สัทธรรมลำดับที่ : 237
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งสมุทยอริยสัจ--____________--นิทเทศ ๔ ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา--(มี ๔๑ เรื่อง)--ลักษณาการแห่งตัณหา--ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ.--- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๑; และ ๑๙/๕๒๙/๑๖๖๕.--ตัณหา ย่อมปกคลุมบุคคล ผู้ประพฤติตนเป็นคนมัวเมาเหมือนเครือเถามาลุวา (ใบดกขึ้นปกคลุมต้นไม้อยู่) ฉะนั้น. เขาผู้ถูกตัณหาปกคลุมแล้ว ย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ เหมือนวานรต้องการผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น. ตัณหา ซึ่งเป็นของลามก ส่ายซ่านไปได้ทั่วโลกนี้ ครอบงำผู้ใดเข้าแล้ว, ความโศกทั้งหลาย ย่อมลุกลามแก่บุคคลผู้นั้น เหมือนหญ้าวีรณะ๑ ซึ่งงอกงาม แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว ฉะนั้น. ต้นไม้ แม้ถูกตัดแล้ว แต่เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตรายย่อมงอกงามขึ้นมาได้อีก ฉันใด ; ความทุกข์นี้ก็ฉันนั้น, เมื่อตัณหานุสัย (ซึ่งเป็นรากเง่าของมัน) ยังไม่ถูกถอนขึ้นแล้ว, มันย่อมเกิดขึ้นร่ำไป.--๑. วีรณะ เป็นชื่อซึ่งหมายถึงหญ้าที่ขึ้นรกแผ่กว้างโดยเร็วชนิดหนึ่ง ยังไม่ทราบชื่อในภาษาไทย.--ตัณหา ซึ่งมีกระแสสามสิบหกสาย มีกำลังกล้าแข็ง ไหลไปตามใจชอบ ของบุคคลใด มีอยู่, ความดำริซึ่งอาศัยราคะ มีกระแสอันใหญ่หลวง ย่อมพัดพาไป ซึ่งบุคคลนั้น อันมีทิฏฐิ ผิดเป็นธรรมดา.--กระแส (แห่งตัณหา) ย่อมหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง. เถาวัลย์ (คือตัณหา) แตกขึ้นแล้ว ตั้งอยู่. ท่านทั้งหลาย เห็นเถาวัลย์นั้นเกิดขึ้นแล้ว จงตัดรากมันเสีย ด้วยปัญญา.--โสมนัส ซึ่งซาบซ่านและมีเยื่อใย มีอยู่แก่สัตว์, สัตว์เหล่านั้น จึงแสวงสุข เพราะอาศัยความยินดี, สัตว์เหล่านั้น แหละเป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา.--หมู่สัตว์ เผชิญหน้าด้วยตัณหา (เครื่องให้เกิดความสะดุ้ง) ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกระต่ายที่ติดบ่วง เผชิญหน้านายพราน กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น. สัตว์ผู้ข้องแล้วด้วยสัญโญชน์ ก็เข้าถึงความทุกข์อยู่ร่ำไป ตลอดกาลนาน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/60/34.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๖๐/๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 16
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site