สัทธรรมลำดับที่ : 602
ชื่อบทธรรม : -ผู้บอกทางและผู้เดินทางมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกัน--ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญากับสัมมาสัมพุทธเจ้า
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้แสดงว่า จะอาศัยความหมายหรือคำแปลของคำว่า สัทธาวิมุตต์ กายสักขี ทิฏฐิปัตต์ มาเป็นเครื่องตัดสินว่าพวกไหนเหนือกว่าหรือดีกว่า นั้นไม่อาจจะทำได้ เพราะแต่ละพวกยังอยู่ในระยะแห่งการปฏิบัติที่สูงต่ำอย่างไรก็ได้ เว้นไว้แต่จะถือเอาความหมายแห่งชื่อที่บัญญัติไว้เพื่อแสดงผลอันชัดเจนแล้ว เช่น ชื่อว่า โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์เป็นต้น). ผู้บอกทางและผู้เดินทางมีการหลุดพ้นอย่างเดียวกัน--ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญากับสัมมาสัมพุทธเจ้า--ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้ นามว่า “สัมมาสัมพุทธะ”. ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “ปัญญาวิมุตต์”.--(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).--ภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูปเป็นต้นด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์?--ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุ ท. ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/81/125.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 41
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site