สัทธรรมลำดับที่ :
695
ชื่อบทธรรม :
-[ในตำแหน่งแห่ง กัล๎ยาณมิตตตา ในฐานะเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น ในสูตรอื่น ทรงแสดงไว้ด้วยธรรมะชื่ออื่นอีกหลายชื่อคือ:
เนื้อความทั้งหมด :-[ในตำแหน่งแห่ง กัล๎ยาณมิตตตา ในฐานะเป็นรุ่งอรุณแห่งอัฏฐังคิกมรรคนั้น ในสูตรอื่น ทรงแสดงไว้ด้วยธรรมะชื่ออื่นอีกหลายชื่อคือ:---ศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) เป็นรุ่งอรุณ--ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ ความพอใจ) เป็นรุ่งอรุณ--อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความเหมาะสมแห่งตน) เป็นรุ่งอรุณ--ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ) เป็นรุ่งอรุณ--อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท) เป็นรุ่งอรุณ--โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย) เป็นรุ่งอรุณ (รวมเป็นเจ็ดอย่างทั้งกัลยาณมิตตา) และต่อท้ายด้วยคำว่าผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น ย่อมเจริญกระทำให้มากซึ่งองค์แห่งมรรคชนิดอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะเป็นต้น ด้วยกันทั้งนั้น.--ในสูตรอื่น ผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น นอกจากจะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งองค์แห่งมรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง ได้แล้ว, ยังสามารถเจริญองค์มรรค ชนิดที่มีการนำออกซึ่งราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ได้, ดังนี้ก็มี. สำหรับคำว่า ธรรมที่เป็นรุ่งอรุณแห่งการเกิดขึ้นของอัฏฐังคิกมรรค เจ็ดประการข้างบนนั้น ในสูตรอื่นๆ ไม่เรียกว่า รุ่งอรุณ แต่เรียกว่า เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก (พหุปการธมฺม) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอัฏฐังคิกมรรค (๑๙/๔๐-๔๒/๑๔๗ - ๑๖๔) ก็มี ; และในสูตรอื่นๆ เรียกว่า เป็นธรรมะที่ทำอัฏฐังคิกมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำอัฏฐังคิกมรรคที่เกิดอยู่แล้วให้ถึงความเจริญบริบูรณ์ (๑๙/๔๔-๔๗/๑๖๕-๑๘๒) ก็มี; และตอนท้ายสูตร ก็มีต่อท้ายด้วยคำว่า ผู้มีกัลยาณมิตรเป็นต้น ย่อมเจริญกระทำให้มากซึ่งองค์แห่งมรรค ชนิดอาศัยวิเวกเป็นต้น และชนิดที่มีการนำออกซึ่ง ราคะ โทสะ โมหะ เป็นปริโยสาน ด้วยกันทั้งนั้น].--อัฏฐังคิกมรรคสำเร็จได้ด้วยอัปปมาทยอดแห่งกุศลธรรม--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า มีมากเท้าก็ดี มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ก็ดี, มีประมาณเท่าใด ; ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี--กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง. ความไม่ประมาท ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าบรรดากุศลธรรมเหล่านั้น ; ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุ ผู้ไม่ประมาทพึงหวังได้ คือ เธอจัก เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค๑.--[ การที่ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง ในสูตรนี้ทรงอุปมาด้วยพระตถาคตเป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง. ส่วนในสูตรอื่นอีกมากแห่ง :---ทรงอุปมาด้วย รอยเท้าช้าง เลิศคือใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ยอดเรือน เลิศคืออยู่เหนือไม้โครงเรือนทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย รากไม้โกฏฐานุสาริยะ (กลัมพัก ?) เลิศกว่ารากไม้หอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แก่นจันทร์แดง เลิศกว่าไม้แก่นหอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ดอกวัสสิกะ (มะลิ ?) เลิศกว่าดอกไม้หอมทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ราชาจักรพรรดิ เลิศกว่าพระราชาเมืองขึ้นเมืองออกทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แสงจันทร์ เลิศคือรุ่งเรืองกว่าแสงดาวทั้งหลาย ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย แสงอาทิตย์ ภายหลังฝนตกไม่มีเมฆในฤดูสารท แจ่มใสกว่าความแจ่มใสทั้งปวงในอากาศ ดังนี้ก็มี ;--ทรงอุปมาด้วย ผ้ากาสี เลิศกว่าบรรดาผ้าทอด้วยเส้นด้ายทั้งหลาย ดังนี้ก็มี].-
อ้างอิงสุตันตปิฎก :
- มหาวาร. สํ. 19/62-67/254-263.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒-๖๗/๒๕๔-๒๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม :
50
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ :
เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะ
ตรวจสอบการอ้างอิง
ในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกบาลี
ตรวจสอบ
สุตันตปิฎกไทย
กลับไปค้นหา
### Online to checking with open Etipitaka Site