สัทธรรมลำดับที่ :
1040
ชื่อบทธรรม :
-ภาคสรุป ว่าด้วยข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ มีเรื่อง ๒๓ หัวข้อ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๒๒--ว่าด้วย ข้อความสรุปเรื่องมรรค--จบ--ภาค ๔--ว่าด้วยมัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ ดว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร. สํ. - สฬา. สํ.)--ภาคสรุป--ว่าด้วย--ข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--ภาคสรุป--มีเรื่อง ๒๓ หัวข้อ : ---๑. ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ--๒. โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว--๓. การเรียนปริยัติ มิใช่การรู้อริยสัจ--๔. เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว--๕. ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ ต้องเป็นธัมมาธิปไตย--๖. การแทงตลอดอริยสัจ เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงตลอดขนทราย--๗. การปฏิบัติอริยสัจ ไม่มีทางที่จะขัดต่อหลักกาลามสูตร--๘. บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ--๙. เมื่ออริยสัจสี่ ถูกแยกออกเป็นสองซีก--๑๐. หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป--๑๑. อริยสัจสี่ เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์--๑๒. อริยสัจสี่ เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์--๑๓. เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ--๑๔. การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์--๑๕. อริยสัจ ทรงบัญญัติไว้ในกายที่ยังมีสัญญาและใจ--๑๖. อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา--๑๗. เวทนา โดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด--๑๘. ผู้รู้อริยสัจ ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรมและรวยลาภ--๑๙. จงกระทำเหตุทั้งภายในและภายนอก--๒๐. อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะเพชรพลอยเม็ดหนึ่งแห่งพระศาสนา--๒๑. พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่--๒๒. ประมวลปัญหาอันจะพึงตอบเกี่ยวกับธรรมทั้งปวง--๒๓. การจบกิจแห่งอริยสัจ กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่งญาณสาม--ภาคสรุป--ว่าด้วย--ข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--(มี ๒๓ หัวข้อ)--ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ ว่ามีได้สำหรับบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ (ชานโต ปสฺสโต), ไม่ใช่สำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่.--ภิกษุ ท. ! รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นอาสวะ ย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่ ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ความสิ้นอาสวะ ย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก :
- อิติวุ. ขุ. 25/309/282.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :
- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๙/๒๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม :
90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะ
ตรวจสอบการอ้างอิง
ในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกบาลี
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกไทย
กลับไปค้นหา
### Online to checking with open Etipitaka Site