สัทธรรมลำดับที่ : 1045
ชื่อบทธรรม : -การแทงตลอดอริยสัจ--เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงทะลุขนทรายด้วยขนทราย
เนื้อความทั้งหมด :-(อธิปไตยอย่างอื่นก็มีอยู่ คือปรารภประโยชน์ตนแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าอัตตาธิปไตย; และปรารภการติเตียนของผู้อื่นแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าโลกาธิปไตย. ทั้งสองอย่างนี้ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ควรถือเอาเป็นเครื่องเกื้อหนุนการปฏิบัติ; แต่ให้ถือเอา ธัมมาธิปไตยดังที่กล่าวแล้วข้างบน เป็นเครื่องเกื้อหนุนการปฏิบัติ จึงจะถูกต้องตามหลักของการทำที่สุดทุกข์ในพระพุทธศาสนา หรือตรงตามพระพุทธประสงค์).--การแทงตลอดอริยสัจ--เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงทะลุขนทรายด้วยขนทราย--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ ครองจีวรถือบาตรเข้าไป บิณฑบาตในเมืองเวสาลี ได้เห็นพวกลิจฉวีกุมารเป็นอันมาก ทำการฝึกยิงศรอยู่ที่สัณฐาคาร ยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย; ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์คิดว่า ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วหนอ คือข้อที่สามารถยิงลูกศรรอด ช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย”--อานนท์ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : อย่างไหนทำได้ยากหรือมีได้ยากกว่ากัน คือข้อที่คนยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย กับคนที่แทงทะลุปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ทำได้ยากกว่า มีได้ยากกว่า คือข้อที่คนแทง ทะลุปลายขนทราบด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง”--อานนท์ ! ยังมีคนผู้แทงตลอด ซึ่งการแทงตลอดอันยากไปกว่า, คือบรรดา คนที่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจตามที่เป็นจริง ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/565/1738.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๕/๑๗๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site