สัทธรรมลำดับที่ : 1053
ชื่อบทธรรม : -เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ--(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน ก็--๑. ในสูตรอื่น (๒๒/๑๒/๑๕) แทนที่จะเรียกว่าปัญญินทรีย์ ตรัสเรียกว่าปัญญาพละก็มี ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว.--จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ. (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา). ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้, เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า พละสำหรับภิกษุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site