แต่แล้วในที่สุดมันก็เป็นเพียงสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาดังที่กล่าวแล้วในพุทธอุทานนั้น.--เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ ; เขาย่อม ละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหาด้วย. ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย) เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน. ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น.--ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่ (คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป), ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุ.ขุ. 25/121/84.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุ.ขุ. ๒๕/๑๒๑/๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 3
ชื่อบทธรรม : -การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้นเป็นไปไม่ได้
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้ เป็นพระพุทธอุทานที่ทรงเปล่งออก ที่โคนต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้ เมื่อตรัสรู้แล้วได้ ๗ วัน).--การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐานรากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่ จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐาน-รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี ได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/564/1735-6.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 4
ชื่อบทธรรม : -เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ
เนื้อความทั้งหมด :-เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ--ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง, เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์, อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล ยืดยาวนานถึงเพียงนี้.--ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, เป็นความจริงที่เราและพวกเธอทั้งหลาย รู้ถึง และแทงตลอดแล้ว ; ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาดตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ; ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/541/1698.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 5
ชื่อบทธรรม : -สูตรอื่นได้ตรัสเหตุที่ทำให้ ต้องท่องเที่ยวไปสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยธรรมสี่
เนื้อความทั้งหมด :-(สูตรอื่นได้ตรัสเหตุที่ทำให้ ต้องท่องเที่ยวไปสังสารวัฏ เพราะไม่รู้อริยธรรมสี่ ดังต่อไปนี้ :-)--ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ธรรม ๔ ประการ อย่างไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยศีล.... ซึ่งอริยสมาธิ.... ซึ่งอริยปัญญา....ซึ่งอริยวิมุตติ.... เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.--ภิกษุ ท. ! เมื่ออริยศีล, อริยสมาธิ, อริยปัญญา, และอริยวิมุตติเป็นธรรมที่เราและเธอรู้แล้วตามลำดับ แทงตลอดแล้ว; ตัณหาในภพก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีกมิได้มี, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -จตุกฺก. อํ. 21/1/1.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑/๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 6
ชื่อบทธรรม : -สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค (ส่วนเสี้ยว)”.--ภิกษุ ท. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย ; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือvvทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม๑ อันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/578/1757.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 7
ชื่อบทธรรม : -๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “โยคะ”, เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “โยคะ”, เป็นคำกลางใช้กันได้ระหว่างศาสนาทุกศาสนา.--[ในกรณีที่ไม่เห็นอริยสัจนั้น ยังมีผลทำให้ :--สัตว์มาเกิดในมัชฌิมชนบท มีน้อย (๑๙/๕๗๘/๑๗๕๘).--สัตว์มีปัญญาจักษุ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๕๙).--สัตว์ไม่เสพของเมา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๐).--สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย (สัตว์น้ำมาก) (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).--สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๑).--สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๒).--สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย (๑๙/๕๗๙/๑๗๖๓).--สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย (๑๙/๕๘๐/๑๗๖๔).--สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้อย ๑๙/๕๘๐/๑๗๖๕).--นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงแสดงภาวะแห่งสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนา อีกมากอย่างตาม ที่เรารู้กันอยู่ เช่น สัตว์ที่ไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ เป็นต้น, ผู้รวบรวมเห็นว่ามากเกินความ จำเป็น จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้.]--ความมืดบอดของโลก มีตลอดเวลาที่พระตถาคตไม่เกิดขึ้น--ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงใด ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ; ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น. ในกาลนั้น มีอยู่แต่ความมืดเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด. กลางคืนกลางวัน ก็ยังไม่ปรากฏ, เดือนหรือกึ่งเดือน ก็ไม่ปรากฏ, ฤดูหรือปี ก็ไม่ปรากฏ, ก่อน. ภิกษุ ท. ! แต่ว่าในกาลใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก; ในกาลนั้น ความปรากฏ--แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี. ในกาลนั้นย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด. ลำดับนั้น กลางคืนกลางวัน ย่อมปรากฏ, เดือนหรือกึ่งเดือน ย่อมปรากฏ, ฤดูหรือปี ย่อมปรากฏ, นี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้น : ตลอดกาลเพียงใด ที่ตถาคตผู้อรหันต-สัมมาสัมพุทธะยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ; ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวงความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น. ในกาลนั้น มีอยู่ แต่ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด. การบอก การแสดง การบัญญัติการแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่ง อริยสัจทั้งสี่ ก็ยังไม่มีก่อน. ภิกษุ ท. ! แต่ว่า ในกาลใดแล ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ บังเกิดขึ้นในโลก ; ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี. ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่ง กระทำความบอด. ลำดับนั้น ย่อมมีการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ทั้งสี่. ซึ่งอริยสัจทั้งสี่อย่างไรเล่า ? คือซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/553/1721.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๓/๑๗๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 8
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่ เป็นสิ่งที่คงที่ไม่รู้จักเปลี่ยนตัว
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่ เป็นสิ่งที่คงที่ไม่รู้จักเปลี่ยนตัว--ภิกษุ ท. ! มีของสี่อย่าง ซึ่งคงที่ ไม่เปลี่ยนจากความคงที่ ไม่ไปสู่ความมีความเป็นโดยประการอื่น. ของสี่อย่างนั้นเหล่าไหนเล่า ? ของสี่อย่างนั้น คือ ความรู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, (ทั้งสี่อย่างนั้น) เป็นของคงที่ ไม่เปลี่ยนจากความคงที่ ไม่ไปสู่ความมีความเป็นโดยประการอื่น ;” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี่แล เป็นของสี่อย่าง ซึ่งคงที่ ไม่เปลี่ยนจากความคงที่ ไม่ไปสู่ความมีความเป็นโดยประการอื่น.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/539/1697.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๓๙/๑๖๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 9
ชื่อบทธรรม : -สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว
เนื้อความทั้งหมด :-สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว--...ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูป ที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย, (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวน--ใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ ;ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬ๎หสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...๑ แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะเป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำ ให้มาก, ไม่ควรกลัว.--คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความ สุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, นั้น ; คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/427/659.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 10
ชื่อบทธรรม : -ความรู้สึกของบุถุชน ไขว้กันอยู่เสมอต่อหลักแห่งอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ความรู้สึกของบุถุชน ไขว้กันอยู่เสมอต่อหลักแห่งอริยสัจ--คหบดี ! หน้าตาของท่านแสดงว่าท่านกำลังไม่มีจิตไม่มีใจ, หน้าตา ของท่านผิดปกติไปแล้ว.--๑. รายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ หาดูได้จากหลายเรื่องในภาคถัด ๆ ไป หรือดูที่ภาคผนวกแห่งหนังสือนี้โดยหัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ตอนกล่าวถึงเรื่องรูปฌานสี่.--“ท่านผู้เจริญ ! หน้าตาของข้าพเจ้าจะไม่ผิดปกติได้อย่างไรเล่า, เพราะว่า บุตรน้อยเป็นที่รักที่พอใจคนเดียว ของข้าพเจ้า ตายเสียแล้ว . เพราะการตายของบุตรน้อยนั้น การงานก็มืดมน ข้าวปลาอาหารก็มืดมน. ข้าพเจ้าเอาแต่ไปสู่ที่เผาลูก แล้วคร่ำครวญอยู่ว่าลูก น้อยคนเดียวอยู่ไหน ๆ”.--มันเป็นอย่างนั้นแหละ ๆ คหบดี ! โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสทั้งหลายนั้น เกิดจากของรัก มีของรักเป็นแดนเกิด.--“ท่านผู้เจริญ ! โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสและอุปายาสทั้งหลายนั้น เกิดจากของ รัก มีของรักเป็นแดนเกิด ได้อย่างไรกัน ; เพราะว่า ความเพลิดเพลินและโสมนัส ต่างหากที่เกิดแต่ของรัก มีของรักเป็นแดนเกิด.”--คหบดีนั้น ไม่ยอมรับไม่คัดค้านคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไปเสีย. เขาได้เข้าไปหากลุ่มนักเลงสกาที่เล่นสกากันอยู่ ในที่ใกล้ ๆ กันนั้น ; เล่าเรื่องให้ฟังแล้วก็ได้รับคำรับสมอ้างจากพวกนักเลงสกาเหล่านั้นว่า “ถูกแล้ว ๆ ท่านคหบดี ! ความเพลิดเพลินและโสมนัสเกิดแต่ของรัก มีของรักเป็นแดนเกิดอย่างแน่นอน” ดังนี้ ; เขาก็พอใจว่าความคิดของเขาตรงกันกับความคิด ของนักเลงสะกาทั้งหลาย ดังนี้แล้วก็หลีกไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/489/536.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๔๘๙/๕๓๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 11
ชื่อบทธรรม : -ผู้ติดเหยื่อโลก ชอบฟังเรื่องกาม ไม่ฟังเรื่องสงบ
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อนี้แสดงว่า ความคิดของพวกบุถุชนย่อมตรงกันเสมอ แต่ไม่อาจจะลงรอยกันได้ กับความจริงที่เป็นอริยสัจ).--ผู้ติดเหยื่อโลก ชอบฟังเรื่องกาม ไม่ฟังเรื่องสงบ--สุนักขัตตะ ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้ม--ด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย ; (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา, น่ารักใคร่, น่าพอใจ, เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก, เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่, เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ. สุนักขัตตะ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณห้าอย่าง--สุนักขัตตะ ! นี้เป็นสิ่งที่มีได้เป็นได้ คือข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก (คือกามคุณห้าอย่าง), ถ้อยคำสำหรับสนทนา อันพร่ำบ่นถึงเฉพาะต่อกามคุณนั้น ๆ ย่อมตั้งอยู่ได้สำหรับบุรุษบุคคลผู้มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก, เขาย่อมตรึกตามตรองตาม ถึงสิ่งอันอนุโลมต่อกามคุณนั้น ๆ, สิ่งนั้นย่อมคบกับบุรุษนั้นด้วย บุรุษนั้นย่อมเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้นด้วย. ส่วนเมื่อถ้อยคำที่ประกอบด้วยสมาบัติเรื่องไม่หวั่นไหว (ด้วยกามคุณ) ที่ผ่านไปมาอยู่ เขาย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่กำหนดจิตเพื่อจะรู้, ถ้อยคำชนิดนั้น ก็ไม่คุ้นเคยกับบุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็ไม่สนใจด้วยคำชนิดนั้น. สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้จากบ้านหรือนิคมของตนไปนมนาน ครั้นเห็นบุรุษผู้หนึ่ง เพิ่งไปจากบ้านหรือนิคมของตน เขาย่อมถามบุรุษนั้น ถึงความเกษม ความมีอาหารง่าย ความปราศจากโรค ของบ้านนั้น นิคมนั้น, บุรุษนั้นก็บอกให้. สุนักขัตตะ ! เธอจะเข้าใจว่าอย่างไร : เขาย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ต่อบุรุษนั้น ย่อมกำหนดจิตเพื่อจะรู้ ย่อมคบบุรุษนั้น ย่อมสนใจด้วยบุรุษนั้น มิใช่หรือ ?-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/62/70 - 71.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๖๒/๗๐ - ๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 12
ชื่อบทธรรม : -การฟังอริยสัจ เหมาะสำหรับจิตที่ฟอกแล้วเท่านั้น
เนื้อความทั้งหมด :-การฟังอริยสัจ เหมาะสำหรับจิตที่ฟอกแล้วเท่านั้น--ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้นแล มหาชนชาวพันธุมดีราชธานี จำนวนแปดหมื่นสี่พันคน ออกจากเมือง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาควิปัสสีถึงที่ประทับ--ณ เขมมิคทายวัน ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาควิปัสสีได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวคือ ทานกถา สีลกถาสัคคกถา ทรงประกาศ โทษอันเศร้าหมองต่ำทรามของกามทั้งหลาย และ อานิสงส์ในการออกจากกาม.--ครั้นทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตเหมาะสม อ่อนโยน ปราศจากนิวรณ์ ร่าเริง แจ่มใส แล้ว, ก็ได้ตรัส ธรรมเทศนาซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง กล่าวคือ เรื่องทุกข์ เรื่องสมุทัย เรื่องนิโรธ และ เรื่องมรรค. เปรียบเสมือนผ้าอันสะอาด ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน ย่อมรับเอาซึ่งน้ำย้อมได้อย่างดี ฉันใด ; ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่มหาชนแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น ณ ที่นั่งนั้นเองว่า “สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” ดังนี้, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ชนเหล่านั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว บรรลุแล้ว รู้แจ้งแล้ว หยั่งเอาได้ครบถ้วนแล้ว หมดความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความกล้าหาญไม่ต้องเชื่อตามบุคคลอื่นในคำสอนแห่งศาสดาตน ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาควิปัสสีว่า “ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! เปรียบเหมือนการหงาย ของที่คว่ำอยู่ เปิดของที่ปิดอยู่ บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือว่าจุดประทีปไว้ในที่มืด เพื่อว่าคนมีตาจักได้เห็นรูป, ฉันใดก็ฉันนั้น” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/49/49.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๔๙/๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 13
ชื่อบทธรรม : -จิตที่ยังไม่ได้ฟอก ยากนักที่จะเห็นนิโรธสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-จิตที่ยังไม่ได้ฟอก ยากนักที่จะเห็นนิโรธสัจ--ราชกุมาร ! ...ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย. สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ (อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท) ; และยากนักที่จะเห็นแม้สิ่งนี้ คือ นิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา, เป็นความลำบากแก่เรา. โอ, ราชกุมาร ! คาถาอันน่าเศร้า (อนจฺฉริยา) เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า : ---“กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูกราคะโทสะปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนั แล้วด้วยราคะ อันความมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/461/509.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๖๑/๕๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 14
ชื่อบทธรรม : -สัตว์ผู้ไม่เป็นไทต่อความกำหนัด ย่อมหลงกาม
เนื้อความทั้งหมด :-สัตว์ผู้ไม่เป็นไทต่อความกำหนัด ย่อมหลงกาม--มาคัณฑิยะ ! แม้ในกาลอันยืดยาวนานฝ่ายอดีต กามทั้งหลาย ก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความแผดเผาอันยิ่งใหญ่ มีความเร่าร้อนอันยิ่งใหญ่. แม้ในกาลอันยืดยาวนานฝ่ายอนาคต กามทั้งหลาย ก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความแผดเผา--อันยิ่งใหญ่ มีความเร่าร้อนอันยิ่งใหญ่. แม้ในกาลเป็นปัจจุบันในบัดนี้ กามทั้งหลาย ก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความแผดเผาอันยิ่งใหญ่ มีความเร่าร้อนอันยิ่งใหญ่.มาคัณฑิยะ ! แต่ว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนในกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์(คือความเป็นใหญ่แก่ตน) อันกามกำจัดเสียหมดแล้ว จึงได้มีความสำคัญอันวิปริตว่า “สุข” ในกามทั้งหลาย อันมีสัมผัสเป็นทุกข์ นั่นเอง, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/279/284.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๗๙/๒๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 15
ชื่อบทธรรม : -สัตว์โลก รู้จักสุขอันแท้จริง ต่อเมื่อปัญญาเกิด
เนื้อความทั้งหมด :-สัตว์โลก รู้จักสุขอันแท้จริง ต่อเมื่อปัญญาเกิด--มาคัณฑิยะ ! เปรียบเหมือนบุรุษตามืดมาแต่กำเนิด เขาจะมองเห็นรูปทั้งหลาย ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาบ ก็หาไม่, จะได้เห็นที่อันเสมอหรือไม่เสมอก็หาไม่, จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็หาไม่. เขาได้ฟังคำบอกเล่าจากบุรุษผู้มีตาดี ว่า “ท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวเนื้อดีนั้น เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด”, ดังนี้. เขาเที่ยวแสวงหาผ้าขาวนั้น. บุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า “นี่แล เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด.” ดังนี้ เขารับผ้านั้นแล้วและห่มผ้านั้น. ต่อมา มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา. แพทย์พึงประกอบยาถ่ายโทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำ ยาหยอด ยาหยอดให้กัด และยานัตถุ์. เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลับมีจักษุดี ละความรักใคร่พอใจในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งจักษุที่ดี เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกหมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้นหรือถึงกับเข้าใจเลยไปว่า ควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! เราถูกบุรุษผู้นี้ คดโกง ล่อลวง ปลอมเทียมเอาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า--ว่า ‘นี่ท่านผู้เจริญ ! . นี้เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงามปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด,’ . มานานนักแล้ว”, อุปมานี้ฉันใด ; มาคัณฑิยะ ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, คือเราแสดงธรรมแก่ท่านว่า “เช่นนี้เป็นความไม่มีโรค, เช่นนี้เป็นนิพพาน” ดังนี้ ; ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อ เมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน ; และความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! นานจริงหนอ, ที่เราถูกจิตนี้ คดโกงล่อลวง ปลิ้นปลอก จึงเราเมื่อจะยึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้วซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณนั่นเอง. เพราะความยึดถือเป็นต้นเหตุ ภพจึงมีแก่เรา, เพราะภพเป็นต้นเหตุ ชาติจึงมีแก่เรา, เพราะชาติเป็นต้นเหตุ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้นพร้อมหน้า. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้,” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/284/290.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๒๘๔/๒๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 17
ชื่อบทธรรม : -ชีวิตมนุษย์ กับ จตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ชีวิตมนุษย์ กับ จตุราริยสัจ--มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิด ๆ--มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว ย่อม ยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตน ๆ : นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย, นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ; ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้.--ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้วเห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์, เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์, เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์, และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์ : นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม, นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด ; ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ 25/40/24.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ ๒๕/๔๐/๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 1
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site