สัทธรรมลำดับที่ :
1002
ชื่อบทธรรม :
-อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน--( เช่นเดียวกับอานิสงส์แห่งมรรค )
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขนิโรธคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทา ในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา; ได้แก่ ความเห็นไม่ผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.--ในบาลีแห่งอื่น ( อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๑ ) แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวด คือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับไม่มีตัวตน; และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน).--อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน--( เช่นเดียวกับอานิสงส์แห่งมรรค )--ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่, พยาบาท จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่, วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่, อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด. เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่, ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่, ราคะ จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่, อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก :
- ม. ม. 13/140/145.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :
- ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม :
86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะ
ตรวจสอบการอ้างอิง
ในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกบาลี
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกไทย
กลับไปค้นหา
### Online to checking with open Etipitaka Site