สัทธรรมลำดับที่ : 1047
ชื่อบทธรรม : -บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาอาจจะสังเกตเห็นได้เองว่า การศึกษาและปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่ประการนั้น จะไม่เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักกาลามสูตรทั้งสิบประการแต่อย่างใด เพราะมีเหตุผลที่แสดงชัดอยู่ในตัวเองว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร มรรคอาจจะดับทุกข์ได้แท้จริงอย่างไร โดยไม่ต้อเชื่อคำบอกตามๆ กันมา ไม่ต้องดูการประพฤติตามๆ กันมา หรือเชื่อตามคำเล่าลือ หรืออ้างว่ามีอยู่ในตำรา หรือใช้เหตุผลตามทางตรรก หรือตามทางนัยะคือปรัชญา หรือตรึกตามสามัญสำนึก หรือเพราะเข้ากันได้กับเหตุผลของตน หรือผู้พูดอยู่ในฐานะน่าเชื่อ หรือผู้พูดเป็นครูของตน ซึ่งพระองค์เองก็ได้ตรัสย้ำในข้อนี้อยู่เสมอ. เป็นอัน กล่าวได้ว่า ความรู้และการปฏิบัติในอริยสัจทั้งสี่นี้ ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องงมงาย หรือสีลัพพัตตปรามาส อันขัดต่อหลักกาลามสูตร แต่อย่างใด).--บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สองจำพวก อย่างไรเล่า? สองจำพวกคือ บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย) บริษัทประเสริฐ (อริย).--ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทไม่ประเสริฐ.--ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทประเสริฐ.--ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล. บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือบริษัทประเสริฐ (อริยปริส).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/90/290.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๙๐/๒๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site